การหมุนของเกลียวความรู้ 3 แบบในโครงการ Patho Otop


เพียงการนำเสนอวันแรก ก็สร้างความรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจ ตื้นตันใจจนบอกไม่ถูก

      โครงการ Patho Otop ขณะนี้เดินมาถึงจุดที่ทุกทีม จะได้นำเสนอผลการดำเนินงานของตนเอง และกำหนดให้มีการนำเสนอโครงการในวันที่ 23, 24, 30 พย. และ 1 ธค  เพียงการนำเสนอวันแรก ก็สร้างความรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจ ตื้นตันใจจนบอกไม่ถูก ไม่อยากเชื่อเลยว่าโครงการออกแบบไว้ จะส่งผลมหาศาลมากมายหลายด้าน ไม่ต้องพูดถึงการพัฒนางานประจำให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดีขึ้นอย่างมากแล้ว  สิ่งที่สัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ (แต่ในระดับที่เกินคาด) คือเกิดการจัดการความรู้โดยการปฏิบัติจริง เกิดการหมุนของเกลียวความรู้แบบยกระดับ ทั้งในระดับปัจเจก ระดับกลุ่ม ข้ามกลุ่ม เรียกว่าครอบคลุมเกลียวความรู้ทั้ง 3 แบบที่  Nonaka & Takechi กล่าวไว้ นั่นคือ

1. เกลียวของวงจร SECI (socialization, externalization, combination, externalization) การหมุนของเกลียว SECI ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล และ ระดับกลุ่ม   ระดับปัจเจก ความรู้เกิดขึ้นทั้งผู้ปฏิบัติในทีม พี่เลี้ยง และที่ปรึกษาโครงการ

2. เกลียวความรู้ข้ามระดับชั้นในองค์กร  โครงการนี้ ทำให้เกิดการการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างผู้ปฏิบัติ และ ผู้เชี่ยวชาญทั้งที่เป็นพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาโครงการ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ให้คะแนนโครงการในวันนำเสนอผลการดำเนินงาน

3. เกลียวความรู้ข้ามหน่วยงาน ข้ามภารกิจภายในองค์กร  ซึ่งเห็นชัดเจนในการเรียนรู้ระหว่างหน่วยรับสิ่งส่งตรวจ ฝ่ายพยาบาล และห้องปฏิบัติการต่างๆ

                                

ตัวอย่างรูปธรรมของการหมุนของเกลียวความรู้ดังกล่าวข้างต้นได้แก่

  • การขยายความคิดและเชื่อมประสานเป็นหนึ่งเดียวของของทีมแลบด่วน ต่อการสนองตอบการบริการผู้ป่วยห้องตรวจฉุกเฉินของโรงพยาบาล ที่ต้องการผลตรวจที่เร่งด่วนกว่าผู้ป่วยทั่วไป จนเกิดเป็นแนวปฏิบัติที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันของหลายห้องแลบที่เกี่ยวข้อง และคงเป็นการทำงานร่วมกัน ประสานกันต่อไป บนพื้นฐานที่ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
  • การเกิดนวัตกรรม ดัดแปลงสิ่งที่ไม่ใช้แล้ว คือแกนกระดาษทิชชู ทำเป็นกระป๋องใส่ตัวอย่างส่งตรวจ ของคุณเพ็ญแข คงทอง และทีมงาน ซึ่งประจำ ณ จุดรับตัวอย่างตรวจจากหอผู้ป่วยเพื่อลงทะเบียนและนำส่งต่อไปยังห้องแลบต่างๆ  จากจุดเริ่มที่ตั้งใจทำเพื่อใช้ประโยชน์ ณ จุดหน้างานของตนเอง ไปสู่การขยายประโยชน์ใช้สอยไปยังกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง ทั้งห้องปฏิบัติการ  หอผู้ป่วยต่างๆ รวมทั้งญาติผู้ป่วยจากห้องฉุกเฉินที่บางครั้งต้องถือขวด specimen มาที่ห้องแลบเอง ของคุณเพ็ญแข คงทอง และทีมงาน เจ้าหน้าที่ ณ จุดรับสิ่งส่ง และกระจายสิ่งส่งตรวจไปยังห้องแลบต่างๆ
  • การปรับปรุง ทดลอง ปฏิบัติ วิเคราะห์ จนได้ best practice ที่มีโอกาสเผยแพร่เป็น best practice ในวงวิชาชีพในวงกว้างของโครงการ ลดเวลาการทดสอบ Reticulocyte count ของทีมงาน “ เก็บตก” จากหน่วยโลหิตวิทยา

     และอีกหลายตัวอย่างที่จะนำมาขยายความเล่าสู่กันฟังต่อไป
    

หมายเลขบันทึก: 7979เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2005 00:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อยากให้มีโครงการแบบนี้อย่างต่อเนื่องตลอดไปซึ้งมีประโยชน์ต่อการพัฒนางานเป็นอย่างมาก ทำให้บุคคลากรระดับปฏิบัติการได้แสดงความคิดได้อย่างเต็มที่
เตรียมทีมและโครงการต่อได้เลยค่ะ เราจะนัดรวมพล "นักพัฒนา" ที่หาดแก้ว วันที่ 28, 29 มกราคม ปีหน้า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท