โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
โรงพยาบาล สำนักงานจัดการความรู้ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

คุยกันกับคุณหมอนิพัธ


คุยกันแล้วต้องทำ passion plan

16 กุมภาพันธ์ 2550

วันนี้เราได้จับกลุ่มสนทนา ประกอบด้วยคุณสาโรจน์ คุณนิพัธ คุณน้ำทิพย์ คุณสามารถ และคุณไพฑูรย์  โดยใช้ห้องศูนย์การเรียนรู้ที่หน่วยบริการปฐมภูมิ (ที่เรียกกันติดปากว่าตึกเขียว) เป็นที่สนทนากัน    แม้จะเรียกว่าเป็นการสนทนา แต่ความจริงจะเป็นการคุยจากคุณหมอนิพัธ ผู้มีประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากว่าใครๆ ในงานเบาหวาน ได้ให้ความเห็นมากมายในการดำเนินการ  พวกเราที่นั่งคุยด้วยต่างก็ได้ไอเดียแบบปิ๊งแว่บขึ้นมากันหลายอย่าง  บางเรื่องแม้จะยังไม่ชัดเจนแจ่มแจ้ง แต่ก็มีเค้าๆอยู่  

สิ่งที่คุณหมอนิพัธเน้นมากคือการจัดการความรู้ ต้องเอางานที่ทำมาคุยกัน  ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวย จะต้องหาทางให้คุณกิจแต่ละคนเล่าความสำเร็จสู่กันฟัง  และที่สำคัญเมื่อคุยกันเสร็จแล้วก็จะต้องมีแผนที่จะไปทำงานต่อ การแลกเปลี่ยนจึงจะเกิดประโยชน์และมัน  ไม่ใช่ได้ knowledge asset แบบแห้งๆ ที่อาจจะไม่มีการนำไปใช้ 

คุณหมอน้ำทิพย์มีเรื่องในใจคือการรับส่งต่อทารกน้ำหนักตัวน้อย

คุณหมอสาโรจน์ คิดจะลองให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยสารสนเทศแลกเปลี่ยนกันในประเด็นการประสานงานกับแพทย์

ส่วนคุณสามารถและคุณไพฑูรย์ก็ดูจะคิดอะไรอยู่ในใจ

การสนทนาก็จบลงอย่างชื่นมื่นด้วยกันทุกคน รวมทั้งน้องเจ้าของห้องที่ขอกลับก่อนแล้วพวกเราช่วยกันปิดแอร์ปิดไฟ ปิดห้อง เพื่อเดินออกมาพบการเต้นแอโรบิคของเจ้าหน้าที่ตึกเขียว  คุณสามารถจะรีบไปขี่จักรยานแรลลี่ (ขี่แบบช้าๆ) หมอสาโรจน์แปลงตัวเป็นโกล์ฟุตบอลที่จะต้องไปรับลูก

ท่านที่ถูกพาดพิงช่วยเขียนต่อในสิ่งที่ได้ด้วยนะครับ

หมายเลขบันทึก: 79119เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2007 00:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 12:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

KM มือใหม่ ตอนแรกคิดจะเปิดตำราทำ พยายามไปหาตำราอ่านหลายเล่มอยู่พอสมควรครับ อ่านแล้วก็ยังไม่รู้เริ่มต้นอย่างไร นั่งเขียนแผนยุทธสาสตร์ก็ใช้วิธี Copy and develope ซึ่งก็คงไม่ work เลยคุยกับคุณสามารถปรึกษากับอาจารย์สาโรจน์ชวนคุณหมอน้ำทิพย์(เพชรเม็ดงามของชาว KM รพ.พุทธชินราช )ไปปรึกษาอาจารย์หมอนิพัธซึ่งน่าจะถือได้ว่าเป็นกูรูของชาวKM รพ.พุทธ ได้ข้อแสนอแนะที่ดีหลายประการ  การทำKM ในหน่วยงานต้องดูถึงความพร้อมและความอยากทำของหน่วยงานเองอย่าเป็นนโยบายเริ่มจากประเด็นที่น่าจะทำให้เกิดความสำเร็จได้ง่ายโดยผมสามารถบันทึกประเด็นที่อาจารย์พูดแบบไม่ปะติดปะต่อได้หลายประเด็น เช่น

1.สร้างทีม fa ผู้ประสานที่ดี ความสามารถปรับความเข้าใจร่วมกัน

2. สร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยน good model

3.พึงระวังหัวข้อที่แลกเปลี่ยนที่กว้าง

River diagram

Grading

Peer assist

คิดประเด็นแคบที่สุด แชร์ความคิด note tagger

AAR

Passion Plan ช่องทางการไปสู่รูปธรรม แรงกระตุ้น การเพิ่มคุณค่า         คนที่ผลักดัน เหตุผลที่ต้องทำ ทีมที่ปฏิบัติเน้นประสบการณ์ อย่าใส่ ทฤษฏี ขนาดกลุ่ม 8-9           คน สนใจในประเด็น ระวังการใช้ทฤษฎี

4 ในโรงพยาบาล ดูที่ best practice /ที่มีปัญหา

5 ทำในหน่วยที่พร้อมที่จะทำ             มีผลงานที่ปรากฏชัดเจน จะเป็นตัวผลักดัน

6.การกำหนด คนที่เกี่ยวข้อง

7.มองในส่วนที่ตัวเองทำได้

8.KM อยู่ระหว่างกลางระหว่าง การประชุมและการดูงาน

9.เลือกเรื่องที่ง่ายเห็นรูปธรรม ประเด็นไม่กว้างเกินไม่แคบจนไม่มีประโยชน์

กล่าวโดยสรุปคุยกับอาจารย์ได้ฟังประสบการณ์จริงที่อาจารย์ทำสำเร็จและได้ข้อแนะนำที่ดี ตามมาด้วยPassion plan ที่ยังหาไม่ได้หลังจากจบการสนทนาแต่มาปิ้งไอเดียตอนประชุมทีมงาน Node กับคุณหมอภาวิณี(ผอ.ศุนย์คุณภาพ) เนื่องจากทีมงานลงเยี่ยมหอผู้ป่วยเพื่อติดตามประเมินเยี่ยมสำรวจกิจกรรมตามเข็มมุ่ง รพ. HPH  3ส. ขอสร้างเสริมประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่การดูแลผู้ป่วยแบบต่อเนื่องเชื่อมโยงตาม Clinical tracer พบว่าบางหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลพุทธมีทำได้ดีทั้งที่มีทรัพยากรในการบริหารจัดการที่คล้ายกันและอยู่ในบริบทโรงพยาบาลเดียวกันซึ่งก็ทำให้นึกถึงเครื่องมือ KM ขึ้นทันที่ ถ้าเรากำหนดประเด็นที่แคบๆ และเป็นเรื่องที่เขาทำได้ดีจริง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหอผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติจริงๆ น่าจะเกิด Passion plan ในกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยแบบต่อเนื่องเชื่อมโยงที่ดีและขยายผลใช้ทั่วโรงพยาบาลได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท