มองสกว.ย้อนดู นครศรีธรรมราช (12-เปรียบเทียบ2รัฐบาล)


ผมเห็นว่ากลไกการกระจายงบของรัฐบาลชุดที่แล้วก้าวหน้ากว่า ถ้าบอกว่าไม่มีประสิทธิภาพหรือล้มเหลวก็มาจากตัวช่วยคือส่วนราชการที่รับผิดชอบพื้นที่ไม่ได้ทำหน้าที่คุณอำนวยแบบมืออาชีพมากกว่า

วันนี้ผมนึกไม่ออกว่าจะเขียนเล่าเรื่องอะไรดี เพราะเมื่อวานทิ้งท้ายไว้ว่า คุณเอื้อน่าจะจัดทัพกันใหม่เพราะมีเรื่องราวเข้ามามากมายเหลือเกิน เอาเป็นว่าเท่าที่ผมรู้จากหนังสือพิมพ์คือ โครงการจังหวัดอยู่ดีมีสุขที่รองนายกโฆษิตดูแลผ่านมท. อุตสาหกรรมและอื่นๆจำนวน5,000ล้านบาท โครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวศก.พอเพียงที่ปรับจากSMLอีก5,000ล้านบาท ทั้งหมดนี้เป็นการดึงงบขนมชั้นของรัฐบาลชุดที่แล้วที่กระจายมายังชุมชนโดยตรงคือSMLและกระจายมายังจังหวัดตามสัดส่วนประชากรคืองบซีอีโอกลับไปยังราชการส่วนกรมอีกครั้งหนึ่ง ผมเห็นว่ากลไกการกระจายงบของรัฐบาลชุดที่แล้วก้าวหน้ากว่า ถ้าบอกว่าไม่มีประสิทธิภาพหรือล้มเหลวก็มาจากตัวช่วยคือส่วนราชการที่รับผิดชอบพื้นที่ไม่ได้ทำหน้าที่คุณอำนวยแบบมืออาชีพมากกว่า เรามาดูว่าใน2รัฐบาลนี้

1)มีการจัดการที่ต่างกันตรงไหน?

2)ปัญหาหรืออุปสรรคอยู่ตรงไหน?

3)จะฝ่าข้ามอุปสรรคที่ว่าไปได้อย่างไร?

(ก)รัฐบาลคุณทักษิณกระจายอำนาจสู่ชุมชนโดยตรง(ข้ามราชการภูมิภาคและท้องถิ่น)ในโครงการSMLตามสัดส่วนประชากรหมู่บ้านละ2-3แสนบาท โดยให้เวทีประชาคมหมู่บ้านไปคุยกันว่าควรจะนำเงินของหมู่บ้านไปทำเรื่องอะไรตามลำดับความสำคัญ โดยให้มท.กำกับดูแลซึ่งแขนขาสำคัญก็คือพัฒนาชุมชนและให้สถาบันอุดมศึกษาปชส.และติดตามสนับสนุน ผู้รับผิดชอบคือม.นเรศวรผ่านมหาวิทยาลัยที่เป็นhubในภูมิภาคต่างๆ(ซึ่งมีผลรายงานออกมาในหน้าหนังสือพิมพ์)

(ข)รัฐบาลคุณทักษิณกระจายอำนาจสู่จังหวัดซีอีโอตามสัดส่วนประชากร เกณฑ์รายได้และอื่นๆเพื่อให้จังหวัดขับเคลื่อนงานตามagendaของรัฐบาล ของกลุ่มจังหวัดและของจังหวัด แก้ไขระเบียบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการสั่งการมากขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของโครงการKMเมืองนครที่วางroadmapไว้6ปีจำนวน85ล้านบาท

(ก1)รัฐบาลปัจจุบันใช้งบSMLที่ตั้งผูกพันไว้ต่อเนื่อง เปลี่ยนเป็นโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวศก.พอเพียงโดยให้มท.เป็นแกนรับผิดชอบ โดยนายอำเภอ(ปกครอง)ซึ่งมีบทบาทกำกับดูแลให้มีอำนาจตรวจสอบอนุมัติโครงการ นั่นหมายถึงการดึงอำนาจกลับมาที่กรมอีกครั้งหนึ่ง โดยที่กลไกสนับสนุนก็คงเป็นเหมือนเดิมคือมอบให้พัฒนาชุมชน

ผมไม่คิดว่างบอยู่ที่ชุมชนโดยให้หน่วยงานเป็นพี่เลี้ยงจะทำให้งานล้มเหลวกว่างบมาอยู่ที่พี่เลี้ยงโดยตรง ถ้ามันจะล้มเหลวก็ล้มเหลวเพราะกลไกสนับสนุนของเราไม่ทำงาน(function)หรือทำงานได้อย่างด้อยประสิทธิภาพมากกว่า

(ก2) รัฐบาลปัจจุบันใช้งบกลางทำโครงการจังหวัดอยู่ดีมีสุข ให้สภาพัฒน์ฯเป็นกุนซือ มท. เป็นแม่ทัพ ผมอ่านหลักคิดของสภาพัฒน์ฯแล้วสรุปได้ว่าให้รัฐโดยจังหวัดทำหน้าที่หลักในการดูแลทุกข์สุขของประชาชน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสร้างความเป็นธรรมในสังคมเป็นหลัก

กิจกรรมหลักคือ

ดูแลในการบริการสาธารณะด้านการศึกษา สาธารณสุข ผู้ด้อยโอกาสและการสงเคราะห์

ส่งเสริมและพัฒนาโอกาสของผลิตภัณฑ์ชุมชน

ดูแลและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัด

ส่งเสริมการดำเนินการตามหลักศก.พอเพียงและทฤษฎีใหม่

จังหวัดเน้นเรื่องคน ทรัพยากรธรรมชาติ อาชีพ

อบต.-ชุมชนเน้นการเชื่อมโยงแผนชุมชน

โดยหลักคิดก็ดีอยู่หรอก แต่ที่เราล้มเหลวคือ การจัดการและhardwareที่ไม่สอดคล้อง

เขียนถึงตรงนี้ ต้องขอตัวเข้าร่วมประชุมกับทีมงานที่พมจ.เวลา9.30น.ก่อน เพราะพรรคพวกโทรมาแต่เช้าให้ไปหารือกันที่พมจ.ก่อนจะเข้าพบท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเวลา10.00น.ซึ่งก็เป็นอีกหลายๆทัพที่จะเข้ามารุก(สนับสนุน)การพัฒนาเมืองนครศรีธรรมราข

คำสำคัญ (Tags): #แก้จนเมืองนคร
หมายเลขบันทึก: 78923เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2007 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ไม่แน่ใจว่า การดึงอำนาจมาที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นผลจากการเคยชินตามวิธีคิดในระบบราชการของผู้กำหนดนโยบาย  หรือ เป็นเพราะปัญหาทางการเมือง

แต่ที่แน่ๆ กระบวนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นดูเหมือนจะสะดุดลง

การทำงานในแนวดิ่งของระบบราชการไทยมีปัญหาเรื่องความรู้ความเข้าใจ ความไว้วางใจต่อกันระหว่างข้างบนกับข้างล่างมาโดยตลอด  รวมทั้งการทำงานของนักวิชาการที่จะเชื่อมติดกับชาวบ้านด้วย

งานเขียนของคุณภีมแม้จะอ่านยากเพราะต้องคิดตามตลอด  แต่ก็มีประโยชน์มากสำหรับคนที่พยายามทำความเข้าใจข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ปัทมาวดีที่ให้กำลังใจครับ วันนี้มีการประชุมที่ตื่นเต้นเร้าใจมาก เพราะเราได้ยุทธศาสตร์จตุคามรามเทพรุ่นอยู่ดีมีสุขและอยู่เย็นเป็นสุขที่มาจากนครโมเดลหรือโมเดลหยดน้ำเพชรครับ

แค่เห็นชื่อ ก็รู้แล้วค่ะว่า "เร้าใจ"

แวะมาอ่านเพราะเขียนงานตัวเองไม่ออกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท