ผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพกระทรวงวัฒนธรรมรุ่นที่ ๔


            สวัสดีครับ ชาว Blog และลูกศิษย์ทุกท่าน   ผมมีความรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับความไว้วางใจจากคณะผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงวัฒนธรรมให้จัดโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรมรุ่นที่ 4 ซึ่งรุ่นนี้ก็เป็นรุ่นที่ 4 แล้ว และเป็นโอกาสที่วัฒนธรรมจังหวัดทางภาคใต้ จะมีโอกาสได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน             

ผมจึงเปิด Blog  นี้ขึ้นเพื่อเป็นคลังความรู้ให้แก่ทุกท่านที่สนใจ นำไปต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ตนเอง  สังคม  และประเทศชาติต่อไป

 ภาพบรรยากาศการจัดการเรียนรู้

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ สัมภาษณ์ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 78810เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2007 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (118)
  • ดีใจจังครับที่จะเกิดกิจกรรมดีดีต่องานด้านวัฒนธรรมของประเทศนี้
  • เรียนเสนออาจารย์ให้นำสาระมาเผยแพร่ต่อด้วยนะครับ
  • ขอบคุณครับ

 Dear Sir

One of the main objectives of this workshop is to enhance the social skill, but it seems that the audients have a lot of works to do, i.e. they are not ready to learn. They are not well prepared for this workshop. I think they should be trained in "Time Mangement" as they should be good in leadership. They are expected to fullfill with the following qualifications which are approved by the global executives as follow :

 # Humility

# Energy

# Intuition

#Vision

# Perspective

# Passion

# Conviction

# Learning

Thank you for taking this matter into your consideration.

With your respecful,

Montree

 

 

 

สมาชิกกลุ่ม ๕ (รุ่นที่ ๔)
นางอุทัย  พัฒนพิชัย

วัฒนธรรมจังหวัดพังงา/

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพังงา

นายจรูญ  นราคร

วัฒนธรรมจังหวัดสงขลา/

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

นายประยุทธ โอสธีรกุล

วัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี/

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี

นางสมใจ  กิตติชนม์ธวัช

นักวิชาการวัฒนธรรม 7 ว/

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร

นางปิยนุช  ศรีสุข

นักวิชาการวัฒนธรรม 7 ว/

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา

นางพูนภัทร  สถิตวัฒน์

นักวิชาการวัฒนธรรม 7 ว/

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพังงา

นางยะรา  สาวสวรรค์

นักวิชาการวัฒนธรรม 7 ว/

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี

             การแสดงความเห็นต่อท่านรัฐมนตรีไขศรี ศรีอรุณ ในการกล่าวเปิด โครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ กระทรวงวัฒนธรรมรุ่นที่ ๔ ในวันที่  ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐           

ประเด็น การจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ในทุกจังหวัดทั้ง ๗๕ จังหวัด           

เห็นด้วย กับโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนโดยการจัดทำงานร่วมกันในชุมชนระหว่างภาครัฐและประชาชน           

 ไม่เห็นด้วย ในการที่ท่านรัฐมนตรีจะให้ ๓ จังหวัดภาคใต้เปลี่ยนชื่อจากโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนเป็นโครงการวัฒนธรรมท้องถิ่นสายใยชุมชน อยากให้ใช้ชื่อเหมือนกันเพราะเป็นคนไทยเหมือนกนทั้งประเทศ

กลุ่ม 1
บทร้อยกรอง
ได้จอมยุทธ์     สุดประเสริฐ           ลึกเลิศยิ่งได้
รับสิ่ง             สุดล้ำค่า                 มหาศาล
เป็นโชคดี       พ วกเรา                 เชาว์ชำนาญ
จะเล่าขาน      คุยโว                     โอ้อวดกัน
ว่ามาเรียน       ผู้บริหาร               ชาญฉลาด
ได้นักปราชญ์  ระดับนำ                 สำคัญหลาย
ให้ข้อคิด        การบริหาร             ทำงานสบาย
ใช้ศิลป์ศาสตร์     หลากหลาย        ได้ดีจริง
เป็นผู้นำ            ชำนาญ              ในการยุทธ์
สิ่งสูงสุด            จะนำชาติ    ไปได้ถึงคาดหมาย
ต้องขอบคุณ     ในใจท่าน     ที่คิดพาใหญ่
เพื่อคนไทย      ชาติไทย     รุ่งเรืองเอย  
                           
(วัฒนธรรมไทย)
2. ความคาดหวังที่ได้รับจากการอบรมในครั้งนี้
-        รัฐต้องคุ้มค่าที่ได้ลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพราะผู้นำเหล่านี้จะนำความรู้ที่ได้รับไปสร้างคุณูปการให้เกิดขึ้นกับประชาชน องค์กร และประเทศชาติ
-        ได้ผู้บริหารมืออาชีพที่ดี 
3. หลักการเป็นผู้นำ     
- กล้าคิด กล้าทำ     
- มีความรอบรู้ ตัดสินใจรวดเร็ว โดยยึดหลักคุณธรรม มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี     
- เป็นการทำงานเป็นทีม เป็นไปตามขั้นจุดเด่นของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช     
-  มีความรอบรู้ เข้าใจเรื่องเร็ว ตัดสินใจเร็ว มีความเป็นผู้นำที่ดี สรุปความรู้ที่ได้ในการอบรบวันที่ 21 ก.พ. 25501.      ความรู้ที่ได้จาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม คุณหญิงไขศรี  ศรีอรุณ2.      การพัฒนาบุคลากรของกระทรวง จะพัฒนาทุกกลุ่มทุกระดับ
3.      การทำงานวัฒนธรรมจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง ประสานทุกระดับที่เกี่ยวข้อง
4.      ประยุกต์งานให้เหมาะสมกับพื้นที่ จะต้องคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ ในการปฏิบัติงาน5.      ทุกสถาบันในสังคม ไม่ว่าสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา และสถาบันสื่อ (เทคโนโลยี)  จะต้องช่วยกันสร้างสรรค์งานวัฒนธรรมการทำงานทุกอย่าง แม้แต่การอบรมจะต้องมีการประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง
กลุ่ม 2                                        
                            การเป็นผู้นำ  
ศาสตร์-ศิลป        เชื่อมโยงกับ    ประเมินผล  
ตัวผู้นำ                                        ผู้ให้  
องค์กร                                        ผู้รับ 
ผู้รับบริการ                            ใช้ประโยชน์  
สังคม                                       ปรับปรุง  
                                          (สู่ผู้ให้)
กลุ่ม 7 สรุปประเด็นความคิดเห็นที่ได้จากการเรียนรู้ในวันนี้
-        วิเคราะห์ความคิดเห็นของท่านรัฐมนตรีในการพัฒนาบุคลากร ท่านให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญ ในการขับเคลื่อนองค์กร
อ.สุขุม  นวลสกุล     กระตุ้นความขัดแย้งในส่วนรวม ขจัดความขัดแย้งในส่วนตัว จะก่อให้เกิดการพัฒนาองค์รที่ปราศจากความขัดแย้ง
 อ.จีระ  หงส์ลดารมภ์     รูปแบบของภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วย
-        วิเคราะห์ ผู้นำตามบุคลิกภาพ
-        ทักษะความเป็นผู้นำ
-        กระบวนการภาวะผู้นำ
-        การสร้างคุณค่า
นายสราญ รุ่มจิตร กลุ่ม 4
วิธิการ/รูปแบบ/กระบวนการ ของ ศ. ดร.จีระ  ที่ใช้ดำเนินการในวันนี้  มีความรู้สึกเหมือนกับใช้เวลาเพียงนิดเดียว....ดูนาฬิกาอีกครั้ง...อ้าว 17.30 น.แล้ว  ...สุดยอด
กลุ่มที่ 3  การบริหารความขัดแย้ง          ความขัดแย้งเรื่องส่วนตัว เป็นความขัดแย้งที่เป็นภัยต่อองค์กร แต่ความขัดแย้งเรื่องส่วนรวม นำมาซึ่งประโยชน์ในการพัฒนาองค์กร และเกิดแนวคิดใหม่ที่หลากหลาย           อย่างทำให้ความขัดแย้งเรื่องส่วนรวมไปเป็นความขัดแย้งเรื่องส่วนตัว
กลุ่ม 4 ความคาดหวังจากการอบรม          ผู้บริหารและผู้นำของกระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้บริหารยุคใหม่ Smart เป็นผู้ที่สามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามนโยบาย เป้าหมายของกระทรวง และประเทศชาติได้อย่างเป็นระบบ

กลุ่ม ๖

๑.     ประทับใจ เทคนิค การถ่ายทอดความรู้ อย่างชาญฉลาด ของดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ไม่มีการ Lecture ใช้การกระตุ้น ยั่วยุให้เกิดการปะทะทางปัญญา นำปัญญาที่เกิดไปปรับใช้ในการทำงาน

๒.   ปัจจัยที่จะนำเราไปสู่ความเป็น Leadership

·       อุปนิสัยตัวเอง

·       ทักษะความรู้ ความสามารถตัวเอง

·       วิสัยทัศน์ตัวเอง มองเป็นระบบ กำหนดอนาคตได้

·       สร้างคุณค่าให้เกิดการยอมรับตัวเรา จากบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ได้    

กลุ่ม ๓

ข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรมยุคโลกาภิวัตน์๑.     โปร่งใส พร้อมรับการตรวจสอบ

๒.   เปิดรับการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

๓.   ทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์

๔.   ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง

๕.   ทำงานแบบบูรณาการ

๖.     คิดและทำงานเชิงรุก

๗.   เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

๘.   ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๙.     มีคุณธรรมและจริยธรรม

กลุ่ม ๒
ผู้นำผู้บริหารยุคโลกาภิวัตน์
                        โลกาภิวัตน์ 
วิถีชีวิต          เศรษฐกิจ         การเมือง 
                ผู้บริหาร -  ผู้นำ 
             นำการเปลี่ยนแปลง 
          ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
             แผนงบประมาณ 
                    โปร่งใส                               
                    ประหยัด 
                   ประโยชน์ 
                ประสิทธิภาพ 
                    ประเมิน
        (สู่การนำการเปลี่ยนแปลง)
กลุ่ม ๓ 
สิ่งที่ได้รับ         
         จากการที่มีโอกาสได้รับการพัฒนาโดยเข้าร่วม โครงการพัฒนาผู้นำ และผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรม รุ่นที่ 4”  ซึ่งดำเนินการโดย ทีมงานของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ นั้น
1.      มีความภาคภูมิใจ เหมือนได้ยกระดับศักดิ์ศรีของตนเองขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง เพราะการได้เข้ามาเป็นลูกศิษย์ของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่สังคมรู้จักดี ในชื่อเสียง ฝีมือ ผลงานของท่าน
2.      ได้รับความรู้ใหม่ๆ จาก อาจารย์จีระ และคณะวิทยากรที่อาจารย์เดินมาให้ความรู้ ทุกท่านเป็นผู้มีผลงาน มีฝีมือ และประสบผลสำเร็จในการบริหารงาน ในการเป็นผู้นำที่น่าเชื่อถือ และเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง     สิ่งเหล่านี้ เป็นประโย่ชน์ต่อการนำไปเป็นแบบอย่างในการบริหารจัดการงานในสนง.ของตน รวมทั้งทำให้เรามีความรู้สึกว่าจะต้องกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองให้ทันสมัย ให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เพื่อที่เราจะสามารถนำพาองค์กรให้ขึ้นไปยืนอยู่ในระดับแถวหน้าได้อย่างมีศักดิ์ศรี
ข้อเสนอแนะ
1.      วิธีการดำเนินการของอาจารย์จีระดีมาก เป็นการเข้ารับการอบรมที่คุ้มค่ากับเวลา และเป็นสิ่งที่ได้รับมีประโยชน์มาก อยากให้กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินโครงการต่อเนื่องและต่อยอดไปเรื่อย ๆ เพราะบุคลากรของกระทรวงจะได้รับการพัฒนาที่คุ้มค่า
2.      ในการประชุมสัมมนาของกระทรวงวัฒนธรรมทุกครั้ง อยากให้กระทรวงได้เรียนเชิญผู้ที่มี่ประสบการณ์ที่มีความสำเร็จ ต่ออาชีพหน้าที่ เป็นที่เชื่อถือของสังคม มาเป็นวิทยากรด้วย เพราะจะทำให้ข้าราชการเกิดความสนใจ และมีแรงกระตุ้นในการพัฒนาตนเองดียิ่ง 
ศิริมา เลิศประไพ เลขที่ 30 กลุ่ม 4
บทบาทของข้าราชการในยุคโลกาภิวัตน์  ตามทัศนะของ คุณนัทธี  จิตสว่าง  สรุปสาระไว้ดีมาก  แต่ขอเพิ่มในทัศนะของดิฉันด้วยอีก  คือ ข้าราชการในยุคโลกาภิวัตน์ต้องมี "จินตนาการ" ด้วย   เพราะจินตนาการเป็นสิ่งที่สร้างพลังให้กับความคิดมากมาย

- แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความพอเพียง  ตามแนวทางของท่านนัทธี  จิตสว่าง  เป็นเรื่องที่ดีมาก  สามารถนำไปปฏิบัติได้

- ผู้บริหารยุคใหม่  ผู้บริหารมืออาชีพ  เป็นเรื่องที่ทำได้  เมื่อท่าน ดร.จีระ  ทุ่มเทให้กับพวกเรา  เราพร้อมรับและสานต่อครับ

ประยูร เวชยันต์ กลุ่ม 4
      การสรรหาวิทยากร  ผู้มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จ  ในภารกิจการเป็นผู้นำและผู้บริหารมาให้ความรู้  ถ่ายทอด  และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรม  ทำให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่าการจัดอบรมครั้งนี้  บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกระทรวง
เสรี คงรัตน์ เลขที่ 29 กลุ่ม 4
   จากการที่ได้รับความรู้ในการอบรมผู้บริหารมืออาชีพจากวิทยากรหลายท่านทำให้เกิดวิสัยทัศน์ในการที่จะนำแนวทาง แนวปฏิบัติ  มาประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้เกิดการมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างเต็มรูปแบบตามแนวทางการบริหารงานที่ดีต่อไป
สราญ รุ่มจิตร เลขที่ 33 กลุ่ม 4
    มีประสบการณ์จากการเข้ารับการอบรมตลอดช่วงระยะเวลารับราชการมา 20 ปีเศษ........แต่เมื่อได้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้เป็นวันที่สอง...ทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า   มีความสำคัญ  เกิดความมั่นใจ......ผมโชคดีมากที่มีโอกาสเป็นลูกศิษย์ท่าน ศ.ดร.จีระ  โตยตรง

กลุ่ม ๒

วัฒนธรรมนำเศรษฐกิจโครงการผลิตภัณฑ์จากแพะ

1.      นม พาสเจอร์ไรด์

2.      นม UHP

3.      เสต็กแพะ/ หนังแพะซึ่งเป็นยา

4.      อาหารสัตว์จากผลิตภัณฑ์แพะ

5.      ยาโด๊ปจากไขข้อกระดูกแพะเน้นเรื่องการสร้างคน สร้างงาน  เริ่มต้นด้วยความสำคัญของวิถีชีวิตจัดทำโดย

-ระดมทุนโดยวิถี สหกรณ์

- สร้างเครือข่ายโดยชาวบ้านมีอาชีพเลี้ยงแพะ รับซื้อในราคาที่สูง

- อาหารของแพะจะเป็นหญ้า/ใบไม้โครงการอาหารแพะ  International อาหารชาวเล

1. วัตถุ    - เนื้อแพะ    - หนังแพะ    - กระดูกแพะ   - ขนแพะ   - นมแพะ   - เขาแพะ/เล็บแพะ

2. แหล่งจำหน่าย  - ประเทศในกลุ่มตะวันออกกลา  - ภายในประเทศ

3 จังหวัดภาคใต้ และทุกจังหวัด3. แหล่งทุน  - กู้ธนาคาร  - กระจายหุ้นให้ชุมชน  - ระดมทุน

4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-          สร้างงาน/อาชีพให้กับชุมชนใน 3 จังหวัดภาคใต้

-          ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

-          แก้ปัญหาคนว่างงาน

-          ลดอาชญากรรมในพื้นที่ 3 จังหวัด

6.      วิธีการดำเนินการ

-          เสนอโครงการให้กระทรวงวัฒนธรรม

-          ตั้งคณะทำงาน

-          ประชุมคณะทำงานโดยเชิญวิทยากรที่มีความรู้เรื่องการทำอาหารแพะ

-          ติดต่อต่างประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง-          ทำ Road Show ในต่างประเทศร่วมกับกระทรวงพาณิชย์

-          ดำเนินตามโครงการ 

กลุ่ม ๗

1.      โครงการวิถีไทยที่ในบาง     หลักการ ส่งเสริมการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงด้วยวิถีชีวิตแบบในบางดั้งเดิม เพื่อให้ชีวิตของประชาชนมีความยั่งยืน และเพิ่มรายได้ โดยการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบ Home Stay

2.      โครงการ Low place tour     หลักการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเดิมซึ่งได้มาท่องเที่ยวในบางอยู่แล้ว และนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวในบางสู่การท่องเที่ยวระดับโลก โดยเริ่มจากนักท่องเที่ยว ซึ่งมาเที่ยวที่เกาะสมุย 

กลุ่ม ๕โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตด้วยผลผลิตเกษตรไทย

-          จัดทำอาหารเพื่อสุขภาพ ทั้งในระดับชุมชน และระดับประเทศสังคมไทยเป็นสังคมเกษตร ทุกคนต้องทานอาหาร จะทานอาหารที่มีคุณภาพ ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง หลังจากที่ผลิตเหลือ สามารถส่งขายต่างประเทศได้

-          ทั้งส่ง สิ่งของแบบไม่แปรรูป

-          ทั้งส่งสิ่งของแบบแปรรูป-          เกษตร และวัฒนธรรม และความยั่งยืน เป็นวิถีชีวิตของเกษตรกรไทย อาจารย์จีระ  เสริมว่า ควรเน้นภาคเกษตร โดยเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต เพื่อสร้างความยั่งยืน  

กลุ่ม ๓โครงการระดับชาวบ้าน

ลองกองกระป๋อง และลองกองแห้ง เนื่องจากที่นราธิวาส ทุกบ้านส่วนใหญ่ปลูกลองกอง และใน 1 ปี ได้มีผลิตผลออกมาจำนวนมาก ทั้งนี้ จึงคิดโครงการ เพื่อแปรรูปลองกอง โดยจะมีวิธีการสาธิตและไปผลิตเป็นของตนเอง มีการลงทุนสร้างโรงงานแปรรูป เพื่อนำไปขาย และสร้างรายได้ให้กับชุมชน 

กลุ่ม ๑

โครงการระดับประเทศ :

1. ชื่อโครงการ  เชื่อมถ่ายแลกเปลี่ยน วิถีชีวิตชุมชนไทยระหว่างไทย-มาเลเซีย

2. หลักการ : มีคนไทยกลุ่มหนึ่งตกแผ่นดินอยู่ในประเทศมาเลเซีย อาศัยอยู่ในรัฐเคดาห์ ปสิค กรันตัน ตรังกาปู มีวิถีชีวิตแบบไทยแท้ดั้งเดิม มีความเป็นอยู่ที่ทันสมัย แต่รักษาความเป็นไทยที่เข้มแข็ง เป็นไทยวิถีพุทธที่งดงาม

3. วัตถุประสงค์         

- เพื่อศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิถีไทยของคนไทยในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย 

- เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และเสริมสร้างการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

4. เป้าหมาย        ผู้นำไทย จำนวน 100 คน  ศึกษา และดูงานเน้นเรื่องการแสดงทางศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรม

โครงการระดับชุมชนส่งเสริมการประหยัด และออม กิจกรรมสัจจะออมทรัพย์ หมู่บ้าน - ตำบล

อ.จีระ เสริมเรื่องว่าการไปมาเลเซีย ให้เป็นโครงการรุ่น 4 เข้าไปร่วมกัน และอยากให้ร่วม กับมูลนิธิฯ   

กลุ่ม ๔โครงการระดับประเทศโครงการนวดแผนไทยกระจายไปในต่างแดนเอาหมอนวดของไทย ไปสอนที่เกาหลี  เพราะเกาหลี สนใจที่มาศึกษาถึงประเทศไทย เดือนละ 2 หมื่นหมอนวด ได้เอาฝรั่งไปสอนอาจารย์เสริมว่ามีโครงการที่ฝรั่ง นำไป เช่นที่ดูไบมีการเปิดสปา 

กลุ่ม ๖โครงการระดับชุมชน วิถีถิ่น ทำกินได้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยยึดหลักการพอเพียงและพอประมาณ และการพึ่งตนเอง ในวิถีชีวิตปกติของชาวบ้าน เป็นโครงการ Home Stay , มีการพาไปชมหิ่งห้อย และการพายเรือโครงการระดับประเทศจังหวัดปัตตานี คุยกับ ม.สงขลา ว่าทำอย่างไรจึงจะพ่วงจังหวัดปัตตานี้ พ่วงไปกับจังหวัดที่มีการท่องเที่ยวเป็นที่รู้จักอยู่แล้วทำอย่างไร คนไปเที่ยวสตูล จะไปเที่ยวที่สงขลา และปัตตานีอรุณรุ่งตานี เที่ยวที่สิงขลา สนธยาสตูล 

กลุ่ม ๖ 
บทบาทข้าราชการในยุคโลกาภิวัตน์         
               หลังทศวรรษที่ 80 เป็นต้นมาจนปัจจุบัน สังคมพลวัตรสู่ระบบทุนนิยม และเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม  ส่งผลกระทบต่อระบบราชการที่เคยเป็นศูนย์รวมอำนาจ ปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคปฏิรูปที่กระจายอำนาจ ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง  เน้นการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ  ภายใต้โครงสร้างองค์กรที่กะทัดรัด ลดขั้นตอนในการทำงาน มีความโปร่งใส เป็นธรรม และเน้นการมีส่วนร่วม          
                นอกจากนี้ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร ได้ทำให้พรมแดนทางภูมิศาสตร์สิ้นสุดลง เข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์  อันเป็นโลกไร้พรมแดน  ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงและหลอมรวมทางวัฒนธรรม ซึ่งหมายถึงวิถีการดำเนินชีวิต อันนำมาซึ่งความเหมาะสม ไม่เหมาะสม ทั้งประโยชน์และโทษ         
              หน่วยงานทางวัฒนธรรมทุกระดับถือกำเนิดเพื่อเป็นองค์กรขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมของชาติท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์  ข้าราชการในยุคปัจจุบันจึงต้องปรับบทบาทให้เหมาะสมก้าวทันต่อบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป  ต้องสร้างปัญญาที่ไร้ขีดจำกัด (Unlimit) และไร้พรมแดน          
              บทสรุปของข้าราชการในยคโลกาภิวัตน์ จึงต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานอย่างน้อยดังนี้  
1. โปร่งใส พร้อมรับการตรวจสอบ
2. เปิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
3. ทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์
4. ยึดประชาชน ธรรมาภิบาล
5. ทำงานแบบบูรณาการ
6. คิดเชิงรุก
7. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
การบริหารงบประมาณของนักบริหารมืออาชีพครอบคลุมหลักการใหญ่ 3 เรื่อง ได้แก่
1.      การจัดทำงบประมาณ ซึ่งจะต้องครอบคลุมใน 3 มิติ และเชื่อมโยงใน 3 ระดับกล่าวคือ มิติตามยุทธศาสตร์ของกระทรวง/กรม    มิติตามแผนงบประมาณและการบูรณาการ  มิติตามยุทธศาสตร์ในพื้นที่
2.      การบริหารงบประมาณ ซึ่งหลักการใช้จ่ายงบประมาณเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดที่นักบริหารต้องระมัดระวัง และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบบริหารงบประมาณ พ.ศ.2458
3.      การติดตามประเมินผลและรายงานผล  เป็นการดำเนินการตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ เช่น รายงานทุก 15 วัน หรือรายงานประจำปี เป็นต้น 
                  การบริหารงบประมาณโดยหลักการใหญ่  ๆ จึงเป็นเรื่องของการปฏิบัติตามเบียบและแบบแผนตามแนวทางที่กำหนด    เศรษฐกิจพอเพียงในยุคโลกาภิวัตน์และทุนทางปัญญา          ท่ามกลางกระแสในยุคโลกาภิวัตน์ จำเป็นต้องคำนึงระบบบริหารจัดการในมิติทางวัฒนธรรมและนำระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นเครื่องมือในการจัดการ และยังรวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ          ระบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นระบบที่ใช้เหตุผล  ความรู้จักประมาณ และการสร้างภูมิคุ้มกันในการจัดการและบริหารความเสี่ยง ดำเนินไปอย่างมีระบบและเป็นขั้นตอน โดยมีต้นทุนในเรื่องความรู้และคุณธรรม  ที่จะนำไปสู่ความผาสุกอย่างยั่งยืนของสังคมและประเทศชาติ         
              กลยุทธ์ในการดำเนินงานทางวัฒนธรรมในทุกระดับต้องมีมุมมองในเรื่องเศรษฐกิจเช่น การตลาดและระบบไฟแนนซ์ 
              นอกจากนี้ยังต้องครอบคลุมไปถึงเรื่องการส่งออกด้านทรัพย์สินทางปัญญาและองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม  โดยนำทฤษฎีทุน 8 ประเภทมาใช้  ซึ่งทุนทางปัญญานั้นเป็นสิ่งสำคัญที่นักบริหารจัดการต้องคำนึงถึงและนำมาใช้ กล่าวคือต้องรู้จักฟังและเรียนรู้เพื่อให้ได้ทุนทางปัญญานั่นเอง
โครงการอาหารฮาลาลแปรรูปจากเนื้อแพะ
-        รู้ได้อย่างไรว่าเป็นไปได้
-        และเป็นธุรกิจที่อยู่อย่างยั่งยืน
1.      ประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และมุสลิมทั่วโลก มีอาหารแปรรูปจากเนื้อแพะ ไม่เพียงพอต่อการบริโภค
2.      สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศของที่อื่นไม่เอื้อต่อการเลี้ยงแพะ (เพราะแพะไม่ชอบอากาศหนาวจัด อากาศหนาวจะทำให้แพะมีอาการท้องอืด และตายในที่สุด)
3.      สภาพภูมิอากาศ ภูมิอากาศของไทย เอื้อต่อการเลี้ยงแพะ โดยเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดภาคใต้ จึงเป็นโอกาสที่จะสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนอีกทางหนึ่ง ทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรในอนาคต4.      ผลจากการวิจัย พบว่าเนื้อแพะ มีไขมันต่ำ ย่อยง่าย และสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสูงมาก จึงทำให้การจัดทำโครงการนี้อยู่ได้อย่างยั่งยืน 
          กลุ่ม 2 จะเปิดโครงการเป็นบริษัท มหาชน ท่านใดสนใจร่วมลงทุน ติดต่อ www.goat.com 
กลุ่ม ๓
 โครงการเศรษฐกิจพอเพียง ระดับระหว่างประเทศ โครงการลองกองกระป๋องในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้         
ทำวิถีชีวิตในด้านการเกษตร คือผลผลิต ผลลองกองไปแปรรูป ทั้งทำให้แห้ง และน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋อง สามารถทำในระดับชุมชน และส่งไปขายในต่างประเทศ
สราญ รุ่มจิตร เลขที่ 33 กลุ่ม 4
    การดำเนินงานในส่วนของ การส่งเสริม  /การอนุรักษ์  ที่เกี่ยวกับงานวัฒนธรรม ทั้งระดับท้องถิ่น หรือระดับสากล  จำเป็นต้องศึกษา /ค้นคว้า  หาความจริง  /ข้อมูล  ให้ทราบข้อสรุปที่เป้นข้อเท็จจริงก่อน

กระบวนการพัฒนาผู้นำหลักสูตร ของ ศ.ดร.จิระ ในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้  ซึ่งผู้นำของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏบัติงานได้จริง 

สราญ รุ่มจิตร กลุ่ม 4 เลขที่ 33
    การยึดหลักธรรมาภิบาลโดยเฉพาะบุคลากรในแวดวงราชการ...ผมมีความเชื่อมั่นว่า.."ส่วนใหญ่มากๆ"..ได้ยึดหลักการนี้อยู่แล้ว    จะมีบ้างก็เป็นส่วนน้อยมากๆที่ละเลยหลักการนี้ซึ่งสังคมจะต้องร่วมกัน/ช่วยกันพัฒนา....หรือกำจัดให้พ้นภัย.............?
เกริกชัย ชาติไทยไตรรัตน์
เอาใจใส่ด้วยการใส่ใจ          ใส่ใจ
           เป็นคำพูดที่เราได้ยินกันมานาน จนทำให้รู้สึกเป็นเรื่องปกติ แต่หากได้มองอย่างคิดวิเคราะห์ คุณค่าของคำ และความเป็นผู้นำแห่งองค์กร นัยแห่งความหมาย น่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคลภายในองค์กร และผู้เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจน  เพราะการใส่ใจ นอกจากจะเป็นความรับผิดชอบตามกรอบภารกิจ ยังแฝงเร้นด้วยคุณค่าแห่งความเป็นวิถีชีวิตวัฒนธรรมไทย ที่ผู้นำองค์กร และบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการใด ๆ ด้วยการเอาหัวใจไปใส่ไว้ในงาน หรือภารกิจนั้น ๆ ทำด้วยความตั้งใจ เต็มใจ รักที่จะทำให้ภารกิจนั้นสำเร็จ ด้วยคุณภาพ ตามศักยภาพแห่งตน ด้วยความสุข ที่ถูกขับเคลื่อนมาสู่ผู้รับบริการหรือประชาชน ภายใต้ความชื่นชมของสังคม  สร้างความอยู่ดีมีสุข เป็นการทำหน้าที่ด้วยจิตวิญญาณแห่งการเป็นผู้นำด้านวัฒนธรรมของชาติ          ใส่ใจ จึงมิได้หมายเพื่อทำงานให้เสร็จสิ้นตามภารกิจที่มี หรือได้รับมอบหมาย แต่ ใส่ใจ จะเน้นคุณค่าแห่งการบริการที่บ่งบอกถึงคุณภาพของผู้นำองค์กรในการบริหารองค์กรยุคปัจจุบันสู่อนาคต                   
                 เกริกชัย  ชาติไทยไตรรงค์                            วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี
กลุ่ม ๖
วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ฝากถึงผู้นำทั้งหลาย เมื่อคิด Project อะไร?
ควรเริ่มจาก ตั้งคำถามกับตัวเองว่า รู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่ท่านอยากทำ เป็นไปได้ และยั่งยืน
คำตอบใช้กระบวนการวิจัยช่วยสิ 
วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
รศ.ดร.มนตรี  เก่งจังถ่ายทอดเทคนิคการสอนโดยใช้หลัก 4L’s  OK ค่ะ?
อ.อรพินท์  สพโชคชัยให้หลักของธรรมาภิบาล และเทคติก การบริหารที่ผู้นำพึงระลึกเสมอ Do not  force Development 
องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)                
                          การที่ข้าราชการที่มีคุณภาพนั้น เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและผลักดันให้ระบบข้าราชการหรือระบบบริหารจัดการภาครัฐบรรลุสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้จึงกล่าวได้ว่าการบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) เป็นตัวจักรสำคัญอันนำมาซึ่งการเพิ่มมูลค่า (Value added) ให้ทรัพยากรบุคคลหรือข้าราชการมีสมรรถนะ (Competency) สูงขึ้น                 โลกได้ผ่านจากยุคเกษตรกรรม และยุคอุตสาหกรรม เข้าสู่ยุคคลื่นลูกที่สาม (The third wave) คือยุคข้อมูลข่าวสารเรียบร้อยแล้ว ในยุคนี้เครื่องมือขับเคลื่อนความเจริญก้าวหน้าทางสังคมและเศรษฐกิจไม่ใช่ที่ดิน แรงงาน วัตถุดิบ หรือทุนอีกต่อไป แต่เป็นปัญญาและความรู้ โลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งปัญญาและความรู้ที่แท้จริง                
                          การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้ สิ่งมีชีวิตใดก็ตามที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น ไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อนับล้านปีที่แล้วเป็นต้น หากเราจะเปรียบเทียบกับองค์การหนึ่ง ๆ ที่กำลังดำเนินกิจการอยู่ท่ามกลาง กระแสแห่งโลกาภิวัตน์ (Globalization) องค์การใดที่มีการเรียนรู้มีการปรับตัวที่ดีก็สามารถดำรงอยู่ได้                
                            เพราะฉะนั้นการพัฒนาองค์การเพื่อเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะสร้างกลไกให้ข้าราชการทุกระดับได้รับการพัฒนาทั้งด้านองค์ความรู้ (Body of  knowledge) สมัยใหม่ ทัศนคติ ค่านิยม และวัฒนธรรมในการทำงาน เพื่อให้เป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ ความสามารถ(Knowledge worker) มีทักษะความเชี่ยวชาญ สามารถปฏิบัติงานได้หลากหลาย มีคุณธรรม จริยธรรม จึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญต่อความสำเร็จยั่งยืนขององค์การ และเป็นองค์การในอุดมคติที่สามารถสร้างขึ้นมาได้ด้วยความร่วมมือของสมาชิกในองค์การ   
                            นายอับดุลรอมัน อูมา 
  จังหวัดสงขลาโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ
                    ของกระทรวงวัฒนธรรม รุ่นที่ 4 
ดิฉัน นางวันดี  เมืองนารถ   
              นักวิชาการวัฒนธรรมจากสนง.วัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาผู้นำ และผู้บริหารมืออาชีพ ดังนี้                      
               การบริหารองค์กรโดยปราศจากปัญหา หรือบริหารองค์กรให้มีปัญหาน้อยที่สุด ขึ้นอยู่กับ องค์ประกอบสำคัญ 3 ประเด็นคือ
1.      โครงสร้างองค์กร ต้องชัดเจน
2.      ภารกิจงานภายในองค์กร ต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงกัน
3.      บุคลากรภายในองค์กรต้องมีวัฒนธรรมขององค์กรที่ชัดเจน เข้าใจบทบาทของตนเอง และขององค์กร 
จากการได้อ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  รู้สึกว่า ท่านอาจารย์จีระ  เป็นคนสุดยอดของคนเก่ง  ทำให้ทราบว่าในองค์กรใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากทุกองค์กรมีการพัฒนาคน และมองคุณภาพของคนในองค์กรแล้ว ทำให้องค์กรนั้น ประสบความสำเร็จ นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ 
             น.ส. วัลภา ไวยรักษ์ เลขที่ 16

ข้อคิดสิ่งที่เห็น            

              ดิฉันนางยะรา สาวสวรรค์ นักวิชาการวัฒนธรรม 7 ว สนง.วธ.จ.พย. ได้เข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรมรุ่นที่ ๔ ดิฉันเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีโครงการหนึ่ง ทำให้ทราบถึงผู้บริหารจังหวัดต่าง ๆ ได้มีการแสดงความคิดซึ่งกันและกัน ได้พบปะพูดคุยกัน และทราบว่าผู้นำต้องมีความรู้ เก่งคิด เก่งงาน เพื่อพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ได้เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของนักบริหาร และการบริหารจัดการที่ดี การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องบนรากฐานทางวัฒนธรรมและภูมิสังคมที่แข็งแกร่ง ดำเนินงานต่าง ๆ จะต้องคำนึงถึงความสุข ก่อให้องค์กรเกิดประโยชน์สูงสุด และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่ดี ๆ ขององค์กรออกไปทั่วประเทศ ทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพ บุคลากรในสำนักงานมีความเข้มแข็ง กล้าพูด กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก ผู้นำต้องนำองค์กร ให้ก้าวหน้าทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ 

นางยะรา  สาวสวรรค์ นักวิชาการวัฒนธรรม 7

สนง.วัฒนธรรม จ.เพชรบุรี เลขที่ 41

ศิริมา เลิศประไพ เลขที่ 30 กลุ่ม 4

   ปัญหาความขัดแย้งในโลก  เกิดจากความขัดแย้งทางวัฒนธรรมทั้งสิ้น  ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมด้านการค้า  การใช้ชีวิต   วิธีคิด

    ปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้ก็น่าจะเป็นเงื่อนไขเดียว  แต่ความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้  กลับคิดว่าไม่ใช่ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม  กลับน่าจะเป็นวัฒนธรรมเดียวกัน  กลมกลืนกัน  คือ การคิดแบบอัตตา  ตัวกู  ของกู  เอาชนะให้ได้  แม้จะอยู่บนฐานที่ไม่ถูกต้อง  เป็นธรรมชาติของมนุษย์  ที่คิดว่า  การยอมรับความผิดพลาดเป็นสิ่งไม่น่าละอาย  อยากให้ทุกคนคิดใหม่  Re-Think  จะได้เห็นอะไรดีๆ

เสรี คงรัตน์ เลขที่ 29 กลุ่ม 4
   การประชาสัมพันธ์องค์กรเป็นภารกิจบทบาทหนึ่ง ซึ่งองค์กรจะต้องสร้างความเข้าใจ/ความคิด/ความร่วมมือในการที่พัฒนาการทำงานในองค์กรมีประสิทธิภาพ มีความเป็นเอกลักษณ์ที่จะนำไปสู่การเปิดตัวขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและมีศักยภาพ
ธเนศ อดุลยกิจ เลขที่ 28 กลุ่ม 4

     1. การประชาสัมพันธ์หน่วยงานหรือองค์กร  อย่าลือการประชาสัมพันธ์ภายในก่อนทุกเรื่อง  การประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรเป็นการสร้างความรับผิดชอบและการสร้างความเข้มแข็งขององค์กร

     2. การพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน  เราต้องพัฒนาวัฒนธรรมในการทำงานขององค์กรก่อน  จึงจะแก้ไขและพัฒนาได้ตามทิศทางที่เขาต้องการ

ประยูร เวชยันต์ เลขที่ 31 กลุ่ม 4

    "ปัญหาเกิดจากการมีอคติทางวัฒนธรรม"

      อย่าเชิดชูวัฒนธรรมเดียว  ต้องเคารพวัฒนธรรมอื่นด้วย  ปัญหา  ความขัดแย้งจะไม่เกิดขึ้น

สราญ รุ่มจิตร เลขที่ 33 กลุ่ม 4

    บทบาทที่สำคัญของผู้นำ  โดยเฉพาะผู้นำทางวัฒนธรรม  ได้แก่

     1. การเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม

     2. การเป็นผู้ที่สามารถแนะนำแนวทางให้ผู้ร่วมงานได้

      3. การเป็นผู้ที่สามารถทำให้ผู้ร่วมงานมีเป้าหมายเดียวกันได้

      4. การเชื่อมั่นในความสามารถของผู้ร่วมงานโดยการให้อำนาจดำเนินการเต็มศักยภาพ

      5. การเป็นต้นแบบที่ดีของผู้ร่วมงาน

 

เก็บตกจากหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้                 สมาชิกกลุ่มที่ ๓ ได้อภิปรายเก็บตกในประเด็นความประทับใจในการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้
ซึ่งมีบทสรุปร่วมกัน คือประเด็น Hards – on ความเก่งเอาจริง เอาจังของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ทำอะไรจะทำจนจบ มองผลระยะยาว ลักษณะการกัดไม่ปล่อย                
ผู้บริหารควรจะยึดแนวทางของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กร
กลุ่มที่ 3 คิดว่าองค์กรจะประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ทุกประการ                                               
สมาชิกกลุ่มที่
๑.       นายบุญชวน บัวสว่าง
๒.     นางพรรณนิภา มุสิกุล
๓.     นายวัชรินทร์ ดำรงกูล
๔.     นายสุทา ช่วยพูล
๕.     นายณพงศ์ ใบหมาดปันจอ 

ภารกิจ  : ประธานรุ่นแถลง         

            ข้าพเจ้ามีความรู้สึกประทับใจและดีใจเป็นอย่างมาก ที่ได้เข้ารับการอบรมในโครงการพัฒนานักบริหารระดับกลางหลักสูตร พัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ (Super Leader)  กระทรวงวัฒนธรรม รุ่นที่ ๔ ระหว่างวันที่ ๒๑กุมภาพันธ์ ๓ มีนาคม ๒๕๕๐ ณ โรงแรมไดมอนพลาซ่า อ.เมือง สุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นโครงการ่วมที่กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ซึ่งท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ท่านได้ทุ่มเทองค์ความคิดการทำงานรับใช้แผ่นดิน ตามอุดมการณ์ของท่านที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญยิ่ง คิดว่าท่านได้ตอแทนคุณแผ่นดินเกิดอย่างชายที่ทรนงตน กล้าหาญ ทั้งพลังความคิด และพลังใจที่แกร่งกล้า โดยเอาชนะอุปสรรคทั้งปวงได้ด้วย ท่านจะพูดเสมอว่าไม่ใช่คิดเก่งอย่างเดียวแต่ต้องทำเก่งด้วย คือ มือถึง ผมเองชอบแนวทางของท่านที่ทำงานอย่างหนัก เพื่อที่จะได้ผลที่เป็นความภาคภูมิใจ และดีที่สุด การบริหารผลงานที่ยาก และท้าทาย ถ้าเป็นผู้นำ และผู้บริหารในคนคนเดียวทุกอย่าง จะง่าย และทรงประสิทธิภาพสูงยิ่ง ผู้บริหารทำงานได้ ๒๔ ชั่วโมง ขณะที่ลูกน้องทำงานแค่ในเวลาของช่วงวัน หรือ ช่วงใดช่วงหนึ่ง ผมเองได้เคยเสนอกรอบการทำงานของตัวเองไว้เช่นกัน ในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ โดยมีอุดมการณ์ทางความคิดที่จะนำเอา ๗ ข้อ เป็นแรงบันดาลใจในการที่ตนให้ไปถึงฝั่งฝัน คือ ตั้งใจจริง อิงธรรมะและผลประโยชน์ โปรดวิชาการ ทำงานมีระบบครบทุกฝ่าย ขยายประชาธิปไตย ทันสมัยเป็นนิจ คู่ชีวิตมีความสุข          และในการวางกรอบแนวทางปฏิบัติขององค์กร มีจุดเน้น เรื่อง คือ

๑.สำนักงานสวย

.ระบบงานดี

.เทคโนโลยีทันสมัย

.ประทับใจบริการ

.ประสานสิบทิศ

.เกาะติดวิชาการ และ

.สร้างผลงานภาคภูมิใจ         

             เมื่อได้หลัก ได้ครูดีจากทีมวิทยากรที่ทรงคุณภาพจากวิถีทางการศึกษา และประสบความสำเร็จในงานด้านต่าง ๆ และสุดท้ายการถ่ายทอดอย่างลึกล้ำและลงตัว ข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่นว่าพวกเราทุกคนจะไม่ทำให้คณะวิทยากรผิดหวังและจะรักในวิชา พยายามทบทวนและไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับแผ่นดินที่พวกเรารับผิดชอบ จะมีส่วนช่วยกันสรรสร้างและจรรโลงสิ่งดี ๆ ไว้ให้คนในประเทศนี้ร่วมภาคภูมิใจ อนาคตประเทศไทยต้องดีขึ้นสักวัน เราซึ่งเป็นผู้ใหญ่ในวันนี้อย่าท้อ เพราะสิ่งที่ต้องการและคาดหวังจากพวกเราจึงสูงอยู่แน่นอน ถ้าเป็นไปได้เราทุกคนต้องร่วมมือกันอย่างเต็มกังความสามารถ โชคดีประเทศไทย นั้นดี มีผู้นำชั้นเยี่ยม นักบริหารชั้นยอดในคนคนเดียว เราจะเป็นคนของแผ่นดิน ที่จะทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านสบายพระราชหฤทัยมากขึ้น    

                                ขอบคุณ

                             เกษม  มีเสน

                    วัฒนธรรมจังหวัดสงขลา     

                 ประธานรุ่นที่ ๔                            

                        ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐

ปิยนุช  ศรีสุข จังหวัด ยะลา เลขที่ 39 กลุ่ม 5 
               จากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ได้รับความรู้เป็นประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
1.      การมองว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด
2.      การให้โอกาส คนที่มีศักยภาพในการทำงานโดยไม่ได้ดูเรื่องอาวุโส ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ
3.      การวิเคราะห์ข้อดีที่เป็นตัวตนของ อ.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งสามารถนำมาปฏิบัติในการใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยมาจากเบ้าหลอมวัยเยาว์ ใน 4 ประการ
         3.1 การเป็นนักกีฬา ทำให้เกิดการแสวงหาเรียนรู้ตลอดเวลา สามารถแก้ปัญหาเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้
         3.2 เกิดปีลิง ซึ่งคุณสมบัติคือเป็นคนขวนขวาย และใฝ่รู้ อยู่ตลอดเวลา
         3.3 มีเครือข่าย ทำให้มีโลกทัศน์กว้าง เป็นคนที่สามารถคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เรียนรู้ศาสตร์หลายศาสตร์
         3.4 การอยู่ร่วมกันกับคนหมู่มาก ทำให้เกิดการซึมซับเรียนรู้ และปรับตัว และสิ่งที่สำคัญในการอยู่ร่วมกัน คือ ต้องเป็นคนมีระเบียบวินัย
4.      การเป็นคนใจกว้าง เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ โดยยินดีรับฟัง แม้ความเห็นจะเป็นเชิงลบที่รุนแรง ยอมรับฟัง และนำมาพิจารณาด้วยความเต็มใจ และเปิดเผย คือว่าเป็นการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม  
สราญ รุ่มจิตร เลขที่ 33 กลุ่ม 4
    การเดินทางจริงๆ  เพื่อแสวงหาความรู้  1 วันเต็มๆ  สิ่งที่เกิดขึ้นในตัวผู้นำ  ได้แก่  ความอดทน  และ KM(ทั้งด้านศาสนาและด้านวัฒนธรรม)
ประธานรุ่นแถลง             ข้าพเจ้ามีความรู้สึกประทับใจและดีใจเป็นอย่างมาก ที่ได้เข้ารับการอบรมในโครงการพัฒนานักบริหารระดับกลางหลักสูตร พัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ (Super Leader)  กระทรวงวัฒนธรรม รุ่นที่ ๔ ระหว่างวันที่ ๒๑กุมภาพันธ์ ๓ มีนาคม ๒๕๕๐ ณ โรงแรมไดมอนพลาซ่า อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นโครงการร่วมที่กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ซึ่งท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ท่านได้ทุ่มเทองค์ความคิดการทำงานรับใช้แผ่นดิน ตามอุดมการณ์ของท่านที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญยิ่ง คิดว่าท่านได้ตอบแทนคุณแผ่นดินเกิดอย่างชายที่ทรนงองอาจ กล้าหาญ ทั้งพลังความคิด และพลังใจที่แกร่งกล้า โดยเอาชนะอุปสรรคทั้งปวงได้ด้วยดี ท่านจะพูดเสมอว่าไม่ใช่คิดเก่งอย่างเดียวแต่ต้องทำเก่งด้วย คือ มือถึง ผมเองชอบแนวทางของท่านที่ทำงานอย่างหนัก เพื่อที่จะได้ผลที่เป็นความภาคภูมิใจ และดีที่สุด การบริหารผลงานที่ยาก และท้าทาย ถ้าเป็นผู้นำ และผู้บริหารในคนคนเดียวทุกอย่าง จะง่าย และทรงประสิทธิภาพสูงยิ่ง ผู้บริหารทำงานได้ ๒๔ ชั่วโมง ขณะที่ลูกน้องทำงานแค่ในเวลาของช่วงวัน หรือ ช่วงใดช่วงหนึ่ง ผมเองได้เคยเสนอกรอบการทำงานของตัวเองไว้เช่นกัน ในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ โดยมีอุดมการณ์ทางความคิดที่จะนำเอา ๗ ข้อ เป็นแรงบันดาลใจในการที่ตนให้ไปถึงฝั่งฝัน คือ ตั้งใจจริง อิงธรรมะ และผลประโยชน์ โปรดวิชาการ ทำงานมีระบบ  คบทุกฝ่าย ขยายประชาธิปไตย ทันสมัยเป็นนิจ คู่ชีวิตมีความสุข            และในการวางกรอบแนวทางปฏิบัติขององค์กร มีจุดเน้น 7 เรื่อง คือ๑.สำนักงานสวย  .ระบบงานดี  .เทคโนโลยีทันสมัย ๔.ประทับใจบริการ     .ประสานสิบทิศ    .เกาะติดวิชาการ และ  .สร้างผลงานภาคภูมิใจ            เมื่อได้หลัก ได้ครูดีจากทีมวิทยากรที่ทรงคุณภาพจากวิถีทางการศึกษา และประสบความสำเร็จในงานด้านต่าง ๆ และสุดท้ายการถ่ายทอดอย่างลึกล้ำและลงตัว ข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่นว่าพวกเราทุกคนจะไม่ทำให้คณะวิทยากรผิดหวังและจะรักในวิชาการอย่างที่สุด พยายามทบทวนและนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับแผ่นดินที่พวกเรารับผิดชอบ จะมีส่วนช่วยกันสรรสร้างและจรรโลงสิ่งดี ๆ ไว้ให้คนในประเทศนี้ร่วมภาคภูมิใจ อนาคตประเทศไทยต้องดีขึ้นสักวัน เราซึ่งเป็นผู้ใหญ่ในวันนี้อย่าท้อ เพราะสิ่งที่ต้องการและคาดหวังจากพวกเราสูงส่งนัก ถ้าเป็นไปได้เราทุกคนต้องร่วมมือกันอย่างเต็มกำลังความสามารถ โชคดีประเทศไทย ถ้ามีผู้นำชั้นเยี่ยม นักบริหารชั้นยอดในคนคนเดียว เราจะเป็นคนของแผ่นดิน ที่จะทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านสบายพระราชหฤทัยมากขึ้น เพราะพวกเราทุกคนสัญญาทางใจว่า จะรับใช้แผ่นดินเกิดให้ดี และให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน                                                                                                             ขอบคุณ                                                                                               เกษม  มีเสน                                                                                               วัฒนธรรมจังหวัดสตูล                                                                                                       ประธานรุ่นที่ ๔                                                                                                  ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ 

ประธานรุ่นแถลง            

             ข้าพเจ้ามีความรู้สึกประทับใจและดีใจเป็นอย่างมาก ที่ได้เข้ารับการอบรมในโครงการพัฒนานักบริหารระดับกลางหลักสูตร พัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ (Super Leader)  กระทรวงวัฒนธรรม รุ่นที่ ๔ ระหว่างวันที่ ๒๑กุมภาพันธ์ ๓ มีนาคม ๒๕๕๐ ณ โรงแรมไดมอนพลาซ่า อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นโครงการร่วมที่กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ซึ่งท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ท่านได้ทุ่มเทองค์ความคิดการทำงานรับใช้แผ่นดิน ตามอุดมการณ์ของท่านที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญยิ่ง คิดว่าท่านได้ตอบแทนคุณแผ่นดินเกิดอย่างชายที่ทรนงองอาจ กล้าหาญ ทั้งพลังความคิด และพลังใจที่แกร่งกล้า โดยเอาชนะอุปสรรคทั้งปวงได้ด้วยดี ท่านจะพูดเสมอว่าไม่ใช่คิดเก่งอย่างเดียวแต่ต้องทำเก่งด้วย คือ มือถึง ผมเองชอบแนวทางของท่านที่ทำงานอย่างหนัก เพื่อที่จะได้ผลที่เป็นความภาคภูมิใจ และดีที่สุด การบริหารผลงานที่ยาก และท้าทาย ถ้าเป็นผู้นำ และผู้บริหารในคนคนเดียวทุกอย่าง จะง่าย และทรงประสิทธิภาพสูงยิ่ง ผู้บริหารทำงานได้ ๒๔ ชั่วโมง ขณะที่ลูกน้องทำงานแค่ในเวลาของช่วงวัน หรือ ช่วงใดช่วงหนึ่ง ผมเองได้เคยเสนอกรอบการทำงานของตัวเองไว้เช่นกัน ในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ โดยมีอุดมการณ์ทางความคิดที่จะนำเอา ๗ ข้อ เป็นแรงบันดาลใจในการที่ตนให้ไปถึงฝั่งฝัน คือ ตั้งใจจริง อิงธรรมะ และผลประโยชน์ โปรดวิชาการ ทำงานมีระบบ  คบทุกฝ่าย ขยายประชาธิปไตย ทันสมัยเป็นนิจ คู่ชีวิตมีความสุข            และในการวางกรอบแนวทางปฏิบัติขององค์กร มีจุดเน้น 7 เรื่อง คือ๑.สำนักงานสวย  .ระบบงานดี  .เทคโนโลยีทันสมัย ๔.ประทับใจบริการ     .ประสานสิบทิศ    .เกาะติดวิชาการ และ  .สร้างผลงานภาคภูมิใจ            เมื่อได้หลัก ได้ครูดีจากทีมวิทยากรที่ทรงคุณภาพจากวิถีทางการศึกษา และประสบความสำเร็จในงานด้านต่าง ๆ และสุดท้ายการถ่ายทอดอย่างลึกล้ำและลงตัว ข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่นว่าพวกเราทุกคนจะไม่ทำให้คณะวิทยากรผิดหวังและจะรักในวิชาการอย่างที่สุด พยายามทบทวนและนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับแผ่นดินที่พวกเรารับผิดชอบ จะมีส่วนช่วยกันสรรสร้างและจรรโลงสิ่งดี ๆ ไว้ให้คนในประเทศนี้ร่วมภาคภูมิใจ อนาคตประเทศไทยต้องดีขึ้นสักวัน เราซึ่งเป็นผู้ใหญ่ในวันนี้อย่าท้อ เพราะสิ่งที่ต้องการและคาดหวังจากพวกเราสูงส่งนัก ถ้าเป็นไปได้เราทุกคนต้องร่วมมือกันอย่างเต็มกำลังความสามารถ โชคดีประเทศไทย ถ้ามีผู้นำชั้นเยี่ยม นักบริหารชั้นยอดในคนคนเดียว เราจะเป็นคนของแผ่นดิน ที่จะทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านสบายพระราชหฤทัยมากขึ้น เพราะพวกเราทุกคนสัญญาทางใจว่า จะรับใช้แผ่นดินเกิดให้ดี และให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน                              ขอบคุณ                        

                                    เกษม  มีเสน      

                           วัฒนธรรมจังหวัดสตูล 

                            ประธานรุ่นที่ ๔  

                          ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ 

นางยะรา  สาวสวรรค์  นักวิชาการวัฒนธรรม 7 สนง.วัฒนธรรม จ.เพชรบุรี สิ่งที่ได้รับในการไปทัศนศึกษานอกสถานที่ มีดังนี้คือ๑.     ได้รับความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของธรรม ขอให้รักษาศาสนาเอาไว้ เพื่อเยาวชนรุ่นหลังต่อไป ให้มองคนในด้านดี๒.     ได้รับความรู้เกี่ยวกับการทอผ้าพื้นเมืองของหมู่บ้านไทย-มุสลิม พรมเรียง และเป็นการส่งเสริมสินค้าภายในชุมชนให้เจริญก้าวหน้า๓.     ได้รับทราบถึงความสำคัญของลิงขึ้นมะพร้าวจากศูนย์ฝึกลิงกระแดะแจะ ว่าสามารถฝึกลิงให้กระทำงานต่าง ๆ ได้เป็นความสามารถของบุคคล ที่ได้ฝึกสอนได้ด้วยภูมิปัญญาของท้องถิ่น๔.     ได้รับทราบถึงการอนุรักษ์ศิลปะการแสดงแบบพื้นเมือง ส่งเสริมให้เยาวชนได้เรียนรู้ในศิลปะการแสดงหนังตะลุงของชุมชนได้เป็นอย่างดียิ่ง ควรอนุรักษ์ไว้ให้มั่นคงสืบต่อไป๕.     ได้รับทราบถึงความสำคัญของการเสวนาของหมู่บ้านไสขาม ร่วมกับชุมชน จะได้รู้ว่าชุมชนให้ความสำคัญในปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนว่าควรแก้ไขปรับปรุงอย่างไร อย่างเช่น ปัญหาสังคม จึงควรวางแผนและร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป และทั้งด้านการศึกษา คยวรให้ความสำคัญด้วยเพื่อเป็นการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งประสานส่งเสริมในด้านการดำรงอยู่ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
นางยะรา  สาวสวรรค์ 
           นักวิชาการวัฒนธรรม 7 สนง.วัฒนธรรม จ.เพชรบุรี สิ่งที่ได้รับในการไปทัศนศึกษานอกสถานที่ มีดังนี้คือ
๑.     ได้รับความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของธรรม ขอให้รักษาศาสนาเอาไว้ เพื่อเยาวชนรุ่นหลังต่อไป ให้มองคนในด้านดี
๒.     ได้รับความรู้เกี่ยวกับการทอผ้าพื้นเมืองของหมู่บ้านไทย-มุสลิม พรมเรียง และเป็นการส่งเสริมสินค้าภายในชุมชนให้เจริญก้าวหน้า
๓.     ได้รับทราบถึงความสำคัญของลิงขึ้นมะพร้าวจากศูนย์ฝึกลิงกระแดะแจะ ว่าสามารถฝึกลิงให้กระทำงานต่าง ๆ ได้เป็นความสามารถของบุคคล ที่ได้ฝึกสอนได้ด้วยภูมิปัญญาของท้องถิ่น
๔.     ได้รับทราบถึงการอนุรักษ์ศิลปะการแสดงแบบพื้นเมือง ส่งเสริมให้เยาวชนได้เรียนรู้ในศิลปะการแสดงหนังตะลุงของชุมชนได้เป็นอย่างดียิ่ง ควรอนุรักษ์ไว้ให้มั่นคงสืบต่อไป
๕.     ได้รับทราบถึงความสำคัญของการเสวนาของหมู่บ้านไสขาม ร่วมกับชุมชน จะได้รู้ว่าชุมชนให้ความสำคัญในปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนว่าควรแก้ไขปรับปรุงอย่างไร อย่างเช่น ปัญหาสังคม จึงควรวางแผนและร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป และทั้งด้านการศึกษา คยวรให้ความสำคัญด้วยเพื่อเป็นการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งประสานส่งเสริมในด้านการดำรงอยู่ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
บรรทูล อิ่มสุขศรี
ปัญญา/คุณค่า/มูลค่าทางวัฒนธรรมโดย บรรทูล อิ่มสุขศรี            ขอบอกก่อนว่า สิ่งที่เขียนต่อไปนี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวของประสบการณ์ความรู้ ความปลื้มปิติ ความภาคภูมิใจ ที่ได้รับจากการทัศนศึกษาเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรมรุ่นที่ ๔            จากสิ่งที่พบเห็น การบอกเล่าพูดคุยกับคุณเทพศิลป์ ผ่อนแก้ว คนหนุ่มอัธยาศัยดี ผู้มีความรัก หวงแหน และเห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรมบ้านใสขาม ตำบลช้างซ้าย อำเภอกาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี เช่น หนังตะลุง มโนราห์ กลองยาว ดนตรีไทย การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง และอื่น ๆ อีกมากมาย การเห็นสิ่งเหล่านี้ มีคุณค่าต่อตนเองและท้องถิ่น จึงได้มีการสืบค้น ฟื้นฟู อนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ไปสู่เยาวชน อย่างเป็นรูปธรรม จนสามารถนำไปเผยแพร่ยังสถานที่ต่าง ๆ สิ่งที่ตามมาคือรายได้และความเป็นที่รู้จัก ซึ่งพวกเราได้พิสูจน์แล้วระหว่างอาหารมื้อค่ำ นั่นคือ คุณค่า ได้เกิด มูลค่า ขึ้นแล้วที่ในบ้านไสขาม            คืนนั้น ผมหลับด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม แม้นอนดึก แต่ก็ตื่นเช้าตามปกติ รู้สึกสดชื่นกว่าทุกวัน คิดทบทวนสิ่งที่ได้พบเมื่อวานว่าสิ่งต่าง ๆ ที่คุณเทพศิลป์ ได้ดำเนินการจนสำเร็จ มีชื่อเสียง ก่อเกิดรายได้แก่ตนเอง และเยาวชน เพราะ ปัญญา จึงทำให้สามารถมองเห็นตนเอง สิ่งต่าง ๆ รอบตัว มองเห็นโอกาส มีปัญญาคิดวิเคราะห์ วางแผนลงมือปฏิบัติ และมีปัญญาพัฒนาวัฒนธรรมท้องถิ่นไปสู่การสร้างมูลค่าได้อย่างมั่นคงยั่งยืน แม้จะมีปัญหาบ้างกับงานประจำ ผมก็เชื่อว่าคุณเทพศิลป์จะใช้ปัญญา ฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ได้ สามารถก้าวไปสู่เส้นทางที่ตนรัก และต้องการได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จในที่สุด            สิ่งที่ได้เรียนรู้ ผมคิดว่าตนเอง มีหน้าที่กระตุ้นเจ้าของวัฒนธรรมให้สามารถนำปัญญา (องค์ความรู้) ที่มีอยู่ในตนเอง และท้องถิ่นออกมานำเสนอ และใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่า อีกหน้าที่หนึ่งคือ การรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นความรู้ที่ฝักอยู่ในคน (Tacit Knowledge) มาจัดทำให้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่แบ่งปันความรู้ออกไป เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งทำให้ภูมิปัญญาชาวบ้านไม่เลือนหาย กับกระแสโลกาภิวัตน์ แต่สามารถพัฒนาและดำรงอยู่ได้กับวิถีชีวิตปัจจุบัน  
บรรทูล อิ่มสุขศรี
ปัญญา/คุณค่า/มูลค่าทางวัฒนธรรม
โดย บรรทูล อิ่มสุขศรี           
                   ขอบอกก่อนว่า สิ่งที่เขียนต่อไปนี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวของประสบการณ์ความรู้ ความปลื้มปิติ ความภาคภูมิใจ ที่ได้รับจากการทัศนศึกษาเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรมรุ่นที่ ๔            จากสิ่งที่พบเห็น การบอกเล่าพูดคุยกับคุณเทพศิลป์ ผ่อนแก้ว คนหนุ่มอัธยาศัยดี ผู้มีความรัก หวงแหน และเห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรมบ้านใสขาม ตำบลช้างซ้าย อำเภอกาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี เช่น หนังตะลุง มโนราห์ กลองยาว ดนตรีไทย การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง และอื่น ๆ อีกมากมาย การเห็นสิ่งเหล่านี้ มีคุณค่าต่อตนเองและท้องถิ่น จึงได้มีการสืบค้น ฟื้นฟู อนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ไปสู่เยาวชน อย่างเป็นรูปธรรม จนสามารถนำไปเผยแพร่ยังสถานที่ต่าง ๆ สิ่งที่ตามมาคือรายได้และความเป็นที่รู้จัก ซึ่งพวกเราได้พิสูจน์แล้วระหว่างอาหารมื้อค่ำ นั่นคือ คุณค่า ได้เกิด มูลค่า ขึ้นแล้วที่ในบ้านไสขาม            คืนนั้น ผมหลับด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม แม้นอนดึก แต่ก็ตื่นเช้าตามปกติ รู้สึกสดชื่นกว่าทุกวัน คิดทบทวนสิ่งที่ได้พบเมื่อวานว่าสิ่งต่าง ๆ ที่คุณเทพศิลป์ ได้ดำเนินการจนสำเร็จ มีชื่อเสียง ก่อเกิดรายได้แก่ตนเอง และเยาวชน เพราะ ปัญญา จึงทำให้สามารถมองเห็นตนเอง สิ่งต่าง ๆ รอบตัว มองเห็นโอกาส มีปัญญาคิดวิเคราะห์ วางแผนลงมือปฏิบัติ และมีปัญญาพัฒนาวัฒนธรรมท้องถิ่นไปสู่การสร้างมูลค่าได้อย่างมั่นคงยั่งยืน แม้จะมีปัญหาบ้างกับงานประจำ ผมก็เชื่อว่าคุณเทพศิลป์จะใช้ปัญญา ฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ได้ สามารถก้าวไปสู่เส้นทางที่ตนรัก และต้องการได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จในที่สุด            สิ่งที่ได้เรียนรู้ ผมคิดว่าตนเอง มีหน้าที่กระตุ้นเจ้าของวัฒนธรรมให้สามารถนำปัญญา (องค์ความรู้) ที่มีอยู่ในตนเอง และท้องถิ่นออกมานำเสนอ และใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่า อีกหน้าที่หนึ่งคือ การรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นความรู้ที่ฝักอยู่ในคน (Tacit Knowledge) มาจัดทำให้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่แบ่งปันความรู้ออกไป เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งทำให้ภูมิปัญญาชาวบ้านไม่เลือนหาย กับกระแสโลกาภิวัตน์ แต่สามารถพัฒนาและดำรงอยู่ได้กับวิถีชีวิตปัจจุบัน  
จากการเดินทางไปศึกษาดูงาน  เมื่อวันที่ ๑  มีนาคม  ๒๕๕๐  ผมมีความประทับใจในความสนใจใฝ่เรียนรู้ของคณะผู้เดินทางไปศึกษาเป็นอย่างยิ่ง           ซึ่งทุกคนแสดงออกถึงการเห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ตลอดจนให้ความสนใจและประทับใจในศิลปะการแสดงหนังตะลุงที่คนรุ่นใหม่ที่เพิ่งย่างก้าวเข้าสู่เส้นทางของศิลปินพื้นบ้าน   สิ่งเหล่านี้เป็นการเสริมแรง   ให้กับผู้ที่ริเริ่มการแสดงเหล่านั้นให้มุ่งมั่นที่จะดำเนินกิจกรรมที่ได้เริ่มขึ้นต่อไป  สำหรับกระผมเองอยู่ในพื้นที่และได้รับชมและเห็นพัฒนาการของแต่ละพื้นที่ที่ไปศึกษาดูงาน  การได้ร่วมเดินทางไปในครั้งนี้จึงก่อให้เกิดความตระหนักในบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนให้กิจกรรมทางวัฒนธรรมในจังหวัดสุราษฎร์ธานีคงอยู่และพัฒนาต่อไป  ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะที่เดินทางไปศึกษาดูงาน                                                                                                                                                                   ปิยพงศ์  วรรณนุช 
จากการไปดูงานที่สวนโมกข์ พระบรมธาตุไชยา ชุมชนบ้านพุมเรียง และชุมชนหมู่บ้านไสขาม ทำให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การแก้ไขปัญหาทางสังคมของชุมชนได้ถูกทาง จะต้องให้ชุมชนมีความตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน และร่วมมือกันแก้ไขปัญหาโดยใช้วิถีชีวิตของชุมชนที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับยุคสมัย                                                 วรรณวิภา  จาปะสุข 
ธเนศ  อดุลยกิจ (กลุ่ม ๔ เลขที่ ๒๘)เรื่องราวของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นความสำนึกและการมีคุณธรรม จริยธรรมของคน เมื่อคนเรามีคุณธรรม จริยธรรมประจำใจ และนำสู่การประพฤติปฏิบัติ ในชีวิตประจำวันได้แล้ว ก็จะนำมาซึ่งความสุขในชีวิต สังคม ประเทศชาติ และโลกได้ ดังคำพูดที่ มหาตม คานธี กล่าวว่า ทรัพยากรในโลกนี้มีพอเพียงสำหรับคนทุกคน แต่ไม่พอสำหรับคนโลภเพียงคนเดียว 
ธเนศ  อดุลยกิจ (กลุ่ม ๔ เลขที่ ๒๘)
                เรื่องราวของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นความสำนึกและการมีคุณธรรม จริยธรรมของคน เมื่อคนเรามีคุณธรรม จริยธรรมประจำใจ และนำสู่การประพฤติปฏิบัติ ในชีวิตประจำวันได้แล้ว ก็จะนำมาซึ่งความสุขในชีวิต สังคม ประเทศชาติ และโลกได้ ดังคำพูดที่ มหาตม คานธี กล่าวว่า ทรัพยากรในโลกนี้มีพอเพียงสำหรับคนทุกคน แต่ไม่พอสำหรับคนโลภเพียงคนเดียว 
เสรี  คงรัตน์ เลขที่ ๒๙ กลุ่ม ๔            ความร่วมมือ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน ย่อมทำให้วัฒนธรรม่ของชุมชนมีความเข้มแข็ง และในยุคปัจจุบัน เศรษฐกิจพอเพียง  ถือว่าเป็นแนวทางที่ชุมชนควรยึดถือเป็นหลักในการพัฒนาชุมชนเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนในวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง 
เสรี  คงรัตน์ เลขที่ ๒๙ กลุ่ม ๔           
           ความร่วมมือ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน ย่อมทำให้วัฒนธรรม่ของชุมชนมีความเข้มแข็ง และในยุคปัจจุบัน เศรษฐกิจพอเพียง  ถือว่าเป็นแนวทางที่ชุมชนควรยึดถือเป็นหลักในการพัฒนาชุมชนเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนในวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง 
วัฒนธรรมจังหวัด ต้องพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ส่งเสริมการฟื้นฟู อนุรักษ์ และเผยแพร่ศิลปินพื้นบ้าน อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง                                     นายประยูร  เวชยันต์                                      เลขที่ ๓๑ กลุ่ม ๔
วัฒนธรรมจังหวัด ต้องพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ส่งเสริมการฟื้นฟู อนุรักษ์ และเผยแพร่ศิลปินพื้นบ้าน อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง      
                    นาย ประยูร เวชยันต์     
                      เลขที่ ๓๑ กลุ่ม ๔
พัชรินทร์  ชินเดช เลขที่ ๕ กลุ่ม๑            จากการที่ได้มีโอกาสเรียนรู้วิถีชีวิตความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ได้พบว่าในสังคมยังมีทุนทางวัฒนธรรมของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ได้พบว่าในสังคม ยังมีทุนทางวัฒนธรรมอีกมากมาย ที่สามารถจะนำมาใช้ในการพัฒนาสังคม พัฒนาชาติ แต่การที่จะพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพได้ ก็โดยอาศัยผู้นำที่มีความสามารถในการนำเอาภูมิปัญญาเหล่านั้นมาใช้ ซึ่งเท่าที่ได้ศึกษาเรียนรู้ พบว่ามีอยู่มากมาย ทุกด้าน ทุกองค์กร มีความได้เปรียบในสภาพสังคม ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ อาทิ สังคมชนบท มีความเอื้ออาทร มีความเป็นกันเอง มีความสำนึก รักบ้านเกิด กรณีชุมชนบ้านใสขาม ชุมชนพุมเรียง            สังคมชาวพุทธ มีหลักธรรมคำสอนของพุทธทาสเป็นสิ่งน้อมนำจิตใจของคนในสังคม เหล่านี้เป็นต้น            ประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้เกิดประโยชน์ต่อตนเองสูงสุด และจำนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง เพื่อนร่วมงาน องค์กร และสังคมที่เกี่ยวข้องต่อไป                                                ๒ มีนาคม ๒๕๕๐ 
พัชรินทร์  ชินเดช เลขที่ ๕ กลุ่ม๑           
                    จากการที่ได้มีโอกาสเรียนรู้วิถีชีวิตความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ได้พบว่าในสังคมยังมีทุนทางวัฒนธรรมของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ได้พบว่าในสังคม ยังมีทุนทางวัฒนธรรมอีกมากมาย ที่สามารถจะนำมาใช้ในการพัฒนาสังคม พัฒนาชาติ แต่การที่จะพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพได้ ก็โดยอาศัยผู้นำที่มีความสามารถในการนำเอาภูมิปัญญาเหล่านั้นมาใช้ ซึ่งเท่าที่ได้ศึกษาเรียนรู้ พบว่ามีอยู่มากมาย ทุกด้าน ทุกองค์กร มีความได้เปรียบในสภาพสังคม ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ อาทิ สังคมชนบท มีความเอื้ออาทร มีความเป็นกันเอง มีความสำนึก รักบ้านเกิด กรณีชุมชนบ้านใสขาม ชุมชนพุมเรียง            สังคมชาวพุทธ มีหลักธรรมคำสอนของพุทธทาสเป็นสิ่งน้อมนำจิตใจของคนในสังคม เหล่านี้เป็นต้น            ประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้เกิดประโยชน์ต่อตนเองสูงสุด และจำนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง เพื่อนร่วมงาน องค์กร และสังคมที่เกี่ยวข้องต่อไป                                               
                                          ๒ มีนาคม ๒๕๕๐ 
ศิริมา  เลิศประไพ  เลขที่ ๓๐ กลุ่ม ๔            พวกเราเป็นชาวพุทธ นับถือศาสนาพุทธ ศึกษาธรรมะกันมาโดยตลอด แต่เราไม่รู้เลยว่า สิ่งที่เรายึดถือกันมานั้น เป็นสิ่งอื่น ๆ ที่เรานำมารวมมาผูกเข้าไว้กับธรรมะในพระพุทธศาสนา ทั้งสิ้น  เราไม่ได้รู้เลยว่า ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้น มีเพียง กำมือเดียว คือแก่นของพระพุทธศาสนา นั่นคือ การดับทุกข์ เราไม่รู้เลยว่า มนุษย์เรานั้นไม่มีตัวตน ไม่มีเกิด ไม่มีตาย เราจึงยึดถือตัวเรา โลภ โกรธ หลง อย่างเต็มที่ ถ้าเรารู้ว่าไม่มีตัวตน เราก็จะไม่โลภ โกรธ หลง ทุกข์ ก็จะไม่มี ข้าพเจ้าเริ่มเข้าใจในแก่นของศาสนาพุทธ และคิดว่าพิธีกรรมต่าง ๆ ไม่ใช่พุทธศาสนา แต่จะทำอย่างไรได้ เรายังอยู่ในสังคม จึงต้องโอนอ่อนผ่อนตาม แต่ข้าพเจ้าจะเริ่มเข้าใจ เริ่มศึกษา ให้มากขึ้น            อีกเรื่องหนึ่งคือ การฝึกลิง จากการดูการฝึกเห็นว่า มีสิ่งที่แฝงอยู่ในการฝึก คือ ความเมตตา ของผู้ฝึก และความอดทนต้องมีสูงมาก จึงคิดว่า การฝึกลิง ก็เป็นส่วนหนึ่งของภาวะผู้นำ คือต้องมีความเมตตา และอดทน 
ศิริมา  เลิศประไพ  เลขที่ ๓๐ กลุ่ม ๔           
                 พวกเราเป็นชาวพุทธ นับถือศาสนาพุทธ ศึกษาธรรมะกันมาโดยตลอด แต่เราไม่รู้เลยว่า สิ่งที่เรายึดถือกันมานั้น เป็นสิ่งอื่น ๆ ที่เรานำมารวมมาผูกเข้าไว้กับธรรมะในพระพุทธศาสนา ทั้งสิ้น  เราไม่ได้รู้เลยว่า ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้น มีเพียง กำมือเดียว คือแก่นของพระพุทธศาสนา นั่นคือ การดับทุกข์ เราไม่รู้เลยว่า มนุษย์เรานั้นไม่มีตัวตน ไม่มีเกิด ไม่มีตาย เราจึงยึดถือตัวเรา โลภ โกรธ หลง อย่างเต็มที่ ถ้าเรารู้ว่าไม่มีตัวตน เราก็จะไม่โลภ โกรธ หลง ทุกข์ ก็จะไม่มี ข้าพเจ้าเริ่มเข้าใจในแก่นของศาสนาพุทธ และคิดว่าพิธีกรรมต่าง ๆ ไม่ใช่พุทธศาสนา แต่จะทำอย่างไรได้ เรายังอยู่ในสังคม จึงต้องโอนอ่อนผ่อนตาม แต่ข้าพเจ้าจะเริ่มเข้าใจ เริ่มศึกษา ให้มากขึ้น            อีกเรื่องหนึ่งคือ การฝึกลิง จากการดูการฝึกเห็นว่า มีสิ่งที่แฝงอยู่ในการฝึก คือ ความเมตตา ของผู้ฝึก และความอดทนต้องมีสูงมาก จึงคิดว่า การฝึกลิง ก็เป็นส่วนหนึ่งของภาวะผู้นำ คือต้องมีความเมตตา และอดทน 
เกริกชัย ชาติไทยไตรรัตน์
เรียนรู้......รู้เรียน ?            คงไม่มีใครปฏิเสธว่าสวนโมกข์ คือแหล่งแสวงหาความสงบของผู้ศรัทธาแห่งองค์ท่านพุทธทาสภิกขุ เรียนรู้แห่งความเป็นจริงของชีวิต ที่ดำเนินไปภายใต้กรอบแห่งธรรมะ วันนี้จึงเป็นวันที่เรา นักบริหารมืออาชีพ ส่วนหนึ่ง (๔๓ คน และ วิทยากร) มีโอกาสได้รับประโยชน์จากมรดกทางปัญญาของท่านพุทธทาส            หากจะมองในด้านการเรียนรู้ คนคือผู้ให้ และผู้รับคนสำคัญ การเรียนรู้ โดยให้คนทั้งทีม  (๔๓ คน และ วิทยากร) เนื้อหาหลักสูตรหรือตำรา จึ่งเป็นตำราเล่มใหญ่ ที่อาจเรียนไม่จบภายใน ๘๐ วัน ไม่ว่าจะเป็นท่วงท่า ท่าที ลีลาแห่งการพูด คิด วิเคราะห์ กิริยา บุคลิกภาพ การแสดงออกแห่งอารมณ์ สังคม หรืออื่น ๆ อีกมากมาย สามารถเป็นตัวอย่าง และการกระทำต้นแบบ ที่จะนำไปปรับปรุงเพื่อการใช้ประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้นำองค์กรได้ไม่น้อยก็มากสุดแต่ผู้รับ จะเป็นผู้พิจารณาใช้ประโยชน์            อีกประการหนึ่ง หากจะสังเกตต้นไม้ภายในสวนโมกข์ อันเป็นสถานที่แสวงหาหลักธรรม เป็นที่พึ่งพิงด้านจิตใจ ต้นไม้ทุกต้นที่มองเห็น ดูเหมือนมีความสุข ได้รับการซึมซับข้อธรรมะภายใต้แหล่งรวมศรัทธา ให้ร่มเงาเป็นที่พึ่งพิงของผู้มาเยือน ยืนต้นตระหง่านทั้งต้นขนาดใหญ่ เล็ก กลาง สลับ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระเบียบ พึ่งพิงอาศัย กันและกัน ประดุจมีความสมานฉันท์อยู่ในที องค์กรก็เฉกเช่น สวนโมกข์ที่มีผู้นำองค์กรประดุจต้นไม้ใหญ่ ที่ต้องพร้อมให้การสนับสนุนเป็นที่ยึดเหนี่ยว ช่วยเหลือ ดูแล บุคลากรในองค์กร เป็นตัวอย่างในทุก ๆ ด้าน ดำเนินงานขององค์กร บรรลุความสำเร็จ            ต้นไม้จึงเป็นต้นไม้ที่สดชื่น ด้วยธรรม มีชีวิต จิตใจ มีความสมานฉันท์ และอาจเป็นแนวทางที่เสริมแนวคิด ให้กับเรา ผู้นำการเปลี่ยนแปลง                                          

เรียนรู้......รู้เรียน ?

            คงไม่มีใครปฏิเสธว่าสวนโมกข์ คือแหล่งแสวงหาความสงบของผู้ศรัทธาแห่งองค์ท่านพุทธทาสภิกขุ เรียนรู้แห่งความเป็นจริงของชีวิต ที่ดำเนินไปภายใต้กรอบแห่งธรรมะ วันนี้จึงเป็นวันที่เรา นักบริหารมืออาชีพ ส่วนหนึ่ง (๔๓ คน และ วิทยากร) มีโอกาสได้รับประโยชน์จากมรดกทางปัญญาของท่านพุทธทาส            หากจะมองในด้านการเรียนรู้ คนคือผู้ให้ และผู้รับคนสำคัญ การเรียนรู้ โดยให้คนทั้งทีม  (๔๓ คน และ วิทยากร) เนื้อหาหลักสูตรหรือตำรา จึ่งเป็นตำราเล่มใหญ่ ที่อาจเรียนไม่จบภายใน ๘๐ วัน ไม่ว่าจะเป็นท่วงท่า ท่าที ลีลาแห่งการพูด คิด วิเคราะห์ กิริยา บุคลิกภาพ การแสดงออกแห่งอารมณ์ สังคม หรืออื่น ๆ อีกมากมาย สามารถเป็นตัวอย่าง และการกระทำต้นแบบ ที่จะนำไปปรับปรุงเพื่อการใช้ประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้นำองค์กรได้ไม่น้อยก็มากสุดแต่ผู้รับ จะเป็นผู้พิจารณาใช้ประโยชน์            อีกประการหนึ่ง หากจะสังเกตต้นไม้ภายในสวนโมกข์ อันเป็นสถานที่แสวงหาหลักธรรม เป็นที่พึ่งพิงด้านจิตใจ ต้นไม้ทุกต้นที่มองเห็น ดูเหมือนมีความสุข ได้รับการซึมซับข้อธรรมะภายใต้แหล่งรวมศรัทธา ให้ร่มเงาเป็นที่พึ่งพิงของผู้มาเยือน ยืนต้นตระหง่านทั้งต้นขนาดใหญ่ เล็ก กลาง สลับ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระเบียบ พึ่งพิงอาศัย กันและกัน ประดุจมีความสมานฉันท์อยู่ในที องค์กรก็เฉกเช่น สวนโมกข์ที่มีผู้นำองค์กรประดุจต้นไม้ใหญ่ ที่ต้องพร้อมให้การสนับสนุนเป็นที่ยึดเหนี่ยว ช่วยเหลือ ดูแล บุคลากรในองค์กร เป็นตัวอย่างในทุก ๆ ด้าน ดำเนินงานขององค์กร บรรลุความสำเร็จ            ต้นไม้จึงเป็นต้นไม้ที่สดชื่น ด้วยธรรม มีชีวิต จิตใจ มีความสมานฉันท์ และอาจเป็นแนวทางที่เสริมแนวคิด ให้กับเรา ผู้นำการเปลี่ยนแปลง                                           เกริกชัย  ชาติไทยไตรรัตน์
เกริกชัย ชาติไทยไตรรัตน์
เรียนรู้......รู้เรียน ?           
          คงไม่มีใครปฏิเสธว่าสวนโมกข์ คือแหล่งแสวงหาความสงบของผู้ศรัทธาแห่งองค์ท่านพุทธทาสภิกขุ เรียนรู้แห่งความเป็นจริงของชีวิต ที่ดำเนินไปภายใต้กรอบแห่งธรรมะ วันนี้จึงเป็นวันที่เรา นักบริหารมืออาชีพ ส่วนหนึ่ง (๔๓ คน และ วิทยากร) มีโอกาสได้รับประโยชน์จากมรดกทางปัญญาของท่านพุทธทาส หากจะมองในด้านการเรียนรู้ คนคือผู้ให้ และผู้รับคนสำคัญ การเรียนรู้ โดยให้คนทั้งทีม  (๔๓ คน และ วิทยากร) เนื้อหาหลักสูตรหรือตำรา จึ่งเป็นตำราเล่มใหญ่ ที่อาจเรียนไม่จบภายใน ๘๐ วัน ไม่ว่าจะเป็นท่วงท่า ท่าที ลีลาแห่งการพูด คิด วิเคราะห์ กิริยา บุคลิกภาพ การแสดงออกแห่งอารมณ์ สังคม   หรืออื่น ๆ อีกมากมาย สามารถเป็นตัวอย่าง และการกระทำต้นแบบ ที่จะนำไปปรับปรุงเพื่อการใช้ประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้นำองค์กรได้ไม่น้อยก็มากสุดแต่ผู้รับ จะเป็นผู้พิจารณาใช้ประโยชน์           
          อีกประการหนึ่ง หากจะสังเกตต้นไม้ภายในสวนโมกข์ อันเป็นสถานที่แสวงหาหลักธรรม เป็นที่พึ่งพิงด้านจิตใจ ต้นไม้ทุกต้นที่มองเห็น ดูเหมือนมีความสุข ได้รับการซึมซับข้อธรรมะภายใต้แหล่งรวมศรัทธา ให้ร่มเงาเป็นที่พึ่งพิงของผู้มาเยือน ยืนต้นตระหง่านทั้งต้นขนาดใหญ่ เล็ก กลาง สลับ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระเบียบ พึ่งพิงอาศัย กันและกัน ประดุจมีความสมานฉันท์อยู่ในที องค์กรก็เฉกเช่น สวนโมกข์ที่มีผู้นำองค์กรประดุจต้นไม้ใหญ่ ที่ต้องพร้อมให้การสนับสนุนเป็นที่ยึดเหนี่ยว ช่วยเหลือ ดูแล บุคลากรในองค์กร เป็นตัวอย่างในทุก ๆ ด้าน ดำเนินงานขององค์กร บรรลุความสำเร็จ ต้นไม้จึงเป็นต้นไม้ที่สดชื่น ด้วยธรรม มีชีวิต จิตใจ มีความสมานฉันท์ และอาจเป็นแนวทางที่เสริมแนวคิด ให้กับเรา ผู้นำการเปลี่ยนแปลง 
เรียนรู้......รู้เรียน ?
            คงไม่มีใครปฏิเสธว่าสวนโมกข์ คือแหล่งแสวงหาความสงบของผู้ศรัทธาแห่งองค์ท่านพุทธทาสภิกขุ เรียนรู้แห่งความเป็นจริงของชีวิต ที่ดำเนินไปภายใต้กรอบแห่งธรรมะ วันนี้จึงเป็นวันที่เรา นักบริหารมืออาชีพ ส่วนหนึ่ง (๔๓ คน และ วิทยากร) มีโอกาสได้รับประโยชน์จากมรดกทางปัญญาของท่านพุทธทาส 
          หากจะมองในด้านการเรียนรู้ คนคือผู้ให้ และผู้รับคนสำคัญ การเรียนรู้ โดยให้คนทั้งทีม  (๔๓ คน และ วิทยากร) เนื้อหาหลักสูตรหรือตำรา จึ่งเป็นตำราเล่มใหญ่ ที่อาจเรียนไม่จบภายใน ๘๐ วัน ไม่ว่าจะเป็นท่วงท่า ท่าที ลีลาแห่งการพูด คิด วิเคราะห์ กิริยา บุคลิกภาพ การแสดงออกแห่งอารมณ์ สังคม   หรืออื่น ๆ อีกมากมาย สามารถเป็นตัวอย่าง และการกระทำต้นแบบ ที่จะนำไปปรับปรุงเพื่อการใช้ประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้นำองค์กรได้ไม่น้อยก็มากสุดแต่ผู้รับ จะเป็นผู้พิจารณาใช้ประโยชน์           
          อีกประการหนึ่ง หากจะสังเกตต้นไม้ภายในสวนโมกข์ อันเป็นสถานที่แสวงหาหลักธรรม เป็นที่พึ่งพิงด้านจิตใจ ต้นไม้ทุกต้นที่มองเห็น ดูเหมือนมีความสุข ได้รับการซึมซับข้อธรรมะภายใต้แหล่งรวมศรัทธา ให้ร่มเงาเป็นที่พึ่งพิงของผู้มาเยือน ยืนต้นตระหง่านทั้งต้นขนาดใหญ่ เล็ก กลาง สลับ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระเบียบ พึ่งพิงอาศัย กันและกัน ประดุจมีความสมานฉันท์อยู่ในที องค์กรก็เฉกเช่น สวนโมกข์ที่มีผู้นำองค์กรประดุจต้นไม้ใหญ่ ที่ต้องพร้อมให้การสนับสนุนเป็นที่ยึดเหนี่ยว ช่วยเหลือ ดูแล บุคลากรในองค์กร เป็นตัวอย่างในทุก ๆ ด้าน ดำเนินงานขององค์กร บรรลุความสำเร็จ ต้นไม้จึงเป็นต้นไม้ที่สดชื่น ด้วยธรรม มีชีวิต จิตใจ มีความสมานฉันท์ และอาจเป็นแนวทางที่เสริมแนวคิด ให้กับเรา ผู้นำการเปลี่ยนแปลง                                           
                               เกริกชัย  ชาติไทยไตรรัตน์
สราญ รุ่มจิตร เลขที่ 33 กลุ่ม 4
     ผู้นำต้องมีบุคคลิกภาพที่ดูดี  เนื่องจากเป็นสัญญลักษณ์ขององค์กร  แม้ว่าจะต้องสร้างภาพด้วยก็เป็นเรื่องที่จำเป็น
เกริกชัย ชาติไทยไตรรัตน์
เรียนรู้......รู้เรียน ?
            คงไม่มีใครปฏิเสธว่าสวนโมกข์ คือแหล่งแสวงหาความสงบของผู้ศรัทธาแห่งองค์ท่านพุทธทาสภิกขุ เรียนรู้แห่งความเป็นจริงของชีวิต ที่ดำเนินไปภายใต้กรอบแห่งธรรมะ วันนี้จึงเป็นวันที่เรา นักบริหารมืออาชีพ ส่วนหนึ่ง (๔๓ คน และ วิทยากร) มีโอกาสได้รับประโยชน์จากมรดกทางปัญญาของท่านพุทธทาส 
          หากจะมองในด้านการเรียนรู้ คนคือผู้ให้ และผู้รับคนสำคัญ การเรียนรู้ โดยให้คนทั้งทีม  (๔๓ คน และ วิทยากร) เนื้อหาหลักสูตรหรือตำรา จึ่งเป็นตำราเล่มใหญ่ ที่อาจเรียนไม่จบภายใน ๘๐ วัน ไม่ว่าจะเป็นท่วงท่า ท่าที ลีลาแห่งการพูด คิด วิเคราะห์ กิริยา บุคลิกภาพ การแสดงออกแห่งอารมณ์ สังคม   หรืออื่น ๆ อีกมากมาย สามารถเป็นตัวอย่าง และการกระทำต้นแบบ ที่จะนำไปปรับปรุงเพื่อการใช้ประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้นำองค์กรได้ไม่น้อยก็มากสุดแต่ผู้รับ จะเป็นผู้พิจารณาใช้ประโยชน์           
          อีกประการหนึ่ง หากจะสังเกตต้นไม้ภายในสวนโมกข์ อันเป็นสถานที่แสวงหาหลักธรรม เป็นที่พึ่งพิงด้านจิตใจ ต้นไม้ทุกต้นที่มองเห็น ดูเหมือนมีความสุข ได้รับการซึมซับข้อธรรมะภายใต้แหล่งรวมศรัทธา ให้ร่มเงาเป็นที่พึ่งพิงของผู้มาเยือน ยืนต้นตระหง่านทั้งต้นขนาดใหญ่ เล็ก กลาง สลับ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระเบียบ พึ่งพิงอาศัย กันและกัน ประดุจมีความสมานฉันท์อยู่ในที องค์กรก็เฉกเช่น สวนโมกข์ที่มีผู้นำองค์กรประดุจต้นไม้ใหญ่ ที่ต้องพร้อมให้การสนับสนุนเป็นที่ยึดเหนี่ยว ช่วยเหลือ ดูแล บุคลากรในองค์กร เป็นตัวอย่างในทุก ๆ ด้าน ดำเนินงานขององค์กร บรรลุความสำเร็จ ต้นไม้จึงเป็นต้นไม้ที่สดชื่น ด้วยธรรม มีชีวิต จิตใจ มีความสมานฉันท์ และอาจเป็นแนวทางที่เสริมแนวคิด ให้กับเรา ผู้นำการเปลี่ยนแปลง                                           
                               เกริกชัย  ชาติไทยไตรรัตน์
                                วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี
กลุ่มที่ ๓ศิลปะการแสดงพื้นบ้านคือสื่อสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่มนุษย์             คุณธรรมจริยธรรม เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ จรรโลงสังคม ให้มีความสุข สังคมใด ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต ไม่เอารัด เอาเปรียบไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ย่อมก่อให้เกิดความสันติสุขที่ยั่งยืน            คุณธรรม จริยธรรม ต้องนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง สอดคล้อง และทันสมัยต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่ นายหนังตลุงพยายามถ่ายทอดคุณธรรมจริยธรรมตามหลักคำสอนของศาสนาให้ผู้ชมได้ขบคิด นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข            สื่อสามารถนำเอาคุณธรรม จริยธรรมไปเผยแพร่ได้โดยยึดเอาศิลปะ การแสดงพื้นบ้านในท้องถิ่น เช่น หนังตะลุง มโนราห์ ลำตัด หมอลำ หากศิลปิน มีคุณธรรม จริยธรรม และนำไปถ่ายทอดให้กับสังคมยุคปัจจุบัน                                                            สมาชิกกลุ่ม                                                 .นายณพงศ์   ใบหมาดปันจอ                                                 ๒. นายสุทา  ช่วยพูล                                                . นางพรรณนิภา  มุสิกุล                                                 . นายวัชรินทร์  ดำรงกูล                                              . นายบุญชวน บัวสว่าง  

กลุ่มที่ ๓

ศิลปะการแสดงพื้นบ้านคือสื่อสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่มนุษย์             คุณธรรมจริยธรรม เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ จรรโลงสังคม ให้มีความสุข สังคมใด ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต ไม่เอารัด เอาเปรียบไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ย่อมก่อให้เกิดความสันติสุขที่ยั่งยืน            คุณธรรม จริยธรรม ต้องนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง สอดคล้อง และทันสมัยต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่ นายหนังตลุงพยายามถ่ายทอดคุณธรรมจริยธรรมตามหลักคำสอนของศาสนาให้ผู้ชมได้ขบคิด นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข            สื่อสามารถนำเอาคุณธรรม จริยธรรมไปเผยแพร่ได้โดยยึดเอาศิลปะ การแสดงพื้นบ้านในท้องถิ่น เช่น หนังตะลุง มโนราห์ ลำตัด หมอลำ หากศิลปิน มีคุณธรรม จริยธรรม และนำไปถ่ายทอดให้กับสังคมยุคปัจจุบัน 

 สมาชิกกลุ่ม                                                 

.นายณพงศ์   ใบหมาดปันจอ

๒. นายสุทา  ช่วยพูล

. นางพรรณนิภา  มุสิกุล

. นายวัชรินทร์  ดำรงกูล

. นายบุญชวน บัวสว่าง  

เศรษฐกิจพอเพียง            การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ในระดับชุมชนเป็นปัญหาที่ตกผลึกของชุมชนที่ชุมชนเองต้องร่วมกันวางแนวทางแก้ไขให้เป็นรูปธรรมให้ได้ สิ่งที่จะทำได้เป็นรูปธรรมต้องระดมทุน ในรูปแบบกลุ่มออมทรัพย์ แบบกลุ่มสัจจะ เพื่อให้ทุกคนตระหนักคิด และที่สำคัญคือ จะทำให้เกิดภาระการเก็บออม แล้วจะนำไปสู่ทุนที่จะนำมาดูแล การประกอบอาชีพในชุมชน เมื่อเงินเป็นกองทุนที่มากขึ้น ทุกคนจะได้เกิดการลงทุน เพื่อให้ทุกคนมีอาชีพทำกิน ประชาชน กินอิ่ม  นอนอุ่น ก็เป็นความสำเร็จของการพัฒนาที่ถูกต้อง ถูกใจ และถูกจังหวะ และจะก่อให้เกิดความยั่งยืน  โดยที่ผู้ใหญ่ทำงาน และวางรากฐานอย่างเป็นระบบ จะส่งผลถึงเยาวชน ซึ่งเป็นลูกหลานในชุมชน เขาจะมองเห็นแนวทางที่จะเติมเต็มเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ หากได้วางรากฐานการพัฒนาที่ใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่นำเสนอตามแนวทางนี้เพียงเรื่องเดียว ก็จะนำพามาซึ่งความสุขสงบที่ยั่งยืน และสามารถที่จะแก้ปัญหาหลายอย่างที่มีอยู่ในสภาพปัจจุบันได้อย่างมากทีเดียว            คนมีงานทำ ทุกคนมีรายได้ และเอื้ออาทรในหมู่บ้าน จะนำมาซึ่งหลักธรรม คุณธรรม ซึ่งเป็นมาตรฐานของชุมชนที่ถึงพร้อมด้วยความสมบูรณ์ในทุก ๆ ด้าน ดังกระแสพระราชดำรัสในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่ประชาชน มีความเป็นอยู่ที่พอเพียง มีเหตุ มีผล มีภูมิคุ้มกัน จะนำมาซึ่งความมั่นคง และความสุขที่ยั่งยืน                                                    ขอบคุณ 
สามารถ เที่ยงพูนวงศ์
นายสามารถ  เที่ยงพูนวงศ์ เลขที่ ๔๔ กลุ่มที่ ๑             ขอบอกว่าได้อะไรจากการศึกษานอกสถานที่ วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ เช้านี้ เรารีบออกจากโรงแรมที่พักเหมือนอย่างเคยได้มารอรถที่จะนำเราไปยังสถานที่ต่าง ๆ เราได้รับความรู้ การเคลื่อนไหว้ของสื่อ ITV จากท่านอาจารย์จีระ ได้รับประสบการณ์การทำงานของท่านจากบนรถ ได้กลุ่มที่เริ่มใกล้ชิดสนิทสนมกันเพิ่มมากขึ้น การที่ได้มาฝึกอบรม ถ้าไม่มีการเดินทางออกจากที่อบรมบ้าง ความสัมพันธ์จะเกิดช้า สรุปได้ว่าการเดินทางเป็นประสบการณ์ที่สำคัญของความเชื่อมต่อ  ได้รับรู้ประสบการณ์การทำงานของเพื่อน ๆ ที่เข้าร่วมอบรมเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้ได้ทราบถึง การทำงานของแต่ละคนมาประยุกต์ใช้ในชีวิต            สวนโมกข์ เป็นแหล่งธรรมะจริง ไม่ต้องฟังบรรยาย ไม่ต้องถามใคร หาได้โดยการอ่านเข้าไปข้างในแล้ว เขาบอกว่าให้ศึกษาธรรมเอาเอง สิ่งที่ได้รับคือ การปฏิบัติในชีวิตปัจจุบัน อนาคตไม่เบียดเบียนกัน ไม่โลภ รู้จักพอดี พร้อมที่จะนำไปใช้ได้มากมายตลอดชีวิตที่สำคัญ คือไม่เบียดเบียนกัน            ศูนย์ฝึกลิงหมู่บ้านไสขาม มีความเป็นอยู่ที่พอเพียง เป็นการดำรงไว้ ซึ่งวัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงอยู่ นายหนังตะลุง เตรียมพร้อม ตามขั้นตอนของปัจจุบัน อนาคต โดยศึกษาจากอดีตเป็นครู ในการคงอยู่ ให้เห็นวิถีชีวิตของการช่วยกันดำรงได้โดยการสร้างานให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน และเผยแพร่ออกไปภายนอก ในส่วนของเรานั้น น่าจะส่งเสริมให้มากที่สุด จริง ๆ แล้วมากกว่านี้อีกแต่ของเก็บไว้ใช้ และเผยแพร่เอง ขอจบแล้วครับ  
สามารถ เที่ยงพูนวงศ์

นายสามารถ  เที่ยงพูนวงศ์ เลขที่ ๔๔ กลุ่มที่ ๑

            ขอบอกว่าได้อะไรจากการศึกษานอกสถานที่ วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ เช้านี้ เรารีบออกจากโรงแรมที่พักเหมือนอย่างเคยได้มารอรถที่จะนำเราไปยังสถานที่ต่าง ๆ เราได้รับความรู้ การเคลื่อนไหว้ของสื่อ ITV จากท่านอาจารย์จีระ ได้รับประสบการณ์การทำงานของท่านจากบนรถ ได้กลุ่มที่เริ่มใกล้ชิดสนิทสนมกันเพิ่มมากขึ้น การที่ได้มาฝึกอบรม ถ้าไม่มีการเดินทางออกจากที่อบรมบ้าง ความสัมพันธ์จะเกิดช้า สรุปได้ว่าการเดินทางเป็นประสบการณ์ที่สำคัญของความเชื่อมต่อ  ได้รับรู้ประสบการณ์การทำงานของเพื่อน ๆ ที่เข้าร่วมอบรมเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้ได้ทราบถึง การทำงานของแต่ละคนมาประยุกต์ใช้ในชีวิต            สวนโมกข์ เป็นแหล่งธรรมะจริง ไม่ต้องฟังบรรยาย ไม่ต้องถามใคร หาได้โดยการอ่านเข้าไปข้างในแล้ว เขาบอกว่าให้ศึกษาธรรมเอาเอง สิ่งที่ได้รับคือ การปฏิบัติในชีวิตปัจจุบัน อนาคตไม่เบียดเบียนกัน ไม่โลภ รู้จักพอดี พร้อมที่จะนำไปใช้ได้มากมายตลอดชีวิตที่สำคัญ คือไม่เบียดเบียนกัน            ศูนย์ฝึกลิงหมู่บ้านไสขาม มีความเป็นอยู่ที่พอเพียง เป็นการดำรงไว้ ซึ่งวัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงอยู่ นายหนังตะลุง เตรียมพร้อม ตามขั้นตอนของปัจจุบัน อนาคต โดยศึกษาจากอดีตเป็นครู ในการคงอยู่ ให้เห็นวิถีชีวิตของการช่วยกันดำรงได้โดยการสร้างานให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน และเผยแพร่ออกไปภายนอก ในส่วนของเรานั้น น่าจะส่งเสริมให้มากที่สุด จริง ๆ แล้วมากกว่านี้อีกแต่ของเก็บไว้ใช้ และเผยแพร่เอง ขอจบแล้วครับ  

สมศรี รักนุ้ย เลขที่ ๔ กลุ่ม ๑๑.     สิ่งที่ได้ที่สวนโมกมังคลาราม      ได้สิ่งที่จริงแท้ ไม่มีอะไรที่เป็นของเป็น ของธรรมะ ธรรมชาติทุกอย่างคืนสู่ธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติ จึงควรทำบทบาทหน้าที่ให้ดีที่สุด ก่อนที่ทุกอย่างจะคืนสู่ธรรมชาติ (ตาย-ดับ)๒.    สิ่งที่ได้จากพุมเรียง      ได้เห็นวิถีชีวิตคนพุมเรียง ซึ่งประกอบอาชีพทอผ้า ที่ไม่ใช่ทำแบบครัวเรือน แต่ทำแบบอุตสาหกรรมชุมชน ได้กินอาหารที่สดจากทะเล อร่อย๓.    สิ่งที่ได้จากวัดพระบรมธาตุไชยา      ได้ไหว้พระบรมสาริกธาตุ ได้หวนนึกถึงเรื่องเก่า ๆ และพบว่า พระจตุคาม นครศรีฯ มาค้างอยู่ที่ วัดพระธาตุไชยาได้อย่างไร คงเป็นของเราที่เราได้เช่า๔.    สิ่งที่ได้จากชุมชนไสขาม      ได้ทราบความเข้มแข็งของชุมชน การรวมกลุ่มการเป็นผู้นำ การช่วยเหลือพึ่งพากัน๕.    โรงเรียนฝึกลิง      ลิงก็ฝึกได้ คนก็น่าจะฝึกได้อยู่ที่ความตั้งใจของผู้นำ (ครูฝึก) ซึ่งจะต้องอดทน ๆ และอดทนแต่ได้ความสุข
สมศรี รักนุ้ย เลขที่ ๔ กลุ่ม ๑
๑.     สิ่งที่ได้ที่สวนโมกมังคลาราม      ได้สิ่งที่จริงแท้ ไม่มีอะไรที่เป็นของเป็น ของธรรมะ ธรรมชาติทุกอย่างคืนสู่ธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติ จึงควรทำบทบาทหน้าที่ให้ดีที่สุด ก่อนที่ทุกอย่างจะคืนสู่ธรรมชาติ (ตาย-ดับ)
๒.    สิ่งที่ได้จากพุมเรียง      ได้เห็นวิถีชีวิตคนพุมเรียง ซึ่งประกอบอาชีพทอผ้า ที่ไม่ใช่ทำแบบครัวเรือน แต่ทำแบบอุตสาหกรรมชุมชน ได้กินอาหารที่สดจากทะเล อร่อย
๓.    สิ่งที่ได้จากวัดพระบรมธาตุไชยา      ได้ไหว้พระบรมสาริกธาตุ ได้หวนนึกถึงเรื่องเก่า ๆ และพบว่า พระจตุคาม นครศรีฯ มาค้างอยู่ที่ วัดพระธาตุไชยาได้อย่างไร คงเป็นของเราที่เราได้เช่า
๔.    สิ่งที่ได้จากชุมชนไสขาม      ได้ทราบความเข้มแข็งของชุมชน การรวมกลุ่มการเป็นผู้นำ การช่วยเหลือพึ่งพากัน๕.    โรงเรียนฝึกลิง      ลิงก็ฝึกได้ คนก็น่าจะฝึกได้อยู่ที่ความตั้งใจของผู้นำ (ครูฝึก) ซึ่งจะต้องอดทน ๆ และอดทนแต่ได้ความสุข
สมศรี รักนุ้ย เลขที่ ๔ กลุ่ม ๑
๑.     สิ่งที่ได้ที่สวนโมกมังคลาราม      ได้สิ่งที่จริงแท้ ไม่มีอะไรที่เป็นของเป็น ของธรรมะ ธรรมชาติทุกอย่างคืนสู่ธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติ จึงควรทำบทบาทหน้าที่ให้ดีที่สุด ก่อนที่ทุกอย่างจะคืนสู่ธรรมชาติ (ตาย-ดับ)
๒.    สิ่งที่ได้จากพุมเรียง      ได้เห็นวิถีชีวิตคนพุมเรียง ซึ่งประกอบอาชีพทอผ้า ที่ไม่ใช่ทำแบบครัวเรือน แต่ทำแบบอุตสาหกรรมชุมชน ได้กินอาหารที่สดจากทะเล อร่อย
๓.    สิ่งที่ได้จากวัดพระบรมธาตุไชยา      ได้ไหว้พระบรมสาริกธาตุ ได้หวนนึกถึงเรื่องเก่า ๆ และพบว่า พระจตุคาม นครศรีฯ มาค้างอยู่ที่ วัดพระธาตุไชยาได้อย่างไร คงเป็นของเราที่เราได้เช่า
๔.    สิ่งที่ได้จากชุมชนไสขาม      ได้ทราบความเข้มแข็งของชุมชน การรวมกลุ่มการเป็นผู้นำ การช่วยเหลือพึ่งพากัน
๕.    โรงเรียนฝึกลิง      ลิงก็ฝึกได้ คนก็น่าจะฝึกได้อยู่ที่ความตั้งใจของผู้นำ (ครูฝึก) ซึ่งจะต้องอดทน ๆ และอดทนแต่ได้ความสุข
วันดี เมืองนารถ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบฯ                         คำว่า เข้าใจและเข้าถึง สำคัญไฉนสำหรับผู้นำแห่งองค์กรในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตวัฒนธรรมอย่างรวดเร็ว                ผู้นำเป็นผู้ซึ่งนำพาองค์กรไปให้ถึงจุดมุ่งหมายโดยปราศจากปัญหาหรือให้มีปัญหาน้อยที่สุด ดังนั้นเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้นำแห่งองค์กรน่าจะต้องนำคำว่า เข้าใจ เข้าถึง มาพิจารณา วิเคราะห์ให้ประจักษ์แจ้ง                เข้าใจ                     ต้องเข้าใจว่าองค์กรต้องการอะไร สภาพภายในองค์กรเป็นอย่างไร                เข้าถึง                     ผู้นำแห่งองค์กรต้องเข้าถึงใจภายในองค์กรอย่างชัดเจน และจำเป็นอย่างยิ่ง                                                ต้องหาวิถีทางให้เข้าถึงใจให้ได้                 สรุปได้ว่ามนุษย์ทุกคนหากเข้าใจและเข้าถึงใจซึ่งกันและกัน ยอมรับกันในความเป็นจริงย่อมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข 
วันดี เมืองนารถ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบฯ                         คำว่า เข้าใจและเข้าถึง สำคัญไฉนสำหรับผู้นำแห่งองค์กรในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตวัฒนธรรมอย่างรวดเร็ว                ผู้นำเป็นผู้ซึ่งนำพาองค์กรไปให้ถึงจุดมุ่งหมายโดยปราศจากปัญหาหรือให้มีปัญหาน้อยที่สุด ดังนั้นเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้นำแห่งองค์กรน่าจะต้องนำคำว่า เข้าใจ เข้าถึง มาพิจารณา วิเคราะห์ให้ประจักษ์แจ้ง               
เข้าใจ                     ต้องเข้าใจว่าองค์กรต้องการอะไร สภาพภายในองค์กรเป็นอย่างไร               
เข้าถึง                     ผู้นำแห่งองค์กรต้องเข้าถึงใจภายในองค์กรอย่างชัดเจน และจำเป็นอย่างยิ่งต้องหาวิถีทางให้เข้าถึงใจให้ได้                
                สรุปได้ว่ามนุษย์ทุกคนหากเข้าใจและเข้าถึงใจซึ่งกันและกัน ยอมรับกันในความเป็นจริงย่อมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข 
วันดี เมืองนารถ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบฯ
                        
                           คำว่า เข้าใจและเข้าถึง สำคัญไฉนสำหรับผู้นำแห่งองค์กรในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตวัฒนธรรมอย่างรวดเร็ว                ผู้นำเป็นผู้ซึ่งนำพาองค์กรไปให้ถึงจุดมุ่งหมายโดยปราศจากปัญหาหรือให้มีปัญหาน้อยที่สุด ดังนั้นเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้นำแห่งองค์กรน่าจะต้องนำคำว่า เข้าใจ เข้าถึง มาพิจารณา วิเคราะห์ให้ประจักษ์แจ้ง
               
เข้าใจ                     ต้องเข้าใจว่าองค์กรต้องการอะไร สภาพภายในองค์กรเป็นอย่างไร               
เข้าถึง                     ผู้นำแห่งองค์กรต้องเข้าถึงใจภายในองค์กรอย่างชัดเจน และจำเป็นอย่างยิ่งต้องหาวิถีทางให้เข้าถึงใจให้ได้                
                สรุปได้ว่ามนุษย์ทุกคนหากเข้าใจและเข้าถึงใจซึ่งกันและกัน ยอมรับกันในความเป็นจริงย่อมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข 
ณพงศ์ ใบหมาดปันจอ
สิ่งใหม่ ๆ ที่ได้รับโดย ณพงศ์  ใบหมาดปันจอ  นวช.  ๗ ว. สตูล                 ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรม ตั้งแต่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๓ มีนาคม ๒๕๕๐ ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี                ไม่ต้องบอกว่าได้อะไรบ้าง เพียงแค่ บรรดาคณาจารย์ที่ได้ประสาทวิชาให้ผู้เข้าร่วมโครงการล้วนแล้วแต่สุดยอดทั้งหมด จากการนำทัพโดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ เพื่อทำให้ผู้เข้ารับอบรมเป็นผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพให้ได้ และนำไปใช้ประโยชน์ในองค์กร โดยเฉพาะการบริหารจัดการงานวัฒนธรรมของชาติให้มีระบบ และบรรลุผลที่วางไว้                เริ่มตั้งแต่วันแรก วันพุธที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ เป็นวันเริ่มต้นของการอบรมในครั้งนี้ ฯพณฯ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รมว.กระทรวงวัฒนธรรม  ให้ข้อคิดผ่านบทสัมภาษณ์ให้เป็นแนวทางปฏิบัติของผู้บริหารทุกคน และได้รับฟังแนวคิดของนักพูดนักบริหารอย่าง รศ.สุขุม นวลสกุล กับเรื่อง ผู้นำกับการบริหารความขัดแย้ง                 ทุกเวลา มีค่าทั้งหมด ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ไม่สอดแทรกแนวคิดหลักการเกี่ยวกับการพัฒนาคน กับประสบการณ์อันล้นเหลือของท่าน ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้และทฤษฎีที่สำคัญของการเรียนรู้ ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง ได้รับความรู้จากคุณนัทธี  จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เกี่ยวกับบทบาทของข้าราชการในยุคโลกาภิวัตน์ คุณอาณัติ วิลาสินีวรรณ ให้ความรู้เรื่องการบริหารงบประมาณของนักบริหารมืออาชีพ ดร.ทรงศักดิ์  ศรีบุญจิตต์ และ รศ.ดร.อารี  วิบูลพงศ์ ให้ความรู้การทำวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรม อ.ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับ ศิลปะการพูดแบบผู้นำมืออาชีพ รศ.ดร.มนตรี  บุญเสนอ อีกท่านที่คอยควบคุมดูแลผู้เข้ารับการอบรมตลอดเวลาได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ การวางแผนกลยุทธ์ การสร้างและบริหารทีมเพื่อประสิทธิภาพ คุณอรพินธ์ สพโชคชัย ให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างธรรมาภิบาล และการบริหารแบบบูรณาการ                สัปดาห์ที่ ๒ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ คุณลักขณา จำปา ให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์องค์กร คุณประกาย ชลหาญให้ความรู้ยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหาร คน ให้สร้างผลงานที่เป็นเลิศและมูลค่าเพิ่ม  ศ.อมรา  พงศาพิชญ์ ให้ความรู้ การคิดแบบผู้นำ จากนั้นวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ ได้ทัศนศึกษานอกสถานที่                คุณพิทยา พุกกะมาน ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเปรียบเทียบเชิงเศรษฐกิจ คุณแมนรัตน์ ประดิษฐ์วงศ์ศิลป์ ให้ความรู้เรื่อง ๗ อุปนิสัย สำหรับผู้ทรงประสิทธิภาพสูง คุณอำพล  สุวรรณจิตร ให้ความรู้เรื่องบุคลิกภาพของผู้นำมืออาชีพ                ที่กล่าวมาทั้งหมด คือ คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้นำหลักการ แนวคิด ที่มีประโยชน์ สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรม สำหรับวันสุดท้ายนั้น คงได้รับเกียรติจากอาจารย์หลายท่าน และท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ท่านวีระ  โรจนพจนรักษ์ ท่านคงจะได้นำแนวปฏิบัติและแนวคิดที่เป็นประโยชน์ สำหรับผู้เข้ารับอบรม ได้นำไปปฏิบัติ เพื่อพัฒนาองค์กรที่รับผิดชอบต่อไป
ขนิษฐา เมืองเชียงหวาน
จากการเดินทางไปสวนโมกข์ ทำให้ได้รับแนวคิดที่นำไปปฏิบัติ หรือเข้าใจความเป็นจริง และมองทุกสิ่งทุกอย่างให้ลึกซึ้ง พร้อมที่จะให้อภัย                เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา                 จงเลือกเอาสิ่งดีที่มีอยู่                เป็นประโยชน์ต่อโลกบ้างยังน่าดู                สิ่งที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย                และจากการที่เราได้ลงไปสัมผัสกับชุมชนโดยร่วมสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารจากกระทรวงวัฒนธรรม และผู้นำชุมชนที่บ้านไทรขาม ได้รับทราบและเข้าใจวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตดั้งเดิมไปตามความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโดยต้องรู้เท่าทันและใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปในทางบวก และต้องผสมกลมกลืนกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยมี ปัญญา เป็นตัวควบคุม การเรียนรู้สถาน ความเป็นจริงของชุมชน เข้ามาสัมผัสชีวิตประจำวันของชาวบ้าน วัฒนธรรมการกิน ศิลปะการแสดงพื้นบ้านทางภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยโดยอยู่บนพื้นฐานศิลปะการแสดงดั้งเดิม แต่จะต้องยอมรับกับความจริงที่ว่า ศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิม กำลังจะถูกเปลี่ยนรูปลักษณ์ให้ผิดเพื้ยนไปอย่างน่าเสียดาย                                                                                ขนิษฐา  เมืองเชียงหวาน 
ขนิษฐา เมืองเชียงหวาน
                    จากการเดินทางไปสวนโมกข์ ทำให้ได้รับแนวคิดที่นำไปปฏิบัติ หรือเข้าใจความเป็นจริง และมองทุกสิ่งทุกอย่างให้ลึกซึ้ง พร้อมที่จะให้อภัย               
เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา                 
จงเลือกเอาสิ่งดีที่มีอยู่               
เป็นประโยชน์ต่อโลกบ้างยังน่าดู               
สิ่งที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย               
                         และจากการที่เราได้ลงไปสัมผัสกับชุมชนโดยร่วมสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารจากกระทรวงวัฒนธรรม และผู้นำชุมชนที่บ้านไทรขาม ได้รับทราบและเข้าใจวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตดั้งเดิมไปตามความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโดยต้องรู้เท่าทันและใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปในทางบวก และต้องผสมกลมกลืนกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยมี ปัญญา เป็นตัวควบคุม การเรียนรู้สถาน ความเป็นจริงของชุมชน เข้ามาสัมผัสชีวิตประจำวันของชาวบ้าน วัฒนธรรมการกิน ศิลปะการแสดงพื้นบ้านทางภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยโดยอยู่บนพื้นฐานศิลปะการแสดงดั้งเดิม แต่จะต้องยอมรับกับความจริงที่ว่า ศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิม กำลังจะถูกเปลี่ยนรูปลักษณ์ให้ผิดเพื้ยนไปอย่างน่าเสียดาย
                                       ขนิษฐา  เมืองเชียงหวาน 
รุ่งศักดิ์ รักสัตย์
ศึกษาดูงาน ๑ มีนาคม ๒๕๕๐                เช้าวันนี้ สมาชิกที่เข้ารับการอบรมผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรมทุกคน หลังจากทานอาหารเช้าแล้ว ก็ขึ้นรถทัวร์โดยออกเดินทางจากสุราษฎร์ฯ มุ่งไปยังวัดสวนโมกข์ เข้ารับฟังธรรมจากเจ้าอาวาสวัดสวนโมกข์องค์ปัจจุบัน สิ่งที่ได้รับก็คือธรรมะ ความสงบ เงียบ ร่มรื่น ร่มเย็น  เหมาะอย่างยิ่งที่จะเข้าไปปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรมะ จากสวนโมกข์  พวกเราทุกคน ก็ได้ไปทานข้าวพร้อมกันที่  แหลมโพธิ์ (หลายคนที่ไม่เคยมา อ.ไชยา คงจะได้เสียงเพลงสาริกา กิ่งทอง เนื้อร้อง พูดถึง แหลมโพธิ์ สวยจริง ๆ เป็นที่ประทับใจ) จากแหลมโพธิ์ ทุกคนก็ได้เห็นวิถีชีวิตแบบไทย ๆ วัฒนธรรมไทยที่บ้านพุมเรียง ชาวบ้านต่างก็มีความเป็นกันเอง แสดงให้เห็นถึงการอยู่รวมกันอย่างสันติสุข จากพุมเรียงก็ได้ไปกราบนมัสการพระบรมธาตุไชยา และได้ไปดูงานต่อที่สถานฝึกหัดลิง ที่บ้านกระแดะแจะ น่าทึ่งมาก สำหรับการฝึกหัด ทั้งครูฝึก และลิงที่ถูกฝึก ได้สาธิตให้เห็นถึงทุกกระบวนการของการเก็บมะพร้าว ฯลฯ  จากสถานฝึกหัดลิงได้ไปที่บ้านไสขาม อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ได้พบปะชาวบ้าน ทานอาหาร ดูหนังตะลุงเทพศิลป์ฯ                 จากการศึกษาดูงานในวันนี้ จะเห็นได้ว่า วิถีชีวิต หรือการดำรงชีวิตของชาวบ้าน  เน้นความเป็นอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง การแสดงออกถึงซึ่งประเพณี และวัฒนธรรมไทย ที่ควรจะได้ส่งเสริมให้อยู่คู่กับความเป็นไทยตลอดไป
วิรัตน์ วิโรจนูปถัมภ์
วิรัตน์ วิโรจนูปถัมภ์ กลุ่ม ๖ (๑ มีนาคม ๒๕๕๐)ทัศนศึกษา                สวนโมกข์  แหล่งเรียนรู้ทางธรรม องค์ความรู้อันเป็นเครื่องมือหรือแนวทางแก้ปัญหา และดำเนินชีวิตของมนุษย์ ที่มักถูกละเลย และมองข้ามในสังคมยุคโลกาภิวัตน์                ปัญหาทางสังคมนานัปการที่เกิดขึ้น อันเป็นธรรมดาของโลก แต่ทางวัฒนธรรมในสังคม อันได้แก่การขาดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต หรือ แก้ไข หาทางออกอย่างไม่ถูกต้อง เหมาะสม ทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรังที่มิอาจทุเลาลงได้                สวนโมกข์ อุทยานทางธรรม แหล่งเรียนรู้ที่อุดมด้วยบทเรียนสำเร็จรูปของชีวิต ทำอย่างไรอุทยานทางธรรมต่าง ๆ ที่ล้วนเป็นมรดกของท้องถิ่นจะได้มีบทบาท ช่วยพัฒนาคุณภาพของคนในสังคมด้วยอีกทางหนึ่ง                พิพิธภัณฑ์ ฯ ไชยา  แหล่งเรียนรู้ที่สะท้อน พัฒนาการทางประวัติศาสตร์อันยาวนานาของท้องถิ่น มรดกของเมืองที่ล้วนมีคุณค่าที่ควรเป็นหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์สืบสานสู่อนุชนรุ่นต่อ ๆ ไป                ศูนย์ฝึกลิง บทเรียนที่สะท้อน สำนึกว่า การเรียนรู้ (Learning)  สำคัญแค่ไหน และไม่มีอะไรยากเกินกว่าจะเรียนรู้ ถ้าหัวใจเปิด                เสวนาชุมชนบ้านไสขาม ความเข้มแข็งของชุมชน เป็นสิ่งสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของสังคมที่ทุกภาคส่วนต้องบูรณาการความร่วมมือเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมอย่างจริงจัง                ปัญหาในชุมชน หลายเรื่อง ไม่ใช่ปัญหาทางวัฒนธรรมโดยตรง ทุกสังคมย่อมมีปัญหา เช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ทำอย่างไร ชุมชน จึงจะมีภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม เป็นเครื่องดำเนินชีวิต และแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องเหมาะสมผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพต้องมี Image Building และการทำงานด้วยยึดหลัก Win Win 
วิรัตน์ วิโรจนูปถัมภ์

วิรัตน์ วิโรจนูปถัมภ์ กลุ่ม ๖ (๑ มีนาคม ๒๕๕๐)

ทัศนศึกษา               

สวนโมกข์  แหล่งเรียนรู้ทางธรรม องค์ความรู้อันเป็นเครื่องมือหรือแนวทางแก้ปัญหา และดำเนินชีวิตของมนุษย์ ที่มักถูกละเลย และมองข้ามในสังคมยุคโลกาภิวัตน์                ปัญหาทางสังคมนานัปการที่เกิดขึ้น อันเป็นธรรมดาของโลก แต่ทางวัฒนธรรมในสังคม อันได้แก่การขาดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต หรือ แก้ไข หาทางออกอย่างไม่ถูกต้อง เหมาะสม ทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรังที่มิอาจทุเลาลงได้               

              สวนโมกข์ อุทยานทางธรรม แหล่งเรียนรู้ที่อุดมด้วยบทเรียนสำเร็จรูปของชีวิต ทำอย่างไรอุทยานทางธรรมต่าง ๆ ที่ล้วนเป็นมรดกของท้องถิ่นจะได้มีบทบาท ช่วยพัฒนาคุณภาพของคนในสังคมด้วยอีกทางหนึ่ง               

พิพิธภัณฑ์ ฯ ไชยา  แหล่งเรียนรู้ที่สะท้อน พัฒนาการทางประวัติศาสตร์อันยาวนานาของท้องถิ่น มรดกของเมืองที่ล้วนมีคุณค่าที่ควรเป็นหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์สืบสานสู่อนุชนรุ่นต่อ ๆ ไป               

ศูนย์ฝึกลิง บทเรียนที่สะท้อน สำนึกว่า การเรียนรู้ (Learning)  สำคัญแค่ไหน และไม่มีอะไรยากเกินกว่าจะเรียนรู้ ถ้าหัวใจเปิด               

เสวนาชุมชนบ้านไสขาม ความเข้มแข็งของชุมชน เป็นสิ่งสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของสังคมที่ทุกภาคส่วนต้องบูรณาการความร่วมมือเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมอย่างจริงจัง

                     ปัญหาในชุมชน หลายเรื่อง ไม่ใช่ปัญหาทางวัฒนธรรมโดยตรง ทุกสังคมย่อมมีปัญหา เช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ทำอย่างไร ชุมชน จึงจะมีภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม เป็นเครื่องดำเนินชีวิต และแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องเหมาะสมผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพต้องมี Image Building และการทำงานด้วยยึดหลัก Win Win 

ผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพต้องมี Image Building และการทำงานด้วยยึดหลัก Win Win                                                 ประยูร  เวชยันต์                                      สนง.วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่                                                ๒/๓/๕๐
ผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพต้องมี Image Building และการทำงานด้วยยึดหลัก Win Win                                                
                ประยูร  เวชยันต์                                     
     สนง.วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่             
                         ๒/๓/๕๐
วิรัตน์ วิโรจนูปถัมภ์
รัตน์ วิโรจนูปถัมภ์ กลุ่ม ๖ (๑ มีนาคม ๒๕๕๐)

ทัศนศึกษา               

สวนโมกข์  แหล่งเรียนรู้ทางธรรม องค์ความรู้อันเป็นเครื่องมือหรือแนวทางแก้ปัญหา และดำเนินชีวิตของมนุษย์ ที่มักถูกละเลย และมองข้ามในสังคมยุคโลกาภิวัตน์                ปัญหาทางสังคมนานัปการที่เกิดขึ้น อันเป็นธรรมดาของโลก แต่ทางวัฒนธรรมในสังคม อันได้แก่การขาดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต หรือ แก้ไข หาทางออกอย่างไม่ถูกต้อง เหมาะสม ทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรังที่มิอาจทุเลาลงได้               

              สวนโมกข์ อุทยานทางธรรม แหล่งเรียนรู้ที่อุดมด้วยบทเรียนสำเร็จรูปของชีวิต ทำอย่างไรอุทยานทางธรรมต่าง ๆ ที่ล้วนเป็นมรดกของท้องถิ่นจะได้มีบทบาท ช่วยพัฒนาคุณภาพของคนในสังคมด้วยอีกทางหนึ่ง               

พิพิธภัณฑ์ ฯ ไชยา  แหล่งเรียนรู้ที่สะท้อน พัฒนาการทางประวัติศาสตร์อันยาวนานาของท้องถิ่น มรดกของเมืองที่ล้วนมีคุณค่าที่ควรเป็นหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์สืบสานสู่อนุชนรุ่นต่อ ๆ ไป               

ศูนย์ฝึกลิง บทเรียนที่สะท้อน สำนึกว่า การเรียนรู้ (Learning)  สำคัญแค่ไหน และไม่มีอะไรยากเกินกว่าจะเรียนรู้ ถ้าหัวใจเปิด               

เสวนาชุมชนบ้านไสขาม ความเข้มแข็งของชุมชน เป็นสิ่งสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของสังคมที่ทุกภาคส่วนต้องบูรณาการความร่วมมือเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมอย่างจริงจัง

                     ปัญหาในชุมชน หลายเรื่อง ไม่ใช่ปัญหาทางวัฒนธรรมโดยตรง ทุกสังคมย่อมมีปัญหา เช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ทำอย่างไร ชุมชน จึงจะมีภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม เป็นเครื่องดำเนินชีวิต และแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องเหมาะสม

วิรัตน์ วิโรจนูปถัมภ์
วิรัตน์ วิโรจนูปถัมภ์ กลุ่ม ๖ (๑ มีนาคม ๒๕๕๐)

ทัศนศึกษา               

สวนโมกข์  แหล่งเรียนรู้ทางธรรม องค์ความรู้อันเป็นเครื่องมือหรือแนวทางแก้ปัญหา และดำเนินชีวิตของมนุษย์ ที่มักถูกละเลย และมองข้ามในสังคมยุคโลกาภิวัตน์                ปัญหาทางสังคมนานัปการที่เกิดขึ้น อันเป็นธรรมดาของโลก แต่ทางวัฒนธรรมในสังคม อันได้แก่การขาดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต หรือ แก้ไข หาทางออกอย่างไม่ถูกต้อง เหมาะสม ทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรังที่มิอาจทุเลาลงได้               

              สวนโมกข์ อุทยานทางธรรม แหล่งเรียนรู้ที่อุดมด้วยบทเรียนสำเร็จรูปของชีวิต ทำอย่างไรอุทยานทางธรรมต่าง ๆ ที่ล้วนเป็นมรดกของท้องถิ่นจะได้มีบทบาท ช่วยพัฒนาคุณภาพของคนในสังคมด้วยอีกทางหนึ่ง               

พิพิธภัณฑ์ ฯ ไชยา  แหล่งเรียนรู้ที่สะท้อน พัฒนาการทางประวัติศาสตร์อันยาวนานาของท้องถิ่น มรดกของเมืองที่ล้วนมีคุณค่าที่ควรเป็นหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์สืบสานสู่อนุชนรุ่นต่อ ๆ ไป               

ศูนย์ฝึกลิง บทเรียนที่สะท้อน สำนึกว่า การเรียนรู้ (Learning)  สำคัญแค่ไหน และไม่มีอะไรยากเกินกว่าจะเรียนรู้ ถ้าหัวใจเปิด               

เสวนาชุมชนบ้านไสขาม ความเข้มแข็งของชุมชน เป็นสิ่งสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของสังคมที่ทุกภาคส่วนต้องบูรณาการความร่วมมือเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมอย่างจริงจัง

                     ปัญหาในชุมชน หลายเรื่อง ไม่ใช่ปัญหาทางวัฒนธรรมโดยตรง ทุกสังคมย่อมมีปัญหา เช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ทำอย่างไร ชุมชน จึงจะมีภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม เป็นเครื่องดำเนินชีวิต และแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องเหมาะสม

นพวรรณ รุ่งภักดิ์
แปดวันแห่งการพัฒนา ห้วงเวลาแห่งการเพาะบ่ม สั่งสมซึ่งความรู้เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จแห่งการเป็นผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรม คงไม่มีใครปฏิเสธและคงจะเห็นด้วยกับคำกล่าวข้างต้น แต่ทั้งนี้ ความสำเร็จจะเป็นไปได้นั้นท่านจะต้องปฏิบัติตนอย่าง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตน พัฒนาคน และพัฒนางาน ประการสำคัญยิ่งที่ต้องทำคือ การสร้างนวัตกรรมด้วยการทำวิจัยเพื่อให้เกิดผลงานที่เป็นเลิศ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานวัฒนธรรม                ขอเป็นกำลังใจและขออวยพรให้ทุกท่านพบกับความสำเร็จในโอกาสอันใกล้นี้                                                 นางนพวรรณ  รุ่งภักดิ์                                   ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฎศิลป์ นครศรีธรรมราช
นพวรรณ รุ่งภักดิ์

                    แปดวันแห่งการพัฒนา ห้วงเวลาแห่งการเพาะบ่ม สั่งสมซึ่งความรู้เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จแห่งการเป็นผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรม คงไม่มีใครปฏิเสธและคงจะเห็นด้วยกับคำกล่าวข้างต้น แต่ทั้งนี้ ความสำเร็จจะเป็นไปได้นั้นท่านจะต้องปฏิบัติตนอย่าง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตน พัฒนาคน และพัฒนางาน ประการสำคัญยิ่งที่ต้องทำคือ การสร้างนวัตกรรมด้วยการทำวิจัยเพื่อให้เกิดผลงานที่เป็นเลิศ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานวัฒนธรรม               

                         ขอเป็นกำลังใจและขออวยพรให้ทุกท่านพบกับความสำเร็จในโอกาสอันใกล้นี้ 

                                     นางนพวรรณ  รุ่งภักดิ์                                 

               ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฎศิลป์ นครศรีธรรมราช

ปิยนุช ศรีสุข จ.ยะลา กลุ่ม ๕ เลขที่ ๓๙                จากการศึกษานอกสถานที่ ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากเรื่องต่าง ๆ ดังนี้1.       ศึกษาธรรมะจากภาพปริศนาธรรมแห่งสวนโมกข์ทำให้ได้รับความรู้ถึงสัจธรรมว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ล้วนมาจากผลแห่งกรรมหมายถึง กรรมดี และกรรมชั่ว เพราะฉะนั้น หากเรายอมรับได้ เราก็จะเป็นสุข2.       ชมการสาธิตลิงขึ้นมะพร้าว จากศูนย์ฝึกลิงกระแดะแจะทำให้รู้สึกว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าผู้ที่จะมาเรียนรู้เป็นคนหรือสัตว์ก็สามารถจะเรียนรู้ได้ เพียงแต่วิธีการที่จะนำมาให้เกิดการฝึกฝน เรียนรู้นั้นต้องดูถึงพฤติกรรมและสถานการณ์ในขณะนั้นและนำมาปรับใช้ให้เหมาะสม3.       การเสวนากับชุมชนบ้านไสขามทำให้รับรู้ถึงจุดอ่อน จุดแข็งของชุมชน สามารถนำการเสวนาไปเป็นประเด็นในการหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้โดยการแก้ปัญหาจะต้องทำอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน4.       ชมการแสดงหนังตะลุงจากหนังเทพศิลป์ ผ่องแก้วทำให้ได้รับรู้ถึงประเด็นสำคัญ ๆ ดังนี้      4.1  การสืบทอด สืบสาน การละเล่นพื้นบ้านซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชุมชนให้คงอยู่สืบไป     4.2   การถ่ายทอดให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นคุณค่า และมีความภูมิใจในการเรียนรู้และสานต่อ     4.3   การใช้เวลาว่างหลังจากการศึกษาเล่าเรียนในแต่ละวันให้มีประโยชน์ ไม่ไปกระทำในสิ่งที่ผิด     4.4   สร้างความมั่นใจในตัวเอง กล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าพูด แต่อยู่ในกรอบของวัฒนธรรม             4.5  สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยหารายได้ให้กับตัวเองและครอบครัว ทำให้เห็นคุณค่าของการประกอบอาชีพ
ปิยนุช ศรีสุข จ.ยะลา กลุ่ม ๕ เลขที่ ๓๙               
จากการศึกษานอกสถานที่ ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1.       ศึกษาธรรมะจากภาพปริศนาธรรมแห่งสวนโมกข์ทำให้ได้รับความรู้ถึงสัจธรรมว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ล้วนมาจากผลแห่งกรรมหมายถึง กรรมดี และกรรมชั่ว เพราะฉะนั้น หากเรายอมรับได้ เราก็จะเป็นสุข
2.       ชมการสาธิตลิงขึ้นมะพร้าว จากศูนย์ฝึกลิงกระแดะแจะทำให้รู้สึกว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าผู้ที่จะมาเรียนรู้เป็นคนหรือสัตว์ก็สามารถจะเรียนรู้ได้ เพียงแต่วิธีการที่จะนำมาให้เกิดการฝึกฝน เรียนรู้นั้นต้องดูถึงพฤติกรรมและสถานการณ์ในขณะนั้นและนำมาปรับใช้ให้เหมาะสม
3.       การเสวนากับชุมชนบ้านไสขามทำให้รับรู้ถึงจุดอ่อน จุดแข็งของชุมชน สามารถนำการเสวนาไปเป็นประเด็นในการหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้โดยการแก้ปัญหาจะต้องทำอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน
4.       ชมการแสดงหนังตะลุงจากหนังเทพศิลป์ ผ่องแก้วทำให้ได้รับรู้ถึงประเด็นสำคัญ ๆ ดังนี้     
            4.1  การสืบทอด สืบสาน การละเล่นพื้นบ้านซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชุมชนให้คงอยู่สืบไป    
           4.2   การถ่ายทอดให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นคุณค่า และมีความภูมิใจในการเรียนรู้และสานต่อ    
          4.3   การใช้เวลาว่างหลังจากการศึกษาเล่าเรียนในแต่ละวันให้มีประโยชน์ ไม่ไปกระทำในสิ่งที่ผิด    
           4.4   สร้างความมั่นใจในตัวเอง กล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าพูด แต่อยู่ในกรอบของวัฒนธรรม            
           4.5  สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยหารายได้ให้กับตัวเองและครอบครัว ทำให้เห็นคุณค่าของการประกอบอาชีพ
ผลสรุปจากการทัศนศึกษานอกสถานที่                เริ่มต้นด้วยการศึกษาธรรมะจากภาพปริศนาธรรมแห่งสวนโมกข์ ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ที่ทรงคุณค่ายิ่ง เป็นอมตะ และใช้ศึกษาธรรมะได้ตลอดกาล ภายในสวนโมกข์มีความสงบร่วมเย็น ร่มรื่น มีผู้ศึกษาทางมาปฏิบัติธรรม มากมาย                พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติไชยา เป็นสนถานที่รวบรวมและจัดแสดง วัตถุโบราณสมัยศรีวิชัย ทำให้ได้มีโอกาสเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณี ของคนสมัยโบราณ พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียง พระบรมธาตุไชยา ซึ่งคณะได้มีโอกาสนมัสการพระบรมธาตุไชยาด้วย                การศึกษาวิถีชีวิตชุมชน ได้เดินทางไปชมการทอผ้าไหมหมู่บ้านไทย- มุสลิม พุมเรียงซึ่งเป็นการนำทักษะและวิถีชีวิตพื้นบ้านเรื่องการทอผ้า มาประยุกต์ ปรับปรุง สร้างผลผลิตและบริหารจัดการชุมาชน จนเป็นอาชีพที่ได้รับความสนใจและเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนและอีกชุมชนหนึ่งคือชุมชนไสงาม ได้ร่วมเสวนากับพระคุณเจ้า ผู้บริหารท้องถิ่นและชาวบ้าน ทำให้ได้รับรู้รับทราบ ถึงปัญหาอุปสรรคการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ทำให้ได้รับรู้รับทราบถึงปัญหาอุปสรรค การดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งคณะผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรม และผู้นำชุมชน จะได้ร่วมกันแก้ไขให้เป็นรูปธรรม โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กำหนดประชุมครั้งต่อไปอีก 2 เดือน ข้างหน้าเอกลักษณ์ที่สำคัญของชุมชน คือ การแสดงหนัง  ตะลุง ที่นำเยาวชนมาฝึกหัดการแสดงหนัง ตะลุง ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ให้มีความยั่งยืนตลอดไป ได้ร่วมรับประทานอาหารพื้นบ้านกับชาวบ้านไสงาม และได้ดูการแสดงหนังตะลุง ของเยาวชน อายุ 15 – 16 ปี                 สรุป ประสบการณ์ที่ได้รับจากการทัศนศึกษานอกสถานที่ครั้งนี้ คุ้มค่าอย่างมาก นายประยูร  โอสธีรกุลวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
ผลสรุปจากการทัศนศึกษานอกสถานที่               
                    เริ่มต้นด้วยการศึกษาธรรมะจากภาพปริศนาธรรมแห่งสวนโมกข์ ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ที่ทรงคุณค่ายิ่ง เป็นอมตะ และใช้ศึกษาธรรมะได้ตลอดกาล ภายในสวนโมกข์มีความสงบร่วมเย็น ร่มรื่น มีผู้ศึกษาทางมาปฏิบัติธรรม มากมาย               
                 พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติไชยา เป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดง วัตถุโบราณสมัยศรีวิชัย ทำให้ได้มีโอกาสเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณี ของคนสมัยโบราณ พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียง พระบรมธาตุไชยา ซึ่งคณะได้มีโอกาสนมัสการพระบรมธาตุไชยาด้วย               
                   การศึกษาวิถีชีวิตชุมชน ได้เดินทางไปชมการทอผ้าไหมหมู่บ้านไทย- มุสลิม พุมเรียงซึ่งเป็นการนำทักษะและวิถีชีวิตพื้นบ้านเรื่องการทอผ้า มาประยุกต์ ปรับปรุง สร้างผลผลิตและบริหารจัดการชุมาชน จนเป็นอาชีพที่ได้รับความสนใจและเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนและอีกชุมชนหนึ่งคือชุมชนไสงาม ได้ร่วมเสวนากับพระคุณเจ้า ผู้บริหารท้องถิ่นและชาวบ้าน ทำให้ได้รับรู้รับทราบ ถึงปัญหาอุปสรรคการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ทำให้ได้รับรู้รับทราบถึงปัญหาอุปสรรค การดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งคณะผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรม และผู้นำชุมชน จะได้ร่วมกันแก้ไขให้เป็นรูปธรรม โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กำหนดประชุมครั้งต่อไปอีก 2 เดือน ข้างหน้าเอกลักษณ์ที่สำคัญของชุมชน คือ การแสดงหนัง  ตะลุง ที่นำเยาวชนมาฝึกหัดการแสดงหนัง ตะลุง ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ให้มีความยั่งยืนตลอดไป ได้ร่วมรับประทานอาหารพื้นบ้านกับชาวบ้านไสงาม และได้ดูการแสดงหนังตะลุง ของเยาวชน อายุ 15 – 16 ปี                
                         สรุป ประสบการณ์ที่ได้รับจากการทัศนศึกษานอกสถานที่ครั้งนี้ คุ้มค่าอย่างมาก นายประยูร  โอสธีรกุลวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
ธเนศ อดุลยกิจ  กลุ่ม 4                 เศรษฐกิจพอเพียง ต้องทำความเข้าใจกับทุกคนให้ได้ว่า ความพอเพียง มีอะไรเป็นเครื่องมือหรือตัวชี้วัดความพอเพียง ผมได้ให้ทุกคนวัดความพอเพียงของตนเองคือ ความพอดี ไม่เบียดเบียนตนเองและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน

ธเนศ อดุลยกิจ  กลุ่ม 4                

                  เศรษฐกิจพอเพียง ต้องทำความเข้าใจกับทุกคนให้ได้ว่า ความพอเพียง มีอะไรเป็นเครื่องมือหรือตัวชี้วัดความพอเพียง ผมได้ให้ทุกคนวัดความพอเพียงของตนเองคือ ความพอดี ไม่เบียดเบียนตนเองและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน

วิศาล สบายจิตร (กลุ่ม 4)                 วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ดีงามที่จะต้องช่วยกันอนุรักษ์ ฟื้นฟูและส่งเสิรมให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ทั้งของท้องถิ่นและของชาติจึงต้องปลูกฝังความรักความหวงแหนวัฒนธรรมของเราตั้งแต่เด็กไม่ใช่เน้นหน้าที่ของผู้ใหญ่อย่างที่เห็นโดยทั่วไปเท่านั้น
วิศาล สบายจิตร (กลุ่ม 4)                
                      วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ดีงามที่จะต้องช่วยกันอนุรักษ์ ฟื้นฟูและส่งเสิรมให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ทั้งของท้องถิ่นและของชาติจึงต้องปลูกฝังความรักความหวงแหนวัฒนธรรมของเราตั้งแต่เด็กไม่ใช่เน้นหน้าที่ของผู้ใหญ่อย่างที่เห็นโดยทั่วไปเท่านั้น
วิศาล  สบายจิตร กลุ่ม 4                 การประสัมพันธ์องค์กร มีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางขององค์กรของหน่วยงานรวมถึงประชาชนทั่วไปโดยมุ่งเน้นให้เกิด ความเชื่อถือ เป็นสำคัญ 
วิศาล สบายจิตร กลุ่ม 4                 ความขัดแย้งในองค์กรคือปัญหาที่สร้างบรรยากาศที่ไม่ดีในการทำงาน ฉะนั้นผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องเป็นผู้ลดความขัดแย้ง ให้หมดไป พร้อมทั้งสร้างบรรยากาศที่ดีในด้านความสัมพันธ์ให้มีแต่รอยยิ้มความรัก ความสมานฉันท์ เพื่อมุ่งหวังความเป็นเลิศในผลงาน
พูนภัทร สถิตวัฒน์
ผลสรุปที่ดีได้จากการร่วมเสวนาถึงชุมบ้านไสขาม                โปรแกรมการทัศนศึกษานอกสถานที่ วันที่ 1 มีนาคม 2550 ชื่อโครงการการเสวนา วัฒนธรรมท่องถิ่นเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน ชุมชนบ้านไสขามเป็นตัวอย่างชุมชนที่มีวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นทุนอย่างหลากหลาย มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งและให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรทืองถ่น มีการสืบทอดวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรม ปัจจัยที่สำคัญคือ จะทำอย่างไรให้ประชาชนสู่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมเห็นความสำคัญในวัฒนธรรม จากการเสวนาจะเห็นว่าประชาชนยังไม่ให้ความสำคัญ ซึ่งดูได้จากจำนวนประชาชนที่เข้าร่วมเสวนา                จึงนับเป็นโอกาสสำคัญ ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะ สำนึกงานวัฒนธรรม จะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการต่อยอดสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมของชุมชนให้ยั่งยืนต่อไป                                                                                 พูนภัทร สถิตวัฒน์นักวิชาการวัฒนธรรม 7วสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพังงา
พูนภัทร สถิตวัฒน์
ผลสรุปที่ดีได้จากการร่วมเสวนาถึงชุมบ้านไสขาม    
            โปรแกรมการทัศนศึกษานอกสถานที่ วันที่ 1 มีนาคม 2550 ชื่อโครงการการเสวนา วัฒนธรรมท่องถิ่นเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน ชุมชนบ้านไสขามเป็นตัวอย่างชุมชนที่มีวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นทุนอย่างหลากหลาย มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งและให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรทืองถ่น มีการสืบทอดวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรม ปัจจัยที่สำคัญคือ จะทำอย่างไรให้ประชาชนสู่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมเห็นความสำคัญในวัฒนธรรม จากการเสวนาจะเห็นว่าประชาชนยังไม่ให้ความสำคัญ ซึ่งดูได้จากจำนวนประชาชนที่เข้าร่วมเสวนา                จึงนับเป็นโอกาสสำคัญ ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะ สำนึกงานวัฒนธรรม จะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการต่อยอดสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมของชุมชนให้ยั่งยืนต่อไป                                                                                
                         พูนภัทร สถิตวัฒน์
นักวิชาการวัฒนธรรม 7วสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพังงา
ณัฐปรียา บุญมุสิก

         ดิฉันได้สัมผัสและเรียนรู้จาก ดร.จิระ,  วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ, คณะผู้เข้ารับการอบรมในรุ่นที่ ๔ และทีมงาน เช่น น้องเอ น้องเอ๋ น้องกุ้ง น้อง... น้องแหม่ม รวมทั้งน้อง ช. ในโครงการพัฒนาบุคลากรที่จะนำตนเองไปสู่ความเป็นผู้นำและผู้บริหารงานวัฒนธรรมที่ดีในอนาคต  ซึ่งทำให้ได้รู้จักทั้งคน ทั้งงาน และวัฒนธรรมท้องถิ่นในสถานการณ์จริง    ที่จริงแล้วดิฉันไม่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้เลย แต่มีบุคคลอยู่สองท่านที่จุดประกายให้ดิฉันเปลี่ยนความตั้งใจ ท่านแรกคือ ดร.สมานจิต ภิรมย์รื่น อดีตอธิบดีกรมการศาสนา และบุคคลที่สองซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในการมาเข้ารับการอบรมและการพัฒนาครั้งนี้คือ นายวีระ โรจนพจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม   ท่านเป็นตัวอย่างของคนที่แสวงหาความรู้ตลอดชีวิต  พัฒนาตนเองได้อย่างน่าทึ่ง  สนใจทุกอย่างที่อยู่รอบตัว รวมทั้งเก็บรายละเอียดเป็นบทเรียนได้อย่างยอดเยี่ยม  ไม่ว่าโครงการหรืองานที่ไปร่วมนั้นจะดีหรือไม่ในทัศนคติของท่าน  ท่านเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เข้าไปสัมผัสและเรียนรู้ความดีและความด้อยของทุกงาน   ทำให้ดิฉันยอมรับได้ว่าดิฉันไม่ควรรอเวลาที่จะพิสูจน์ว่าโครงการใดดีที่สุดแล้วจึงจะเข้าไปร่วมกิจกรรมด้วย  วันนี้ดิฉันจึงได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้อย่างภาคภูมิใจ ...

              ความรู้ ความประทับใจที่ได้รับมีไม่มากหรอกค่ะ ก็แค่จะจดจำความประทับใจครั้งนี้ไปชั่วชีวิตเท่านั้นเองว่า  สิ่งที่ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งดีคือ ทุกคนได้ตัวอย่างที่ดีจาก ดร.จิระ ในเรื่องความกล้าแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณชน  และ Team Work จาก ดร.มนตรี และสารพัดความรู้  รวมทั้งการวางตัว กริยามารยาทการแต่งกายที่ผู้บริหารพึงสังวร 

              วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการอบรมท่านปลัดให้เกียรติมารับฟังความคิดเห็นของข้าราชการของท่าน  พร้อมทั้งให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ  ดิฉันจึงขออนุญาตเรียนให้ท่านและดร.จิระ  ทราบว่าวัฒนธรรมองค์กรของเรานั้นเก่าแก่มากซึ่งตรงกันข้ามกับการเกิดของกระทรวงของเรา  การที่จะรวมวัฒนธรรมการทำงานขององค์กรเราให้พัฒนาได้ดีนั้น  คงจะทำให้ท่านเหนื่อยมาก และก็ไม่ทราบว่าจะสำเร็จเมื่อไหร่  แต่ขอให้ท่านได้รับทราบว่า มีข้าราชการตัวเล็ก ๆ ที่มีความตั้งใจ มีสมอง และมีความมุ่งมั่นที่ยินดีทุ่มเทแรงใจ และแรงกาย  ที่จะเป็นผู้ช่วยท่านให้นำกระทรวงวัฒนธรรมไปสู่กระทรวงอันดับหนึ่งของประเทศให้ได้ค่ะ

 

 

ร่งศักดิ์ รักสัตย์
ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ของ K. ก็คือ ท่านพยายามที่จะปลุกจิตสำนึกวัฒนธรรมของคนไทย คือพออยู่พอกิน มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท ฯลฯ                เนื่องจากผู้คนรวมถึงรัฐบาลทุกสมัยลืมวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของคนไทยแต่ก่อนมา K. คงเห็นว่าชักจะไปกันใหญ่จึงดึงวัฒนธรรมของคนไทยออกมาสอนแต่ให้ดูเป็นเรื่องน่าเชื่อถือ แลคนไทยสมัยใหม่ยอมรับได้ จึงใช้ว่าเป็นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง                เป็นพระอัจฉริยภาพอันสูงส่งของ K. ถือเป็นอัฉริยะของชาติไทยเป็นของคนไทยท่านทำให้ทุกคนฉุกคิด                สุดท้ายเป็นหลักความจริง วัฒนธรรมนำเศรษฐกิจของชาติก่อน คือการมีวินัย ,เคารพกฎเกณฑ์ , อดทนและอดออม ชื่อ K. ได้พระราชทานไว้ก่อนหน้านี้แล้ว                 ค่านิยม 4 ประการ ซึ่งก็คือวัฒนธรรมไทย                                อดออม                                ประหยัด                                อดทน                                ซื่อสัตยสุจริต                                                         รุ่งศักดิ์  รักสัตย์ 
ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ของ K. ก็คือ ท่านพยายามที่จะปลุกจิตสำนึกวัฒนธรรมของคนไทย คือพออยู่พอกิน มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท ฯลฯ                เนื่องจากผู้คนรวมถึงรัฐบาลทุกสมัยลืมวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของคนไทยแต่ก่อนมา K. คงเห็นว่าชักจะไปกันใหญ่จึงดึงวัฒนธรรมของคนไทยออกมาสอนแต่ให้ดูเป็นเรื่องน่าเชื่อถือ แลคนไทยสมัยใหม่ยอมรับได้ จึงใช้ว่าเป็นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง                เป็นพระอัจฉริยภาพอันสูงส่งของ K. ถือเป็นอัฉริยะของชาติไทยเป็นของคนไทยท่านทำให้ทุกคนฉุกคิด                สุดท้ายเป็นหลักความจริง วัฒนธรรมนำเศรษฐกิจของชาติก่อน คือการมีวินัย ,เคารพกฎเกณฑ์ , อดทนและอดออม ชื่อ K. ได้พระราชทานไว้ก่อนหน้านี้แล้ว                 ค่านิยม 4 ประการ ซึ่งก็คือ
วัฒนธรรมไทย                               
อดออม       ประหยัด                               
อดทน                               
ซื่อสัตยสุจริต                                                        
รุ่งศักดิ์ รักสัตย์
รุ่งศักดิ์  รักสัตย์                 ผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ                ในการดำเนินชีวิต หรือการปฏิบัติงานแต่ละบุคคลย่อมมีแนวคิดและความเชื่อที่มีอยู่จะสะท้อนออกมาทางด้านบุคลิกภาพ การดำเนินชีวิตและวิธีปฏิบัติงาน                สำหรับข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า ด้านร่างกายนั้นผู้นำจะต้องนำไปด้วยคุณลักษณะทางกายภายภาพ อาทิ ความมีพลัง ซึ่งในที่นี้ก็คือ พลังความคิดพลังใจ รวมถึงพลังอำนาจ ที่มีผลต่อการโน้มน้าวใจบุคคลทั้งหลายให้ปฎิบัติตามความคิดหรือการกระทำของตน นอกจากนี้แล้วแววตารูปร่างความสง่าในห่วงทีของการพูด การเดินการยืนหรือการนั่งซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวอาจติดตัวมาแต่กำเนิด หรือได้รับการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็กด้านบุคลิกภาพ ผู้นำที่แท้จริงควรมีคุณลักษณะด้านความเชื่อมั่นในตนเอง มีความกล้าหาญ กล้าคิด กล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจ มีความมุ่งมั่นและมานะที่จะนำตนเองและกลุ่มหรือทีมงานไปสู่ความสำเร็จ มีความกระตือรือร้น รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี รวมถึงมีทักษะเปิดภาษาที่สามารถสื่อความเข้าใจในเรื่องราวต่าง ๆ ชัดเจนและมีความสามารถในการจูงใจให้บุคคลเกิดความคิดคล้อยตามได้                จากคุณลักษณะที่กล่าวมา จะส่งผลต่อการปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้นำ บุคคลที่ปฏิบัติงานตนดังกล่าว จะเป็นผู้นำที่มีผู้ร่วมงานยอมรับ เกิดความศรัทธา และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน นำพาความสำเร็จมาสู่องค์กร ชุมชนบ้านไสขาม            จุดแข็งของชุมชน คือ.ชุมชนยังมีความเอื้อเฟื้อ ซึ่งกันและกัน. มีภูมิปัญญาจุดอ่อนของชุมชน คือ๑.ปัญญาสังคม คือ      - ทางเศรษฐกิจ ในขณะนี้ชุมชน ได้มีการหลั่งไหลทางวัฒนธรรมทางด้านการแต่งกายและใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อมากขึ้น    - ทางการเมือง/ท้องถิ่น ก่อให้เกิดการแตกแยก ไม่มีความสามัคคีในชุมชน       ฉะนั้นเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งที่ควรดึงภูมิปัญญาของชุมชน เช่น หนังตะลุง/มโนราห์ (การละเล่น) มาฝีกสอนแก่เยาวชนในชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้ มีการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่มีการมั่วสุมของเยาวชน
รุ่งศักดิ์ รักสัตย์

                ผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ                ในการดำเนินชีวิต หรือการปฏิบัติงานแต่ละบุคคลย่อมมีแนวคิดและความเชื่อที่มีอยู่จะสะท้อนออกมาทางด้านบุคลิกภาพ การดำเนินชีวิตและวิธีปฏิบัติงาน                สำหรับข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า ด้านร่างกายนั้นผู้นำจะต้องนำไปด้วยคุณลักษณะทางกายภายภาพ อาทิ ความมีพลัง ซึ่งในที่นี้ก็คือ พลังความคิดพลังใจ รวมถึงพลังอำนาจ ที่มีผลต่อการโน้มน้าวใจบุคคลทั้งหลายให้ปฎิบัติตามความคิดหรือการกระทำของตน นอกจากนี้แล้วแววตารูปร่างความสง่าในห่วงทีของการพูด การเดินการยืนหรือการนั่งซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวอาจติดตัวมาแต่กำเนิด หรือได้รับการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็กด้านบุคลิกภาพ ผู้นำที่แท้จริงควรมีคุณลักษณะด้านความเชื่อมั่นในตนเอง มีความกล้าหาญ กล้าคิด กล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจ มีความมุ่งมั่นและมานะที่จะนำตนเองและกลุ่มหรือทีมงานไปสู่ความสำเร็จ มีความกระตือรือร้น รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี รวมถึงมีทักษะเปิดภาษาที่สามารถสื่อความเข้าใจในเรื่องราวต่าง ๆ ชัดเจนและมีความสามารถในการจูงใจให้บุคคลเกิดความคิดคล้อยตามได้                จากคุณลักษณะที่กล่าวมา จะส่งผลต่อการปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้นำ บุคคลที่ปฏิบัติงานตนดังกล่าว จะเป็นผู้นำที่มีผู้ร่วมงานยอมรับ เกิดความศรัทธา และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน นำพาความสำเร็จมาสู่องค์กร 

ชุมชนบ้านไสขาม           

จุดแข็งของชุมชน คือ

.ชุมชนยังมีความเอื้อเฟื้อ ซึ่งกันและกัน

. มีภูมิปัญญา

จุดอ่อนของชุมชน คือ

๑.ปัญญาสังคม คือ     

- ทางเศรษฐกิจ ในขณะนี้ชุมชน ได้มีการหลั่งไหลทางวัฒนธรรมทางด้านการแต่งกายและใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อมากขึ้น   

- ทางการเมือง/ท้องถิ่น ก่อให้เกิดการแตกแยก ไม่มีความสามัคคีในชุมชน       ฉะนั้นเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งที่ควรดึงภูมิปัญญาของชุมชน เช่น หนังตะลุง/มโนราห์ (การละเล่น) มาฝีกสอนแก่เยาวชนในชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้ มีการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่มีการมั่วสุมของเยาวชน

กลุ่มที่ ๖            มนุษย์ต้องรู้จักตนเองให้ดีที่สุดในการดำเนินชีวิตประจำวันโดยยึดหลักองค์ ๓ คือ  -ศีล      -สมาธิ      - ปัญญา            แล้วจะทำให้การปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดกับทางราชการ และอยู่ในสังคมได้อย่างสันติสุข ยั่งยืน                                                                    นายวิเชียร  ทิพย์จันทา
วิเชียร ทิพย์จันทา

กลุ่มที่ ๖           

มนุษย์ต้องรู้จักตนเองให้ดีที่สุดในการดำเนินชีวิตประจำวันโดยยึดหลักองค์ ๓ คือ 

-ศีล     

-สมาธิ     

- ปัญญา         

             แล้วจะทำให้การปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดกับทางราชการ และอยู่ในสังคมได้อย่างสันติสุข ยั่งยืน

                                     นายวิเชียร  ทิพย์จันทา

วิเชียร ทิพย์จันทา
กลุ่มที่ ๖            การเสวนาชุมชนบ้านใสขาม เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง            สาระสำคัญของการดำเนินวิถีชีวิตระบบเศรษฐกิจพอเพีจยงของชุมชนบ้านใสขาม อันจะทำให้เกิดความสุข ความสมดุล ตรงตามเป้าหมายของการดำเนินงานทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชน ซึ่งทำให้เกิดความเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นผลกระทบจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม  และมนุษย์กับธรรมชาติ แบ่งได้ 3 ด้าน คือ            ด้านจิตใจ สังคม และวัตถุ ซึ่งสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีดุลยภาพ นำมาซึ่งสันติภาพ สันติสุข และอิสรภาพ                                                              นายวิเชียร  ทิพย์จันทา 
วิเชียร ทิพย์จันทา
กลุ่มที่ ๖           
การเสวนาชุมชนบ้านใสขาม เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง            สาระสำคัญของการดำเนินวิถีชีวิตระบบเศรษฐกิจพอเพีจยงของชุมชนบ้านใสขาม อันจะทำให้เกิดความสุข ความสมดุล ตรงตามเป้าหมายของการดำเนินงานทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชน ซึ่งทำให้เกิดความเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นผลกระทบจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม  และมนุษย์กับธรรมชาติ แบ่งได้ 3 ด้าน คือ           
ด้านจิตใจ
สังคม และ
วัตถุ
         ซึ่งสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีดุลยภาพ นำมาซึ่งสันติภาพ สันติสุข และอิสรภาพ       
                                          นายวิเชียร  ทิพย์จันทา 
ข้อคิดที่มองเห็นจากการอบรม

พัชรินทร์ ชินเดช (นักวิชาการวัฒนธรรม ๗ นครศรีธรรมราช)

นับเป็นว่าเป็นความโชคดีที่ได้มีโอกาสเข้าอบรมตามโตรงการพัฒนาผู้นำและผู้บริการมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรมรุ่นที่ ๔ ได้รับความรู้และประสบการณ์จากการถ่ายทอด จากคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ชาวบ้าน ทำให้คิดได้ว่า แม้โลกจะพัฒนาไปไกลสักเพียงใด วิถีชีวิตไทยก็ก็ยังดำรงอยู่ได้ภายใดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตลอดไป
ทวิชาติ อินทฤทธิ์

ทวิชาติ อินทฤทธ์  (วัฒนธรรม จังหวัดภูเก็ต)

 ·       องค์กรที่ดีควรมีผู้นำที่ยอมรับในการเปลี่ยนแปลง โดยเปิดใจเพื่อได้ข้อมูลใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนกรอบความคิดในทางลบ

·       วัฒนธรรมชุมชนที่มีต้นทุนทางวัฒนธรรมอยู่แล้วควรได้รับการส่งเสริมฟื้นฟูและพัฒนาอย่างจริงจัง เพื่ออนุรักษ์ ปลูกฝังและประสานความสามัคคีของคนในท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน

·       ผู้บริหารที่ดีต้องมีวิธีคิดเป็นบวกเสมอ

ปิยพงศ์  วรรณนุชนักวิชาการวัฒนธรรม ๗ ว สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์มากที่สุดในการเข้ารับการอบรมในครั้งนี้มิได้อยู่ที่การได้รับความรู้เพิ่มขึ้น แต่เป็นการทำให้เกิดกรอบความคิดใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ส่วนความประทับใจคือภราดรภาพที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
ปิยพงศ์  วรรณนุช
นักวิชาการวัฒนธรรม ๗ ว สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์มากที่สุดในการเข้ารับการอบรมในครั้งนี้มิได้อยู่ที่การได้รับความรู้เพิ่มขึ้น แต่เป็นการทำให้เกิดกรอบความคิดใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ส่วนความประทับใจคือภราดรภาพที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด

นางสมศรี  รักนุ้ย 

การอบรมโครงการพัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรม รุ่น ๔ ดิฉันปฏิบัติงานที่จังหวัดอุตรดิตถ์ แต่มาเข้ากลุ่มกับรุ่นที่ ๔ เนื่องจากในการคัดเลือกคนเข้าหลักสูตรโครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินการเมื่อต้นปี ๒๕๔๙

ขณะนั้นดิฉันไปปฏิบัติงาน ณ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอยู่ในโควตาผู้สอบบัญชี C๘ ว ไว้ จึงได้อบรมในรุ่น ๔ นี้      ดิฉันไปอยู่อุตรดิตถ์เป็นการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารเนื่องจากสอบได้ ดิฉันไปปฏิบัติงานได้ ๔ -๕ เดือน โดนหนังสือร้องเรียน (บัตรสนเท่ห์) ว่าเป็นผู้ไม่มีความรู้ความสามารถ ไม่มีประสบการณ์ ไม่เคยผ่านการอบรมเป็นผู้บริหาร ดิฉันจึงมีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะเรียนรู้ในการอบรมในครั้งนี้ ดิฉันตรวจสอบรายชื่อวิทยากรแต่ละท่านที่เก่งกล้า มีความรู้ความสามารถ มีชื่อเสียงด้านอะไร ดิฉันหวังว่าจะกอบโกย เก็บรวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่เก็บได้นำไปปรับใช้กับฐานความรู้ที่ดิฉันมีอยู่เดิมให้มากที่สุด ดิฉันคิดว่าดิฉันได้รับความรู้มากพอสมควรแต่ไม่เพียงพอ แต่ได้วิธีที่จะแสวงหาความรู้ ความสามารถที่จะเป็นผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรมได้ในอนาคตต่อไปอีกไม่หยุดยั้ง

กลุ่ม ๓     

                 ปกตินักวิทยาศาสตร์ มักไม่ค่อยสนใจ และเข้าใจสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมมากนัก หลายท่านมักมอง วัฒนธรรม เป็นเรื่องโบราณ และล้าสมัย แต่ ดร.ศุภชัย หล่อโลหะการท่านสามารถบรรยายถึงนวัตกรรม กับวัฒนธรรมได้อย่างกลมกลืน และเข้าใจง่ายขึ้น ซึ่งความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารสำนักงานได้ดีระดับหนึ่ง     

๑.พรรณนิภา  มุสิกุล    

 ๒. บุญชวน  บัวสว่าง    

๓. วัชรินทร์  ดำรงกูล    

๔. สุนา  ช่วยพูล    

๕. ณพงค์ ใบหมานปันจอ                   

๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ 

ไพโรจน์ แก้วจุฑานิติ

บันทึกจากวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี     

              ข้าพเจ้าในฐานะเจ้าของพื้นที่ที่ทางกระทรวงวัฒนธรรมได้ให้เกียรติใช้จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานที่อบรม พัฒนานักบริหารระดับกลาง หลักสูตร พัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ (Super Leader) กระทรวงวัฒนธรรม รุ่นที่ ๔ ระหว่างวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๓ มีนาคม ๒๕๕๐ ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า นั้น ตั้งแต่ได้รับฟังการปฐมนิเทศของศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ซึ่งท่านเป็นเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และตำแหน่งอื่น ๆอีกมากมาย เป็นการแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ (Vision) ที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจในตัวท่านและทีมงานของท่านเป็นอย่างสูงยิ่งขึ้น และคิดว่าสิ่งที่คณะของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๔๒ ท่านในรุ่นที่ ๔ จะได้ประโยชน์ที่จะนำเอาเทคนิคและยุทธศาสตร์จากคณะวิทยากรไปปรับปรุงประยุกต์ใช้ให้เกิดการบริหารที่มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำเอาหลัก ๒ พลังความคิด ชีวิตและงาน ตามแนวคิด ๘ H คือ                 

Heritage มรดก คือ         รากเหง้า

Head        หัว     คือ       มีปัญญา 

 Heart       ใจ        คือ       มีคุณธรรม จริยธรรม

Hand       มือ       คือ       ต้องทำ

Happiness        คือ       ความสุข

Harmony         คือ       ความสมานฉันท์

Health             คือ       สุขภาพ

Home              คือ       บ้าน ครอบครัว     

หากผู้บริหารได้ทำ ๘ H ไปใช้อย่างจริงจัง ข้าพเจ้ามีความมั่นใจว่าจะประสบความสำเร็จและจะสร้างประสิทธิภาพสูงสุดในการนำองค์กรสู่เป้าประสงค์ได้อย่างแน่นอน                                          

                   ไพโรจน์  แก้วจุฑานิติ

               วัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี

                   ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ 

สมใจ กิตติชนม์ธวัช

ก่อนจบหลักสูตร ถ้าไม่ได้เขียนอะไรเสียเลย ก็เกรงว่าจะเสียชื่อ ลูกศิษย์อาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์      นับว่าเป็นโชค ดวง บุญ รวมกันของดิฉันที่มีโอกาสได้เข้าอบรมโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ ของกระทรวงวัฒนธรรม รุ่นที่ ๔ ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี      ดิฉันรับราชการมา ๒๘ ปี  เคยได้เข้าอบรม สัมมนาหลายครั้ง แต่การอบรมครั้งนี้ยอมรับว่า สุดยอดที่สุด อาจารย์แต่ละท่าน ล้วนระดับปรมาจารย์ ทุกท่าน      ขอขอบคุณอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์และทีมงาน และที่สำคัญคือท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และผู้เกี่ยวข้อที่ให้โอกาสดิฉันในครั้งนี้                                                     

                         สมใจ  กิตติชนม์ธวัช 

                        นักวิชาการวัฒนธรรม ๗ ว 

                                 สวจ.ชุมพร

                          ๓ มีนาคม ๒๕๕๐

วิร้ตน์ วิโรจนุปถัมภ์

     สิ้นสุดโครงการไป 3-4 วันแล้ว วันนี้กลับมาเยี่ยมเยียน blog ซึ่งเป็นเสมือน "บ้านชุมทาง" ( Hub house) แหล่งเรียนรู้ที่สามารถให้บริการพวกเรา "ชุมชน คนรุ่น 4" ได้แวะเวียนมาพบปะ ทักทาย หรือปะทะกันทางปัญญากันได้ตามกระแสโลภาภิวัฒน์

     ก่อนกลับออกจากบล๊อคไป ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ดร.จีระฯ รวมทั้งทีมงานทุกคน ตลอดจนทีมงาน สป.วธ.ผู้ขับเคลื่อนโครงการนี้ด้วยครับ ที่ทำให้ได้รับประสบการณ์ทั้ง  Pros และ Con  ที่ไม่อาจสัมผัสได้จากตำรา และนอกเหนือจากความรู้ที่ได้รับ
     สัมผัสสำคัญท้ายสุดจากการอบรมที่รับรู้ได้นั่นก็คือ
" Energy "  พลังที่จะก่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนต่อไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการ

  

วิร้ตน์ วิโรจนุปถัมภ์

     ได้ดู itv ในช่วงเย็นวันสุดท้ายของชื่อนี้ เห็นอาจารย์วันชัยของ itv แสดงบทบาทแห่งผู้ชนะ พร้อมกับร้องประกาศว่า "พวกเราชนะแล้ว พวกเราต่อสู้ชนะแล้ว"

     ความรู้สึกที่เห็นใจพนักงาน itv ในด้านอาชีพที่ต้องทำมาหากินที่เคยมีก่อนหน้านี้ กลับถูกแทรกแซงให้ต้องหดหู่ จากการแปลผลของการแก้ปัญหาออกมาเป็นความชนะ-แพ้ ของ อ.วันชัย

     นั่นแสดงว่ากิจกรรมที่ดำเนินอยู่กับรัฐบาลนั้น คือกิจกรรมการต่อสู้เพื่อเอาชนะ หากมีผู้ชนะ แล้วในความเป็นจริงของชีวิตมันมีผู้แพ้ไหม แล้วใครเป็นผู้แพ้หรือ ?  หรือว่า อาจเป็น win/win

    คำพูดของคน เมื่อเปล่งออกมาแล้ว มันยิงให้ร่วงหล่นกลางอากาศแบบยิงนกไม่ได้นะครับ แถมมันพุ่งเข้าหูสู่ใจทันทีเลยล่ะครับ

    และต่อให้ win/win ผมก็อดรู้สึกไม่ได้ว่า คำว่า "ชนะ" ไม่เหมาะกับสถานการณ์อย่างนี้

    และทำให้ต้องทบทวนคำพูดของท่าน อ.สนธิ (ลิ้ม) ที่กล่าวว่า "วาระสุดท้ายที่มาถึงของพนักงาน itv เราจะเห็นตัวตนที่แท้จริงของเขาในวาระนี้ เห็นการต่อสู้เพื่อเอาชนะ การไม่ยอมรับความจริง ฯลฯ"

    แต่อย่างไรก็ดี ก็หวังว่า ความรู้สึกชนะ คงเป็นแค่ความรู้สึกของบางคน ไม่ใช่ทั้งหมดของ itv

วิรัตน์ กลุ่ม 6 ฉะเชิงเทรา

blog เหงาจังครับ 

concept ข้อคิดภาพรวมสั้น ๆ ที่ได้จาก 8 วันของการอบรม ครับ

      "บรรดาทรัพยากรทั้งมวล มนุษย์เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด โดยเฉพาะทุนทางปัญญาที่มีในตัวตน  การบริหารจัดการเรื่อง "คน" จึงเป็นกระบวนการหรือเครื่องมือสำคัญ ในอันที่จะนำมาซึ่งการพัฒนาไปสู่ความดีงาม ความเจริญก้าวหน้า และความผาสุกของสังคม"   

     "Among the overall resources, Human is the essential composition, especially the talent capital within themself.    The Manager on human resources is the process or essential tool not only for the development but also for progressive and happiness of the Society"

บังเอิน Search เจอหน้านี้ ขอถามซะหน่อย

พวกท่านที่เป็นข้าราชการ กินเงินภาษีประชาชน

คิดเห็นอย่างไรครับ? กับการดื่มเหล้า และเล่นการพนันในวัดหรืองานศพ

พวกท่าน "บางคน" อยู่องค์กรเกี่ยวกับวัฒนธรรมแท้ๆ ยังปฎิบัติในทางเสื่อม

แล้วจะเป็นตัวอย่างที่ดีและไปบริหารจัดการวัฒนธรรมให้ดีได้อย่างไร

ผมเองเป็นคนนอกองค์กรของท่าน แต่ใกล้ชิดกับใครบางคนในนั้น(ใกล้ชิดมากๆ)

และก็เห็นใครคนนั้นทำอะไรแย่ๆ อย่างที่ว่ามา ในงานศพพ่อตัวเอง..แย่จริงๆครับ

เป็นอะไรที่"ซาบซึ้งมาก"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท