นที 12


วันแรงงาน

เริ่มงาน 8.30 น. วันนี้ได้ลงไปในห้องสตูดิโอซึ่งพี่โอ๊ดโดยงานที่พี่สั่งให้ทำมีดังนี้

1.เช็คไมโครโฟน ไมโครโฟนที่ใช้คือไมค์เหน็บโดยมี5ตัววิธีการคือ

1.1 ใส่ถ่าน

1.2 เปิดไมโครโฟน

1.3 เสียบหูฟังที่กล้อง (กล้องที่ใช้ถ่ายในสตูดิโอ โดยผมเช็คเสียงที่กล้อง 1 )

1.4 ทดสอบเสียง

การเทสเสียงไมโครโฟน  ซึ่งไมที่ใช้จะเป็นแบบไวเล็ต ซึ่งจะมีทั้งหมด 5 ตัว โดยก่อนอื่นเราจะทำการเปิดเครื่อง Mixer ก่อน จากนั้นจึงเปิดกล่องสัญญาณของไม ที่มีทั้งหมด 5 กล่องสัญญาณ จากนั้นก็จะทำการปรับไฟ สตูดิโอ

       แล้วต่อมาผมจึงได้ช่วย อาจารย์ยุทธนัน ถ่าย Stock งานประมาณ 3 นาที เกี่ยวกับเรื่องกล้องดูดาว ซึ่งการ Stock งานนั้นจะเป็นการถ่ายบันทึกงานที่เราต้องการเก็บไว้ในม้วนเทป เพื่อที่จะนำมาใช้ภายหลังได้ครับ

หลังจากนั้นผมก็ไปเรียนแต่งหน้า

โดยมีทริปการแต่งหน้านำมาฝาก

#เมื่อรองพื้นเสร็จเพื่อนมีรูปหน้า 2 ด้านที่ไม่เท่ากันเราจึงต้องทำการลบบริเวณที่เป็นส่วนเกินทิ้งหรือที่เรียกว่า การเชดดิ้ง

#เราก็จะทำการลงสีตาให้เพื่อนเราควรเลือกสีที่เป็นสีกลางๆคือสีน้ำตาลเพื่อที่จะใส่เสื้อผ้าได้ทุกสีและเป็นธรรมชาติและที่สำคัญทาง สสวท เป็นรายการเกี่ยวกับการศึกษาเราจะแต่งสีที่ฉูดฉาดไม่ได้

#การปัดแก้มเพื่อนเป็นคนหน้ากลมเราจะต้องปัดให้เป็นรูปสามเหลี่ยม เพื่อที่จะทำให้รูหน้าของเพื่อนดูเรียว การลงสีแก้มเราก็ต้องดูให้เข้ากับสีตาด้วย

#ปากเพื่อนด้านล่างใหญ่กว่าด้านบนเราจะทาปากด้านล่างไม่เต็มปากเพื่อที่จะทำให้ปากเพื่อนดูเล็กลง

******คิ้วเพื่อนเป็นคนคิ้วหนาจึงไม่ต้องเขียนเพียงปัดมาสคาร่าสีใสๆก็พอ

           

ช่วงบ่าย

ทานข้าวเสร็จก็ขึ้นมาช่วยอาจารย์วิจิตรและพี่ๆจัดห้องสตูดิโอเนื่องจากวันพรุ่งนี้จะมีการอัดรายการ

เลยต้องช่วยจัดฉากเพื่อเตรียมในวันพรุ่งนี้

การจัดก็มีการย้ายโต๊ะ ย้ายฉากหลัง ซึ่งในงานครั้งนี้อาจารย์ได้เปลี่ยนฉาหหลังใหม่ ผมก็ได้ร่วมงานกับชัยฤทธิ์ สุไลมาน และพี่โอ๊ด  ช่วยกันตัดไม้เพื่อนำมาทำฉาก

    เวลาประมาณ 16.00 น. อาจารย์วิจิตรสอนการตัดงานที่จะส่งไป ETV ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง   งานที่นำมาตัดก็เป็นงานที่ค่อนข้างจะสมบูรณืเพียงแต่เมาแก้ไขตอน Title นิดหน่อย  และทำการบันทึกลงม้วน BATACAM

     และอาจารย์ดุสิตก็สอนเกี่ยวกับเทคนิคและความเหมาะสม เช่น เราไม่ควรมีเทคนิคการ Dissolve ตลอดทั้งเรื่องการ  Dissolve   ควรเป็นภาพที่แสดงการเปลี่ยนแปลงของการเวลามากกว่าหรือการเปลียนความรู้สึกเมื่อเราดูภาพๆนั้น

*อาจารย์ได้แนะนำว่าในการตัดต่อเราไม่ควรใช้เอฟเฟ๊คเกินความจำเป็นเพราะว่ามันจะดูไม่สวยงามหรือดูแล้วไม่รู้เรื่อง (เรียกว่าใช้เอฟเฟ๊คเฝือเกินไป)

     อาจารย์วิจิรสอนให้สอบถามเกี่ยวกับเรื่องที่เราไม่เข้าใจ

*ตัวหนังสือที่เราควรมีใน วีดีทัศน์ 1 เรื่องควรประกอบด้วย

  -Main Title ชื่อเรื่องและคำขึ้นต้นเรื่อง

  - Introduction Title แนะนำวีดีทัศน์

  - Sub Title อธิบายความเป็นไปของเรื่อง

  - Credit Title ผู้สร้าง ผู้แสดง ผู้เกี่ยวข้อง

  - End Title จบ

*การ Make movie คือการที่เราตัดต่ออยู่บน Time line ไว้แล้วบางช่วงและเราคิดว่าบริเวณนั้นเราจะไม่แก้ไขแล้วเราก็จะนำงานที่เป็นก้อนเล็กๆเหล่านั้นมารวมกันเป็นก้อนเดียว เพื่อง่ายต่อการทำงานและประหยัดเวลาด้วย  

  วันนี้ได้เรียนรู้อะไรเยอะมากเลยและได้ออกจากที่ทำงานตอน17.30 น. โดยประมาณ   

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 7961เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2005 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท