เรียนรู้จากเสวนา KM ประสบการณ์ World Bank-Thailand


ดีใจและภูมิใจว่า KM ในประเทศไทยมีลักษณะเฉพาะ

การเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ KM ระหว่าง World Bank และประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ เนื้อหาสาระติดตามอ่านได้ที่นี่ (, , )

ดิฉันขอเล่าบรรยากาศ ความประทับใจ และสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เก็บได้ดังนี้
๑. ประทับใจการกล่าวเปิดงานทั้งของ Mr.Ian C. Porter, Country Director ของ World Bank (Bangkok Office) และ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ที่ใช้เวลาสั้นๆ เพียงท่านละ ๕ นาทีเท่านั้น


๒. รู้สึกดีใจและภูมิใจว่า KM ในประเทศไทยมีลักษณะเฉพาะ ของเรามีหลากหลายรูปแบบ ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน ในคนทำงานและชาวบ้านที่ไม่ได้อยู่ภายใต้องค์กรทางการ แต่เกิดขึ้นเองด้วยความสมัครใจ จากความสัมพันธ์และความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ไม่มีใครมากำหนดหรือสั่งการ 


๓. จากหัวข้อ Organizational Capabilities for KM ของคุณ Erik Johnson ดิฉันได้เรียนรู้เรื่องของ Knowledge Economy ซึ่งสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ KM ได้รู้ว่า World Bank ทำเรื่อง KM อย่างไรและเห็นว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ประสบความสำเร็จ 


๔. เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของไทยในหัวข้อ Organizational Capabilities for KM ดำเนินรายการโดย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์คือคุณทรงพล เจตนาวณิชย์ คุณทวีสิน ฉัตรเฉลิมวิทย์ และคุณศรีวิภา เลี้ยงพันธุ์สกุล ชื่นชมความฉับไวในการจับประเด็นของอาจารย์ประพนธ์ ซึ่งดำเนินรายการได้อย่างสนุกสนาน แม้แต่คุณทรงพลยังมีมุขว่า “อบต.” คืออมทุกบาททุกสตางค์ ผู้ฟังได้ทั้งหลักคิด ความรู้ และความบันเทิง

 

 

 วิทยากรหัวข้อ Organizational Capabilities ดู serious จัง


๕. หัวข้อประสบการณ์เรื่อง Communities of Practice (CoPs): How can intra and inter organization CoP build individual capacity for innovation and problem solving ของคุณ Erik Johnson ทำให้เกิดไอเดียในการประเมินผล CoPs เบาหวาน นอกจากนี้ยังได้เห็นภาพ Learning Pyramid ของ National Training Laboratories Institute กระตุ้นให้ดิฉันต้องมาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม

 

 Learning Pyramid

 Average learning retention ในวิธีการสอนแบบต่างๆ


๖. เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของไทยในหัวข้อ CoPs ดำเนินรายการโดย ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์ ได้เรียนรู้ CoPs หลายรูปแบบจากผู้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์คือคุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ ที่ทำ CoPs เพื่อชีวิต เชื่อมชาวบ้านกับภาคเอกชนและภาคธุรกิจ ต่างจากของราชการ คุณศุภลักษณ์  หิริวัฒนวงศ์ เริ่ม CoP จากกิจกรรม morning talk ภายในหน่วยงานตนเอง ก่อนขยายไปสู่หน่วยงานอื่นๆ และคุณปรอง กองทรัพย์โต เล่าว่าที่บริษัทของตนมี CoPs จำนวนมากกว่า ๖๐ CoPs มีทั้งกลุ่มที่ต้องมี กลุ่มที่ยุหรือเอื้อให้เกิด กลุ่มประเภทมีเองเกิดเอง คุณปรองใช้คำว่า KEM Knowledge Empowerment แทน KM ปลูกฝังคนทำงานว่า “ความไม่รู้เป็นเรื่องปกติ แต่ความไม่กล้าเปิดใจว่าไม่รู้เป็นเรื่องผิดปกติ”

 

 วิทยากรแลกเปลี่ยนเรื่อง CoPs


๗. ประทับใจวิธีกล่าวสรุปและปิดงานของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ที่นอกจากจะสรุปสาระสำคัญๆ ของการประชุมแล้ว ยังกล่าวชื่นชมคนทำงานที่อยู่เบื้องหลัง

วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐

 

คำสำคัญ (Tags): #kmประเทศไทย#test
หมายเลขบันทึก: 79045เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2007 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดิฉันอาจจะต้องเลียนแบบอาจารย์วัลลา บ้างนะคะ เพราะว่าครั้งต่อไป จะขอนั่งด้านหน้าๆ บ้าง เพราะว่า ถ่ายภาพได้ชัดเจนมากเลยค่ะ ... ภาพของดิฉันกระจิดริดไปเลย

... ขอบคุณค่ะอาจารย์ แบบฉบับของอาจารย์เป็นข้อสรุปที่ดีมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท