ป่ารักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน แม่ฮ่องสอน


บ้านห้วยน้ำโป่ง คุณครูเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
นายสะลวงมีโอกาส เข้าร่วมโครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน โดยมีความร่วมมือ ของสถาบันพัฒนาเกษตรที่สูง (องค์กรมหาชน) กับสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่นั้น ได้เข้าร่วมโครงการในรูปแบบของงานวิจัย โดยมีนายสะลวง และ อ.อัครสิทธิ์  บุญส่งแท้ โปรแกรมวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นคณะทำงานเมื่อวันที่ ๘ ๑๐ กุมภาพันธ์  ที่ผ่านมาได้เข้าไปศึกษาพื้นที่เบื้องต้น โดยทำการศึกษาทั้งหมดถึง ๔ ลุ่มน้ำ ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งเป็นพื้นที่ในโครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน ได้แก่ ลุ่มน้ำของ อ.ปางมะผ้า ลุ่มน้ำปาย อ.เมือง ลุ่มน้ำแม่สะมาด อ.เมือง และลุ่มน้ำแม่สะงา อ.ขุนยวม  เพื่อศึกษาถึงพืชพรรณที่ใช้บริโภค สมุนไพร พลังงาน หาแนวทางในการฟื้นฟู และอนุรักษ์ต่อไป ลุ่มน้ำแรกที่เข้าไปศึกษาเบื้องต้น คือ ลุ่มน้ำของ
อ.ปางมะผ้า โดยชุมชนเป้าหมายที่เข้าไปศึกษา คือ บ้านห้วยน้ำโป่ง ต.นาปู่ป้อม อ.ปางมะผ้า ชุมชนดังกล่าวเป็นชุมชนที่มีขนาดเล็ก เป็นพี่น้องชาวลั๊ว มีผู้นำชุมชน คือ ผู้ใหญ่บ้านซำมุด  สะแนะ ผู้ใหญ่ซำมุด มีความรู้และมีจิตใจที่แน่วแน่ในการรักษาป่าไม้  ผู้ใหญ่ซำมุด ได้เริ่มก่อตั้งป่าชุมชนในพื้นที่มาตั้งแต่ ปี ๒๕๒๐ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีขนาดของพื้นที่ประมาณ ๖,๐๐๐ ไร่
(พื้นที่เกือบเท่า วิทยาเขตสะลวงของเราเลย) นายสะลวงได้พูดคุยถึงแนวทางและวัตถุประสงค์ในการศึกษา ซึ่งผู้ใหญ่บ้านและลูกบ้านนั้นเข้าใจเป็นอย่างดี จากการพูดคุยนั้น ผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่าการจัดการป่าชุมชน นั้นเป็นหน้าที่ของทุกคนในหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งจะมีขอบเขตของแต่ละหมู่บ้าน โดยเป็นที่รู้กันเองของชุมชน โดยมีการประชุมเครือข่ายของป่าชุมชนเป็นประจำทุกเดือน ที่บ้านจะโบ่ ต.ปางมะผ้า อ.ปางมะผ้าโดยมี ผู้ใหญ่บ้านจ่าไคแซ  ไพรเนติธรรม เป็นพี่น้องมูเซอดำ  เป็นประธานเครือข่ายป่าชุมชนชาวไทยภูเขา อ.ปางมะผ้า ซึ่งมีเครือข่ายทั้งหมดมากกว่า ๒๐ หมู่บ้านเข้าร่วม แต่ในปัจจุบันนั้ไม่ค่อยได้ประชุมกันอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขาดทุนทรัพย์ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนเมื่อพูดถึงเครือข่าย ที่บ้านห้วยโป่งนั้น เราก็มีเครือข่ายราชภัฏเชียงใหม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นคุณครูสาว ตัวน้อยๆ ขึ้นไปปฏิบัติงานสอน และเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยกันศึกษา คือ คุณครูนุชวรรณ  คำคุณ สังกัดเขตการศึกษา จ. แม่ฮ่องสอน ว่าที่บัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ ที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในเดือน เมษายนนี้  คุณครูนุช ขึ้นไปปฏิบัติงานสอนที่บ้านห้วยโป่งกว่า 7 เดือนแล้ว  คุณครูนุช รู้จักชุมชนเป็นอย่างดี  ผู้ใหญ่ซำมุด  บอกว่าไม่อยากให้คุณครูนุช ย้ายไปไหน เนื่องจากเป็นที่รักของชุมชน ได้ฟังอย่างนี้แล้ว นายสะลวง รู้สึกหัวใจพองโต และภูมิใจที่ลูกศิษย์ของเราได้เข้าไปปฏิบัติงานในท้องถิ่นและเข้ากับชุมชนได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญแม้ว่าอากาศจะหนาวเพียงใด ชาวบ้านที่นั่นได้อาบน้ำอุ่นกันทุกวัน เนื่องจากมีบ่อน้ำร้อนธรรมชาติอยู่ใกล้หมู่บ้าน ที่ผู้ใหญ่ซำมุด จะได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป
หมายเลขบันทึก: 79791เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2007 07:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ดีครับ การศึกษาคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม โดยผู้นำชุมชนและการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงการนำความรู้ของบัณฑิตถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชนสู่การพัฒนาทรัยากรธรรมชาติ

อาจารย์สนใจสำรวจป่าแถวเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนาบ้างหรือเปล่าค่ะ

เพราะที่นี่เป็นพื้นที่โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท