Alternative choices of cardiac surgery


ความพยายามเป็นของมนุษย์ ความสำเร็จเป็นของพระเจ้า

ก่อนที่จะบอกเล่าความรู้และความเข้าใจซึ่งได้รับจากการ "ประชุมวิชาการของสมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย" เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550  ที่โรงแรมเรดิสัน กรุงเทพ   ดิฉันขอขอบคุณทางคณะสหเวชศาสตร์และภาควิชาเทคโนโลยีหัวใจทรวงอกที่ให้การสนับสนุนให้บุคลากรในคณะเข้าร่วมประชุมวิชาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี  ซึ่งในที่นี้คือเทคโนโลยีการผ่าตัดหัวใจ  ในวันนั้นหัวข้อวิชาการที่ดิฉันเลือกเข้ารับฟังมีดังนี้

  • Endovascular aortic aneurysm repair (EVAR)
  • Mini bypass circuit
  • Mini invasive cardiac surgery
  • Adequate perfusion flow
  • Antegrade cerebral perfusion

Endovascular aortic aneurysm repair (EVAR)

  • เป็นหัวข้อที่ดิฉันให้ความสนใจเป็นพิเศษและเมื่อได้เข้ารับฟังแล้วพบว่าไม่ผิดหวังเลยค่ะ  โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) โป่งพอง "Aortic aneurysm" เป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะเสียเลือดออกมาก (bleeding) จากผนังหลอดเลือดปริแตก (aortic dissection) ซึ่งเพิ่มอัตราการการเกิดภาวะแทรกซ้อน, และอัตราการตายที่เพิ่มขึ้นหลังผ่าตัด  การผ่าตัดในโรคนี้ในปัจจุบันจะใช้เทคนิคเปิดหัวใจ (open heart surgery) โดยศัลยแพทย์ผ่าตัดหัวใจ (cardiac surgery) ซึ่งมีรายงานว่าถึงแม้ผ่าตัดแก้ไขสำเร็จ 100% แต่ผลหลังผ่าตัดกลับไม่สวยหรูโดยพบอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการตายที่เพิ่มขึ้น  จากปัญหาที่เกิดขึ้นนำไปสู่การใช้ endovascular stent graft มาซ่อมแซมหลอดเลือดที่เสียหายจากโรค (aortic aneurysm) ซึ่งเรียกโดยรวมว่า endovascular aortic aneurysm (EVAR) โดยใช้เทคนิคการสวนหัวใจ (cardiac catheterization)  โดยพบว่าแก้ไขได้สำเร็จ 97% และพบภาวะแทรกซ้อนและอัตราการตายหลังผ่าตัดลดลงกว่าเทคนิค open heart surgery  หลังวิทยากรพูดจบก็มีการอภิปรายซักถามกันและได้เสนอให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดหัวใจควรได้รับการเรียนรู้และฝึกฝน cardiac catherization technology ร่วมด้วยเพื่อให้การแก้ไข aortic aneurysm ได้ผลดีที่สุด  ไม่แค่ระหว่างผ่าตัดเท่านั้นแต่รวมถึงผลหลังผ่าตัดที่ต้องไปด้วยกันจึงจะทำให้ผู้ป่วยและญาติมีรอยยิ้มตามมาด้วยเสียงหัวเราะในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ถือเป็นกำลังใจอันสำคัญยิ่งสำหรับบุคคลากรที่ร่วมด้วยช่วยกันในการรักษารวมทั้งนักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกด้วยค่ะ

Mini bypass circuit

  • หัวข้อนี้จะว่าไปแล้วดิฉันสนใจมากที่สุดแต่กลับต้องพบความผิดหวัง (ไม่จุใจ)  เนื่องจากการนำเสนอยังไม่ได้รับความอธิบายที่มากพอต่อความเข้าใจซึ่งมีสาเหตุมาจากวิทยากรเตรียมเนื้อหามามากแต่เวลาไม่พอทำให้ต้องหยุดการบรรยายกระทันหันสำหรับหัวข้อนี้   แต่ถึงอย่างไรดิฉันก็เก็บเนื้อหาซึ่งได้ความว่า  เทคนิค mini bypass circuit  เป็นเทคนิคใหม่เพื่อลดภาวะ hemodilusion, blood surface interface, microembolism และ homologous blood transfusion โดยใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมจากประเทศเยรมันนี: Venous drainage (suction) ลงสู่ cardiotomy reservoir (ปริมาตร 650 cc) มาฟอกเลือดที่ oxygenator (quadrax) และยังสามารถต่อกับ cell server เพื่อลดการใช้ homologous blood transfusion  จากงานวิจัยที่ผ่านมายังมีน้อยเกี่ยวกับเทคนิคนี้จึงยังไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าได้ผลดีกว่าเทคนิคเดิม (cardiopulmonary bypass) ยังต้องมีการศึกษาต่อไป  นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในด้านราคาซึ่งมีต้นทุนสูงกว่าแบบเดิมมากอาจจะไม่เหมาะสำหรับประเทศไทยเรา......................ส่วนเนื้อหาอื่นๆดิฉันกำลังติดต่อเพื่อขอ VCD ในหัวข้อนี้และนำมาศึกษาเพิ่มเติมร่วมกับการค้นคว้า  คาดว่าเร็วๆนี้คงจะตอบปัญหาที่คาใจได้แล้วจะมาเล่าสู่กันฟังนะคะ  coming soon จ้า....................................

Mini invasive cardiac surgery

  • หัวข้อนี้ไม่ค่อยน่าสนใจแต่ผิดคาดพบว่าเป็นหัวข้อที่น่าสนใจมากหัวข้อหนึ่งเลยค่ะ

เป็นเทคนิคการผ่าตัดแผลเล็กร่วมกับการใช้เครื่องหัวและปอดเทียมร่วมด้วยซึ่งใช้สำหรับการผ่าตัด aortic valve diseases โดยหลักการก็คือ drain เลือดดำที่คอและนำเลือดแดงที่ฟอกแล้วกลับทางเส้นเลือดแดงที่ขาหนีบ  โดยแผลผ่าตัดจะสั้นเพียง 2 cm. ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเสียเลือดและอยู่รักษาใน ICU น้อยกว่าวิธีเดิม  แต่ยังไม่สามารถทำในโรคหัวใจชนิดอื่นได้......................เทคนิคนี้ยังมีแนวโน้มว่าจะพัฒนาต่อไปได้อีกและก็ขอชื่นชมค่ะ

ส่วนอีก 2 หัวข้อที่เหลือเป็นความรู้พื้นฐานซึ่งสามารถหาอ่านได้ตาม standard text book ค่ะ  ดังนั้นจะขออภัยล่วงหน้าถ้าขอให้ท่านผุ้อ่านที่สนใจศึกษาเองนะคะ

       ความก้าวหน้าของวิทยาการผ่าตัดหัวใจยังคงมีเรื่องราวให้ตื่นตา ตื่นใจ  ตื่นปัญญาและชวนติดตาม........................ขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่ได้พยายามสรรค์สร้างวิธีแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อให้คุณภาพชีวิตของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันดีขึ้น.................ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 79202เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2007 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

          ขอบคุณ อาจารย์วัชรามากนะคะ ที่นำความรู้จากการที่ได้รับโอกาสเข้าร่วมประชุมวิชาการมาแบ่งปัน

          ยิ่งบันทึกบน Blog ด้วยแล้ว ยิ่งคุ้มค่าเพราะความรู้ย่อมแพร่กระจายได้กว้างขวางไม่มีขีดจำกัด

          " Life asks of every individual a contribution and it is up to that individual to discover what it should be "

ขอบคุณมากสำหรับความรู้ที่ได้รับค่ะ

สวัสดีครับอ.วัชรา ความรู้ที่อ.ได้รับมาดีมากเลยครับ ผมได้อ่านแล้ว

ประสบการณ์ที่อ.ได้มาถือว่าคุ้มค่ามากครับที่อ.ได้มาแบ่งบันให้ผู้สนใจได้รับทราบ

นันท์กฤตา ปิยะพันธ์ CTT

ไปหา EVAR มาเรียบร้อยแล้วนะค่ะ ส่วนที่ว่าทำไมต้องทำ left atrail femoral bypass นี่ยัง งงๆอยู่ค่ะ ที่ทราบๆก็คือว่าเพื่อป้องกันมิให้เกิด acute obstruction ต่อเวนตริเคิลซ้ายขณะที่ cross clamp aorta อยู่ และสามารถควบคุมไม่ให้ความดันโลหิตในส่วนต้นของเอออร์ต้าและของหลอดเลือดไปสมองสูงเกินควร แต่ไม่แน่ใจว่าการทำ การผ่าตัดแก้ไข aneurysm ต้องทำ left atrail femoral bypass ทุกครั้งหรือเปล่าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท