ความเป็นเลิศทางวิชาการ กับ ความเป็นเลิศในการพัฒนา


ตัวชี้วัดที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการพัฒนามากที่สุดของการทำงานวิจัยและพัฒนาก็คือ การตีพิมพ์ ที่มีค่าคะแนนความสำเร็จของโครงการวิจัยและพัฒนาสูงมาก โดยไม่จำเป็นต้องมีประโยชน์ต่อการพัฒนาแต่อย่างใด
 

การพัฒนาที่เป็นประโยชน์ หรือที่เรียกว่า แบบบูรณาการนั้น คือการทำงานที่มีคุณค่าที่แท้จริง ตามความหมายที่เขียนและกำหนดไว้ในแต่ละงาน ตามวัตถุประสงค์ของงานที่ตั้งไว้

  

แต่ในปัจจุบันนี้ เรามักแยกกันไปตามเงื่อนไขของสายงานย่อย ที่มีตัวชี้วัดเฉพาะด้าน ที่กำหนดไว้โดยไม่จำเป็นต้องบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในงาน โดยรวมที่เขียนไว้ หรือที่ควรจะเป็น

  

ตัวชี้วัดที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการพัฒนามากที่สุดของการทำงานวิจัยและพัฒนาก็คือ การตีพิมพ์ ที่มีค่าคะแนนความสำเร็จของโครงการวิจัยและพัฒนาสูงมาก โดยไม่จำเป็นต้องมีประโยชน์ต่อการพัฒนาแต่อย่างใด

  

ผมก็ไม่ทราบว่าสาเหตุที่แท้จริงของการกำหนดตัวชี้วัดตัวนี้ คืออะไร แต่คงจะใช้หลักการตามความรู้สึกของนักวิชาการว่า ถ้าจะทำให้งานมีประโยชน์นั้น ต้องตีพิมพ์ให้คนอื่นได้รับรู้ ตามความคาดหวังว่า หลังจากการตีพิมพ์แล้ว ก็จะมีการนำไปใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้น

  

แต่สมมติฐานดังกล่าวนั้น ไม่เกิดผลในระบบของสังคมไทย แต่ก็ยังเป็นตัวชี้วัดที่ยังเน้นการใช้กันอย่างจริงจังมากในแทบทุกงาน โดยใช้สมมติฐานดังกล่าวข้างต้น ด้วยสาเหตุที่น่าจะเป็น ต่างๆ ดังนี้

 
  1. เราใช้ตัวชี้วัดผลกระทบ (Impact factor) ตามกติกาสากล โดยไม่ได้ดูความเป็นจริงในสังคมไทย ว่าใช้ได้จริงแค่ไหน หรือ
  2. คนไทยไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือ หรือรายงานต่างๆ เพื่อนำไปทำงานต่อ อย่างมากก็อ่านแบบลวกๆ เพื่อเอาไว้คุยต่อไป ไม่ให้ล้าสมัยในการพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน หรือ
  3. นักวิจัย และนักพัฒนาด้าน และสาขาต่างๆ มีการทำงานแต่ละสาขาแยกกันไป ทำเอง ประเมินเอง ใช้เอง อยู่ในวงของตนเอง โดยระบบพรรคพวก (peer) ดูแลกันเอง ที่ส่วนใหญ่ก็มีความเห็นคล้อยตามกัน แบบ ความคิดมุมเดียว (in breed thinking pool)  เพราะไม่มีข้อมูลอื่นที่จะไปโต้แย้ง หรือ
  4. การทำงานวิจัยและพัฒนาของไทย ยังไม่เชื่อมโยงกัน ต่างคนต่างทำ หรือ
  5. นักพัฒนาบางส่วนนั้นนอกจากจะไม่สนใจงานวิชาการที่แท้จริง เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจแล้ว ก็ยังไม่สนใจชุมชน เพราะ ระดับความคิด และวิถีชีวิตในการทำงานแตกต่างกัน จนทำให้ขาดการส่งถ่ายข้อมูลเพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริงได้ หรือ
  6. นักวิชาการ และนักพัฒนา เป็นนัก พูด และ นำเสนอ ทั้งในการเขียน การบรรยาย แต่ไม่ใช่ นัก ทำ ที่เน้นผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน หรือ
  7. ฯลฯ ที่ผมยังคิดไม่ออกในขณะนี้
 

สิ่งต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น น่าจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการทำงานเพื่อการพัฒนาที่แท้จริง และยิ่งในปัจจุบัน มีการเน้นการจดลิขสิทธิ์ ตามสมัยนิยมแล้วยิ่งไปกันใหญ่ ทั้งๆที่การจดลิขสิทธิ์หลายๆครั้ง จะเป็นการปิดกั้นมากกว่าการสนับสนุนงานพัฒนาด้านนั้นๆ

  

ผมจึงคิดว่า เราน่าจะมาทบทวน ปัญหาของการทำงานในขั้นต่างๆ แทนการวิ่งตามเกณฑ์ และตัวชี้วัด ที่ไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อผู้กำลังรอความหวังจากนักวิชาการและนักพัฒนาแต่อย่างใด

  

และขอว่า ทำให้ความเป็นเลิศทางวิชาการกับความเป็นเลิศในการพัฒนานั้น นำมาเชื่อมโยงกันได้ไหม หรือจะทำให้เป็นเรื่องเดียวกันได้ ก็ยิ่งดีครับ

  ขอบพระคุณครับ
หมายเลขบันทึก: 79125เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2007 02:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 05:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • อาจารย์ พูดเรื่องความเป็นเลิศทางวิชาการ ต้องถามต่อว่า ใช้มาตรฐานของใคร
  • ความเป็นเลิศทางการพัฒนา แล้วใหเอา  2อย่างมารวมกัน
  • เมื่อวานนี้ไปเจอคนที่มีคุณสมบัติอย่างที่อาจารย์เขียน เป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและทดสอบพันธุ์สุกรนครราชสีมา
  • คุณสมบัติที่เห็นได้ชัดคือ การบริหารวิชาการให้เป็นวิชาเกินได้อย่างมีแบบแผนเชิงระบบ ยุให้คนภายนอกทำหน้าที่แทนงานของรัฐได้ครบถ้วนเทียบเท่าที่นักวิชาการทุมเททำหรือดีกว่า
  • ได้ฟังแนวคิดและวิธีทำงานแล้วทึ่งๆๆ จนยอมรับความเป็นเลิศ ยกนิ้วให้ด้วยความเต็มใจ
  • อาจารย์อาจจะรออ่านเพิ่มเติมในรายงานลูกศิษย์โข่งก็ได้ เผื่อเขาจะจับประเด็นได้ลึกกว่าผม

อาจารย์ครับ

  • ตีพิมพ์แล้วก็คุยได้มากยิ่งขึ้นครับ ว่า " ฉันไม่ธรรมดาแล้วนะ "   ยิ่ง Go inter. ด้วยแล้วยิ่งมันใหญ่  คิดต่อไปว่าทำอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์อีก ช่องโหว่หรือทางลัดใดมีเพื่อให้งานได้ตีพิมพ์  หรือจะต้องเบียดเบียนใครบ้างเพื่อการดังกล่าว ฉันไม่สน ... ผมคิดเล่นๆนะ .. จริงๆคงไมมีหรอกครับ
  • ลิขสิทธิ์ ในมุมหนึ่งก็คือการวางกติกาไว้ปกป้องผลประโยชน์ ของผู้มีอำนาจเหนือกว่า และปิดกั้น คนธรรมดา ว่า ถึงมีปัญญาก็อย่าได้หวัง .. ก็พวกฉันกันไว้หมดแล้ว .. ที่ร้ายกว่านั้นก็คือ " ของพวกแก ฉันพลิกพลิ้วเอามาทำเป็นของฉัน ก็ยังได้ถ้าฉันจะทำ "

เห็นด้วย กับอาจารย์เป็นอย่างยิ่งครับ

และมีคำถามในใจครับว่า การที่นักพัฒนา นักวิชาการ หรือนักวิจัยทั้งหลายได้เอาข้อมูลของพื้นที่ ไปตีพิมพ์เพื่อประกาศศักดิ์ดาของตนแล้ว เคยคิดย้อนกลับบ้างไหมว่าเจ้าของข้อมูล (ฝ่ายถูกกระทำ หรือเจ้าของพื้นที่) ได้อะไรบ้าง

ด้วยความเคารพ

อุทัย   อันพิมพ์

ที่พูดมาเป็นโสกนาฏกรรมทางวิชาการที่เรากำลังหลับหูหลับตาเดินตามกันไปเหมือนหมูเดินตามกันเข้าห้องเชือดอย่างไรอย่างนั้น

ทุกคนพยายามดิ้นรนให้ผ่านเกณฑ์ โดยไม่เคยตั้งคำถามว่าเกณฑ์มีไว้ทำอะไร

เศร้าจริงๆครับ

ผมเห็นด้วยครับ  จะมีใครบ้าง หรือมากน้อยแค่ไหนกันที่จะมาสนใจ  คนไทยยิ่งไม่ค่อยอ่านหนังสืออยู่ด้วย  และหนังสือที่ทำออกมา  ก็ไม่สามารถที่จะทำให้ชาวบ้านเข้าใจได้อย่างท่องแท้ 
การเหยียบย่ำความรู้ ซึ่ง ๆ หน้า การลักพาความรู้คนอื่นเพื่อเป็นประโยชน์ส่วนตน น่าเห็นใจผู้ถูกกระทำจังค่ะ

มันเป้นเรื่องเศร้าของแผ่นดิน มีมากมายเหลือเกินยิ่งพบมากในบรรดาผู้ที่เรียกตนเองว่า "มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต" ส่วนมากก็ C&D ล้วนๆ อย่าหาเลย "R&D" (ใครที่เป็น R&D ก็ไม่ว่ากันนะ) ลอกกันไปมา จนหาความรู้จริงไม่ได้ หาเจ้าภาพต้นตอจริงก็ไม่ได้ ระบบการศึกษา สร้างแต่"ธานานุภาพ" มากกว่า "ศักดิ์ศรี"

อยากทราบความหมายของคำว่า "ความเป็นเลิศทางวิชาการ" หน่อยครับ

ก็คือการสร้างความรู้เชิงทฤษฎีครับ

ที่จริงคำถามนี้ดีมาก ที่สื่อว่าวิชาการต้องเป็นของจริงเท่านั้น

 แสดงว่าผมเขียนหละหลวมไป คราวหลังจะระวังมากกว่านี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท