Emergent: ตัวอย่างระบบ (6) - กฎหมาย


กฎหมายก็เป็น emergent รูปแบบหนึ่ง แต่อาจจะเป็น emergent แบบอ่อน คือเห็นไม่ชัดนัก

เกิดการขมวดปมของการมองร่วมกันไปข้างหน้าของทั้งสังคม เป็นการสังเคราะห์วิสัยทัศน์ของทั้งสังคม เป็นการสังเคราะห์กฏกติกาขึ้น เพื่อรับมือวิกฤติการณ์ที่อาจจะมีมาหากไม่มีีกติกากำกับอยู่ก่อน เกิดขึ้นเพราะระดับความซับซ้อนของการเกาะกลุ่มสังคมมีมากพอ

ถ้าเรามองว่า รัฐธรรมนูญ คือ DNA ก็จะเทียบเท่าพิมพ์เขียวของสังคมในยุคที่จะมาถึง

สาย DNA เป็นสายมีคู่เกลียวขวั้น สองสายต่างกับ แต่เสริมซึ่งกันและกันพอดี หากรัฐธรรมนูญส่วนที่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นสายที่หนึ่งส่วนที่ไม่ได้เขียน แต่อยู่ในขนบ อยู่ในวิธีคิด วิถีปฎิบัติ ของสังคม ก็จะเป็นอีกสายหนึ่งที่มาเสริมให้ครบคู่

จากจุดนี้ก็เกิดการ expression ออกเป็นกฎ ระเบียบ ในรูปแบบที่หลากหลาย แตกแขนงออกไป จุดตั้งต้นนี้ จะก่อเกิดโครงสร้างของกติกา ที่เอื้อให้เกิดการไหลของกระแสสังคมไปตามทำนบทางรัฐศาสตร์

ส่วนตัวแล้ว ผมมองว่า รัฐธรรมนูญคล้ายโจทย์คณิตศาสตร์รูปแบบหนึ่ง

เป็นโจทย์คณิตศาสตร์ที่แก้ตัวเองแบบ recursive ที่อาจจะ converge หรือ diverge ก็ได้ ขึ้นกับการวางโครงสร้าง (Click อ่านกรณีศึกษาทางคณิตศาสตร์สำหรับโจทย์ประเภทนี้) 

โจทย์สมการแบบเดียวกัน กำหนดรายละเอียดไว้แบบหนึ่ง นำไปสู่ convergent (ลู่เข้าสู่ภาวะนิ่ง) เสมอ ในขณะที่กำหนดไว้อีกแบบหนึ่ง ก็จะนำไปสู่ divergent (บานปลายแบบแกว่งสลับ จากสุดขั้วด้านหนึ่ง ไปสุดขั้วอีกด้านหนึ่ง) เสมอ

ตัวอย่างเล็ก ๆ เช่น การที่การเมืองจะไปสู่โครงสร้างพรรคเดียวเบ็ดเสร็จ หรือพรรคคู่ถ่วงดุลแบบเท่าเทียม หรือสหพรรค หรือ สหัสพรรค ล้วนแล้วถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าในตัวรัฐธรรมนูญ โดยจะไม่เป็นอื่น

เช่น อยากให้เป็นพรรคการเมืองพรรคเดียว ก็ต้องใช้วิธีตีเขตสนามเลือกตั้งตั้งให้เล็กที่สุด ใแต่ละสนาม มีผู้ชนะได้เพียงคนเดียว

การตีเขตให้เล็ก เท่ากับบอกว่า มีแต่ผู้ที่เป็นเบอร์หนึ่ง จึงจะได้ เบอร์อื่น หากด้อยกว่าแม้เพียงนิดเดียว ก็หลุดวงจร

ผลคือ ตัวแทนจะไม่ได้เข้าไปแบบลดหลั่นตามลำดับความนิยม เพราะจะมีแค่คนเดียวผูกขาดตลอดไป แล้วส่งผลต่อเนื่องอีกมากมายที่รู้ ๆ กันอยู่

เมื่อมองแบบมหภาค ตีเขตให้เล็กก็คือมุ่งให้เกิดพรรคการเมืองระดับยักษ์มีความเข้มแข็งขึ้น ระดับเล็ก ให้อ่อนแอลง 

หรืออยากให้เป็นหลายพรรค ก็ตีกรอบสนามเลือกตั้งให้ใหญ่ ลงคะแนนเลือกได้หลายตัวเลือก

ก็กลับกัน คือพรรคเล็กเข้มแข็ง พรรคใหญ่อ่อนแอ

ถ้าเขียนไว้อย่างหนึ่ง แต่ไปฝันเอาเองว่าจะได้ผลอีกอย่าง แบบนั้น เป็นการฝันเฟื่อง

 

หมายเลขบันทึก: 78916เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2007 08:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
หากรัฐธรรมนูญไทย คือ DNA
คงเป็น DNA ที่มีรหัสพันธุกรรมที่พบ stop codon บ่อยเหลือเกินนะครับ
เพราะมีการเปลี่ยน DNA กันบ่อยมาก
 เหมือนกับการไปเอา DNA ที่มีโครงสร้างที่ผิดเพี้ยน ไม่เหมาะสมมาใส่ไว้ในร่างกาย จนต้องเปลี่ยนบ่อยๆ

เป็นโจทย์คณิตศาสตร์ที่หลายคนยังหาคำตอบที่ถูกต้องไม่ได้ เลยต้องแก้ไขโจทย์อยู่บ่อยๆ

คุณ นายบอน!-กาฬสินธุ์ ครับ..

  • เราอยากได้ผลเงาะ แต่ไปปลูกทุเรียน ก็สมควรแล้ว
  • เช่น เราเชื่อว่า คนจบปริญญาตรีแล้ว จะเป็นคนดีกว่าคนไม่จบปริญญาตรี เราก็ไปเขียนว่า เราจะเอาแต่คนจบปริญญาตรี จึงจะทำงานการเมืองได้ คนอื่นชั่วช้าไปหมด ดังนั้น ก็เลยเขียนเพื่อกันคนจบปริญญาตรีออกไป ไม่ได้เขียนเพื่อกันคนชั่วออกไป
  • แค่เริ่มคิดก็งมงายแล้ว จะให้ร่างออกมาได้หลักแหลมหรือครับ ?
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท