การเขียนโครงการฝึกอบรม


โครงการฝึกอบรม
การเขียนโครงการฝึกอบรม การเขียนโครงการฝึกอบรม ควรจะ ประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้1. ชื่อโครงการ      โดยทั่วไป ชื่อโครงการมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็น ประเภทของโครงการ โดยทั่วไปมักใช้ชื่อโครงการ 3 ประเภท คือ
1. โครงการฝึกอบรม     หมายถึง โครงการที่เน้นถึงการจัดประสบการณ์ให้ผู้เข้ารับการ

ฝึกอบรมได้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติในสิ่งที่บกพร่องเป็นปัญหา หรือเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพ

ในการปฏิบัติงานที่จำเป็น โดยเทคนิค วิธีการฝึกอบรม อาจมีหลายชนิดประกอบกัน แต่มักจะเน้นการบรรยายเป็นส่วนประกอบสำคัญ                2. โครงการสัมมนา   หมายถึง โครงการที่มีลักษณะเป็นการประชุมโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในงาน หรือเรื่องที่กำหนด มาอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เทคนิควิธีการ ที่ใช้มักจะเป็นเทคนิค ที่เน้นกลุ่มผู้เข้าอบรมเป็น ศูนย์กลาง

3. โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ   หมายถึง การฝึกอบรมที่เน้นให้ผู้เข้าอบรมเกิดความ

สามารถหรือทักษะในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม โดยเน้นการฝึกปฏิบัติของผู้เข้าอบรมเป็นสำคัญ                ส่วนที่ 2  เป็นลักษณะหรือความเกี่ยวข้องของโครงการ ว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร หรือเกี่ยวกับใคร ส่วนใหญ่มักจะกำหนด ชื่อโครงการใน 3 ลักษณะ คือ1.       กำหนดตามตำแหน่งงานของผู้เข้ารับการฝึกอบรม เช่น การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย การฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการยุคใหม่ การฝึกอบรมนักบริหารงานมหาวิทยาลัย การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ธุรการ ฯลฯ2.       กำหนดตามลักษณะของเนื้อหาวิชาหลักของหลักสูตร เช่น การฝึกอบรมเทคนิคการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารงานฝึกอบรม การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การวางแผนการปฏิบัติงาน การฝึกอบรมหลักสูตร การใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel for Windows การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อรื้อปรับกระบวนการทำงาน ในสำนักงาน อธิการบดี ฯลฯ3.       กำหนดตามลักษณะของเนื้อหาวิชาหลักของหลักสูตรและตำแหน่งของผู้เข้าอบรมประกอบกัน เช่น การฝึกอบรม ปฐมนิเทศ ข้าราชการฝ่ายบริการทางวิชาการและธุรการ การฝึกอบรมการพัฒนาเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร การสัมมนาการบริหารสำหรับผู้บังคับบัญชา การฝึกอบรมหลักสูตรสุขศึกษาสำหรับผู้ช่วยทันตแพทย์ ฯลฯ2. ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม  3. หลักการและเหตุผล         แนวการเขียนหลักการและเหตุผล พอสรุปได้ดังนี้
                  1) หลักการที่ควรเป็นหรือควรยึดถือปฏิบัติ
                  2) สภาพหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พฤติกรรมของผู้ที่ควรจะต้องมาเข้ารับการฝึกอบรม) ซึ่งเบี่ยงเบนไปจากหลักการที่ควรจะเป็น และเป็นสถานการณ์อันไม่พึงปรารถนา
                  3) ระบุถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความเบี่ยงเบนระหว่างหลักการกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงว่าเสียหายเพียงใด หรือมีความรุนแรงแค่ไหน หากปล่อยทิ้งไว้จะเสียหายมากน้อยอีกสักเท่าใด
                  4) ระบุว่าความเบี่ยงเบนจากหลักการหรือสภาพที่ควรจะเป็นหรือปัญหาตามข้อ 2) นั้นเป็นความจำเป็นในการฝึกอบรม อย่างไร และเพียงใด
                  5) สรุปว่า เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำเป็นที่จะต้องฝึกอบรมใคร ในเรื่องอะไร
สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สรุปถึงวิธีการเขียนหลักการ และเหตุผลว่า ควรจะเขียนดังนี้                  1. เขียนในลักษณะบรรยายความ ไม่นิยมเขียนเป็นข้อ ๆ
                  2. จะต้องเขียนให้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย และมีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ
                  3. ย่อหน้าแรก เป็นการบรรยายถึงเหตุผลและความจำเป็นในการจัดโครงการฝึกอบรมครั้งนี้ โดยบอกที่มา และความ สำคัญ ของโครงการฝึกอบรมนั้น ๆ
                  4. ย่อหน้าที่สอง เป็นการอธิบายถึงปัญหาข้อขัดข้อง หรือพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนจากหลักการที่ควรจะเป็น ซึ่งทำให้เกิด ความ เสียหายในการปฏิบัติงาน (หรืออาจเขียนรวมไว้ในย่อหน้าที่ 1 ก็ได้)
                  5. ย่อหน้าสุดท้าย เป็นการสรุปว่าจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้รับผิดชอบในการพัฒนาบุคคล จึงเห็นความจำเป็น ที่จะต้อง จัดโครงการฝึกอบรมขึ้นในเรื่องอะไร และสำหรับใคร เพื่อให้เกิดผลอย่างไร
หากผู้รับผิดชอบจัดการฝึกอบรมต้องการเขียนหลักการและเหตุผลแบบสั้น ก็อาจเขียนในแนวนี้ได้ คือ1.       เขียนถึงความเป็นมาหรือความสำคัญของเรื่องที่ประสงค์จะจัดโครงการฝึกอบรม และอาจรวมไปถึงสภาพการณ์ หรือหลักการที่ควรจะ2.       เขียนถึงสภาพปัญหาหรือความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นจริงในเรื่องนั้นๆ โดยอาจระบุถึงความรุนแรงของปัญหา และความ เสียหาย ที่เกิดขึ้นด้วยหรือไม่ก็ได้ หรือ เขียนถึงแนวโน้มของปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หากไม่มีการเตรียมป้องกัน ไม่ให้เกิดขึ้นด้วยการพัฒนาบุคลากรกลุ่มดังกล่าวด้วยการฝึกอบรมที่เห็นควรจะจัดให้มีขึ้น   สรุปว่า เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา หรือ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องจัดฝึกอบรมขึ้นสำหรับใคร ในเรื่องอะไร4. วัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรม1.       สามารถเข้าใจง่าย ชัดเจน ไม่คลุมเครือ2.       เฉพาะเจาะจง ไม่กว้างจนเกินไป มิฉะนั้นจะทำได้ยากและวัดยาก3.       ระบุถึงผลลัพธ์ที่ต้องการ ว่าสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นคืออะไร4.       จะต้องสามารถวัดได้ ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ5.       มีความเป็นไปได้ ไม่เลื่อนลอย หรือทำได้ยากเกินความเป็นจริง5. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม               เป็นการระบุว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรม/ผู้เข้าร่วมสัมมนา/ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร ดังนี้5.1 เป็นบุคลากรฝ่ายใด หรือดำรงตำแหน่งใด ระดับใด และสังกัดหน่วยงานใดบ้าง5.2    ระบุระดับความรู้พื้นฐาน ว่าจะต้องได้ผ่านการฝึกอบรมใดมาก่อน หรือต้องมีความรู้พื้นฐาน หรือประสบการณ์ใด อยู่แล้วบ้าง หรือ ในบางหลักสูตรอาจจำเป็นต้องระบุวุฒิการศึกษาก็ได้ 5.3    ต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ หรือกำลังจะได้รับมอบหมายงานใด แล้วแต่ความจำเป็น ของแต่ละโครงการ5.4     อาจระบุคุณสมบัติเกี่ยวกับความสามารถในการมาเข้ารับการฝึกอบรมได้ตลอดหลักสูตร หรือเกี่ยวกับการยินยอมอนุญาต ของผู้บังคับบัญชาด้วยก็ได้ (ในกรณี หลักสูตรฝึกอบรมระยะยาว)5.5    อาจระบุว่าเป็นผู้เข้ารับการฝึกอบรมจากหน่วยงานใดบ้าง จำนวนกี่คน คิดเป็นจำนวนรวมเท่าไร และหากจะมีการจัดแบ่ง เป็นรุ่น คาดว่าจะมีกี่รุ่น และรุ่นละเท่าใดด้วยก็ได้6. หลักสูตรฝึกอบรมผู้เขียนโครงการฝึกอบรม จะต้องนำหลักสูตรและรายละเอียดหัวข้อวิชาที่ได้รับการสร้างหรือพัฒนา ไว้แล้วตามขั้นตอนในบทที่ 4 มาบรรจุลงในโครงการฝึกอบรม โดยมีแนวทาง ดังนี้6.1 ระบุหลักสูตรฝึกอบรมและหัวข้อวิชาทั้งหมดที่จะทำการฝึกอบรม โดยเรียงตามลำดับหมวดวิชาและหัวข้อวิชา ที่อยู่ในแต่ละหมวด (ถ้าเป็นหลักสูตรฝึกอบรมระยะยาว และมีหลายหมวด) พร้อมทั้งระบุจำนวนชั่วโมงที่กำหนดไว้ด้วย ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้6.2 ระบุรายละเอียดของหัวข้อวิชาทุกหัวข้อวิชา โดยเรียงตามลำดับตามที่ระบุไว้ในหลักสูตร โดยในรายละเอียดของ แต่ละหัวข้อวิชา จะประกอบด้วย ชื่อหัวข้อวิชา วัตถุประสงค์ แนวการอบรม/ประเด็นสำคัญ วิธีการ/เทคนิคฝึกอบรม และระยะเวลา ฝึกอบรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้7. ระยะเวลาในการฝึกอบรมการเขียนระยะเวลาฝึกอบรม หมายถึงการระบุว่า7.1 การฝึกอบรมจะใช้ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ใด ถึงเมื่อใด ตรงกับวันอะไรบ้าง และรวมกันแล้วเป็นระยะเวลาเท่าใด จำนวนกี่วันทำการหรือกี่ชั่วโมง7.2    ระบุด้วยว่าวันฝึกอบรมตรงกับวันอะไรบ้าง( เช่น วันจันทร์-ศุกร์) ทั้งนี้ เนื่องจากการฝึกอบรมบางโครงการ อาจใช้เวลาฝึกอบรมเป็นระยะๆ ไม่ติดต่อกัน เช่น อาจเป็นทุกวันจันทร์และพุธ ของแต่ละสัปดาห์ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่เท่านี้ จนถึงอีกวันที่หนึ่งก็ได้ ผู้เขียนโครงการจำเป็นต้องระบุให้ชัดเจนเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดด้วยว่า รวมแล้วเป็นวันฝึกอบรมกี่วัน 8. สถานที่ในการฝึกอบรมเป็นการระบุว่า จะใช้สถานที่ใดบ้างเป็นสถานที่ฝึกอบรม หากมีหลายแห่งควรจะต้องระบุด้วยว่า วันเวลาใด ใช้สถานที่ใดในการฝึกอบรม 9. วิทยากรในการฝึกอบรมเป็นการระบุชื่อวิทยากร ตำแหน่ง และส่วนราชการที่สังกัด หากยังไม่ทราบแน่นอนว่าวิทยากรจะเป็นใคร หรือยังไม่สามารถ ระบุได้ อาจระบุเพียงว่าวิทยากรมาจากหน่วยงานหรือองค์กรใดเท่านั้นก็ได้ 10. เทคนิค/วิธีการฝึกอบรมเทคนิคการฝึกอบรม การบรรยาย การอภิปราย การสัมมนากลุ่ม เกม และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ต่างๆ11. ประมาณการค่าใช้จ่ายของโครงการฝึกอบรม- ค่าสมนาคุณวิทยากร1. ชั่วโมงการฝึกอบรมที่มีลักษณะเป็นการบรรยาย ให้จ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรไม่เกิน 1 คน                                2. ชั่วโมงการฝึกอบรมที่มีลักษณะเป็นการอภิปรายเป็นคณะ หรือสัมมนา ให้จ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรได้ไม่เกิน 5 คน โดยรวมถึงผู้ดำเนินการอภิปรายหรือสัมมนาด้วย3. ชั่วโมงการฝึกอบรมที่มีลักษณะเป็นการแบ่งกลุ่มฝึกภาคปฏิบัติ แบ่งกลุ่มอภิปราย หรือแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม ซึ่งได้ กำหนดไว้ในหลักสูตรหรือโครงการแล้วและจำเป็นต้องมีวิทยากรประจำกลุ่ม ให้จ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรได้ไม่เกินกลุ่มละ 2 คน4. ชั่วโมงการฝึกอบรมใดมีวิทยากรเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ข้างต้นให้เฉลี่ยจ่ายค่าสมนาคุณภายใน จำนวนเงิน ที่จ่ายได้ ตามหลักเกณฑ์a.        ค่าสมนาคุณวิทยากรในการบรรยายชั่วโมงละ 600 บาทb.       ค่าสมนาคุณวิทยากรในการอภิปราย/วิทยากรประจำกลุ่ม ชั่วโมงละ 300 บาท-  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มไม่เกิน มื้อละ25 บาท/คนจัดในหน่วยราชการ  สำหรับเอกชนไม่เกิน มื้อละ50 บาท/คน-  ค่าอาหารกลางวันไม่เกิน มื้อละ100 บาท/คนจัดในหน่วยราชการ  สำหรับเอกชนไม่เกิน มื้อละ400 บาท/คน-  ค่าใช้จ่ายในการใช้และการตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม   สามารถเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการใช้และตกแต่งสถานที่ฝึกอบรมได้เท่าที่จ่ายจริง ค่าใช้จ่าย ในรายการนี้ ได้แก่ ค่าแจกันดอกไม้ ค่าจัดทำป้ายชื่อโครงการฝึกอบรม เป็นต้น- ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด-ปิดการฝึกอบรม  ให้เบิกจ่ายสำหรับพิธี เปิดและพิธีปิด ได้ครั้งละ 400 บาท-  ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์-  ค่าพาหนะรับจ้างสำหรับวิทยากรภายนอก-  ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นในการจัดฝึกอบรม    เป็นรายการค่าใช้จ่ายที่ขอตั้งงบประมาณสำรองไว้ เผื่อจะมีรายการค่าใช้จ่ายจำเป็นที่ไม่ได้คาดหมายไว้เกิดขึ้น จะสามารถ มีวงเงิน สำหรับใช้จ่ายได้กรณีการฝึกอบรมนอกสถานที่ทำงาน (ต่างจังหวัด)ต้องเขียนค่าใช้จ่ายเพิ่มคือ-  ค่าที่พัก-  ค่ายานพาหนะ-  ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง-  ค่าเช่าหรือค่าใช้สถานที่ฝึกอบรม-  ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ   เป็นการระบุถึงประโยชน์หรือผลที่คาดว่าจะได้รับจากความสำเร็จของการจัดโครงการฝึกอบรม ทั้งผลทางตรง และผลทางอ้อมที่ดีต่าง ๆ และมีใครบ้าง (ส่วนใหญ่จะเป็นผู้เข้าอบรม) จะได้รับประโยชน์อะไรทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ นั่นคือ จะต้องตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมที่ได้กำหนดไว้นั่นเอง13. การประเมินผลเป็นการระบุว่า จะมีการประเมินผลหรือติดตามผลโครงการฝึกอบรมนั้น ๆ ด้วยวิธีใด โดยใช้เครื่องมืออะไร เช่น               - ประเมินผลด้วยการให้ผู้เข้าอบรมทำแบบทดสอบก่อน-หลังการฝึกอบรม
               - สังเกตการณ์การมีส่วนร่วม และการเรียนรู้ของผู้เข้าอบรมระหว่างการฝึกอบรม
               - ให้ผู้เข้าอบรมกรอกแบบประเมินรายวิชา เพื่อประเมินเนื้อหา วิธีการฝึกอบรม และวิทยากรเมื่อเสร็จสิ้นการอบรมทุกวิชา
               - ให้ผู้เข้าอบรมกรอกแบบประเมินโครงการ เมื่อเสร็จสิ้นการอบรมแล้ว
               - ให้ผู้เข้าอบรมแบ่งกลุ่มทำแบบฝึกปฏิบัติ (Assignment) ในช่วงท้ายของการอบรม ฯลฯ
        

สุภาริณีย์ สายแสงทอง

งานถ่ายทอดเทคโนโลยี

คำสำคัญ (Tags): #โครงการฝึกอบรม
หมายเลขบันทึก: 79408เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2007 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 00:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท