ข้อเสนอแนะจากผลประเมินภายนอกสถาบันอุดมศึกษา (รอบแรก)


         เป็นข้อมูลจากหน้า 35-37 ของเอกสารชื่อ “คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา : ผลประเมินรอบแรก” โดย ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการ สมศ. นำเสนอที่ประชุมสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน 18 ตุลาคม 2548 ครับ

         1. เร่งรัดให้มีการกำหนดมาตรฐานอุดมศึกษาของชาติ เพื่อเป็นเป้าหมายในการจัดการศึกษาอุดมศึกษาของประเทศไทย และของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง อันเป็นจุดเริ่มต้นของระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีคุณภาพ และสอดคล้องกับเอกลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษา

         2. เร่งรัดการปรับปรุงกฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้การประกันคุณภาพมีเอกภาพ ทั้งการประกันคุณภาพภายในและภายนอก รวมทั้งประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพที่ครบถ้วน ทั้งระบบการพัฒนาคุณภาพ ระบบการติดตามคุณภาพ และระบบการประเมินคุณภาพ อีกทั้งมีการดำเนินการประกันคุณภาพ ด้วยการวิจัยสถาบัน การประเมิน และการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง

         3. เร่งรัดการสร้างระบบและกลไก เกี่ยวกับเอกภาพระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษาของระบบอุดมศึกษาของไทย

         4. เร่งรัดให้มีการประกันคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษาของไทยที่หลากปรัชญา และหลายรูปแบบการจัดการศึกษา เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นการให้โอกาสทางการศึกษาแก่ผู้เรียน ต้องประกันคุณภาพการศึกษาที่จัดให้ ไม่ว่าจะจัดในรูปแบบใดก็ตาม

         5. กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติในการผลิต การพัฒนา รักษาระดับคุณภาพอาจารย์อุดมศึกษาให้ได้มาตรฐาน ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ อีกทั้งส่งเสริม สนับสนุน ให้อาจารย์อุดมศึกษามีวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ได้มาตรฐาน เพื่อปฏิบัติภารกิจ "วิจัยในเรื่องที่สอนและสอน บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ในเรื่องที่วิจัย”

         6. แสวงหาระบบและกลไก ในการผลิตบัณฑิตที่ตรงกับความต้องการของประเทศที่มีดุลยภาพของกระบวนทัศน์ Demand side approach และ Supply side approach

         7. จัดให้มีหน่วยงานระดับชาติในการทำหน้าที่ประเมินประสิทธิภาพการสอนและการวิจัย การติดตามผลบัณฑิต และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่เป็นมาตรฐาน สามารถนำผลมาจัดเปรียบเทียบกันได้และไม่เกิดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน

         8. ให้มีการนำปัจจัยด้านคุณภาพ เป้าหมายและรูปแบบของสถาบันอุดมศึกษา เป็นปัจจัยหลักในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษา

         9. ส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิต นักศึกษา โดยเฉพาะองค์การนิสิต นักศึกษาให้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะการปรับ “การเรียน” และเปลี่ยน “การสอน” ระดับอุดมศึกษาให้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

         10. ข้อสุดท้ายนี้เคยเขียนลง blog ไว้ครั้งหนึ่งแล้วกรุณาอ่านต่อที่บันทึกก่อนหน้านี้ครับ < Link >

         วิบูลย์ วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 7936เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2005 12:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 00:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท