ความสนุกและมีสาระ แบบหลากสาย หลายระดับ ใน gotoknow


เพียงแค่หลักการ “ให้รางวัล” กลุ่มที่อยู่ในสายตา ตรงกับเป้าหมายของ สคส. กับ “การลงโทษ” กลุ่มที่ไม่อยู่ในเป้าหมาย แค่นี้ประเด็นปัญหาเรื่อง blog ก็น่าจะแก้ไขได้แล้ว อย่าทำผิดหรือกลับทางหลงประเด็นเป็นใช้ได้ครับ
 

จากเอกสารการประเมินผลงานของ สคส. ที่นำทีมโดย ศาสตราจารยภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ ศาสตราจารยดร.ทวีทอง หงสวิวัฒนนายแพทยมงคล ณ สงขลา นายแพทยวิพุธ พูลเจริญ ดร.วรภัทรภูเจริญ เปนผูทรงคุณวุฒิ รองศาสตราจารยนิโลบล นิ่มกิ่งรัตนเปนผูทรงคุณวุฒิและเลขานุการ และนายแพทยมานิตยประพันธศิลปเปนผูประสานงานและอํานวยการประเมินผล รับผิดชอบในการทบทวนการดําเนินงานของของสถาบันจัดการความรูเพื่อสังคม (สคส.) โดยเริ่มตั้งแตวันที่ 1 สิงหาคม 2549 และใหแลวเสร็จในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 โดยมีคำชม ๔ ข้อ และข้อติง ๖ ข้อ ในที่นี้ขอยกเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายปฏิบัติ เป็นหลัก คือ ข้อที่ ๙

 

การมี Blog อาจทําใหการบริหารจัดการความรู กลายเป็นเพียงการบริหาร การจัดการข้อมูลข่าวสาร (Information Management) ซึ่งจะไมก่อใหเกิดแรงขับเคลื่อน ผลักดันใหเกิดเกลียวแห่งความรู” และข้อที่ ๑๐

 

ยังขาดการศึกษาและบันทึกบทเรียนความสําเร็จ/ไมสําเร็จ ที่จะเป็นตัวอย่างในการขยายผล

  

จากประเด็นที่ยกมาทั้ง ๒ ข้อนั้นนั้น ผมขอมองในส่วนที่เกี่ยวกับ blog ที่กลายเป็นข้อติงของคณะกรรมการประเมิน

  

ในฐานะที่มองจากข้างนอก มีความเห็นว่า สาเหตุที่ไม่ทำให้เกิดเกลียวความรู้ที่มีพลัง ก็เป็นเพราะความหลากหลายในการจัดการความรู้ ที่ต่างระดับ ต่างสาย และต่างแนวคิด ที่ทำให้เกิดกลุ่มของคนที่สนใจความรู้อย่างเป็นธรรมชาติ และมีการจัดการความรู้ตามความเห็นและศักยภาพของตนเอง ได้แก่

  

1.     บางท่านเข้ามาในระบบเพื่อพัฒนาความมั่นใจในความสามารถของตนเอง คอยดูว่าทำอย่างไรที่จะทำให้ได้ สัญลักษณ์ความภาคภูมิใจ คอยติดตาม ตรวจสอบว่าตนได้อยู่แนวหน้าหรือยัง โดยอาจลืมเป้าหมายหลักของ สคส. และ การจัดการความรู้ และมักจะเขียนเรื่อง ที่ชื่อเรื่องเตะตาดึงดูดคนอ่านให้เข้ามามากไว้ก่อน แต่ไม่ค่อยมีสาระอะไร เพราะ เกณฑ์ให้รางวัล ไม่บอกไว้ ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ และมักไม่ทำ เกรงจะเสียเวลาการเพิ่มจำนวนเรื่อง

 

2.     บางท่านก็จับกลุ่มในเชิง กลุ่มพักผ่อนหย่อนใจ เข้ามาเพื่อหวังความบันเทิงด้านต่างๆ เพราะถือว่า งานปกติ ก็เครียดอยู่แล้ว จะเอาอะไรอีก

 

3.     บางท่านเข้ามาแบบแฝงๆหลายเรื่องแบบเบาๆ ทั้ง หาเพื่อนคุย ความบันเทิง ถือเสมือนว่าได้อ่านนิยาย และมีสาระด้านการงานบ้างเป็นของแถม

 

4.     บางท่านก็เข้ามาเพราะหวังว่า การจัดการความรู้จะเป็นเกราะป้องกันตัวเอง หรือเข้ามาเพราะถูกบังคับจากระบบงาน หรือสิ่งอื่นๆ ทำให้ มีข้ออ้างว่าตนได้จัดการความรู้แล้ว จะเขียนไว้ หรือถาม หรือตอบแบบสั้นๆ แห้งๆ แม้จะมีคนเห็นใจก็หาจุดต่อเชื่อมไม่ได้

 

5.     บางท่านเข้ามาเพื่อเก็บเกี่ยวเอาความรู้ไปใช้ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม มักฝากร่องรอยไว้ แต่ไม่เป็นประเด็นคำถาม หรือหารืออะไรมากนัก

 

6.     บางท่านเข้ามาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิด ไม่ค่อยเขียนประเด็นความรู้ แต่ชอบแลกเปลี่ยนความเห็นมากกว่า ถามยาว ตอบยาว แต่ไม่ค่อยมีบันทึกของตนเอง

 

7.     บางทานเข้ามาเพื่อการ ฝาก ความรู้ คล้ายๆกับฝากหนังสือไว้กับห้องสมุด ใครจะอ่านก็อ่าน ไม่อ่านก็แล้วไป ไม่สนใจว่าใครจะแสดงความเห็นว่าอะไร ส่วนใหญ่ไม่ตอบกลับ

 

8.     บางท่านเข้ามาเพื่อนำความรู้เข้ามาแลกเปลี่ยน ให้ได้ประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย ตามความสนใจ และความถนัด จะเน้นการแจงประเด็น ตอบประเด็นอย่างละเอียด

  

จาก ๘ ข้อคร่าวข้างบนนั้นมีอยู่ครบถ้วนในกลุ่มที่เข้ามาใน blog  และบางท่านก็ปนๆกันทุกข้อก็มี

ก็อยู่ที่ สคส จะตัดสินใจหยิบใครมาชูเป็นธงนำทางได้ทันที

  

 เพียงแค่หลักการ ให้รางวัล กลุ่มที่อยู่ในสายตา ตรงกับเป้าหมายของ สคส.  กับ การลงโทษกลุ่มที่ไม่อยู่ในเป้าหมาย

  

แค่นี้ประเด็นปัญหาเรื่อง blog ก็น่าจะแก้ไขได้แล้ว อย่าทำผิดหรือกลับทางหลงประเด็นเป็นใช้ได้ครับ การให้รางวัลที่ถูกต้อง จะทำให้ท่านได้กลุ่มที่ท่านต้องการขยายตัวขึ้น และกลุ่มนอกทาง เมื่อมีการตักเตือน ก็จะค่อยลดลง

  และผมคาดว่าหลักการเดียวกันนี้น่าจะไปปรับใช้ เพื่อแก้ปัญหาข้ออื่นๆได้ในหลักการเดียวกัน
หมายเลขบันทึก: 79772เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2007 01:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ใช่เลยครับอาจารย์

อย่างไรก็ตามแนวทางการพัฒนาการใช้ Blog ก็น่าจะดีขึ้นเป็นลำดับนะครับ หากมีการจัดการระบบที่เอื้อต่อการใช้งาน และประโยชน์อย่างจริงจัง

ด้วยความเคารพ

อุทัย   อันพิมพ์

เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ

มี 2 กรณีที่ขออนุญาตแลกเปลี่ยนกับอาจารย์คือ

1 การติดตามดูสาระของบล็อก

  • บางบล็อกจะมีประเด็นชัด เรียกว่า เข้าไปอ่านคราวใดก็เห็นว่า "กัดติด" เรื่องเดิม ลักษณะบล็อกแบบนี้ถ้าซีเรียส คนออกความเห็นลดลงหรือเพิ่มขึ้น ขึ้นกับจังหวะ..แต่คนเข้าให้ความเห็นมักหน้าเดิมๆ
  • บางบล็อกผสมผสานไปตามธรรมชาติการเรียนรู้ อย่างที่เคยอ่านบางคนก็เคยแยกบล็อกเพื่อแยกเรื่องแต่เอาไปเอามาก็พบว่าดูแลบล็อกได้ไม่หมดเลยรวมๆเรื่องในบล็อกเดียว ถ้าสาระแน่น แฟนคลับก็ตามๆ เจอซีเรียสก็เว้น เจอสนุกก็แจม
  • บางบล็อกสาระดี แต่เพราะว่าเข้ามาใหม่ ถ้าไม่มีคนให้กำลังใจ ก็แผ่วไป และไหลลื่นไปตามกระแส ...

2  การเพิ่มศักยภาพการเขียนบล็อก

  • กรณีบล็อกที่แน่นสาระ  นอกจากการกำหนด tag แล้ว การจัดกลุ่มแยกสาขาให้สมัคร เช่น เรื่องเกษตร ปรัชญา การพยาบาล แล้วทางผู้พัฒนาระบบนำหมวดขึ้นหน้าแรก ใครสนใจ เช่นเกษตร ปรัชญา ฯลฯ ก็เข้าไปคลิกได้เลยไม่ต้องผ่านระบบค้นหาอีก ตรงนี้น่าจะได้ประโยชน์อีกประการคือ การรวบรวมความรู้จะชัดขึ้น เห็นด้วยเลยว่า สมาชิกสายไหนมากหรือน้อย และช่วยกลุ่มบล็อกที่เข้ามาใหม่ให้มีพี่เลี้ยงได้ในสายนั้นๆ และสามารถ แปลงเป็น บล็อก "กัดติด" แตกยอดได้เร็ว
  • กรณีบล็อกที่ผสมผสาน ก็สมัครได้หลายสาขา ซึ่งถึงระยะหนึ่งกลุ่มนี้น่าจะเกิดการแยกเข้าสาระได้มากหรือไม่ก็แยกบล็อกของสาระได้
  • เรื่องรางวัลกับการลงโทษเป็นเรื่องละเอียดอ่อน นำมาใช้ให้เหมาะก็เพิ่มกำลังใจคน ....แต่จะดียิ่งขึ้นถ้า เกณฑ์ จะเสถียรบ้าง เพราะสังเกตแต่ละเดือน เกณฑ์ก็เลื่อนไหลไปเรื่อย ....ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่อยากได้รางวัลนะคะ...แต่การมีอะไรที่เสถียรมันก็บอกมาตรฐานว่า บันทึกสุดคะนึงแบบไหนที่เป็นเป้าหมาย ขอย้ำคำว่า บันทึกนะคะ ไม่ใช่คน  แล้วถ้าจะดี ก็นำบันทึกที่ได้รางวัลมาแสดงตรงหน้าแรก ไม่ใช่นำคนมาเข้าแถวแยกกลุ่มอย่างที่เป็นอยู่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พอดีผมยังไม่รู้จัก KM และยังไม่เห็นประโยชน์ของ KM (ไม่ได้หมายความว่าไม่มีนะครับ)  ผมเข้ามาเพื่ออ่านเรื่องที่ถูกใจ บางเรื่องอยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นก็ทำ มีเวลาก็เขียน ไม่มีเวลายุ่งๆ ก็ห่างไป ผมไม่รู้สึกว่าเป็นหน้าที่ ที่จะต้องเขียนทุกวัน 

ผมสนใจ G2K เพราะเป็นว่าเป็น blog สำหรับผู้ที่สนใจการพูดคุยกันอย่างมีสาระ มีบันเทิงบ้างนิดหน่อยเป็นตัวเสริม ไม่ได้เข้าเพราะอยากจะจัดการความรู้ของตัวเอง  บางครั้งก็อยากได้ข้อมูล บางครั้งก็อยากได้แนวคิด ซึ่งก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง

ผมสับสนครับว่าจะจัดตัวเองอยู่ตรงไหน ของที่นี่   ผมเป็นคนนอกหรือเปล่า G2K ทำเพื่อสนอง KM ขององค์กร หรือเพื่อสร้างชุมชนความรู้  หรือจะต้องเป็นบุคลากรของ KM หรือเคยผ่านเรื่องทำนองนี้จึงจะเข้าใจจุดประสงค์ของ G2K และทำตัวเป็นเด็กดีได้ตรงวัตถุประสงค์

ขอถามเพื่อคลายความข้องใจแค่นี้ก่อนนะครับ

เรียนอ.แสวง

เห็นจริง100%ค่ะอาจารย์

ประเด็นอยู่ที่เป้าหมายของ สคส ว่าจะใช้G2K ไว้ทำอะไร

อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจ และไม่กล้าเดา เคยเดาแล้วผิดพลาดมาก่อนครับ

ผมเข้าใจว่า G2K มีไว้เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้บน web แต่พอดูไป คนที่ได้รับการยกย่องกลับเป็น จำนวนคนที่เข้ามาอ่าน จำนวนเรื่อง  และเวลาอ่าน

ไม่เห็นเกียวกับการเรียนรู้ หรือการจัดการความรู้ตรงไหน และเรื่องที่เขียนกันมากๆ บางทีก็เขี่ยๆ แบบไม่ใส่ความรู้อะไร

คิดอะไรไม่ออกก็ถ่ายรูปหมามาโชว์ แล้วถามว่าถ่ายที่ไหน หมาชื่ออะไร

 ผมนี่งงจริงๆ เราจะทำให้ได้อะไร และสังคมได้อะไร คนที่ถนัดแบบนี้ กล้าอธิบายต่อสาธารณชนไหมครับ

ผมงง และคิดไม่ออกจริงๆ ครับ

อาจารย์ตรงไปตรงมาดีครับ นับถือ นับถือ  บางวันผมก็นึกเอียนประโยคหวานๆ เหมือนกัน

ผมเองก็เป็นคนหนึงครับที่ไม่เห็นด้วยกับการเขียนเรื่องทุกวัน ยอดเยอะ ที่ผมแสวงหาอ่านที่นี่คือเรื่องดีๆ ที่กระตุ้นปัญญาและจิตใจครับ   นี่คือเหตุผลที่ผมมาสิงสถิตอยู่ที่นี่ แทนที่จะไปอยู่ที่กลุ่ม blog ต่างๆ ที่ฮิตๆ กัน คนเข้ากระฉูด แต่ผมคิดว่าเวลาของผมมีค่า ไม่อยากจะเสียไปกับการอ่านเรื่องแบบนี้มาก (แต่พอเข้ามาจริงๆ แล้วกลับใช้เวลากับเรื่องนี้มากเลยครับ อาจารย์ เป็นเพราะว่าคนที่นี่น่ารักมากครับ)

อีกอันหนึ่งที่ผมหวังมาหาจากที่นี่คือคือความเป็น  originality ก็คือถ้าเป็นคัดลอกบทความใส่เลย โดยไม่ความคิดเห็นหรือข้อวิจารณ์อะไร ผมก็ขึ้เกียจอ่านครับ เพราะผมสามารถหาอ่านจากการใช้ google สืบค้นบทความได้หลายหลากกว่านี้  ประเด็นนี้ตอนแรกๆ ผมก็เป็นครับ เอาเรื่องที่ผมเคยเขียนที่อื่นมาลงที่นี่ คิดว่าผู้อ่านคงได้ประโยชน์ แต่ผมคิดอีกที ก็เห็นว่าไม่จำเป็นครับ เพราะเดี๋ยวนี้การสืบค้นทำได้ง่ายๆ  สิ่งที่ผมคิดว่าสำคัญกับตรงนี้คือการบันทึกความรู้หรือวิจารณ์เพื่อตอยอดความรู้ (เดาครับ ไม่แน่ว่าผิดหรือเปล่า กรุณาชี้แนะด้วยครับ)

ส่วนกรณีการปรับแนวทางของ G2K ให้ไปในทางที่มีสาระนั้น ผมว่าใครใส่อะไรอย่างอื่นเข้าไปมั่งก็ไม่เป็นไร ถือว่าเป็นความหลายหลาก สีสัน แต่แทนที่จะหงุดหงิดกับสิ่งเรานี้ เราน่าจะมาช่วยกันใส่เรื่องที่มีสาระ ข้อคิดเข้าไปเยอะๆ ครับ สัดส่วนเรื่องแบบนั้นก็จะได้น้อยลงไปเอง

ขอบคุณมากครับคุณมาโนช ที่มาสนับสนุน และให้กำลังใจ

ผมสงสาร สคส และประเทศไทยครับ ที่ต้องมาเจอคนแบบนี้ และ สคส ก็คิดไม่ออกหรืออย่างไรไม่ทราบว่า เจอระบบทำงานแบบนี้แล้วจะแก้ไขอย่างไร เท่านั้นแหละครับ

เรากลับไปคุยกันเรื่องที่เป็นประโยชน์กว่านี้ดีกว่าครับ

เขาทำให้ทุกคนเสียเวลาแล้ว เรายังจะมาทำให้เราเสียเวลาอีก เขาจะขำเอานะครับ

แต่ยังอยากจะให้ช่วยแนะว่า สคส ควรจะทำอะไร ที่ดีกว่านี้นะครับ

 ความหลากหลายในการจัดการความรู้ ที่ต่างระดับ ต่างสาย และต่างแนวคิด  ที่อาจารย์วิเคราะห์ออกมา 7-8 ข้อนั้น เห็นภาพเลยล่ะครับ
    อ่านแล้วก็มาทบทวนตัวเองว่าทำอะไรอยู่กับ Blog ของตัวเองบ้าง ก็ได้คำตอบที่ค่อนข้างชัดเจน ว่าวนเวียนอยู่แถวข้อ 5-6-7-8 ครับ หลายครั้งตั้งใจซ่อนบางอย่างให้ผู้อ่านบางคนบางกลุ่มรับไปโดยไม่รู้ตัว  มีความปรารถนาดีเป็นฐาน  แต่คนอ่านอาจมองไปได้หลายทิศ ตามฐานคิดและความแตกต่างระหว่างบุคคล  แต่ก็ทำใจได้ว่า ได้เท่าไร พอใจเท่านั้นครับ  

ผมว่าก้อยู่ในกรอบอยู่นะครับอาจารย์พินิจ ผมก็กะว่าอยู่แถวๆนี้แหละ ถึงได้เจอกันบ่อยไงครับ

ติดตามอ่านblog อาจารย์อยู่บ่อยๆ ในฐานะผู้ใหญ่ที่ผ่านเรื่องราวต่างๆมามาก ชอบตรงที่สไตล์อ.ไม่เหมือนใคร  จึงมาเรียนรู้มากกว่าจะมีอะไรมาแลกเปลี่ยน ใน 8 ประเด็นที่อาจารย์เขียนถึงทำให้กลับมาทบทวนตัวเอง มีเกือบทุกข้อเลยค่ะ แต่เปอร์เซนต์ต่างกัน

ในข้อแรก ไม่ได้หวังรางวัลหรอกค่ะ แต่เป็นการพัฒนาตัวเองในการเขียน มักจะเขียนเสร็จก่อนและตั้งชื่อทีหลัง ซึ่งพอจะประเมินตัวเองได้

ข้อ2,3,4 มีบ้าง

ข้อ5-8 เป็นส่วนใหญ่

อาจารย์เองก็พูดถึงความหลากหลายบ่อยๆ คนส่วนใหญ่มักจะมองจุดดำมากกว่าที่จะเห็นสีขาว  ตัวดิฉันเองก็ไม่ค่อยต่างจากส่วนใหญ่

แต่ในG2K นี้ตัวเองเห็นสีขาวมากกว่านะคะ

                                                    ด้วยความเคารพค่ะ

 

คุณพัชรา ผมว่าแต่ละคนจะมีพหุปัญญาของตัวเอง หลายแบบเสมอ ที่ทำให้เราแกร่ง ทำอะไรได้หลายๆอย่าง หลายๆแบบ อันนี้เป็นฐานการพัฒนาในทุกระดับครับ ผมอยากเห็นแผนการพัฒนาประเทศที่ปรับให้ทุกคนมีที่อยู่และการพัฒนาที่หลากหลายครับ

แล้วสังคมไทยน่าจะเข้มแข็งมากขึ้นเรื่อยๆครับ

ผมก็เห็นจุดขาวมากกว่าดำ ผมจึงมองเห็นช่องทางการพัฒนาที่น่าจะทำได้

แต่ละบุคคล และแต่ละเรื่องก็ไม่ได้หมายความว่าจะดำหรือขาวทั้งหมด

ผมว่าก็ปนเหมือนกันครับ เป็นธรรมชาติของ โลกสีเทาครับ ไม่มีขาวหรือดำบริสุทธิ์ครับ

ผมเข้ามาแบบไม่สนทฤษฎีใดๆ มาแบบว่าง.ๆ (แต่ไม่เปล่า) ..ส่วนจะเข้ากับข้อไหนก็เป็นเรื่องของเจ้าของทฤษฎี ที่เขาจะจับเราไปใส่ครับ

เท่าที่ผมสัมผัส G2K มาตั้งแต่แรกเริ่ม (ตอนที่ผู้พัฒนาทั้งสองท่านนำเสนอ G2K ที่ สคส.) ผมยังไม่เห็นว่า G2K จะเปลี่ยนปรัชญาการพัฒนาแต่อย่างไรเลย ...การปรับด้านเทคนิควิธีใช้ก็เป็นเรื่องธรรมดาของเทคโนโลยี อีกอย่างชุมชนแห่งนี้ก็มีสมาชิก ไม่ว่าจะหน้าเดิม-หน้าใหม่ ...ก็น่ารัก จริงใจ ตรงไปตรงมาดีครับ

ผมสรุปสั้นๆ เท่านี้ก่อนครับ...

สวัสดีค่ะ...ท่าน ดร.แสวง

บันทึกของอาจารย์ก็ยังคงมีพลัง...ทางความคิดอยู่เช่นเดิม...เป็นกะตุ้นได้ทั้งความคิดและอารมณ์อย่างยิ่ง..

  • ความคิด..คือ..ทำให้คนเสียสมดุลทางปัญญา จนต้องเข้าแลกเปลี่ยนแสดงทัศนะ
  • อารมณ์ คือ ... กระทบบางส่วนของอารมณ์และทัศนะคติ...ทั้งเชิงเห็นชอบและไม่เห็นด้วย...

สำหรับกระปุ๋มเอง...อาจกระทบส่วนแรกมากหน่อย...ส่วนหลัง...ไม่ค่อยมีผล...แต่ก็อยากร่วมทิ้งรอยทางคิดตามทัศนะของตนเอง...ไว้...

กรอปกับกำลังทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง การสร้างความรู้และนำไปสู่การจัดการความรู้...จึงไม่ค่อยสนใจว่าใครจะบันทึกอะไรอย่างไร...แต่จะชอบเข้ามาอ่านสิ่งที่เป็นกึ๋น(Tacit Knowledge)..ทีมีในบันทึกของผู้เขียน...มากกว่าเรื่องทั่วไป...และสำหรับตนเอง...ชอบเขียนสิ่งที่มันเกิดเป็นกระบวนการความคิดที่วนอยู่ทั้งในสมองซีกซ้ายและขวา...อันมาจากการเกิด Knowledge Construction....และ get ออกเป็นบางสิ่งบางอย่างและบางเรื่อง...และไม่ค่อยสนใจว่าจะตอบสนองต่อความต้องการของคนอ่านหรือไม่...เพราะไม่ได้เข้ามาทำการค้าหรือการตลาดทางปัญญา...แต่อยากร่วมบันทึกเก็บไว้...ในคลังเก็บความรู้นี้ค่ะ...

(^____^)

กะปุ๋ม

สวัสดีค่ะท่าน ดร.แสวง ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • ความคิดเห็นของทุกท่านที่นี้  ถูกต้องไปหมดค่ะ
  • บางครั้งบันทึกหวานจนเอียนก็เหมาะสมกับท่านที่ชอบ   ท่านไม่ชอบก็ไปอ่านแนวบู๊ล้างผลาญ  หรือแขวงปรัชญา  หรือแนวประชาธิปไตย  หรืออะไรตามที่ท่านชอบ
  • ครูอ้อยเข้ามาเขียนบันทึก  ที่มีถึง 12 บล็อก  แต่ละบล็อกก็มีหลากหลาย  ซึ่งท่านเลือกอ่านได้
  • นวนิยาย..ยังมีหลายอย่างหลายแนว  ท่านชอบอย่างไรท่านก็ซื้ออย่างนั้นมาบริโภค  ก็ได้ในสิ่งที่ปรารถนา 
  • ครูอ้อยชอบอ่านทุกอย่าง  เพื่อบันเทิง  ประเทืองปัญญา  มิได้รังเกียจหรือบ่นว่าไม่ชอบสักบันทึกหนึ่ง  อ่านแล้วก็แสดงความคิดเห็นเป็นกำลังใจผู้เขียน  สุดแล้วแต่ท่าน
  • แม้แต่ภาพ ที่นำมาทาย  ครูอ้อยก็ชอบทายและเข้าร่วม โดยมิได้ปฏิเสธความรู้ใดๆ  โดยไม่มีใครบังคับ
  • จะมาบังคับใครๆให้ชอบเรา  ก็เป็นไปไม่ได้  แต่ก็ยังมีคนมาชอบเราจนได้  ชุมชน G2K นี้กว้างขวางเกินกว่าที่ท่านคิดนะคะ
  • ครูอ้อยก็ชอบท่านอ่านบันทึกของท่าน ดร.แสวง  คุณหมอมาโนช  ที่มีความคิดตรงไปตรงมาและเป็นแนวของตนเอง  ใครๆก็มีบุคลิกลักษณะของตนเอง  ตามแนวทางการอยู่ร่วมกันตามกติกา  ที่ตกลงกัน  ที่นี่สุภาพชน  คนมีปัญญา..แต่บางครั้งและหลายๆครั้งก็ไม่กล้าจะแสดงความคิดเห็น..เกรงว่าจะไม่ตรงประเด็น
  • แต่จำเป็นต้องเขียนแจ้งท่านบ้าง..เมื่ออ่านพบ...ข้อความบางคำ  บางประโยคที่โดนใจ  ติดใจ

ขอบคุณค่ะ...ที่อ่านจนจบ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาแสดงความรู้สึก "จริงๆ" ที่ผมอยากได้ยินมากว่า "ยอวาที" เพราะคำพูดที่ตรงไปตรงมานั้นอาจฟังไม่รื่นหู แต่ก็มีประโยชน์ ถ้าให้เลือก

ผมชอบความจริงใจมากกว่าครับ

แต่มีรื่นหูแฝงๆมาบ้างก็ไม่เป็นไร ถ้ามากก็จะเลี่ยน

ผมเห็นด้วยกับการให้รางวัล แต่ควรเป็นไปตามเป้าหมายของงานจริงๆ ไม่ใช่ให้ด้วยความรู้สึกเฉยๆ จะเสียประโชน์ที่ใหญ่กว่า

แค่นั้นแหละครับคือเป้าหมายที่ผมแจงไว้ข้างต้น

ผมเป็นคนไม่ชอบอะไรหวานๆ และไม่ชอบทานอาหารหวาน และจะมีปัญหากับแม่ค้าที่ชอบใส่น้ำตาลในอาหารและขนมมากๆ

ผมไม่ชอบน้ำตาลด้วยสองเหตุผลคือ

  • ร่างกายผมปฏิเสธน้ำตาลในอาหาร ทานไปแล้วจะเปรี้ยวปากและรำคาญเป็นชั่วโมง
  • และการผลิตน้ำตาลจากอ้อย ได้ทำลายระบบนิเวศทั้งก่อน ระหว่าง และหลังผลิตอย่างรุนแรง

ผมเลยมีเหตุผลมากพอที่จะปฏิเสธความวานในแทบทุกเรื่อง ทั้งอาหารและคำพูด

 แต่ผมยังชอบ "ครูอ้อย" เช่นเดิม อย่าตัดคำว่าครูออกนะครับ ความหมายจะเปลี่ยนทันที

 

 

เรียนท่านดร.แสวง ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • ย้ำ..อย่าตัด  " ครู " ออกนะ  มิฉะนั้น  ความหมายจะเปลี่ยนทันที
  • ทราบแล้วค่ะ เวลาที่พบท่านตัวต่อตัว  ก็ต้องแนะนำตัวว่า  " ดิฉันชื่อ  ครูอ้อยนะคะ "

ขอบคุณค่ะท่าน

ขอบคุณครับ ไม่ต้องแนะนำก็ได้มั้งครับ จำได้แล้วครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท