นักวิชาการ จะสู้กับ นักวิชาเกิน ได้อย่างไร


หลักทางวิชาการแล้ว ก็ยังมีเทคนิคคู่ปรับที่สูสีกันกับวิชาเกิน แต่นักวิชาการทั่วไปไม่นิยมใช้กัน ด้วยความไม่ถนัด หรือเหตุผลอื่นๆก็แล้วแต่ เทคนิคที่ว่าก็คือ “วิจัยและพัฒนาเชิงปฏิบัติการ”
 

วันนี้ผมได้ชมรายการทีวีเรื่องปราชญ์เดินดิน ที่ทางรายการไปสัมภาษณ์พ่อทองเหมาะ แจ่มแจ้ง เจ้าสำนัก จุลินทรีย์สร้างโลก แห่งจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ทำให้ผมรู้สึกสงสารนักวิชาการด้านจุลินทรีย์ดิน ที่ไม่ทราบว่าจะต้องเรียน วิชาการ อีกกี่ชาติจึงจะ วิ่งตาม พ่อทองเหมาะได้ทัน

  

นอกจากจุลินทรีย์สร้างโลกแล้ว อีกจุดเด่นของท่านคือ เป็นนักผสมและคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ ไร้เทียมทาน เรื่องการคัดเลือกพันธุ์ข้าวหอมที่ ลงทุน ต่ำ และได้ผลทันที ไม่ต้องรอเทวดาที่ไหนมาโปรด ทำเอง ใช้เอง แบบ ทำเดี๋ยวนี้ได้เดี๋ยวนี้

  หลักวิชาการนั้น เราจะเริ่มจากการวางแผน เตรียมการ ของบประมาณ ดำเนินการ ประเมิน สรุปผล เผยแพร่ ที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย ไม่ต่ำกว่า ๕ ปี กว่าจะได้สักเรื่องเล็กๆ ด้วยงบประมาณมหาศาล พอได้อะไรมาทีก็เกือบจะล้าสมัย หรือหมดสมัยไปแล้วเป็นส่วนใหญ่  

แต่หลักวิชาเกิน เป็นการจัดการความรู้ ที่ทันสมัยตลอดเวลา ใช้งบประมาณน้อย ได้ผลเร็ว โดยการใช้การประเมินผลเชิงประจักษ์ ที่ผู้ใช้เป็นผู้ประเมิน ไม่ได้ผลอย่างไรก็ปรับเปลี่ยนได้ทันที หรืออย่างช้าก็ฤดูถัดไป

  

โดยหลักทางวิชาการแล้ว ก็ยังมีเทคนิคคู่ปรับที่สูสีกันกับวิชาเกิน แต่นักวิชาการทั่วไปไม่นิยมใช้กัน ด้วยความไม่ถนัด หรือเหตุผลอื่นๆก็แล้วแต่ เทคนิคที่ว่าก็คือ วิจัยและพัฒนาเชิงปฏิบัติการ ที่ทำไปปรับไป

ถ้านักวิชาการทำดีๆ แบบไม่ติดกรอบงานแล้ว รับรองว่า นักวิชาเกินทั้งหลายต้องชิดซ้ายเลยครับ เพราะฐานความรู้สูงกว่า มีงบประมาณ เครื่องมือ และเครือข่ายทำงานกว้างขวางกว่า

  

แต่ ก็น่าเสียดายที่นักวิชาการส่วนใหญ่จะติดกรอบหลักการทางวิชาการที่แข็งทื่อ อืดอาด ไม่กล้าคิดนอกกรอบ และไม่ทำงานกับ ความเป็นจริง แต่นิยมทำงานตาม หลักการ

  

และหลักการที่แข็งทื่อที่สุดประการหนึ่งก็คือการใช้หลักการทางสถิติที่ถือว่า ความแปรปรวน เป็นความผิดพลาดในงานทดลอง ทั้งๆที่ความแปรปรวนที่เกิดขึ้นคือของจริง

  

แต่ด้วยการขาดความสามารถในการ วิเคราะห์ ความแปรปรวน จึงนิยม ตัดทิ้งเป็น Error” (ความผิดพลาด) แทนที่จะ วิเคราะห์ ความแปรปรวนว่าเกิดจากอะไร

  

จึงทำให้ ผมไม่ค่อยเข้าใจคำว่า วิเคราะห์ ในความหมายของนักสถิติเท่าไหร่

เพราะผมเข้าใจว่าวิเคราะห์ คือ การแยกแยะองค์ประกอบย่อยๆ ที่ทำให้เราเข้าใจมากขึ้น แต่การวิเคราะห์ความแปรปรวน กลับตัดความแปรปรวนทิ้ง และถ้าแปรปรวนมากก็ตัดทิ้งก่อนนำมาวิเคราะห์ด้วยซ้ำ 

แต่นักวิชาเกินจะนิยมเอาความแปรปรวนมาทำต่อ วิเคราะห์หาข้อเด่น ข้อด้อยของความแปรปรวนเหล่านั้น ผ่านกระบวนการจัดการความรู้แบบธรรมชาติ

จึงเป็นเส้นทางเดินแห่งความสำเร็จของนักวิชาเกินทั้งหลาย ที่นักวิชาการน่าจะนำไปใช้เป็นบทเรียนในการพัฒนา อย่างน้อยแค่ทำงาน วิชาการ ให้ทันพอจะคุยกับ นักวิชาเกิน รู้เรื่องก็ถือว่าเก่งแล้วครับ อย่าเพิ่งคิดไปนำเขาเลยครับ ถ้าเรายังติดกรอบ วิชาการ อยู่ แค่ทันเขาก็นับว่ายิ่งกว่าถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ ๑ ชุดใหญ่สามครั้งซ้อนแล้วครับ

  แต่ถ้าปรับมาเป็น วิจัยและพัฒนาเชิงปฏิบัติการ เมื่อไหร่ จะมีโอกาสได้แซงหน้านักวิชาเกินแน่นอนครับ 
หมายเลขบันทึก: 79376เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2007 01:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรียนอาจารย์แสวง

         บอกได้เลยว่าอาจารย์ไวกริบ  เมื่อคืนราณีก็ได้ดูเหมือนกัน ยอดคนจริงๆเลยค่ะคุณทองเหมาะเนี่ย  ว่าจะนำมาเขียนBlogบอกเล่าเก้าสิบกัน  แต่อาจารย์ชิงเขียนเสียแล้ว  แต่ก็เห็นด้วยค่ะอาจารย์  และอีกอย่างการทำงานของท่านศึกษามาอย่างดี และลงมือทำเลย การผันน้ำก็ใช้จักรยานมาช่วยได้ทั้งออกกำลังการด้วยและได้ประโยชน์จากน้ำด้วย

  10 ปากว่าไม่เท่าตาเห็น

   10ตาเห็น ไม่เท่ามือคลำ

   10 มือคลำก็ไม่เท่าการกระทำ

             

ขอโทษครับที่ตัดหน้าไป แต่ก็เขียนคนละมุมได้นี่ครับ ผมพบกับพ่อทองเหมาะหลายวาระแล้วครับ ขึ้นเวทีบรรยายด้วยกันก็เคย ก็เลยรู้ตื้นลึกมากพอสมควร และเขียนได้รวดเร็วครับ ใครที่ไม่มั่นใจไม่เขียนครับ กลัวปล่อยไก่ครับ
ถ้าระบบราชการเร็วกว่านี้ก็จะดีนะค่ะ
  • ผมเพิ่งทานข้าวมาเสร็จเดี๋ยวนี้เองครับ
  • ระหว่างทานข้าวเพื่อนในวงก็พูดถึงเรื่องนี้
  • ผมรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้ดู มัวแต่ไปดูเรื่องการก่อการร้ายทาง itv และเขียนหนังสืออยู่
  • แต่ได้มาอ่านที่นี้ ก็รู้สึกอะไรบางอย่าง
ประเด็นก็คือหลายคนดูแล้ว(ผมก็ดูครับ  ผมชอบนักข่าวที่สัมภาษณ์ครับ ทำได้กลมกลืนมากครับ) ชอบ  ชาวบ้านประทับใจ เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  แต่ก็กลับไปซื้อข้าวพันธุ์ กข  มาปลูกเหมือนเดิม จะทำอย่างไรดีครับอาจารย์

คนที่เรียนรู้ แตกต่างจากคนที่รับรู้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท