ลักษณะภาพเอกซเรย์


ความเข้ม ของสีขาวและดำที่ปรากฏบนภาพเอกซเรย์

ความเข้มของสีขาวและดำของภาพเอกซเรย์(ความแตกต่างระหว่างขาวกับดำหรืออาจเรียกว่า คอนทราส(contrast) มองเห็นได้ 5ระดับ

1 สีดำ ของอากาศหรือลม(Air) เมื่อแสงเอกซเรย์ผ่านอากาศที่อยู่ในร่างกายผู้ป่วย  แสงเอกซเรย์จะทะลุผ่านไปได้มาก(เพราะอากาศหรือลมมี ความหนาแน่นน้อยกว่า)ไปถูกฟิล์มที่รองรับเพื่อให้เกิดภาพเอกซเรย์ เมื่อฟิล์มไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์มจึงเห็นเป็นสีดำ

2 สีเทา ของไขมัน(Fat)เป็นสีดำที่จางลงเนื่องจากไขมันมีความหนาแน่นสูงกว่าอากาศ แสงเอกซเรย์จึงทะลุผ่านไปได้น้อยกว่าจึงทำให้ฟิล์มดำน้อยกว่าจึงเห็นป็นสีเทาๆ

3 สีเทาค่อนไปทางขาวมากขึ้นของเนื้อเยื้อต่างๆ(solf tissue)คุณสมบัติของเนื้อเยื่อยอมให้รังสีผ่านไปได้น้อยกว่าไขมันเพราะความหนาแน่นที่สูงกว่า จึงมองเห็นเป็นสีเทาค่อนไปทางขาวมากกว่าไขมัน

4 สีขาวของกระดูก(Bone)จะมองเห็นสีขาวจ้ามากกว่าเนื่อเยื่อเพราะความหนาแน่นมากกว่า แสงจึงผ่านไปได้น้อยกว่า จึงมองเห็นเป็นสีขาวในภาพเอกซเรย์

5 สีขาวของโลหะ (Metallic) จะเห็นขางสว่างมากกว่าจนเห็นขาวที่สุดเพราะโลหะมีความหนาแน่นมากที่สุดแสงเอกซเรย์ผ่านไปได้น้อยจึงเห็นเป็นสีขาวมากที่สุด

 

คำสำคัญ (Tags): #ภาพ
หมายเลขบันทึก: 80114เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2007 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับที่ช่วยทบทวนความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท