สภาพปัญหาของงานวิจัยกับบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ


วิจัยกับกฎหมายระหว่างประเทศ

ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศตาม . 38 (1) ธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

1 กฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่มาจากสนธิสัญญา (Conventional rule of international law)

2 กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ (Customary International Law)

3 หลักกฎหมายทั่วไป (general principles of law)

4 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ ข้อ 59 ได้แก่ 

-  ความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิทางนิติศาสตร์

-  คำพิพากษาของศาล 

              กฎหมายระหว่างประเทศกับสถานะของเอกชนซึ่งเป็นบุคคลในกฎหมายภายใน

ประเด็น : ในบางเรื่องของกฎหมายระหว่างประเทศ บุคคลในกฎหมายภายในอาจมีสภาพบุคคลระหว่างประเทศอย่างจำกัดได้ (limited international legal personality)               

              1 กรณีบุคคลธรรมดา/ปัจเจกชน (individuals) อาทิ กฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน (international law of Human Rights) กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (international humanitarianlaw) ความรับผิดทางอาญาบางลักษณะที่กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้โดยเฉพาะ เช่น ผู้ก่อการร้ายบุคคลผู้กระทำการอันเป็นอาชญากรรมสงคราม (war crimes) อาชญากรรมต่อสันติภาพ (crimes againstpeace) อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ (crimes against humanity) ฯลฯ               

                   2 กรณีนิติบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทข้ามชาติ 

               บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศกับหลักสิทธิมนุษยชน              

 ข้อ 38 วรรค 1 (b) แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จารีตประเพณีระหว่างประเทศในฐานะเป็นหลักฐานแห่งการปฏิบัติโดยทั่วไปซึ่งได้รับการรับรองว่าเป็นกฎหมาย

               จารีตประเพณีระหว่างประเทศเป็นทางปฏิบัติของรัฐที่ผ่านมานับศตวรรษ โดยทางปฏิบัติดังกล่าวจะต้องเป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางในประชาคมของรัฐต่างๆ กระทำซ้ำๆอย่างสม่ำเสมอ ไปในทางรูปแบบเดียวกัน เป็นเวลายาวนาน และรัฐผู้ปฏิบัติจะต้องมีความเชื่อ ความรู้สึกผูกพันว่าเป็นพันธะทางกฎหมาย                ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดนับจากครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 มาตรฐานการคุ้มครองสิทธิของบุคคลซึ่งเป็นแกนสำคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอันเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1948 นั้น เดิมตัวปฏิญญาฯเป็นเพียงมติของสมัชชา ไม่มีฐานะเป็นกฎหมาย แต่ต่อมาประเทศต่างๆ เป็นจำนวนมากได้นำเอามาตรฐานดังกล่าวไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายภายในของตน

                 การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครองกับหลักสิทธิมนุษยชน 

              การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครองประเทศไทยได้นำเอาหลักสิทธิมนุษยชนซึ่งถือว่าเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ มาบัญญัติไว้เป็นกฎหมายภายในภายหลังจากที่เกิดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขึ้นใน ปี ค.ศ. 1948 กล่าวคือ

                ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 8 บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอย่างได้ผลโดยผลศาลแห่งชาติ ซึ่งมีอำนาจเนื่องจากการกระทำใด ๆ อันละเมิดต่อสิทธิขั้นมูลฐาน ซึ่งตนได้รับจากรัฐธรรมนูญหรือจากกฎหมาย                ปรากฏเป็น

                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 62สิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ 

               จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 8 ข้างต้นได้บัญญัติให้ผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิขั้นมูลฐานอันเป็นสิทธิของเอกชน สิทธิประเภทนี้เป็นสิทธิที่เอกชนซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิมีต่อรัฐ เนื่องจากสิทธิเหล่านี้เป็นสิทธิมนุษยชนที่ทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องมี และในฐานะที่อำนาจของเจ้าหน้าที่เป็นอำนาจที่ได้รับมอบหมายมา มิใช่อำนาจในตัวเองของเจ้าหน้าที่อย่างสิทธิของเอกชนซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน หลักกฎหมายจึงถือว่าการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่จะต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดต้องไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเป็นหลักจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ทั้งโดยกฎหมายที่ให้อำนาจนั้นเอง และโดยวิธีการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งการใช้อำนาจรัฐดังกล่าวเรียกในวิชากฎหมายปกครองว่า หลักนิติรัฐ  กล่าวคือ รัฐและองค์กรของรัฐทั้งหลายที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญและกฎหมายมีหน้าที่ต้องเคารพกฎหมายที่ตราขึ้นในรัฐนั้นด้วย ไม่ว่ากฎหมายนั้นจะเป็นรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายในลำดับใด ซึ่งหากเอกชนคนใดคนหนึ่งไม่ว่าจะเป็นคนชาติหรือคนต่างด้าว ซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของฝ่ายปกครองมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการกระทำทางปกครองที่มีผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ หรือประโยชน์อันชอบธรรมของตนนั้นเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย และขอให้เพิกถอนการกระทำนั้น หรือขอให้ไม่บังคับใช้การกระทำนั้นแก่กรณีของตน และ/หรือขอให้บังคับให้ฝ่ายปกครองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตน แล้วแต่กรณี โดยยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นเป็นศาลแรก  หากไม่พอใจก็สามารถอุทธรณ์ไปยังศาลศาลปกครองสูงสุดได้ (ภายใน 30 วัน) เว้นแต่คดีบางประเภทที่มีความสำคัญมาก เช่น การฟ้องขอเพิกถอนพระราชกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวง ก็ฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดได้โดยตรง

หมายเลขบันทึก: 79836เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2007 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท