งานชิ้นที่ 3 กฎหมายภายใน


งานชิ้นที่ 3 กฎหมายภายใน              

   เมื่อได้ทราบถึงงานวิจัย สภาพปัญหา บ่อเกิดแห่งกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ต่อไปนี้คือกฎหมายภายในเกี่ยวกับเรื่องที่ได้ศึกษาค้นคว้า คือเรื่อง ความยุติธรรมทางอาญากับการลงโทษบุคคลซ้ำ กฎมายอาญาอันเป็นกฎหมายภายในของไทย ได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในมาตรา 39 (4) กล่าวคือ  

มาตรา 39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้ 

(1) โดยความตายของผู้กระทำผิด 

(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย 

(3) เมื่อคดีเลิกกันตาม มาตรา 37 

(4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง 

(5) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิด เช่นนั้น 

(6) เมื่อคดีขาดอายุความ 

(7) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ 

จากบทบัญญัติดังกล่าวหากมีคดีที่ศาลมีคำพิพากษามาแล้วในความผิกนั้น การนำคดีอาญามาฟ้องอีก แม้จะเป็นโจทก์คนละคนกับคดีแรก แต่หากเป็นจำเลยคนเดียวกันและเป็นความผิดครั้งเดียวกัน ก็ถูกตัดสินที่จะนำคดีอาญามาฟ้อง กล่าวระงับไปซึ่งสิทธิที่จะได้ฟ้องจำเลยคนนั้น                

 และเมื่อปรับข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นศึกษาคือกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษามาแล้วลงแก่จำเลยและจำเลยได้รับโทษมาแล้ว อันจะทำให้หากมีการพิจารณาพิพากษาลงโทษอีกครั้งในศาลก็จะกลายเป็นฟ้องซ้ำในที่สุด (ตามมาตรา ข้างต้น)                 ประเด็นปัญหาดังกล่าวนั้นศาลไทยกลับใช้หลักการพิจารณาคดี ตามมาตรา 11 ประมวลกฎหมายอาญา กล่าวคือ                

มาตรา 11 ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทำ ความผิดที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร ถ้า ผู้นั้นได้รับโทษสำหรับการกระทำนั้นตามคำพิพากษาของศาลในต่าง ประเทศมาแล้วทั้งหมด หรือแต่บางส่วน ศาลจะลงโทษน้อยกว่า ที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลง โทษเลยก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทำความผิด ที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร ได้ถูกฟ้องต่อ ศาลในต่างประเทศโดยรัฐบาลไทยร้องขอ ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นใน ราชอาณาจักรเพราะการกระทำนั้นอีก ถ้า

 (1) ได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อย ตัวผู้นั้นหรือ 

(2) ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว

ศาลใช้หลักการดังกล่าวในการพิจารณา ซึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจของศาลที่จะพิพากษาลงโทษหรือไม่ลงโทษก็ได้จึงเป็นปัญหาขึ้นมา ในการศึกษาวิจัย                 

คำสำคัญ (Tags): #งานที่ 3
หมายเลขบันทึก: 79891เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2007 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท