ความรู้เพิ่มเติม


กฎหมายระหว่างประเทศ
น.568 หลักการพื้นฐานและปัญหาในกฎหมายระหว่างประเทศ
1.1 บทบาทของกฎหมายระหว่างประเทศในประชาคมโลก
กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
                เดิมหมายถึงกฎหมายที่ใช้บังคับต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เพราะรัฐเท่านั้นเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศที่มีสิทธิและหน้าที่ ซึ่งได้รับการรับรอง ส่วนผลประโยชน์หรือภาระที่สิ่งหรือองค์กรอื่นๆ ตลอดจนปัจเจกชนได้รับตามกฎหมายระหว่างประเทศ ถือว่าเป็นเพียงผลที่บ่ายเบนมาจากการที่องค์กรและปัจเจกชนมีความสัมพันธ์กับรัฐ ปัจเจกชนหรือองค์กรเป็นเพียงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์แห่งกฎหมายระหว่างประเทศ มิใช่บุคคลหรือผู้ใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศปัจจุบันกฎหมายระหว่างประเทศหมายถึงกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์การระหว่างประเทศ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือองค์การระหว่างประเทศกับปัจเจกชนที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
สรุปว่ากฎหมายระหว่างประเทศ
                หมายถึงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับทั้งปวงของสังคมระหว่างประเทศที่กำกับและควบคุมพฤติกรรมของบุคคลระหว่างประเทศให้สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยสันติสุข คุ้มครองปัจเจกชนมิให้ผู้ใดถูกละเมิดสิทธิมนุษย์ชน ให้ความคุ้มครองแก่เด็ก สตรีและสิ่งแวดล้อม
ตลอดจนดำเนินคดีและลงโทษผู้ที่ประกอบอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงครามด้วย
1.2 ลักษณะของกฎหมายระหว่างประเทศ
                สภาพบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศไม่มีความเด็ดขาดและประสิทธิภาพเท่ากับกฎหมายในประเทศ
“John Austin กล่าวว่ากฎหมายระหว่างประเทศมิได้เป็นกฎหมายในความหมายที่แท้จริง
และเป็นเสมือนกฎแห่งเกียรติยศระหว่างสุภาพบุรุษเท่านั้น   ตัวอย่างเช่น มารยาททางการทูต
ในหลักการ นักการทูตจะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เฉพาะในประเทศที่เป็นทางผ่านในการเดินทางไปยังประเทศที่จะไปประจำการและในประเทศที่ตนประจำการอยู่
กับในประเทศที่เป็นทางผ่านในการเดินทางกลับประเทศของตน เมื่อพ้นตำแหน่งหน้าที่แล้วเท่านั้น
ในประเทศอื่นๆจะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เฉพาะในกรณีที่ต้องไปฏิบัติหน้าที่ และเมื่อประเทศนั้นๆ ได้รับทราบแล้วเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติ ถึงแม้จะเป็นเพียงการเดินทางส่วนตัวกับครอบครัวเพื่อไปทัศนาจร มารยาททางการทูตจะให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันต่อนักการทูตด้วย หากประเทศใดไม่ให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันต่อนักการทูต ถือว่าเป็นเพียงผิดมารยาททางการทูต ไม่เป็นการละเมิดกฎหมาย และไม่มีโทษตามกฎหมายระหว่างประเทศ
เปรียบเทียบกฎหมายภายในกับกฎหมายระหว่างประเทศ
- หนี้เกิดจาก นิติกรรม กับ นิติเหตุ
- บุคคล เปรียบเสมือนประเทศ องค์การระหว่างประเทศ เปรียบเสมือน หุ้นส่วน
- สืบช่วงสิทธิ เปรียบเสมือน มรดก
- ดินแดน เปรียบเสมือน อสังหาริมทรัพย์
1.3 ขอบเขตเนื้อหาของกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายระหว่างประเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สนธิสัญญา อนุสัญญา ซึ่งวางกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ
ไม่เป็นลายลักษณะอักษร เช่น จารีตประเพณี แนวคำพิพากษาศาลระหว่างประเทศ
1.4 บทบาทขององค์การระหว่างประเทศ
กฎหมายอยู่เหนือการเมือง แต่ท้ายสุดการเมืองทำให้เกิดกฎหมาย มีหลักการดังนี้
1. เสรีภาพภายใต้กรอบกฎหมาย
2. หลักความเสมอภาค
3. การไม่แรกแซงกิจการภายใน
4. การตัดสินใจเอง (สัญญาต้องได้รับความเคารพ เจตนา)
บทที่ 2
ที่มา บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายภายใน ใช้หลักตาม ป.พ.พ.มาตรา 4 คือ ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรก่อนจารีตประเพณี
และหลักกฎหมายทั่วไป
กฎหมายระหว่างประเทศ ใช้สนธิสัญญาและอนุสัญญาก่อนจารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไป
1. สนธิสัญญาและอนุสัญญา มีองค์ประกอบ
- เป็นความตกลงระหว่างประเทศ
- เป็นลายลักษณ์อักษร
- ก่อนให้เกิดสิทธิและหน้าที่ (พันธะกรณีตามกฎหมาย)
- ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
2. จารีตประเพณีระหว่างประเทศ
                พฤติกรรมของรัฐเกิดจากการกระทำของรัฐ มุ่งเป็นทางปฏิบัติของตัวเอง
PRECEDENT ภายใต้สถานการณ์มุ่งถือปฏิบัติตลอดไป ถ้ารัฐอื่นทำรัฐยอมด้วย
ตัวอย่างเช่น การกำหนดอาณาเขตรัฐ 3 ไมล์ทะเล ทุกรัฐยินยอมปฏิบัติ
กฎหมายจารีตประเพณี มี 3 ลักษณะ
1. DE LEGE FERENDA หมายถึงกฎหมายตามที่ควรเป็น (SOFT LAW) เป็นแนวโน้มของกฎหมาย เกิดจากการปฏิบัติของแต่ละรัฐ
2. LEX FERENDA  หมายถึง แนวโน้มของกฎหมาย  (SOFT LAW) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นมา
ควรจะเป็นอย่างไร เพื่ออุดช่องโหว่ของ LEX LATA แต่ยังไม่เกิดจริง เป็นหลักกฎหมายที่เกิดจากการเจรจาต่อรอง มีระยะเวลาสั้นขึ้นกับเนื้อหาสาระปผลประโยชน์
3. LEX LATA (POSITIVE LAW) หมายถึง กฎหมายตามที่เป็น (HARD LAW) มีลักษณะดังนี้
- ใช้เวลาน้อยลง
- มติมหาชน แรงกดดันมหาอำนาจ ทำให้เกิด Opinion Jars
- กฎหมายเริ่มเป็นธรรม สหประชาชาติทำให้ประเทศด้อยพัฒนาได้รับสิทธิ มีส่วนร่วม
SOFT LAW ข้อมูลที่ยังไม่พิสูจน์ กฎหมายที่ยังไม่ตายตัว ยังอยู่ในขั้นของวิวัฒนาการ
1.ประเทศภาคีทุกประเทศสามารถใช้ได้
HARD LAW กฎหมายตายตัวแล้ว (ERGA OMNES ทุกประเทศต้องปฏิบัติ มิฉะนั้นถูกลงโทษ)
2. หลักกฎหมายทั่วไป (อุดช่องโหว่)
3. แนวคำพิพากษาศาลระหว่างประเทศ
4. ทฤษฎีของนักกฎหมายต่างประเทศ
5. การกระทำฝ่ายเดียว ที่มีผลผูกพันกับาต่างประเทศ (พันธกรณี)
- เป็นการกระทำของรัฐโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูง เป็นการให้คำมั่นสัญญา คำประกาศ
- การกระทำขององค์การระหว่างประเทศ เป็นข้อมติ
ซึ่งผ่านการประชุมโดยรัฐสมาชิกขององค์การ(สมัชชาใหญ่)
โดยหลักไม่มีลผูกพันในทางกฎหมาย จะมีผลแต่เพียงในทางการเมืองระหว่างประเทศ
แต่ถ้าเป็นข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง สหประชาชาติ จะมีผลผูกพันในทางกฎหมาย
ซึ่งรัฐสมาชิกต้องกระทำตาม
บทที่ 3
บุคคลระหว่างประเทศ
หมายถึง รัฐ และองค์การระหว่างประเทศ (นิติบุคคล)
1. รัฐ มีองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ
1. ดินแดนที่แน่นอน มีขอบเขต (มีปัญหาเขตแดนทางบก)
2. ประชากรมีจำนวนพอสมควร อยู่ประจำในดินแดนนั้นๆ
3. รัฐบาลในระบอบใดก็ได้ มีหลักการสำคัญ
- ยอมรับของประชาชน (เพราะประชาชนชอบ มาจากการเลือกตั้ว หรือกลัว-เผด็จการ)
- ควบคุมสถานการณ์ในประเทศได้โดยส่วนรวม
- สามารถควบคุมกลไกของรัฐได้ (ทหาร ตำรวจ ส่วนราชการต่างๆ)
4. มีเอกราช ไม่อยู่ใต้อำนาจของรัฐใด

2. องค์การระหว่างประเทศ
2.1 NGO เช่น กาชาดสากล ดูแลเชลยศึก มีสถานะเป็นบุคคลระหว่างประเทศ
ห้ามโจมตีเครื่องหมายกาชาด สามารถทำสนธิสัญญา หรือข้อตกลงกับรัฐได้
เป็นองค์กรของชาวโลก
2.2 ซีกวงเดือน(แดง) มีศักดิ์เหมือนกาชาดสากล
2.3 สิงโตแดง(มุสลิม) ต้องให้ความช่วยเหลือทุกฝ่าย
2.4 องค์การนิรโทษกรรม เป็นหน่วยควบคุมให้ปฏิบัติตามสิทธิมนุษย์ชน
(ดูพฤติกรรมแต่ละรัฐ)
2.5 Green picks เป็นองค์การระหว่างประเทศ ทำประโยชน์ให้ประชาชาติ
องค์การสหประชาตให้การรับรอง (ขึ้นทะเบียนให้การรับรอง)
2.6 มนุษย์ชาติ เป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ (เป็นบุคคลในแง่ตำรา)
2.7 ปัจเจกชน ไม่เป็นบุคคลระหว่างประเทศ ปั๗เจกชนละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศได้
(วัตถุแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ) ทำสัญญาหรือยื่นฟ้องศาลโลกไม่ได้
บทที่ 4
การนำกฎหมายระหว่างประเทศมาบังคับใช้ในประเทศไทย
หลักการ ปัจเจกชนจะนำกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้ไม่ได้
ยกเว้นเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เช่น
กลุ่มประเทศ EU ปัจเจกชนสามารถฟ้องรัฐได้ ทั้งรัฐของตนเองและรัฐอื่น เช่น
ในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษย์ชน หรือ
รัฐที่ใช้กฎหมายระหว่างปรเทศในระบบกฎหมายของรัฐนั้นๆ เอง
(เป็นการบังคับต่อรัฐและหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนปัจเจกชนในรัฐนั้น)
การนำกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้ มี 2 ลักษณะ คือ
1. ควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นในดินแดนของรัฐแต่ละรัฐ
2. คุ้มครองปัจเจกชน ที่มีฐานะลักษณะพิเศษ เช่น เด็ก สตรี
การใช้บังคับอาจใช้บังคับต่อองค์การระหว่างประเทศ ทั้งที่เป็นมหาชน คือ เป็นการรวมตัวของรัฐสมาชิก และที่เป็นเอกชน [Non Government Organization (NGO)] ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนระดับนานาชาติที่มารวมตัวกัน ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศถือว่าหากได้รับรองจากสหประชาชาติแล้ว
ก็ถือว่าเป็นบุคคลระหว่างประเทศที่สามารถทำสนธิสัญญาได้ เช่น กาชาดสากล Green Piece เป็นต้นการนำกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้โดยตรงกับประเทศไทย ต้องพิจารณาตามรัฐธรรมนูญฯมาตรา 224 ที่ว่า
กษัตริย์ทรงใช้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำสนธิสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก
และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศสนธิสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญา ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
                เขตอำนาจแห่งรัฐ หมายถึง เขตอำนาจทางภูมิศาสตร์และเขตอำนาจแห่งสิทธิประกอบกัน
ถ้าเฉพาะแต่เพียงเขตอำนาจแห่งสิทธิประการเดียว จะไม่อยู่ในบังคับตามความหมายว่าเขตอำนาจรัฐ ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 224การลงนามในสนธิสัญญา เป็นอำนาจของฝ่ายบริหารเท่านั้น
และเฉพาะเรื่องที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 224 เท่านั้น ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา โดยออกเป็นพระราชบัญญัติ่รองรับเพื่อให้เป็นไปตามสัญญานั้นๆ
การออกกฎหมายอนุวรรตการ (Implementing Legislation) ให้เป็นไปตามสนธิสัญญานั้น
ก็ต่อเมื่อไม่มีกฎหมายภายในรองรอบไว้ เพราะฉะนั้นกฎหมายระหว่างประเทศจึงไม่อาจนำมาใช้ภายในประเทศได้โดยตรง แต่ก็อาจมีการนำกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้บังคับเป็นผลผูกพันได้
โดยที่มิได้มีกฎหมายภายในรองรับ เช่น สิทธิคุ้มกันในทางการทูตประเทศไทยถือหลักทฤษฎีทวินิยม (DUALISM) ซึ่งถือว่ากฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในเป็นกฎหมายคนละระบบ
ถ้าจะนำกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้ต้องเปลี่ยนเป็นกฎหมายภายในเสียก่อน (Tran spore)
ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 224แต่ในบางกรณีก็ไม่อาจออกกฎหมายอนุวรรตการได้ ก็อาจนำกฏหมายระหว่างประเทศมาใช้ได้เลย เช่น กฎหมายภาคสงครามที่ใช้บังคับต่อรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศแล้วEnabling Legislation หมายความถึงกฎหมายภายในของไทย ซึ่งเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ได้เปิดช่องให้องค์กรของรัฐหรือศาล
ใช้สนธิสัญญาหรือรับรองสนธิสัญญาในอนาคต หากฝ่ายบริหารจะไปทำสนธิสัญญา โดยไม่ต้องมาออกกฎหมายภายในรองรับอีกครั้งหนึ่ง
บทที่ 5
เขตอำนาจของรัฐและปัญหาอาณาเขตของประเทศไทย
อาณาเขตของรัฐ มีทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ
การกำหนดเขตแดน ปัจจุบันเป็นไปตามหลักการกฎหมายระหว่างประเทศ
อาณาเขตทางอากาศ เครื่องบินบินได้สูงสุด (เพดานบิน) SPACE FARING CAPABILITY
ยานอวกาศ SPACE OBJECT พอยกตัวจากพื้นดินถือว่าเป็นยานอวกาศ กฎหมายอวกาศ
ยินยอมให้ยานอวกาศบินผ่านน่านฟ้าได้ โดยดูผลขั้นสุดท้าย (Finality)
มีวัตถุประสงค์อะไร แม้จะอยู่ในบรรยากาศเป็นยานอาวกาศ
อากาศยาน วิ่งในบรรยากาศไม่ใช่อวกาศ
วงโคจร ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร มี 3 ดวง 3 ระดับ
- เมโย เป็นวงโคจรระดับกลาง
- ลิโย วงโคจรระดับต่ำสุดอยู่ไหน อวกาศอยู่ตรงนั้นขึ้นไป ต่ำกว่าถือเป็นบรรยากาศ
อาณาเขตทางน้ำ (จาตุรนต์ สอน)
เหมือนอาณาเขตทางบก ยกเว้น สิทธิผ่านแดนโดยสุจริต หมายถึง
เรือต่างชาติผ่านทะเลอาณาเขต 3 ไมล์ทะเล ได้ (ข้อยกเว้น มีภัย สิ่งแวดล้อม
รัฐชายฝั่งไม่มีสิทธิห้าม)
- ทะเลอาณาเขต เดิมมีระยะทาง 3 ไมล์ทะเล ปัจจับันขยายไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล
- เขตต่อเนื่อง เริ่มจาก 12 ไมล์ทะเล ไปอีก 12 ไมล์ทะเล
- เขตไหล่ทวีป มีระยะไม่เกิน 350 ไมล์ทะเล
รัฐชายฝั่งมีสิทธิแสวงหาทรัพยากรได้แต่เพียงผู้เดียว พื้น(ก้นทะเล) ดินใต้น้ำ หรือ
ใต้ดิน (บนหรือใต้) รวมถึงสิ่งมีชีวิต
- เขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีระยะจาก 24 ไมล์ทะเลไปไม่เกิน 200 ไมล์ทะเล
รัฐชายฝั่งมีแต่สิทธิอธิปไตยใต้หรือบนทะเล รวมสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
น่านน้ำสากลในทวีปเอเชียไม่มี
ระยะเกิน 24 ไมล์ทะเล อำนาจรัฐไปไม่ถึง ระยะห่างจากชายฝั่ง 12 – 24 ไมล้ทะเล
ถือว่าผลเกิดในอาณาจักร
ปัญหาปัจจุบัน
1. ไทยมีเขตทับซ้อนเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีเดิมพันมากขึ้น
2. ไม่มีกฎเกณฑ์ในการแบ่ง เพราะสภาพภูมิศาสตร์จริงของรัฐ ทวีป ไม่เหมือนกัน
3. ใช้หลักการเดียวกันในทุกสถานการณ์ไม่ได้ ควรเป็นนามธรรม (Abstract) คือ
ความตกลงของรัฐที่เกี่ยวข้อง
ประเทศที่ทำความตกลงได้
กรณีอันดามัน ปัญหาไหล่ทวีป เขตเศรษฐกิจเฉพาะ เช่น
- ไทยกับพม่า ใช้เส้นมัธยะ (เส้นแบ่งครึ่ง)
- ไทยกับอินเดีย ใช้เกาะนิโคบ้า
- ไทยกับอินโดนีเซีย ไม่ได้แบ่งครึ่ง มีข้อสังเกตว่าไทยได้พื้นที่มากกว่า
เพราะฝั่งไทย(เกาะสมุย) แนวน้ำลาดมาก ส่วนอินโดน๊เซีย(สุมาตรา) ชัน
เนื้อดินไทยจึงมากกว่าประกอบกับอินโดนีเซียมีการค้นพบน้ำมัน ถ้ามีข้อพิพาทจะมีปัญหา
อินโดนีเซียจึงรีบทำความตกลง
- ไทยกับมาเลเซีย ไทยได้เนื้อที่มากกว่า ในหลักการ การแบ่งทะเลอาณาเขต
ใช้ช่องแคบระหว่างเกาะลังกาวีกับเกาะตารุเตา ไทยเสียเปรียบ มาเลเซียมีทรัพยากร
(ไม่ต้องการให้ไทยรื้อสัญญาเดิม) ไทยจึงได้ไหล่ทวีป
กรณีทางด้านตะวันออก มาเลเซีย เวียตนาม กัมพูชา
- ตอนใต้
o มาเลเซียกับไทย เจรจาแบ่งเขตแดน ใช้เส้นมัธยะ มีเกาะรูซิน เป็นเขตทับซ้อน
ใช้สนธิสัญญาปี 1958 1979 ใช้หลักกฎหมายเดิม ถอยไปคนละครึ่ง
ทรัพยากรแบ่งกันคนละครึ่ง (เป็นต้นตอของท่อแก๊ส)
- ตอนกลาง
o ไทยกับเวียตนาม เวียตนามเข้าสมาคมอาเซียน รับเกาะของเวียตนามและไทย แบ่งเกาะรูซิน
แบ่งเขตกันได้
o ไทยกับกัมพูชา ไม่เป็นสากล มีปัญหาเขตทับซ้อนมาก จะขอใช้วิธีที่ไทยทำกับมาเลเซีย
แบ่งผลประโยชน์คนละครึ่ง ไทยไม่ยอม

อาณาเขตทางบก
อดีตก่อนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 หรือมีความชัดเจนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
การขยายดินแดนโดยใช้กำลังทหาร รัฐสามารถกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ดินแดนปรับเปลี่ยนตามสภาพกำลังทหาร การเมือง
ปัจจุบัน นานาประเทศตระหนักถึงภัยของการขยายดินแดน
เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดสงครามโลก การระงับสาเหตุไม่ให้เกิดสงครามโลกอีกครั้ง
จึงได้ยืนยันหลักการ ห้ามใช้กำลังทหารในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (มาตรา 2 วรรค 4)
ผลตามมาดินแดนหรืออาณาเขตหรือเขตแดนที่ทำความตกลงกันไว้แล้วว่าอยู่ที่ใด
หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็น หลักเสถียรภาพของเขตแดน
เว้นแต่รัฐเป็นเจ้าของอธิปไตยจะตกลงเป็นอย่างอื่น (สนธิสัญญาเขตแดน) มีนัยสำคัญ
ดังนี้
1. รัฐไม่สามารถขยายดินแดนโดยใช้กำลัง
2. ปัจจุบันไม่มีการค้นพบดินแดน (มีแต่จมลงไป)
อนุสัญญา 1967 หลักกฎหมายอวกาศการห้ามยึดครองอวกาศเป็นจารีตประเพณี
ไม่มีรัฐใดอ้างกรรมสิทธิ์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดในอวกาศได้
จะอ้างกรรมสิทธิ์หรืออธิปไตยไม่ได้
ปัญหาเขตแดนทางบกของไทย มีความยาวทั้งสิ้น 5,288 กิโลเมตร
ด้านทิศตะวันตก ติดต่อกับพม่า ความยาว 2,400 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูง
มีสันเขา ร่องน้ำลึก ยาว 700 กิโลเมตร เป็นที่ราบ 63 กิโลเมตร
ไทยกับพม่ามีสนธิสัญญาหลายฉบับ สมัยที่พม่าเป็นอาณานิคมอังกฤษ ไทยยังใช้ชื่อว่าสยาม
ด้านตะวันออก ติดต่อกับลาวและกัมพูชา
ลาว เป็นที่ราบ 1,750 กิโลเมตร มีลำน้ำโขงยาว 960 กิโลเมตร
ไทยมีสนธิสัญญาแบ่งเขตแดนกับฝรั่งเศส รวม 4 ฉบับ คือ 1893 1904 1907 และ 1926
หลักการ แบ่งเขตแดนโดยใช้ร่องน้ำลึก กว้าง 1 กิโลเมตร กลางลำน้ำมีเกาะ
ใช้ร่องน้ำลึกชิดฝั่งไทยมากที่สุด ทำให้เกาะกลางแม่น้ำเป็นของไทย 40 กว่าเกาะ เหลือ
120 เกาะ เป็นของลาว
กัมพูชา มีความยาว 800 กิโลเมตร เป็นผลจากการทำสนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส รวม
3 ฉบับ ปี 1904 1907 1926
ด้านทิศใต้ ติดต่อกับมาเลเซีย ความยาว 647 กิโลเมตร มีสนธิสัญญาไทยกับอังกฤษ ปี
1907 แบ่งเขตแดนระหว่างปากแม่น้ำปะริดกับปากแม่น้ำโกลค
สาเหตุของปัญหา
1. ความแม่ชัดเจนของแผนที่
2. หลักการใช้พรมแดนธรรมชาติ เปลี่ยนไปตามธรรมชาติ หรือมนุษย์ทำขึ้น
3. การปักปันไม่สมบูรณ์ เช่น ไทยกับมาเลเซีย ปักปันแล้วบางส่วน
หมุดเขตแดนปัวกไม่ตรง
การแก้ไข
มีหลายระดับ เช่น กรณีเขาพระวิหาร และบ้านร่มเกล้า การเจรจามีข้อยุ่งยาก
เพราะไม่มีหลักฐานต้นฉบับ ส่วนที่เกี่ยวกับไทยไม่มีเอกสารบ้านร่มเกล้า
ฝรั่งเศสเอาเอกสารเก็บไว้ ฝรั่งเศสแพ้สงคราม ถูกโยกย้ายเอกสารไปที่เยอรมัน

การปักปันดินแดนของรัฐ กระทำได้ 3 กรณี คือ
1. ทำความตกลงกัน ซึ่งอาจจะไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
แต่ต้องเป็นการตกลงกันโดยบุคคลที่ถือว่าเป็นบุคคลระหว่างประเทศ ซึ่งได้แก่
ประมุขรัฐ ประมุขของรัฐบาล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ มีข้อยกเว้น
2. ศาลชี้ขาด ได้แก่ ศาลโลก ที่ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดน
3. มติของประชาคมระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ ลงมติรับรองดินแดนของรัฐ
หรือกำหนดเส้นสมมติเป็นเส้นแบ่งเขตแดนของรัฐ
การกำหนดเส้นเขตแดน
กระทำโดยการกำหนดจุดแบ่งเขตแดน หรืออาศัยแนวตามธรรมชาติ มี 3 วิธี
1. ถาวรวัตถุ เช่น ภูเขา สันเขา หรือเทือกเขา แบ่งโดยอาศัยสันปันน้ำเป็นแนวเขต
2. ลำน้ำระหว่างประเทศ แบ่งโดยอาศัยร่องน้ำลึกที่สุด
หรือเส้นกึ่งกลางลำน้ำเป็นจุดแบ่งเขต
3. หลักดาราศาสตร์ แบ่งโดยใช้จุดพิกัดเส้นรุ้งตัดกับเส้นแวง
ทั้งนี้ การกำหนดจุดแบ่งเขตแดน อาจทำความตกลงกันได้ โดยการทำสนธิสัญญา เช่น
กรณีไทยกับฝรั่งเศส ทำสนธิสัญญากำหนดเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับลาวในลำน้ำโขง เป็นต้น
ปัญหาการใช้ลำน้ำระหว่างประเทศ (International water coure) เป็นเส้นเขตแดน
มีหลักการใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
1. โดยปกตินานาชาติมีกฎหมายจารีตประเพณี ใช้ ร่องน้ำลึกที่ลึกที่สุด เป็นเกณฑ์
2. รัฐอาจตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ เช่น สนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
กำหนดเขตแดนในลำน้ำโขงระหว่างไทยกับลาว หรือรัฐอาจกำหนดให้ถือเอาเส้นกึ่งกลาง
(median line) ของลำน้ำเป็นเส้นเขตแดนระหว่างกัน
3. กรณีที่มีเกาะในแม่น้ำ
ถ้าถือเอา ร่องน้ำลึกที่สุด เป็นเกณฑ์ เกาะอยู่ฟากไหนของร่องน้ำลึก
เกาะเป็นของรัฐรีมฝั่ง (Riparian State) ฟากนั้น
ถ้าเอา เส้นกึ่งกลางแม่น้ำ เป็นเกณฑ์ ถือหลักความใกล้ชิดหรือความเกี่ยวกันเป็นเกณฑ์
คือ เกาะค่อนไปทางฟากไหน ให้เป็นของรัฐรีมฝั่งด้านนั้น
4. กรณีสนธิสัญญา
ไม่มีการตกลงเกี่ยวกับการเดินเรือ การประมง และการใช้น้ำ
ในลำน้ำระหว่างประเทศไว้ชัดแจ้ง ตามจารีตประเพณีและทางปฏิบัติ รัฐรีมตลิ่ง
(Riparian State) ทั้ง 2 ฝั่ง ต่างมีสิทธิที่จะใช้ลำน้ำระหว่างประเทศ
เพื่อการเดินเรือ การประมง และการใช้น้ำร่วมกัน
ดังนั้น การเดินเรือทับร่องน้ำลึกหรือทับเส้นกึ่งกลางลำน้ำ
จึงไม่เป็นการละเมิดน่านน้ำ
5. กรณีที่ตกลงให้ใช้ร่องน้ำลึกของลำน้ำระหว่างประเทศเป็นเส้นเขตแดนระหว่างกัน
ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ใช้เส้นเขตแดนบนพื้นดินใต้ท้องน้ำ (THAWEG)
ที่ลึกที่สุดของลำน้ำระหว่างประเทศ
6. กรณีร่องน้ำลึกที่ใช้เป็นเส้นเขตแดนเคลื่อนที่ไปจากเดิม
ก. เกิดจากการกัดเซาะและการสึกกร่อนจากกระแสน้ำ (Erosion)
หรือการตกตะกอนทับถมของกรวดทราย (Accession) ซึ่งเป็นการเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
(Natural) เส้นเขตแดนจะเคลื่อนที่ตามไปด้วย
ข. เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (Man-made)
หรือเกิดขึ้นโดยการเปลี่ยนแปลงเส้นทางเดินของลำน้ำอย่างฉับพลัน (avulsion) เช่น
เกิดจากแผ่นดินไหวหรือเกิดน้ำท่วมอย่างร้ายแรง เส้นเขตแดนจะอยู่ ณ ที่เดิม
ข้อกฎหมายและข้อปฏิบัติการใช้ร่องนำลึกเป็นเส้นเขตแดน
การใช้ลำน้ำระหว่างประเทศ โดยหลักการจะถือเอาร่องน้ำลึกที่ลึกที่สุด (Thaweg)
เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ร่องน้ำลึกไม่จำเป็นต้องเดินเรือได้
เพราะถ้ากำหนดว่าเดินเรือได้ ส่วนที่เดินเรือไม่ได้ เส้นเขตแดนจะขาดตอน
ซึ่งเป็นไปไม่ได้
ปัญหาการใช้ร่องน้ำลึกเแบ่งเส้นเขตแดน
1. ร่องน้ำลึกเคลื่อนที่ได้ตลอดเวลา จากผลของการเซาะ สึกกร่อน การตกตะกอนทับถม
แม่น้ำพาเอากรวดหินไปสู่ที่ต่ำ กระแสน้ำช้าลง จะตกตะกอนทับถมสูงขึ้น
ทำให้ร่องน้ำเคลื่อนที่ไป เส้นเขตแดนจะเปลี่ยนตามไปด้วย
2. ถ้ามนุษย์ทำขึ้น (Man-made) ให้ร่องน้ำเคลื่อนที่
โดยหลักการเส้นเขตแดนไม่เคลื่อนที่ เช่น การสร้างหลักลอในแม่น้ำ
ทำให้ร่องน้ำเคลื่อนที่ ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายระหว่างประเทศไม่มีสภาพบังคับชัดเจนเหมือนกฎหมายภายใน
ไม่มีองค์กรเหนือรัฐมาชี้ขาด แม้กระทั้งศาลโลก ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่ยอมขึ้นศาล
ศาลโลกไม่มีอำนาจพิจารณาตัดสิน
3. การเปลี่ยนเส้นทางเดินของลำน้ำอย่างฉับพลัน (Avulsion) ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหว
หรือน้ำท่วมอย่างร้ายแรง เส้นเขตแดนอยู่ที่เดิม
การเคลื่อนที่ของร่องน้ำลึก ทำให้เกิดความไม่แน่นอนของเส้นเขตแดน
เมื่อลากลงบนแผนที่ เพราะร่องน้ำเคลื่อนที่ไป
ทำให้เส้นเขตแดนบนแผนที่ไม่ตรงกับเส้นเขตแดนจริงบนพื้นที่ จึงแก้ไขปัญหา
โดยทำการสำรวจร่องน้ำลึก ตั้งกรรมการร่วม ต้องใช้เวลานาน อาจมีปัญหาต่างๆ เช่น
เรื่องเทคนิคการสำรวจ ความเห็นของกรรมการที่แตกต่างกัน ปัญหาด้านชายแดน
ทำให้การสำรวจร่องน้ำลึกขาดตอน เมื่อเริ่มสำรวจร่องน้ำลึกใหม่
ร่องน้ำลึกอาจจะเปลี่ยนไป ทำให้เส้นเขตแดนมีลักษณะเป็นขั้นบันได
ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ อาจมีปัญหาการใช้น้ำ
แนวทางแก้ไข
ทางออก อาจใช้ Fixed Boundary กำหนดจุดตายตัวเป็นเส้นเขตแบ่งแดน
ไม่คำนึงถึงลำน้ำระหว่างประเทศจะเปลี่ยนหรือไม่ โดยทำการสำรวจร่องน้ำลึก
ปักหลักเขตบนฝั่ง จุดตัด (MEDIAN LINE) คือ ร่องน้ำลึก ใช้เป็นเส้นกึ่งกลางลำน้ำ
กำหนดเป็นจุดเขตแดนของรัฐ
ต้องทำความตกลงกันก่อน แล้วจึงทำการสำรวจร่องน้ำลึก
การกำหนดเส้นเขตแดน มี 3 ขั้นตอน คือ
1. DEFINISHION กำหนดหลักการจะใช้วิธีการกำหนดเส้นเขตแดนอย่างไร
2. DELIMITATION ทำการสำรวจร่วมกันเพื่อหาจุดแบ่งเขตแดน
3. DEMAKATION กำหนดวิธีการ เช่น ปักหลักเขต หรือใช้หลักดาราศาสตร์ ควรใช้ 2 วิธี
เพราะหลักเขตอาจสูญหาย
กรณีการใช้ Fixed Boundary เพื่อไม่ให้เขตแดนเคลื่อนที่
โดยตกลงกันเอาร่องน้ำลึกขณะนั้นเป็นเส้นเขตแดน อาจมีผลกระทบต่อการเดินเรือ
การใช้น้ำ ของประชาชนรีมฝั่ง เพราะกรณีที่ลำน้ำระหว่างประเทศเคลื่อนที่ไปไกล
เขตแดนอยู่ที่เดิม
ปัญหาว่าฝั่งที่น้ำเคลื่อนที่จากมา จะเอาน้ำไปใช้อย่างไร ตามกฎหมายฯ
ประเทศที่น้ำเคลื่อนที่มาหาจะต้องอำนวยความสะดวกให้
ปัญหาตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 224 กรณี Fixed Boundary
เป็นกรณีที่ทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือไม่
ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาหรือไม่
ผู้สอนเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขต เพราะทำให้ดินแดนเพิ่มขึ้นหรือลดลง
โดยปกติร่องน้ำลึกที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติเปลี่ยนตลอดเวลา การใช้ Fixed Boundary
ทำให้จุดแบ่งเขตแดนโดยใช้ลำน้ำระหว่างประเทศ ซึ่งอาศัยร่องน้ำลึกไม่เปลี่ยน
จึงถือว่าเปลี่ยน (ไม่เป็นธรรมชาติ) ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
บทที่ 6
กฎหมายว่าด้วยสนธิสัญญาและทางปฏิบัติของประเทศไทย

1. สนธิสัญญา ตามความหมายของอนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ.1969 หมายถึง
เฉพาะสนธิสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร มีองค์ประกอบ ดังนี้
1. เป็นความตกลงระหว่างประเทศ คือ เป็นการเสนอและสนองทั้งสองฝ่าย
โดยบุคคลระหว่างประเทศ (ประมุขของรัฐ ประมุขของรัฐบาล
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)
2. เป็นลายลักษณะอักษร ตามอนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ.1969
3. ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
เนื่อหาสาระของข้อตกลงต้องเป็นสิทธิหน้าที่ระหว่างประเทศ
4. ตกอยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ใช้กฎหมายภายใน
สรุป สนธิสัญญาทำโดยบุคคลระหว่างประเทศ ทำให้เกิดสิทธิ
หน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ชื่อจะเรียกอย่างไรไม่สำคัญ
แต่ผลของกฎหมายจะเป็นอย่างเดียวกัน
อำนาจการทำสนธิสัญญา
ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ประกอบด้วย 2 ส่วน
1. ตามข้อกำหนดของกฎหมายระหว่างประเทศ
จะกำหนดให้อำนาจกระทำสนธิสัญญาขึ้นอยู่กับกฎหมายภายในประเทศ
ที่จะกำหนดให้ผู้ใดมีอำนาจในการทำสนธิสัญญา
2. ตามบทบัญญัติรัฐ รัฐธรรมนูญไทย พ.ศ.2540 บัญญัติไว้ในมาตรา 224 วางกฎเกณฑ์ไว้ว่า
การทำสนธิสัญญาเป็นการกระทำที่อยู่ในอำนาจของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) โดย มาตรา 224
วรรคแรก กษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก
และสัญญาอื่นๆ กับนานาประเทศหรือกับองค์กรระหว่างประเทศ
กรณีสนธิสัญญาบางประเภท ที่มีความสำคัญและมีผลกระทบกระเทือนสิทธิของประชาชนคนไทย
ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติก่อน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีสนธิสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงเขตแดน
หรือเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย (เขตอำนาจรัฐ) ได้แก่
1. เขตไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจจำเพาะ
2. สนธิสัญญาที่ประเทศไทยต้องออกกฎหมายรองรับ
หรือกฎหมายอนุวัติการให้เป็นไปตามสนธิสัญญา (มาตรา 224 วรรสอง
หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจรัฐ
หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสสัญญา
ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา)
การเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจรัฐ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงเขตอธิปไตยของรัฐ
ซึ่งรัฐมีสิทธิอำนาจ (สิทธิอธิปไตย จึงมิใช่เรื่องอำนาจอธิปไตย
ซึ่งรัฐย่อมมีอยู่เสมอในอาณาเขตประเทศไทย)
หนังสือแจ้งความจำนงขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการและการเงิน (IMF)
ไม่ถือว่าเป็นการทำสนธิสัญญาตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 224 เพราะ
1. การทำหนังสือแสดงเจตจำนงฯ เป็นการกระทำฝ่ายเดียว (Unilateral act) ของรัฐบาลไทย
เพื่อขอใช้สิทธิถอนเงิน ซึ่งประเทศไทยได้เป็นสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
และ
2. หนังสือแสดงเจตจำนงมิได้ก่อให้เกิดสิทธิหน้าที่ต
หมายเลขบันทึก: 78906เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2007 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ว้าว เอามาจากที่ไหน ดีจังเลย เผื่อแผ่ กัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท