จุมเรียบซัว(สวัสดี)กัมพูชา ตอน ๑๗


           

วันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2549:

  • รถออกเวลา 06.40 นาฬิกา... รถประจำทางปรับอากาศที่นั่นเย็นสบายกำลังพอดี มีเก้าอี้เสริมตรงกลางเป็นม้านั่งเตี้ยๆ ให้ผู้โดยสารด้วย

    ภาพที่ 1: สถานีขนส่งพนมเปญ

    ภาพที่ 2: ก๋วยเตี๋ยวพนมเปญ... ใส่หมู เครื่องใน อาหารทะเลรวมกันในชามเดียวกัน รสชาดอร่อยมากทีเดียว

    ภาพ 3: อาจารย์แก้ว สาเรนมาส่งที่สถานีขนส่งพนมเปญ

    ภาพที่ 4: มองจากหน้าต่างกระจกรถออกไปข้างนอก... โปรดสังเกตอาคารที่กำลังก่อสร้างใหม่ กัมพูชาปีนี้ก้าวหน้าไปไกลทีเดียว

    ภาพที่ 5: โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ของโนเกีย... ชนิดฟังเพลงได้ ถ่ายภาพได้ เป็นที่นิยมกันมาก คนนั่งข้างซ้ายผู้เขียนก็มีโทรศัพท์แบบนี้

    ภาพที่ 6: ที่นั่งเต็มไม่เป็นไร... เรามีเก้าอี้เสริม ผู้เขียนเคยเห็นเก้าอี้เสริมแบบนี้ที่สถานีขนส่งเชียงใหม่เหมือนกัน

 

    ภาพที่ 7: ปั๊มพ์น้ำมันปีโตรนาสของมาเลเซีย... โปรดสังเกตน้ำมันราคาประมาณลิตรละ 40 บาท (แสดงเป็นหน่วย "เรียล" หรือเงินเขมร)

09.00 นาฬิกา... รถจอดให้ใช้วิธี "บันโต้บตึ้ก" ยิงกระต่าย หรือเก็บดอกไม้ข้างทางได้ตามอัธยาศัย

    ภาพที่ 8: จอด "บันโต้บตึ้ก" (ห้องน้ำข้างทาง) มีแม่ค้ามารอขายของ โปรดสังเกตว่า ปีนี้คนเขมรยิ้มออก... เข้าใจว่า บ้านเมืองคงปลอดสงคราม ทำให้มีเวลาพัฒนา ฟื้นฟูประเทศ

    ภาพที่ 9: บรรยากาศร่มรื่นแบบ "บันโต้บตึ้ก" (สุขาข้างทาง)

  • สถานีขนส่งสองข้างทางมักจะมีห้องน้ำ 2 ห้อง ถ้ามีผู้โดยสารลงไปใช้บริการกันมากก็เป็นที่รู้กันว่า ผู้หญิงใช้ห้องน้ำ ผู้ชายยิงกระต่ายรอบๆ ห้อง... ง่ายดี

รถจอดให้กินข้าวที่ร้านข้าวแกงข้างทาง จะกินอะไรก็ง่ายนิดเดียว ชี้ไปที่ถาด พนักงานจะตักใส่ถ้วย และนำข้าวไปให้เราที่โต๊ะ กินเสร็จแล้วมีคนเดินไปคิดเงิน

    ภาพที่ 10: ร้านข้าวแกงข้างทาง ชอบอะไรให้ชี้ > ไปนั่งโต๊ะ > จะมีคนนำข้าวสวยพร้อมกับข้าวไปส่งถึงที่

    ภาพที่ 11: บรรยากาศร้านข้าวแกงเขมร

    ภาพที่ 12: ข้าวสวยอย่างดีพร้อมกับกับข้าวง่ายๆ มื้อละประมาณ 75 บาท ที่ลืมไม่ได้คือ... ผ้าปูโต๊ะที่นี่ใช้ผ้าลายผ้าถุง ให้ความรู้สึกแบบย้อนยุค

    ภาพที่ 13: แม่ค้าพ่อค้าที่นี่เชื่อเรื่องนางกวักคล้ายๆ กับคนไทย มีของเซ่นเป็นอาหารและน้ำ

    ภาพที่ 14: ของฝากที่มีชื่อเสียงที่นี่... คงไม่พ้นปลากรอบ ปลาแห้งจากตนเลสาบ

    ภาพที่ 15: โฆษณาเชิญชวนให้ป้องกันโรค... เข้าใจว่า ป้องกันการสำส่อนทางเพศ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคเอดส์ ไวรัสตับอักเสบ และกามโรคอีกไม่กี่สิบชนิด(เท่านั้นเอง)

  • โรคภัยไข้เจ็บที่พบบ่อยของกัมพูชากับพม่าดูจะคล้ายกัน คือ วัณโรค เอดส์ มาลาเรีย...

    ภาพที่ 16: ห้องน้ำข้างทางที่สถานีขนส่ง... ผู้ชายเชิญข้างกำแพง ผู้หญิงเชิญข้างใน(ห้องน้ำ)

    ภาพที่ 17: สถานีขนส่งมีของขายหลายอย่าง... ดูจะมีแหนมด้วย

    ภาพที่ 18: แผงขายของที่สถานีขนส่ง มีขนม ผลไม้ เครื่องดื่มแช่เย็นพร้อม...

    ภาพที่ 19 : คนขับรถรับจ้างที่ปอยเปต

  • 14.30 นาฬิกา... เราไปถึงปอยเปต รอคิวตรวจหนังสือเดินทางที่ด่านเขมรชิดขวา แล้วต้องข้ามถนนชิดซ้ายไปด่านไทย

ด่านไทยขาออกที่อรัญประเทศเป็นอาคารติดแอร์อย่างดี... เย็นสบายสมเป็นด่านของเมืองท่องเที่ยว

  • ไม่ทราบทำไมถึงได้ต่างจากด่านไทยขาเข้า ด่านขาเข้าให้เจ้าหน้าที่อยู่ในคอกติดแอร์ ส่วนผู้ไปใช้บริการทั้งไทยและเทศให้ยืนใต้เต๊นท์ผ้าร่ม ไม่สมกับเป็นเมืองท่องเที่ยวเลย (หรือบางทีอาจจะกำลังก่อสร้างใหม่อยู่ก็เป็นได้)

    ภาพที่ 20: ด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ... นักท่องเที่ยวยืนเข้าแถวรอใต้เต๊นท์ เจ้าหน้าที่อยู่ห้องแอร์

    ภาพที่ 21: ถ้าถามว่า การเดินทางไปกัมพูชาคราวนี้... ประทับใจอะไรมากที่สุด... คงจะตอบยาก

  • ผู้เขียนประทับใจที่ได้เห็นคนเขมรรุ่นใหม่ทำอะไรดีๆ ให้กับชาติบ้านเมืองมากมาย เช่น ท่านพระสา แอมนั่งทำงานวันละ 10 ชั่วโมง เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถากลับเป็นภาษาเขมร แปลเสร็จแล้วตีพิมพ์ แล้วสอนภาษาบาลีวันละหลายๆ รอบ ฯลฯ...

ผู้เขียนชอบใจด้านหลังเสื้อผู้บริจาคเลือดกัมพูชาเขียนไว้ว่า "1 ชั่วโมงของท่านอาจช่วยชีวิตคนอื่นได้"...

  • ท่านผู้อ่านหลายๆ ท่านคงจะบริจาคเลือดได้ จึงขอเรียนเชิญท่านผู้อ่านบริจาคเลือดเป็นประจำที่สภากาชาด หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน

การไปกัมพูชาครั้งนี้... สอนอะไรผู้เขียนมากมาย โดยเฉพาะการได้มีโอกาสรู้จักกับคนเขมรดีๆ มากมายหลายท่าน
  • ก่อนจะจบบันทึกชุด "จุมเรียบซัว(สวัสดี) กัมพูชา"... ผู้เขียนขอขอบพระคุณท่านพระสา แอม ท่านอาจารย์แก้ว สาเรน ท่านอาจารย์หมอวีตลอดจนอาจารย์หมอท่านอื่นๆ และเจ้าหน้าที่คลังเลือด โรงพยาบาลออง ดวง

ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้รับส่วนแห่งบุญตลอดการเดินทางครั้งนี้...

  • ขอตั้งความปรารถนาให้คนไทยและคนเขมรได้เมตตากัน กาลต่อแต่นี้ไป... ขออย่าได้มีสงคราม (ภาษาเขมร = สงเครียม)ระหว่างคนไทยกับคนเขมรอีกเลย

หากว่า บันทึก "จุมเรียบซัว(สวัสดี)กัมพูชา" ได้ล่วงเกินท่านผู้อ่านไปด้วยความเขลาประการใด... ขอถือโอกาสกราบขอขมา ขอขมา ขอโทษ และขออภัยมาไว้ด้วย

  • ออกุน เจริญ เจริญ (= ขอบคุณมากๆ)... ขอขอบพระคุณ ขอบคุณ และขอบใจท่านผู้อ่านที่กรุณาอ่านบันทึกเรื่องนี้...

    ข่าวประกาศ:

  • ถ้าไม่มีความผิดพลาดทางเทคนิค...
  • ผู้เขียนจะเดินทางไปทำบุญที่ศรีลังกา วันที่ 20-27 กุมภาพันธ์ 2550
  • ช่วงเวลาดังกล่าวคงจะแวะมาพิมพ์บันทึก หรือตอบข้อคิดเห็นของท่านผู้อ่านได้ครับ...

    เชิญอ่าน:

    แหล่งที่มา:

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. จัดทำ > 16 มกราคม 2550.

    เชิญอ่าน:

  • บันทึกย้อนหลังบน Gotoknow ย้อนหลังได้... โดยเลือกจากปฏิทินกิจกรรมด้านขวามือของบล็อก และเลือกกลุ่มคำ (ป้าย) > คลิกที่ป้ายได้เลย...
  • บ้านสุขภาพ > http://gotoknow.org/blog/health2you
หมายเลขบันทึก: 78930เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2007 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กราบเรียนท่านอาจารย์หมอวัลลภ

 กำลังศึกษาจากลิขิตท่านอาจารย์ครับ ทีมงานภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ กำลังจะไปติดตามดูความก้าวหน้าและศึกษาผลกระทบของ นักศึกษาที่มาเรียนด้านรังสีเทคนิค ที่เมืองพนมเปญ และเสียมราฐ เดือนมีนาคมครับ

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ JJ และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขอแสดงความชื่นชมในความสำเร็จของนักศึกษาจากพนมเปญ และเสียมเรียบ
  • ถ้าไทย-กัมพูชามีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยเฉพาะทางการศึกษา และสาธารณสุขแล้ว คงจะหวังมิตรภาพได้ในระยะยาว

บันทึกนี้...

  • เราตามไปส่งอาจารย์แก้ว สาเรนที่มาเรียนบาลีที่วัดท่ามะโอ ลำปาง และไปชมผลงานของท่านพระอาจารย์สา แอมที่คุณอาและสหายธรรมสนับสนุนการแปลบาลี

ใจผม...

  • เรียนเสนอให้มี "วิทยาลัยข้ามชาติ (transnational colleges)" สอนสาธารณสุขศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ และพยาบาลแบบนานาชาติ
  • ตอนนี้เรามีหลักสูตร 4 ปี... น่าจะลองทำเป็น 5 ปี เพิ่มภาษาอังกฤษ + ภาษาเพื่อนบ้านไปอีก 1 ปี (พม่า ลาว หรือเขมร)
  • ให้มีคนไทย-เพื่อนบ้านเรียนฝ่ายละ 50% นักศึกษาไทยให้เรียนภาษาเพื่อนบ้าน+อังกฤษ 1 ปี นักศึกษาเพื่อนบ้านให้เรียนภาษาไทย+อังกฤษ 1 ปี
  • ฝึกงานควรเป็น 2 ประเทศ หรือจะเป็นฝึกภาคสนาม เช่น ให้ไปอยู่กับชาวบ้าน ฯลฯ
  • จะได้สร้างคนรุ่นใหม่ที่เก่งทั้งสาธารณสุข สังคม และวัฒนธรรม...

ขอขอบพระคุณครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท