ฟัง KM ของนักส่งเสริมการเกษตร


ใช้ KM เรียนรู้ การจัดการความรู้

     ดิฉันได้ไปค้นข้อมูลที่ได้ถอดบทเรียนเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ก็ไปพบเข้าเรื่องหนึ่งที่ได้ฟังและจับความมาให้กับทุกท่านได้อ่านกันก็คือ  เรื่องกระบวนการเรียนรู้ KM ของตนเอง  ซึ่งผู้เล่าให้ฟังก็คือ  คุณชาญวิทย์  มีเนื้อความที่สรุปว่า

                ขั้นที่ 1  ทำความรู้จัก KM  ผลที่เกิดขึ้นฟังแล้วตนเองไม่รู้เรื่อง               

                ขั้นที่ 2  ไปดูคนอื่นทำ แล้วมาอ่านหนังสือ               

                ขั้นที่ 3  ลงมือทำ  โดยการเขียน Block  โดยดูจากคนอื่นทำกิจกรรม แล้วนำมาเขียนเล่าให้ฟัง  ผลที่เกิดขึ้นคือ  หมอวิจารณ์เขียนตอบมาว่า ผมชอบ  จึงทำให้เกิดความมั่นใจ

                ขั้นที่ 4  นำไปใช้กับการทำงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่  ภายใต้หลักคิดคือ ถอดความกังวล ที่ได้มาจากที่อื่น โดยเริ่มที่  

                           1)  เขียนความกังวลของตนเองก่อนจัดเวที แล้วนำไปใส่ตระกร้าไว้หน้าห้อง

                           2)  แล้วให้เกษตรกรเขียนความกังวลของตนเอง แล้วนำไปใส่ตระกร้าไว้หน้าห้อง

                           3)  หลังจากนั้น เรามาตกลงกันว่า...ถอดความกังวลไว้หน้าห้อง

                           4)  คุยกับเกษตรกรเกี่ยวกับ อาชีพทางการเกษตร ที่เขาทำ โดยให้เขาเล่าถึงการปลูกมันสำปะหลัง  และปลูกพืชอื่น  ซึ่งถ้าถามเกษตรกรว่า ใช้สารเคมีหรือไม่? เขาก็จะตอบว่า ไม่ใช้  แต่ถ้าให้เขาเล่า..สิ่งเหล่านี้ก็จะเผลอพูดออกมาเอง เช่น  สารคมี  เป็นต้น                           

                          5)  ใส่บทบาทของผู้กระทำในองค์ประกอบต่าง ๆ ของ การจัดการความรู้  เช่น  การเป็นคุณอำนวย  การใช้เครื่องมือ  เป็นต้น  ซึ่งสิ่งที่ยากที่สุดคือ  การเป็นคุณลิขิต  ฉะนั้น จึงต้องทำให้ดูก่อน แล้วเขาจะทำตามเราเอง               

                ขั้นที่ 5  เกษตรกรเชื่อและปรับเปลี่ยนตาม  โดยนำเครื่องมือ เช่น Mine Map เข้าไปใช้ เกษตรกรก็จะเห็นข้อมูลและเริ่มเชื่อถือ               

                ขั้นที่ 6  สรุปผลการทำงานส่งเสริมการเกษตร  ในช่วงแรก ๆ เกษตรกรเขาจะไม่เชื่อถือเรา  แต่พอเราทำแล้วทำให้เห็นปราชญ์เยอะ  และจะพูดเยอะ จึงทำให้คนอื่นไม่อยากมา ฉะนั้น ผมจึงแก้โดยการมอบงานให้ทำคือ ลิขิต เพื่อสรุปเนื้อหาทั้งหมด หลังจากนั้นเขาก็จะไม่กล้าพูดเพราะกลัวว่าจะสรุปไม่ได้     

    หลังจากนั้นก็ได้มีการแลกเปลี่ยน  โดยมีผู้ฟังได้ตั้งคำถามว่า 

                 1. ในกรณีที่เกษตรกรไม่ค่อยยอมนั้น ท่านชาญวิทย์ทำอย่างไร?  ส่วนคำตอบที่ได้รับก็คือ  ก็จะใช้เทคนิคการให้เกียรติ เช่น  มอบงานให้ทำแล้วชมบ้างในสิ่งที่เขาเป็นหรือจุดแข็ง  แต่ส่วนใหญ่เราจะมีความสนิทหรือรู้จักกับเกษตรกรกันอยู่แล้ว  นอกจากนี้ การทำงานกับชุมชนจะอาศัย  ความจริงใจ  ในการทำงาน      เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ณ  ห้อง KM  ของกรมส่งเสริมการเกษตร ในงานมหกรรม  KM  แห่งชาติ ครั้งที่ 3  ณ  ไบเทค  บางนา  ซึ่งจัดโดย  สคส.  และมี  คุณสำราญ  สาราบรรณ  ทำหน้าที่ชวนคุย/ชวนเล่าบนเวทีค่ะ. 

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 79905เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2007 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท