การนิเทศเพื่อการวิจัย


การนิเทศแบบให้การบ้านนำไปสู่การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

       ถ้าพูดถึงการวิจัย ครูส่วนใหญ่ถือว่าเป็นการเพิ่มงานหรือสร้างภาระ และไม่มีเวลาที่จะทำวิจัย แต่เมื่อไรก็ตาม ถ้านำการวิจัยกับการสอนมาหลอมรวมภาษาปัจจุบันเรียกว่า บูรณาการไว้ด้วยกัน โดยใช้การสอนนำการวิจัย จะดูเป็นเรื่องง่ายแม่เพิ่มภาระ  เพราะครูจะถนัดเรื่องการสอน แล้วเชื่อมโยงการสอนไปสู่การวิจัยให้ได้ เช่น ปัญหาที่เกิดกับผู้เรียน คือ ตัวแปรตาม สิ่งที่ครูนำมาแก้ปัญหา/พัฒนา(สื่อ/นวัตกรรม)ผู้เรียนก็คือ ตัวแปรต้น นักเรียนที่นำมาแก้ปัญหา/พัฒนาเปรียบได้กับกลุ่มตัวอย่างเป็นต้น เมื่อครูนำสื่อ/นวัตกรรมไปใช้ ครูก็จะต้องมีการบันทึกผลโดยใช้เครื่องมือวัดผลที่สอดคล้องกับพฤติกรรมที่ต้องการแก้ปัญหา เครื่องมือวัดผล ก็คือ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ต่อจากนั้นนำผลที่ได้จากการบันทึก มาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป โดยใช้สถิติง่าย ๆ ค่าร้อยละ หรือค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำมาเปรียบกับเกณฑ์หรือเป้าหมายที่กำหนด ก็จะทราบว่า สื่อ/นวัตกรรมที่ใช้แก้ปัญหาครั้งนี้เป็นอย่างไร สามารถพัฒนาผู้เรียนได้หรือไม่ ถ้าบรรลุเป้าหมายก็แสดงว่า สื่อ/นวัตกรรมดังกล่าวมีความเหมาะสม แต่ถ้าไม่บรรลุเกณฑ์หรือเป้าหมายต้องหาสื่อ/นวัตกรรมใหม่ ต่อจากนั้นก็เขียนรายงานผลตามความเหมาะสม เพื่อบอกกล่าวให้ผู้อื่นรู้และนำไปปรับใช้

       วิธีการหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาเรื่องครูไม่ทำวิจัย คือ การนิเทศแบบให้การบ้าน หมายความว่า ระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศต้องมีการให้การบ้าน ผู้นิเทศให้การบ้าน ผู้รับการนิเทศทำการบ้าน ผู้นิเทศตรวจการบ้าน สำหรับการบ้านที่ให้จะต้องให้ทีละขั้นตอนหรือประเด็น เช่น การบ้านแรก คือ การให้ครูไปวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดกับผู้เรียนให้ได้ แล้วส่งการบ้าน ผู้นิเทศตรวจการบ้านพร้อมชี้แนะ(นิเทศ) แล้วให้การบ้านต่อ คือ ผู้รับการนิเทศคิดหาสื่อ/นวัตกรรม  พร้อมนำเสนอให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วส่ง ผู้นิเทศก็ตรวจสอบสื่อ/นวัตกรรม  ว่าเหมาะสมกับปัญหาหรือไม่ ผู้นิเทศให้ข้อเสนอแนะ แล้วให้การบ้านต่อไปสร้างสื่อ/นวัตกรรม  มาให้สมบูรณ์และสร้างเครื่องมือวัดผลมาด้วย เสร็จแล้วก็ส่ง ผู้นิเทศก็ตรวจและนิเทศ เรื่องสื่อ/นวัตกรรม  และเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ต่อจากนั้นเมื่อครูได้สื่อ/นวัตกรรม  และเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วให้ครูวางแผนการบันทึกข้อมูลและนำไปใช้กับนักเรียนจริง พร้อมกับบันทึกผล แล้วนำมาส่ง ผู้นิเทศทำการตรวจและนิเทศ พร้อมกับฝึกการวิเคราะห์ข้อมูล แปลผลข้อมูลและเขียนรายงาน

     การนิเทศแบบให้การบ้าน ดังกล่าว จะมีระยะเวลาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับศักยภาพของครูแต่ละคน ครูบางคนทำงานรวดเร็วจะไปได้เร็ว ครูบางคนช้า ก็ต้องคอยให้กำลังใจ วงจรการทำงานอาจจะไม่เท่ากันในแต่ละคน บางคนต้องการรายละเอียดก็นิเทศเพิ่ม แต่บางคนไม่ต้องการรายละเอียดก็ไม่จำเป็นต้องเพิ่ม การนิเทศจะได้ผลเพระมีผู้นิเทศให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา ลองไปทำแล้วจะประสบผลสำเร็จ

หมายเลขบันทึก: 79453เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2007 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 13:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สนใจการนิเทศ แบบให้การบ้านครู ไม่ทราบว่าจะทำเป็นโครงงานวิจัยคุณภาพได้หรือไม่ (ของ ศน.ที่ใช้ในการประชุม)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท