(Re-use) Systems Thinking


จากแนวคิด ของ Peter M.Senge สำหรับการเป็นองค์กรเรียนรู้ และบุคคลเรียนรู้กฏ 5 ประการ ... 1. ความเชี่ยวชาญในการสร้างพลังแห่งตน (Personal Mastery) 2. แบบจำลองความคิด (Mental Models) 3. การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Building Shared Vision) 4. การเรียนเป็นทีม (Team Learning) 5. วิธีคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

กฎข้อที่ 5. วิธีคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

การคิดเชิงระบบเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดในหลัก 5 ประการขององค์กรเรียนรู้และบุคคลเรียนรู้ Peter M. Senge ให้ความสำคัญกับ Systems Thinking มาก จึงเริ่มต้นชื่อหนังสือของเขาทั้งสองเล่มว่า ?The Fifth Discipline? ซึ่งเป็นลักษณะของการคิดเชื่อมโยง มองภาพรวมหรือภาพจากตานก คิดเชิงสังเคราะห์มากกว่าวิเคราะห์แยกแยะ    มองเห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ของระบบ ทั้งความสัมพันธ์เชิงลึกและความสัมพันธ์แนวกว้าง ในลักษณะที่เป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน มากกว่าคิดแบบเหตุ-ผล เชิงเส้นตรง    คิดเน้นที่กระบวนการหรือแบบแผน (pattern) มากกว่าภาพเป็นจุด ๆ (events)


Stephen P.Robbins และ Mary Coulter นักวิชาการด้านการจัดการที่มีชื่อเสียงได้กล่าวถึงองค์กรแห่งการเรียนรู้ไว้ในหนังสือ ?Management 8th Edition? ว่าแนวคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงสร้างองค์กรแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นเรื่องของกรอบความคิด (Mindset) หรือปรัชญา (Philosophy) ที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบองค์กร องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นองค์กรที่ได้พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ ปรับตัวและเปลี่ยนแปลงขององค์กรอย่างต่อเนื่อง พนักงานในองค์กรจะจัดการกับองค์ความรู้ต่างๆ ด้วยการศึกษา และการถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆ ให้แก่ผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเต็มใจที่จะประยุกต์ความรู้เหล่านั้นไปใช้กับการตัดสินใจและการปฏิบัติงาน

Stephen P.Robbins และ Mary Coulter ได้กล่าวถึงลักษณะที่สำคัญขององค์กรแห่งการเรียนรู้ว่า เป็นองค์กรที่มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

รูปแบบขององค์กร (Organization Design) คือ ไร้พรมแดน (Boundless) การทำงานเป็นทีม (Team) และการให้อำนาจ (Empowerment) บุคลากรขององค์กรแห่งการเรียนรู้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแบ่งปัน (Share) ข้อมูล และให้ความร่วมมือ (Collaboration) กับทุกกิจกรรมของงานต่างๆ ของทุกหน่วยงานในองค์กร ถึงแม้ว่างานนั้นจะเป็นงานของหน่วยงานอื่น หรือแม้แต่งานในลำดับชั้นอื่นๆ ขององค์กรก็ตาม ซึ่งการกระทำในลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการลด หรือกำจัดโครงสร้างหรือขอบเขตที่เป็นทางการขององค์กรในบรรยากาศการทำงาน บุคคลากรจะมีอิสระในการทำงานร่วมกันและเต็มใจให้ความร่วมมือในการทำงานขององค์กรด้วยวิธีการที่ดีที่สุดที่เขาสามารถทำได้ ตลอดจนเรียนรู้ร่วมกัน ความจำเป็นของความร่วมมือในรูปแบบต่างๆทำให้การทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับองค์กรแห่งการเรียนรู้ พนักงานจะต้องทำงานร่วมกันเป็นทีมในการดำเนินทุกกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับองค์กร โดยทีมงานต่างๆเหล่านี้จะได้รับมอบอำนาจให้ตัดสินใจเกี่ยวกับงานหรือประเด็นปัญหาต่างๆ เมื่อพนักงานและทีมได้รับมอบอำนาจ ผู้บังคับบัญชาจึงไม่จำเป็นต้องกำกับหรือควบคุมการทำงาน บทบาทของผู้จัดการจึงเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ผู้สนับสนุน (Supporter) และที่ปรึกษา (Advocate) ของทีมงาน


บทบาทผู้นำ (Leadership) ต้องมีวิสัยทัศน์ร่วม (Share Vision) และความร่วมมือ (Collaboration) คือการส่งเสริมการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมเกี่ยวกับอนาคตขององค์กร ตลอดจนการโน้มน้าวให้สมาชิกขององค์กรมุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ร่วมนั้นๆ นอกจากนี้ผู้นำยังต้องส่งเสริมและผลักดันบรรยากาศแห่งความร่วมมือให้เกิดขึ้น ผู้นำที่มีความมุ่งมั่นและเข้มแข็งเท่านั้นจึงจะสามารถแสดงบทบาทดังกล่าวได้อย่างสัมฤทธิผล

วัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) ต้องมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด (Strong Mutual Relationship) สำนึกของความเป็นกลุ่ม (Sense of Community) ความใส่ใจ (Caring) และความไว้วางใจ (Trust) คือวัฒนธรรมขององค์กรที่ทุกคนเห็นด้วยและยึดมั่นในวิสัยทัศน์ร่วม และทุกคนตระหนักถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างกระบวนการ กิจกรรม และหน้าที่ขององค์กรกับสิ่งแวดล้อมภายนอก บรรยากาศขององค์กรจะเต็มไปด้วยสำนึกของความเป็นกลุ่ม ความใส่ใจซึ่งกันและกัน ตลอดจนความไว้วางใจ ดังนั้น พนักงานในองค์กรแห่งการเรียนรู้จึงสามารถสื่อสาร แลกเปลี่ยน ทดลองและเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวลกับการวิพากษ์วิจารณ์หรือการลงโทษขององค์กร

สรุปหลัก 5ประการขององค์กรเรียนรู้องค์กรเรียนรู้เกิดจากการจัดบรรยากาศ  กระบวนการ  เงื่อนไข  และการฝึกทักษะ ให้บุคลากรเป็นบุคคลเรียนรู้    โดยยึดหลักสำคัญ 5 ประการคือ

(1) การพัฒนาความเชี่ยวชาญในการสร้างพลังแห่งตน (2) แบบจำลองความคิด
(3) การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม
(4) การเรียนรู้เป็นทีม
และ (5) การคิดเชิงระบบ

หลัก 5 ประการนี้เกื้อกูลและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยอาศัยพลังแห่งการเรียนรู้เป็นกลุ่ม  พลังแห่งการมองภาพรวม  มองความเชื่อมโยง  มองความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเป็นพลวัต  มองอนาคต  มองเชิงบวก  มองเห็นสภาพความเป็นจริง  มองแบบไม่ยึดติด  ลดอัตตาหรือตัวกู-ของกู  มองที่ประโยชน์หรือความมุ่งมั่นเพื่อส่วนรวมหรือคุณค่าอันยิ่งใหญ่

อาศัยพลังแห่งทักษะของการเรียนรู้ร่วมกัน   และ การเปลี่ยนสภาพหรือสิ่งที่ดูเสมือนเป็นจุดอ่อนหรือปัญหาให้กลายเป็นจุดแข็ง เป็นโอกาสหรือพลัง

 

 

คำสำคัญ (Tags): #lo
หมายเลขบันทึก: 79561เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2007 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พี่เอ ค่ะ

รออ่าน ข้อ 1-4 อยู่นะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท