ตัวอย่างเว็บต่างประเทศที่ใช้บล็อกบันทึกประสบการณ์และสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ


ดิฉันขออนุญาตนำตัวอย่างเว็บต่างประเทศที่ใช้บล็อกบันทึกประสบการณ์และสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญมาเสนอให้ทุกท่านได้เห็นภาพค่ะ แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจำเป็นต้องเป็นอย่างเขานะค่ะ เนื่องจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกันนั่นเองค่ะ ดังนั้น การจะนำเอาระบบที่ประสบความสำเร็จแล้วในซีกโลกตะวันตกมาใช้นั้นยังคงต้องปรับให้เข้ากับบริบทของไทยค่ะ ดังที่ดิฉันได้บันทึกไว้เรื่อง สมดุลย์ของบันทึกแห่งประสบการณ์และบันทึกแห่งมิตรภาพ

การใช้บล็อกหรือสมุดบันทึกออนไลน์เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การทำงานสู่สาธารณะเป็นเรื่องที่ต่างประเทศทำกันมานานหลายปีแล้วค่ะ เช่น เว็บไซต์ ITToolBox และ หน้ารวมบันทึกล่าสุดในบล็อก นี่เป็นเสมือน GotoKnow ภาคภาษาอังกฤษแต่จะเน้นหนักไปทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ค่ะ ซึ่งดิฉันติดตามอ่านมานานหลายปีแล้วค่ะ หรือจะดูตัวอย่างจากที่นี่ก็ได้ค่ะ PlanetKM.org ซึ่งเรารวมเอาบล็อกด้าน KM จากทั่วโลกมาไว้ด้วยกัน

อย่าง ITToolBox นี่แต่ก่อนเขาใช้นโยบายการขอนุมัติการเป็นสมาชิกนะค่ะ คือ ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นสมาชิกได้ เมื่อสมัครแ้ล้วจะต้องรอให้ได้รับอนุมัติจากทีมบริหารเว็บไซต์ก่อนค่ะ แต่มาไม่นานนี้ เขาเลิกใช้นโยบายนี้แล้วและเปิดกว้างสู่สาธารณะค่ะเป็น social network อย่างแท้จริงแต่ยังคงเน้นเฉพาะกลุ่มด้าน IT ค่ะ

GotoKnow เลือกใช้นโยบายไม่ต้องขออนุมัติเป็นสมาชิกมาตั้งแต่แรกเริ่มค่ะ คือ สมัครเป็นสมาชิกแล้วก็ใช้ได้ทันทีค่ะ และดิฉันก็รู้สึกว่าเราเดินมาถูกทางค่ะ ขนาดระบบบล็อกระดับโลกยังหวนกลับมาสู่การเป็นสาธารณะ ประเทศเล็กๆ อย่างประเทศไทยคงไม่ถึงกับต้องปิดกั้นอะไรกันมากมายนะค่ะ

และก็เช่นเดียวกันกับ การแสดงข้อคิดเห็นในบล็อกต่างๆ บน GotoKnow เราก็เปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสามารถเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ค่ะ เรียกว่า ยังอนุญาตให้ไม่ต้องมีการเปิดเผยตนเองในการแสดงข้อคิดเห็นค่ะ

ดิฉันสงสัยว่า นอกเหนือจากที่เป็นชุมชนคอเดียวกันแล้ว ปัจจัยอะไรอีกบ้างที่ทำให้เกิดการใช้บล็อกเพื่อถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ได้อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ดิฉันค้นพบก็คือ หลายคนมีชื่อเสียงขึ้นมาได้เพราะบล็อกค่ะ ยิ่งโด่งดังก็ยิ่งเขียนค่ะ และอีกอย่างก็คือ ค่าตอบแทนในรูปตัวเงินจากการเขียนบล็อก เช่น การรับค่าโฆษณาจาก Google Adsense (ยังไม่ให้บริการสำหรับภาษาไทย) หรือ การรับส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากทางผู้ให้บริการระบบบล็อก เป็นต้น

โจทย์ของดิฉัน คือ ทำอย่างไรให้คนไทยใช้บล็อกเพื่อการบันทึกถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ประสบการณ์มากยิ่งขึ้น ทุกอย่างเป็นการคลำหาหนทางทั้งสิ้นค่ะ ไม่มี best practice ให้เห็น เพราะ GotoKnow เป็นที่แห่งแรกของไทยที่ใช้บล็อกเพื่อให้คนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้

สองปีของการพัฒนาและดูแล GotoKnow ครบตามกำหนดสัญญาแล้วค่ะ ดิฉัน และ ดร.ธวัชชัย ยังคงดูแล GotoKnow ต่อไปค่ะ ไอเดียต่างๆ จากสมาชิกจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาและดูแล GotoKnow ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนไทยและตรงตามวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ให้มากที่สุดค่ะ

ยินดีรับฟังความคิดเห็นจากทุกท่านเสมอนะค่ะ อีเมลติดต่อเรา มาได้ที่นี่ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #online#community#thai#culture#blog
หมายเลขบันทึก: 79264เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2007 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

GotoKnow เป็นบล็อกที่เอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างวัฒนธรรมการสื่อสารเพื่อการสร้างมิตรภาพแบบไทยๆ  ได้น่ารักมากค่ะอาจารย์จันทวรรณ 

การเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะ  ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีการสื่อสารที่หลากหลาย และผู้ดูแลคงต้องใช้เวลาในการดูแลเนื้อหาที่เหมาะสม    ดิฉันจึงรู้สึกทึ่งในวิธีคิดของผู้ที่เข้ามาสื่อสารด้วยค่ะ  เพราะสังคมนี้ดูจะมีผู้สื่อสารที่มีวุฒิภาวะสูง  และต่างก็เข้ามาเพื่อเป็นมิตร 

นอกเหนือจากการแบ่งปันประสบการณ์แล้ว สิ่งที่ติดมาด้วยคือการสื่อสารเพื่อสร้างมิตรภาพ ... อย่างผู้มีวุฒิภาวะ  ซึ่งเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวของ  Gotoknow

ขอขอบคุณอาจารย์ทั้งสองท่านและทีมงาน ที่ร่วมกันเหน็ดเหนื่อยเพื่อช่วยให้สังคมไทย มีพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่น่ารักเช่นนี้นะคะ 

ดีใจมากค่ะที่ได้รับรู้ว่าเรามีความคิดเห็นที่ตรงกันนะค่ะ ส่วนความคิดเห็นที่แตกต่างดิฉันก็ยินดีร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เช่นกันนะค่ะ :)
ผมดีใจที่มี G2K ก่อนหน้าที่ผมไปใช้ Blog อื่นซึ่งใช้ไปได้ 2-3 ครั้งรู้สึกว่า มันไม่ใช่เวทีสาธารณะเพื่อความรู้ จนมีน้องเหว่า แนะนำจึงเข้ามาใช้ ได้ผลครับ แม้ส่วนใหญ่จะไม่ใช่สาระที่ตรงกันทั้งหมดก็เป็นเวทีที่แลกเปลี่ยนกันได้ กว้างขวางมากทีเดียว และยังมีอาจารย์จันทวรรณ และทีมงานคอยดูแล ผมต้องขอบคุณเป็นอย่างมากครับ..

คิดถึงเยาวชนและเด็กนักเรียนที่สอนอยู่ ถ้าเขาเห็นประโยชน์ของ G2K ก็จะช่วยเพิ่มโลกทัศน์ของเขานะคะ ก็พยายามพูดให้เขาเข้ามาเปิดอ่านและสมัครค่ะ

 

โจทย์ของอาจารย์จันทวรรณ ถ้าเป็นทาง business model ก็คงเป็น ปัญหาด้านการตลาด (Marketing) ครับ

 ถ้าเราถามคำถามคนที่ใช้ blog หรือ blogger ว่า "ทำไมถึงใช้" ก็คงจะได้คำตอบที่ valid แต่ถ้าถามพวกเราคนใช้ว่า ทำไมคนถึงไม่ไช้ คำตอบที่ได้จะเป็นการ "เดา" แทน หรือเป็นการ "คาดเดาความคิดของคนอื่น" ซึ่งคนอื่นๆในที่นี้ เป็นคนที่นิสัยใจคอไม่เหมือนเราอยู่แล้ว โอกาสเดาผิดก็จะสูง

ในทาง busness เขาก็จะต้องทำ community survey หรือ focus group survey ในกลุ่ม aimed customers โดยเน้นที่ target group เช่น ถ้ากรรมการเราอายุเฉลี่ย 35, 40 up มาหารือกันว่าเด็กอายุ 20 ปีเดี๋ยวนี้เขาคิดอะไรกันอยู่ หรือกรรมการเป็นหมอ วิศวะ บัญชี มาให้ความเห็นว่าช่างปั้นหมอ นักประติมากรรมคิดยังไงกันอยู่ คำตอบที่ได้คงจะไม่ valid และนำไปสู่ strategy ที่ผิดพลาดได้ เพราะตีไม่ตรงเป้า ไม่ได้ใช้ principle of autonomy ไม่ได้ใช้ empathy

 จริงๆอยากจะออกความเห้นช่วยอาจารย์จริงๆครับ เพราะอาจารย์ทุ่มเทลงไปในเรื่องนี้ให้พวกเรา blogger อย่างมากมาย ในยุคนี้เป็นยุค evidence-based practice คือเป็นยุคแห่งการทำงานด้วย data ในเรื่องนี้ว่าอะไรเป็น gap ของคนใช้/ม่ใช้ blog ในการเรียนรู้ deserve serioud research methodology เน้นไปที่ various target groups (อย่า stereotype ว่าคนทุก group เหมือนกันด้วย)

ต้องขออภัยถ้าสิ่งที่ผมได้แนะนำ ได้มีคนทำไปหมดแล้ว นับเป็น ignorance ของผมก็แล้วกันในกรณีนั้น แต่ถ้ายังไม่มี ผมคิดว่าเป็น data ที่น่าสนใจ และถ้าเอา data มาคิด วิเคราะห์ต่อ เราก็จะได้ strategy ที่เป็น evidence-based ซึ่งจะดีมากๆครับ

เดี๋ยวนี้ผมติดเรื่องแนวคิด พอเพียง ของในหลวงครับ

M: middle path ผมว่าอย่าตึงหรือหย่อนเกินไป มี บันทึกแห่งประสบการณ์ บ้าง บันทึกแห่งมิตรภาพ บ้าง ผสมกัน ต่างช่วยกันประคอง ชีวิตชีวา ของ GotoKnow ถ้าอาจารย์เอาแต่บันทึกประสบการณ์ คนอาจจะหนีหมด เพราะ หนัก ถ้าปล่อยให้มีแต่เรื่องเล่น คนก็อาจจะหนีอีก เพราะ เบา

R: reasonable ผมว่าเรื่องนี้มีฝ่ายอาจารย์คอยนำความรู้ความก้าวหน้าด้านนี้มาป้อน แนะแนว นำทาง แล้วเราก้็มาถกกันอย่างมีเหตุมีผลแบบนี้นะครับ ดีแล้ว

I: immunity ผมว่ากฏกติกามารยาทยังคงต้องมี เพื่อป้องกันคนเอา GotoKnow เป็นที่หาผลประโยชน์ส่วนตนหรือให้ร้ายผู้อื่น และสมาชิกคงต้องร่วมด้วยช่วยกันสอดส่องครับ

ขออนุญาต เอาบันทึกนี้ไปไว้ใน บันทึกโดนใจ ของผม ที่นี่ นะครับ

"ปัจจัยอะไรอีกบ้างที่ทำให้เกิดการใช้บล็อกเพื่อถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ได้อย่างต่อเนื่อง" ...
"ทำอย่างไรให้คนไทยใช้บล็อกเพื่อการบันทึกถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ประสบการณ์มากยิ่งขึ้น" ..

เป็นโจทย์ที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่งครับ  ตอนนี้ผมมองว่าคนจะเขียนบล็อกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ 3-4 อย่าง

1. ชอบถ่ายทอด อันนี้ก็เห็นตัวอย่างชัดจากหลายๆคน เช่น ป้าเจี๊ยบ k-jira  อ.อ้อม อ.ลูกหว้า อ.ขจิต ฯลฯ

2. เห็นประโยชน์ อันนี้ต้องถามตัวเขาเอง ตัวอย่างข้อนี้คือ ผมเองครับ อ้อ น่าจะอาจารย์เต็มศักดิ์ด้วยนะครับ   ผมได้ความรู้อะไรเยอะจากที่นี่ เป็นอะไรที่ไม่อยู่ในตำรา อืมม์ เลยได้ ไอเดีย motto ใหม่ของ G2K นะครับว่า "แลกเปลี่ยนความรู้ที่ไม่อยู่บนหิ้ง"  ผมชอบ motto นะครับ มันเป็นอะไรสั้นๆ ที่ทำให้เห็นว่า อะไรเป็นสิ่งที่เราต้องการ

3. เป็นหน้าที่ เป็นความรับผิดชอบ นี่ไม่ถึงกับ totally แต่ส่วนหนึ่งรู้สึกว่าสัมพันธ์กับงานที่ตนเองทำเช่น KM อาจารย์. จันทวรรณ ? (แซวครับ)

4. ต้องการการยอมรับ อันผมมองว่าสิ่งนี้ก็เป็นปกติวิสัยของคนเรานะ ไม่ได้เป็นสิ่งเลวร้าย ทำไมคนไทยเราถึงรู้สึกว่าการต้องการได้รับการยอมรับการชื่นชมเป็นสิ่งน่าอาย?!? นี่เป็นอีกประเด็นที่น่าเอามาคุยกัน

ผมมองว่าสมาชิกแต่ละคนไม่ได้อยู่ในข้อใดข้อหนึ่งนะครับ เรามีทั้ง 3-4 ข้อในปริมาณมากน้อยที่ต่างกันไป   ประเด็นต่อไปก็คือว่า เราจะเพิ่มความเข้มข้นของปัจจัยแต่ละข้อนี้อย่่างไร  อันนี้เป็นความเห็นของสมาชิกแต่ละท่านด้วยครับ ตอนนี้ผมขอไปนอนก่อนนะครับ (มาเขียนหลังจากพักงานเขียนของผม)

 

อ้อ เติมนิดหนึ่งก่อนที่จะลืมไป ตัวอย่างที่เราน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งคือ pantip.com ครับ ทำอย่างไรเราถึงจะสร้างความรู้สึกเป็น community ในขณะเดียวกันก็เปิดกว้างสำหรับสมาชิกใหม่  ของเขามี สองแบบคือ bloggang และ cafe ผมมองว่าเราอยู่ตรงกลางระหว่าง 2 สิ่งนี้

ประเด็นสำคัญที่อาจารย์ จันทวรรณ      ต้องการ ผมมองว่าอาจต้องเชิญผู้เชี่ยวชาญในด้าน mass comm มาร่วมให้ความคิดเห็นนะครับ ในแง่เทคนิคแล้ว ณ ขณะนี้อาจารย์ทำได้ดีอยู่แล้วครับ ที่สำคัญคือ อาจารย์ไม่ได้พอใจอยู่แค่นี้ หากแต่พยายามปรับปรุงให้ G2K ให้ดียิ่งขึ้นๆ เท่านี้ผมก็ถือว่าสุดยอดแล้วครับ

ถ้ามองในมุมของ "คนคอเดียวกัน"  ...ผมชอบใจสไตล์ของ ITToolbox (http://ittoolbox.com/) มากครับ

ขอบคุณอาจารย์ ดร.จันทวรรณ ... มากครับ

ขอขอบคุณอาจารย์จันทวรรณ อาจารย์ธวัชชัย และทีมงาน (นิสิตนักศึกษาที่ได้มาฝึกงานกับ Go2know นับว่า เป็นประวัติดีมากๆ ของชีวิต)...

  • ขอขอบคุณมากๆ สำหรับ Go2know ที่ช่วยให้สังคมไทย ซึ่งดูเหมือนจะ Go2No (ไปไม่ถึงไหน) ให้เป็น Go2know (ไปสู่สังคมความรู้ - Go to knowledge society)

ถ้าแผ่นดินพูดได้...

  • แผ่นดินไทยคงจะกล่าวกับทีมงาน Go2know ว่า "สาธุ สาธุ สาธุ... ขอขอบใจลูกๆ หลานๆ"
  • ไม่กี่สิบปีมานี้...หนัก(คนบางคน)เหลือเกิน
  • พอมี Go2know... เบาไปเยอะ

ขอขอบพระคุณ...

 

เพิ่งจะรู้ว่าที่นี่มีอะไรดี ๆ มาแลกกัน ขออนุญาตเข้ามามีส่วนร่วมด้วยคนนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท