ใจ สมอง สองมือ ในการจัดการความรู้


ปัจจัยในการขับเคลื่อนการจัดการความรู้จะต้องอาศัย ใจ สมองและสองมือ

การแปรวิกฤตความยากจนเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง  จะต้องอาศัยปัจจัยในการขับเคลื่อน 3 อย่างด้วยกันคือ ใจ  สมอง และสองมือ 

เริ่มที่ ใจ   คนมีใจเป็นใหญ่เป็นส่วนที่คอยกำกับการกระทำทั้งหลายทั้งปวง ดังนั้นคนที่จะทำงานให้ดีได้ ใจต้องมีคุณธรรม    และต้องทำความคิดให้ตรงให้ถูกต้อง  หากมีใจที่เข้มแข็งและวิถีคิดถูกต้อง  ก็จะแปรวิกฤตเป็นโอกาสได้  ที่สำคัญก็คือคนเราจะต้องตั้งปณิธานให้มั่น ต้องเป็นปณิธานในทางที่ดี เช่น เราจะต้องใช้ชีวิตอย่างพอเพียง  

อย่างนี้ก็จะหายจนได้และต้องเอาชนะปัญหาได้ได้ด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง

ส่วนที่สองคือ สมอง  หมายถึงการรู้จักวางแผนเพื่อนำไปสู่การจัดการร่วมกัน ชาวบ้านจะแก้ปัญหาหรือทำงานอย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ จะต้องวางแผนร่วม  จัดการร่วม  และรับประโยชน์ร่วม  โดยมีบันไดที่ก้าวไปสู่ความสำเร็จ 5 ขั้น

  •   บันไดขั้นแรก  ต้องเน้นทำงานในพื้นที่เล็ก ๆ อย่าไปคิดทำพื้นที่ใหญ่เพราะจะไม่แน่นหนา ต้องเน้นที่พื้นที่เล็กก่อน เช่น ครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล ค่อยเป็นค่อยไปเพราะในพื้นที่เล็กสามารถจัดการร่วมกันได้ดี ดังนั้นพื้นที่ยิ่งใหญ่ก็ทำยิ่งยาก สู้เลือกทำในพื้นที่เล็ก ๆ จะเกิดความเข้มแข็งมากกว่า
  •  บันไดขั้นที่สอง  ดูว่าในพื้นที่เล็กมีองค์ประกอบดี ๆ อะไรบ้าง แล้วเอามาดูร่วมกัน ออกความคิดร่วมกันให้มากที่สุด  มีการจัดการร่วมกันให้เป็นองค์กรชุมชนทั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน องค์การบริหารส่วนตำบล ฯลฯ ทุกภาคส่วนจะมีแผนแล้วเอาแผนนั้นมาปรับใช้เรียนรู้ร่วมกันแก้ไขปัญหาด้วยกัน เอาของดีภายในชุมชนมาจัดหมวดหมู่ เช่น เกษตรกรรม สวัสดิการ ทรัพยากรธรรมชาติ  โดยมีองค์กรเครือข่าย  3  ประสานร่วมกันทำ
  •       บันไดขั้นที่สาม  การจัดการที่จะประสบผลสำเร็จต้องมี ข้อมูล ความรู้ ตัวชี้วัด เป้าหมาย สี่อย่างนี้ต้องมีการจัดเก็บข้อมูลให้ดี เช่นการเก็บข้อมูลรายรับ รายจ่าย แล้วตั้งเป้าหมายไว้ เมื่อทุกคนมีข้อมูลแล้วก็เอามารวมกันทำเป็นแผนแบบผสมผสาน  โดยคนในชุมชนมีความเห็นตรงกัน
  •   บันไดขั้นที่สี่  ควรจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่เดียวกัน หารือกันอยู่เป็นนิจและพร้อมเพรียงกันพัฒนาความรู้ความสามารถเป็นระยะ ๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่ใกล้เคียง มาประชุมเรียนรู้เพื่อจะได้มีอะไรดี ๆ แล้วมาแลกกัน
  •    บันไดขั้นที่ห้าขั้นสุดท้าย  เราต้องมองถึงความเชื่อมโยงประสานกันระหว่างพื้นที่นำมาสานต่อกันเป็นขั้น ๆ ขึ้นมา  ให้เป็นหมู่บ้าน ตำบล จังหวัด ไปจนถึงระดับประเทศ นำมาเกี่ยวโยงเข้าด้วยกัน ทำให้แผนงานนโยบายผสมผสานกลมกลืนกันจนมีคุณภาพประสิทธิภาพใหม่อย่างมีพลัง  เมื่อถักทอกันเป็นเครือข่าย มีการประสานกันจนประสบผลสำเร็จได้แล้วทุกอย่างก็จะเป็นผลดีต่อตัวเรา และเพื่อน ๆ คือสิ่งที่มีคุณค่า
ส่วนสองมือ  ทุกคนมีกันอยู่แล้ว  เรามีสองมือบวกกับเพื่อน ๆ อีกสองมือ ในชุมชนมีเท่าไหร่เอามารวมกันจนเป็นพัน ๆ มือ  นี่คือความสามัคคี แล้วลงมือปฏิบัติ พัฒนา ปรับปรุง จนเกิดเป็นประสบการณ์  การได้เรียนรู้ใหม่ ๆ จะได้ประสบการณ์  จากนั้น ก็นำสิ่งที่ได้กระทำไปสรุป เมื่อเราทำเช่นนี้อย่างต่อเนื่องก็จะได้ผล นั่นคือการก้าวไปข้างหน้าจนสร้างความเชื่อมั่นแล้วเดินไปด้วยกัน เช่นนี้แล้วความยากจนก็จะไม่เหลืออยู่ในระบบความคิด เพราะคนได้ขจัดไปแล้ว              ต้องอาศัย ใจ สมอง และสองมือ เชื่อมโยงรวมจิต รวมใจเพื่อให้แต่ละพื้นที่เรียนรู้และพัฒนาไปจนครบวงจรก็จะก้าวไปสู่สังคมแห่งความสุขอย่างยั่งยืนได้
หมายเลขบันทึก: 79318เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2007 18:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท