ขจัดเงื่อนไขแห่งความรุนแรง


ความรุนแรงถูกกำจัด

        สันติวิธีจะสามารถดับไฟใต้ได้ก็ด้วยการขจัดเงื่อนไขที่บ่มเพาะขบวนการ ก่อความไม่สงบดังได้กล่าวมา อันได้แก่เงื่อนไขทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่สร้างความคับแค้นใจแก่ผู้คนที่นั่น   และปัจจัย ๓ ประการที่ผู้ก่อความไม่สงบใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความรุนแรง  กล่าวอย่างเป็นรูปธรรมก็คือ  

    ๑.สร้างเงื่อนไขทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

เงื่อนไข ดังกล่าวได้แก่  การกระจายอำนาจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมืองมากขึ้น โดยยอมรับความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม  เปิดพื้นที่ให้แก่วัฒนธรรมและภาษามลายูท้องถิ่น โดยนับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไทย (เช่นเดียวกับที่ยอมรับคนพูดจีนชื่อจีนว่าเป็นไทย)   ระบบราชการหรือหน่วยงานรัฐจะต้องเคารพวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น ไม่เอาวัฒนธรรมจากส่วนกลาง (ไม่ว่าภาษา  เครื่องแต่งกาย  พิธีกรรมแบบพุทธ ตลอดจนแบบแผนการศึกษาและวิถีการบริโภค )มาเป็นมาตรฐานเดียว  ที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันก็คือการให้หลักประกันทางด้านความยุติธรรมและ สวัสดิภาพแก่ประชาชน เพื่อให้ความมั่นใจว่าพวกเขาไม่ใช่พลเมืองชั้นสองหรือมาอาศัยแผ่นดินไทยอยู่    ขณะเดียวกันก็มีความสามารถที่จะเข้าถึงและปกป้องทรัพยากรท้องถิ่น โดยไม่ถูกล่วงละเมิดโดยกลุ่มทุนและธุรกิจอิทธิพล (ซึ่งมักได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐทั้งในระดับนโยบายและตัวบุคคล)

    ๒. เสนออุดมการณ์ที่เป็นทางเลือกใหม่ในทางสันติ    

ปฏิเสธ ไม่ได้ว่าอุดมการณ์นั้นเป็นอาวุธที่สำคัญของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งนอกจากจะใช้เป็นเครื่องมือในการดึงพลพรรคและปลุกระดมประชาชนแล้ว ยังเป็นตัวสร้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงด้วย   ส่วนหนึ่งของอุดมการณ์ของผู้ก่อความไม่สงบก็คือหลักความเชื่อทางศาสนาอิสลาม ที่ตีความให้เข้ากับจุดมุ่งหมายของตน

    การดับไฟใต้ให้ได้ผลนั้นต้องครอบคลุมไปถึงการต่อสู้ทางด้านอุดมการณ์& amp; amp; nbsp; นั่นคือการเสนอสันติวิธีให้เป็นทางเลือกใหม่ของผู้ที่ต้องการต่อสู้เพื่อ ศักดิ์ศรีและปกป้องวิถีชีวิต   ปัจจุบันผู้ก่อความไม่สงบได้รับความสำเร็จไม่น้อยในการชักชวนให้เห็นว่าความ รุนแรงเป็นคำตอบเดียวเท่านั้นที่จะฟื้นฟูศักดิ์ศรีและปกป้องวิถีชีวิตของ ประชาชน  ทั้งนี้โดยมีความเชื่อทางศาสนาอิสลามรับรอง      แต่อุดมการณ์ดังกล่าวจะมีพลังน้อยลงหากมีทางเลือกที่ดีกว่า   ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการนำเสนอแนวทางการต่อสู้เพื่อศักดิ์ ศรีและปกป้องวิถีชีวิตแบบสันติวิธี และที่ขาดไม่ได้ก็คือ มีหลักคำสอนทางศาสนาอิสลามเป็นพื้นฐานรองรับ

    การล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)เกิดขึ้นเมื่อ ๒๐ ปีก่อน  สาเหตุสำคัญประการหนึ่งก็เพราะมีทางเลือกที่ดีกว่ามาแทนการต่อสู้ด้วยอาวุธ& amp; amp; nbsp;  ทางเลือกนั้นเกิดขึ้นหลังจากที่มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ๖๖/๒๕๒๓ ซึ่งเปิดทางให้แก่การต่อสู้ทางการเมืองบนวิถีทางประชาธิปไตย

แต่ ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันก็คือการแพร่ขยายของอุดมการณ์ “ปฏิวัติประชาธิปไตย” ในแวดวงฝ่ายซ้าย ที่ทำให้แนวทางปฏิวัติด้วยกำลังอาวุธถูกสั่นคลอน ส่งผลให้นักศึกษาที่เข้าป่าตัดสินใจวางอาวุธ  และหันมาต่อสู้ด้วยสันติวิธีในเมือง

    การส่งเสริมแนวทางสันติวิธีบนพื้นฐานของศาสนาอิสลามเป็นสิ่งจำเป็น& amp; amp; nbsp; แต่นั่นไม่ได้หมายความแค่การคิดค้นในทางทฤษฏีเท่านั้น  หากในทางปฏิบัติรัฐบาลจะต้องเปิดให้มีพื้นที่ที่จะต่อสู้แบบสันติวิธีได้ จริง ๆ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้    กล่าวคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถชุมนุมเรียกร้องหรือประท้วงได้โดยสันติ& amp; amp; nbsp; หรือสามารถที่จะถกเถียงอภิปรายรูปแบบทางการเมืองที่พึงปรารถนาได้อย่างเสรี ตราบใดที่ยังอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญ   พร้อมกันนั้นก็สามารถที่จะปกป้องวิถีชีวิตและทรัพยากรท้องถิ่นโดยมีหลัก ประกันว่าจะไม่ถูกทำร้าย (ไม่ว่าโดยผู้มีอิทธิพลหรือเจ้าหน้าที่รัฐ)

    การเปิดพื้นที่และให้หลักประกันดังกล่าว รวมทั้งที่กล่าวมาในข้อ ๑   นอกจากจะเปิดทางให้แก่การต่อสู้โดยสันติวิธีแล้ว ยังจะมีผลในการบั่นทอนอุดมการณ์อีกด้านหนึ่งของผู้ก่อความไม่สงบ อันได้แก่อุดมการณ์ด้านประวัติศาสตร์    เป็นที่รู้กันว่าขบวนการแบ่งแยกดินแดนได้อาศัย “ประวัติศาสตร์บาดแผล”ในการปลุกเร้าความเคียดแค้นชิงชังรัฐจากส่วนกลาง  ; ; ; ประวัติศาสตร์ดังกล่าวมีพลังไม่ใช่เพียงเพราะว่าอดีตของผู้คนในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้เต็มไปด้วยความเจ็บปวดจากการกระทำของรัฐไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะว่าความทุกข์ยากขมขื่นและการถูกกระทำย่ำยีนั้นยังดำรงอยู่ แม้กระทั่งปัจจุบัน     

อดีตนั้นไม่สำคัญเท่า กับปัจจุบัน  หากสภาพการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้น   ศักดิ์ศรีและวิถีชีวิตของผู้คนได้รับการเคารพ ประวัติศาสตร์บาดแผลจะมีอานุภาพน้อยลง  นั่นหมายความว่า “อาวุธ”ของผู้ก่อความไม่สงบก็จะไร้ประสิทธิผลในการสร้างความเคียดแค้นชิงชัง และก่อความรุนแรง   เมื่อถึงตอนนั้นการถกเถียงอย่างเสรีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์บาดแผลในสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้จะไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวหรือต้องปิดกั้น   ตรงกันข้ามการเปิดเผยและแสวงหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้จะช่วยทำให้เกิดความ สมานฉันท์ระหว่างคนต่างชาติพันธุ์กันได้  ทำนองเดียวกับประวัติศาสตร์การสังหารหมู่ “อั้งยี่” หรือคนจีนในสมัยรัชกาลที่สามและรัชกาลที่ห้าไม่มีผลต่อความรู้สึกของคนไทย เชื้อสายจีนในปัจจุบัน

    ๓.สลายแนวร่วมของผู้ก่อความไม่สงบ    

ผู้ ก่อความไม่สงบยังลอยนวลอยู่ได้อย่างเป็นขบวนการก็เพราะมีประชาชนจำนวน มากเป็นแนวร่วม  ทำให้การหาข่าวของรัฐบาลเป็นไปได้อย่างลำบาก ขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ก่อความไม่สงบได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง & amp; amp; nbsp; แนวร่วมจำนวนไม่น้อยมิได้ฝักใฝ่ในกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ  หากแต่เกลียดกลัวเจ้าหน้าที่รัฐมากกว่า  

การดับไฟใต้ด้วยสันติ วิธีหมายถึงการสลายแนวร่วมของผู้ก่อความไม่สงบ  ;  และดียิ่งกว่านั้นก็คือดึงประชาชนเหล่านั้นมาเป็นแนวร่วมของรัฐแทน  จะทำเช่นนั้นได้การทำงานกับมวลชนเป็นสิ่งสำคัญ  เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องได้รับการฝึกฝนให้พูดภาษามลายูท้องถิ่น เข้าใจพื้นฐานของศาสนาอิสลามและธรรมเนียมปฏิบัติของประชาชน   สามารถดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐ ตั้งแต่ระดับการตัดสินใจ โดยเฉพาะในสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อประชาชน  (มิใช่ตัดสินโดยเจ้าหน้าที่รัฐตามลำพังอย่างที่นิยมปฏิบัติ)   อาทิ  จัดตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจสังคมโดยมีผู้นำท้องถิ่นและผู้นำศาสนามาร่วมเป็น กรรมการ ทั้งในระดับจังหวัดลงไปถึงระดับตำบล  โดยไม่ให้ซ้ำซ้อนกับอบต.(ซึ่งส่วนใหญ่มิได้เป็นผู้นำตามประเพณีที่ชาวบ้าน ให้ความนิยมนับถือ เช่น อิหม่าม หรือโต๊ะครู)   หรือคณะกรรมการสันติสุขชุมชน ซึ่งทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้าน  สร้างความสมานฉันท์ในชุมชน รวมทั้งดูแลรักษาความปลอดภัยร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ  ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านหรือตำบลไปจนถึงระดับจังหวัด

ขณะเดียวกันการให้ หลักประกันทางด้านความยุติธรรมแก่ประชาชนก็จะต้องมี มาตรการที่เป็นรูปธรรม  ไม่ใช่กระทำด้วยการออกคำสั่งหรือเอ่ยปาก “กำชับ” เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น    มาตรการที่เป็นรูปธรรมได้แก่  การจัดตั้งคณะกรรมการดูแลกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม & amp; amp; nbsp; คณะกรรมการติดตามการพิจารณาคดีความต่าง ๆ ที่มีเงื่อนงำ    คณะกรรมการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิประชาชน  ศูนย์รวบรวมข้อมูลผู้สูญหายหรือถูกสันนิษฐานว่าถูกอุ้มฆ่า ทั้งนี้โดยประกอบด้วยบุคคลในพื้นที่ที่ได้รับการยอมรับในความซื่อสัตย์ สุจริต  มีอำนาจในการตรวจสอบการทำงานของรัฐ และเสนอรายงานต่อนายกรัฐมนตรีและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

การ ดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐ ควบคู่ไปกับเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดวิถีชีวิตของตนเอง  จะช่วยให้ การ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ตามพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกิดขึ้นเป็นจริง  & amp; amp; nbsp;  แต่หากปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้ว ไม่ว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะปรารถนาดีอย่างไร ก็ยากจะเข้าใจและเข้าถึงประชาชนได้  และบ่อยครั้งการพัฒนาที่นำไปให้กลับก่อผลตรงข้ามแก่ประชาชน  ซึ่งทำให้เสียแนวร่วมไปในที่สุด

    ๔.จำกัดการปฏิบัติการของผู้ก่อความไม่สงบ

       อาวุธสงคราม เช่น ปืน ระเบิด ตลอดจนรถมอเตอร์ไซค์ เป็นอุปกรณ์ในการก่อความรุนแรง  ที่จำเป็นจะต้องมีการควบคุมเพื่อไม่ให้ผู้ก่อความไม่สงบทำงานได้สะดวก    มาตรการที่น่าจะทำได้ก็คือ  การควบคุมเส้นทางลำเลียงอาวุธสงครามและควบคุมการถือครองวัตถุต้องสงสัยอย่าง เข้มงวดจริงจัง  ดียิ่งกว่านั้นก็คือการประกาศให้ปืนเป็นอาวุธผิดกฎหมายและไม่ให้อยู่ในครอบ ครองของประชาชน เว้นแต่อยู่ในมือของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายเท่านั้น   นอกจากนั้นควรมี  การจัดระเบียบรถมอเตอร์ไซค์ด้วยการออกป้ายทะเบียนจำแนกตามอาชีพของเจ้าของ& amp; amp; nbsp;  รวมทั้งให้รถของเจ้าหน้าที่รัฐแต่ละฝ่ายมีสีต่างกันเพื่อง่ายแก่การสังเกต

    ขณะเดียวกันควรมีการจำกัดความเคลื่อนไหวของผู้ก่อความไม่สงบ ด้วยการตรวจจับรถยนต์อย่างละเอียด ตั้งแต่คู่มือจดทะเบียนรถ โดยเฉพาะรถที่จะไปหรือมาจากหมู่บ้านเป้าหมาย  ในการตรวจนั้นแทนที่จะตั้งจุดตรวจถาวร  ควรใช้การลาดตระเวนตรวจ โดยชุดปฏิบัติการมีคนที่พูดภาษาท้องถิ่นได้  นอกจากนั้นควรมีการตั้งโทรทัศน์วงจรปิดตามสถานที่ราชการที่ตกเป็นเป้าหมาย ของผู้ก่อความไม่สงบ   
หมายเลขบันทึก: 78721เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2007 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท