แบบจำลองสติและความกลัว (๑)


ช่วยสร้างปัญญา (เข้าใจความทุกข์)

ระหว่างวันจันทร์ที่ ๑๙ และวันอังคารที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ได้มีโอกาสเข้าฝึกอบรมการวิจัย ทั้ง "พื้นที่" จัดโดยน้อง ๆ (เท่าที่จำได้มี ตู่, ลำไย, หมวย, สุวิด, กิต, แหม่ม) ใน สกว. เนื้อหาแปลกมาก คือ

๑. เป็นเรื่องของการทำสมาธิ โดยวิทยากรจอนจากยูเคซึ่งมีผู้ช่วยแปลคนไทยชื่อพี่สุรพี (แปลเก่งมาก น่าดีใจ) และ

๒. เป็นเรื่องของการวิจัยทั้ง "พื้นที่" โดยวิทยากรไทย ได้แก่ ศ.ปิยะวัติ (ผอ.สกว.) รศ.สุธีระ (ผอ. ฝ่าย ๕ สกว.) ศ. ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม (ปราชญ์ทางความคิด มีคารมตรงไปตรงมา)

 

วันแรกก็เน้นเนื้อเรื่องแรก ทำให้เกิดความคิดว่าน่าจะใช้โปรแกรม SIMILE สร้างแบบจำลองสติและความกลัวดู จะได้ดังที่อาจารย์จอนสอนแนะนำหรือ แบบจำลองมีรูปตามนี้

Mindful and fear

 

 

แบบจำลองนี้เมื่อรันจะได้ผลดังนี้

Results

หมายความว่า

เส้นสีส้ม (ซึ่งเป็นสติอันเกิดจากการทำสมาธิ) จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ในขณะที่ความกลัว (เส้นสีน้ำเงิน) จะมีการลดลงตามลำดับที่สติเพิ่มขึ้น

ขณะที่นั่งสมาธินั้น แน่นอนก็ย่อมมีจิตใจวอกแวกไปเที่ยวตามที่ต่าง ๆ ทำให้สติลดลง (เปรียบเสมือนคนที่ยังปั่นจักรยานไม่เป็นเต็มที่ก็จะเกิดอาการเอวอ่อนจะล้มได้)  เมื่อสติลดลงเจ้าความกลัวมันก็เพิ่มขึ้นมากกว่าความมีสติในการบังคับลมหายใจเข้าออก

 พอมีสติสามารถดึงกลับมาที่ลมหายใจได้ เจ้าสติก็เพิ่ม ความกลัวก็ลดลง จนกระทั่งสติมีมากกว่าความกลัว ปัญญาก็จะเกิดจากการที่สติควบคุมความกลัวในด้านต่าง ๆ ได้

จบตอนแรก

อรรถชัย, เชียงใหม่

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #แบบจำลองระบบ
หมายเลขบันทึก: 79954เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2007 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • น่าสนใจมากอาจารย์ จะติดตาม

สวัสดีค่ะอาจารย์หลวงอรรถ

ตุ้มเพิ่งได้รับข้อมูลจากหนูตู่เรื่องที่อาจารย์เขียน model จากการสัมมนาที่เราไปเกาะเกร็ดกัน เลยเพิ่งเข้ามาอ่านค่ะ ดีจังเลยค่ะอาจารย์...จะได้ช่วยอธิบายเรื่องราวของสติกับสมาธิที่มีผลต่อการใช้ชีวิตให้ "ทุกข์" น้อยลง นั่นก็คือ ชีวิตจะได้มีความ "สุข" ขึ้น โดยอาจไม่ต้องใช้ "เครืองปรุง" อื่น ๆ เข้าช่วย (อิอิอิ)

เพิ่งกลับมาจากเชียงใหม่ค่ะ เมื่อวันเสาร์ก็ได้ไปทานข้าวที่ร้าน "แกงร้อนบ้านสวน" ที่บรรดาขุนพลทั้งสามไปซ่องสุมกันนั่นแหละค่ะ

 คงได้มีโอกาสเข้า "วงเรียนรู้" ด้วยกันอีกนะคะ อยากให้หนูตู่จัดสัมมนาในช่วงหน้าหนาว...อาจารย์อาจได้ model ของการพัฒนาสติด้วยการเจริญสมาธิภาวนาที่มี "ตัวแปร" คือ อุณหภูมิ อากาศ ความเร็วลม ความชื้นสัมพัทธ์ ฯลฯ ได้เปรียบเทียบ model ภายใต้ Time & Space  สมมติฐานก็คือ "ฤดูกาล" และ "สถานที่" น่าจะมีผลต่อปฏิกริยาและปฏิสัมพันธ์ทางกายและจิตนะคะ ...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท