สตรีกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง


เป็นครั้งแรกที่สตรีในกทบ.ได้มีโอกาสมา ลปรร.พร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งประเทศ

     ช่วงเดือนธันวาคม 2549 จนถึงปัจจุบัน  ดิฉันได้รับโอกาสให้ไปเรียนรู้และช่วยงานที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ(สทบ.) ได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ มากมาย ต้องขอขอบพระคุณท่านผู้บริหารกรมส่งเสริมการเกษตรและผอ.สันติ อุทัยพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นอย่างสูง

     สิ่งที่ได้เรียนรู้นับเป็นช่วงเวลาที่ดีอีกช่วงหนึ่ง มีความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้น ก่อนไปช่วยงานนั้นดิฉันมีความรู้ด้านนี้น้อยมาก แม้ว่าจะเคยทำงานร่วมกับชุมชนมาบ้างก็ตาม แต่ความรู้เกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง(กทบ.)มีน้อยทราบเพียงว่าเป็นโครงการของรัฐที่โอนให้ชุมชนบริหารจัดการเองหมู่บ้านละ 1 ล้านบาทเท่านั้นเอง

     ประสบการณ์หนึ่งที่ได้มีโอกาสเป็นผู้ดำเนินการจัดการสัมมนาเชิงปฎิบัติการ บทบาทสตรีในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง วันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2550 ณ สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายเพื่อการพัฒนา ผู้จัดประกอบด้วยทีมงานของ สทบ.และทีมงานของสถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายเพื่อการพัฒนาซึ่งมี ดร.สุธีรา  วิจิตรานนท์ ประธานกรรมการที่ปรึกษาของสถาบันฯ เป็นเจ้าภาพร่วม เป็นประสบการณ์ที่ดิฉันจะเล่าเพื่อการ ลปรร. ดังนี้คะ

     ผู้เข้าสัมมนาเป็นคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านฯที่เป็นสตรี จำนวน 87 คนทั่วประเทศ จังหวัดละ 1-2 คน แม้ว่าจะจัดสัมมนาเพียง 2 วันแต่ผลที่ได้รับคุ้มค่ามากเป็นคำกล่าวของ ผอ.สันติ ตั้งแต่เนื้อหา บรรยากาศการมีส่วนร่วมและการแสดงออก เพราะในช่วง 5 ปีตั้งแต่ตั้งกองทุนหมู่บ้านฯมาครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่สตรีในกทบ.ได้มีโอกาสมา ลปรร.พร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งประเทศ ลองคิดดูซิคะว่าจะคึกคักแค่ไหน ต่างคนต่างก็อยาก ลปรร.กับคนอื่น ๆ ในงานที่ตนเองได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  เพราะในพรบ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ได้ระบุไว้ว่าการคัดเลือกกรรมการให้คำนึงถึงชายหญิงในสัดส่วนใกล้เคียงกัน  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้หล่อหลอมให้สตรีได้เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองขึ้นมาในระดับที่น่าพอใจ

     สิ่งที่เกินความคาดหมายของผู้จัดคือผู้เข้าสัมมนาได้ปรึกษาหารือกันสร้างเครือข่ายสตรีของกองทุนหมู่บ้านฯ ขึ้นมาในระดับประเทศ

     เราลองมาดูการทำ AAR ของผู้เข้าสัมมนาดูนะ

    

 1. เป้าหมายของการเข้าสัมมนาของท่านครั้งนี้

    - ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเรียนรู้ร่วมกับกองทุนที่ 

 ประสบความสำเร็จ

    - ได้รับความรู้เพิ่มเติมหลากหลายออกไปในหลายรูปแบบ ได้เข้าใจ  ปัญหาและอุปสรรคของแต่ละกองทุน

   - นำความรู้ที่ได้ไปใช้บริหารจัดการและนำไปเผยแพร่ให้เครือข่ายได้รับทราบและนำไปปฏิบัติต่อไป

   - กลุ่มสตรีได้รับรู้ปัยหาร่วมกันและแก้ไขร่วมกันและวางแผนจะทำงานร่วมกันเป้นภาคีกันต่อไป

   -กระตุ้นให้สตรีในกองทุนทราบถึงบทบาทของตนเองและกระตือรือร้นที่จะพัฒนาศักยภาพของกลุ่มสตรีให้มีความสำคัญเท่าเทียมชาย

   - ต้องการผลักดันให้สตรีมีบทบาทเป็นผู้นำเครือข่ายสตรีในระดับ ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น และสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกระดับการทำงาน

   - ได้รับความรู้เกี่ยวกับบทบาทสตรีในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และจะนำความรู้ที่ได้มาขยายผลพื้นที่จังหวัดตัวเอง

  - เพื่อต้องการนำความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสัมมนาไปปรับปรุงและจัดทำเวทีเครือข่ายเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนา

   - ได้รับทราบข้อมูล วิธีการและความก้าวหน้าของการบริหารจัดการแต่ละกองทุนทั่วประเทศ

2. สิ่งที่บรรลุเป้าหมายคือ

    - มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเป็นผู้นำสตรีเครือข่ายสตรีทุกระดับ

    - เปิดโอกาสให้สตรีได้รับองค์ความรู้ กล้าแสดงออกและเข้ามามีบทบาทในระดับต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ยอมรับว่าสตรีมีพลังในการทำงานได้ดีไม่ต่างกับผู้ชาย หรืออาจดีกว่าด้วย

    - มีการตื่นต้วที่จะพัฒนาชุมชนให้พัมนาต่อ ๆ ไป ได้รับความรู้ต่าง ๆ และต้องการเพิ่มพูนอีกหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งการพัฒนาการทำงานของกองทุน

    - ได้รู้จักเพื่อนทั่วประเทศ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้ความคิดใหม่ ๆ ที่หลากหลายและทราบบทบาทของสตรีในด้านต่าง ๆ รวมทั้งประสบการณ์การทำงานของกองทุนหมู่บ้านที่ผ่านมา

    - เป็นการร่วมประชุมแบบเป็นแนวหน้า มีประโยชน์ต่อความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ เพิ่มศักยภาพของสตรีเป็นผู้นำในชุมชน เป็นผู้มีส่วนร่วมในการทำงานต่าง ๆ

    - ได้จัดตั้งเครือข่ายสตรี เพื่อจุดประกายการเชื่อมโยงการทำงานของสตรีที่จริงจัง

    - มีการรวมตัวกันเพื่อร่วมกันกำหนดเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนงานของกองทุนต่อไปในอนาคต

    - เป็นการจุดประกายสร้างจิตสำนึกให้กับสตรีได้ในระดับหนึ่ง ทางด้านการมีส่วนรวมของบทบาทสตรี

    - ได้รับความรู้จากวิทยากรและคณะอภิปรายเรื่องกรณีตัวอย่างที่ดี เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปเติมเต็มให้กับกองทุนของตนในส่วนที่ขาด

3. สิ่งที่เกินความคาดหวังคือ

    - ได้รับการเรียนรู้ต่าง ๆ แต่ละภาค ได้เพื่อใหม่ทั่วประเทศ และเปิดโอกาสให้สตรีแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย

    - ได้รับความรู้จากแนวคิดใหม่จากสตรีที่มีบทบาททุก ๆ ภาคส่วน

    - เป็นการรวมพลังกลุ่มสตรีที่ทำงานแนวหน้า สตรีที่เก่ง มีความสามารถ เป็นผู้นำทำงานได้เกือบทุกอย่าง

    - ทุกคนมีความร่วมมือร่วมใจ เป็นกันเอง ช่วยเหลือกันและกัน

    - เกิดแนวคิดที่รวมตัวกันในคระกรรมการสตรีในกองทุนเพื่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายในระดับภาคประเทศ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล

    - สตรีมีความสามารถและมีศักยภาพในการทำงานและเป็นผู้ที่มีความเสียสละในการทำงานได้อย่างละเอียดลออ

    - ได้รับรู้ถึงความสำเร็จของแต่ละจังหวัดซึ่งบางจังหวัดประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากน่าที่จะเอาไปเป็นตัวอย่างในการบริหารงานกองทุนฯ

4. สิ่งที่ไม่บรรลุเป้าหมายคือ

    - ตัวแทนจากจังหวัดเพียงคนเดียวน้อยมาก ควรมีจังหวัดละ 3-4 คน

    - เวลาน้อย

    - การรวมกลุ่มย่อยบางกลุ่มยังไม่เป็นประชาธิปไตย

    - ความคิดของผู้เข้าอบรมบางคนไม่ตรงกันทำให้เกิดการขัดแย้งและไม่ค่อยจะฟังผู้บรรยาย

    - คณะกรรมการบางคนยังขาดองค์ความรู้ การบริหารกองทุนหมู่บ้าน

    - บางหน่วยงานยังไม่ยอมรับสตรีเป็นผู้นำ

    - เครือข่ายแต่ละตำบลไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

    - ไม่ทราบทิศทางในการพัฒนาที่มีรูปแบบชัดเจน

    - สาระในการอบรมยังไม่มีสิ่งใหม่ ๆ

    - การเปิดโอกาสไม่เป็นกระบวนการ

    - การจัดกลุ่มควรแยกให้ห่างกันเพราะเกิดการสับสนและเสียงรบกวนกันมาก ทำให้การเสนอแนวคิดไม่ทั่วถึงหรือไม่ชัดเจนเท่าที่ควร

5. สิ่งที่ท่านได้รับจากการสัมมนาครั้งนี้ ท่านคิดจะกลับไปทำอะไรบ้าง

    - อยากให้จัดการอบรมผู้นำสตรี กทบ. อำเภอ-จังหวัด

    - พัฒนา 4 อย่าง คือ 1) มีสำนักงาน 2) มีกรรมการที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับงานจริง ๆ  3) วัสดุ-อุปกรณ์งบประมาณ 4) การบริหารจัดการที่มีการวางแผนและมีระบบ

    - จะกลับไปแก้ปัยหากองทุนที่มีปัญหา

    - พัฒนาภาวะผู้นำและการบริหารเป็นทีมแก่คณะกรรมการเพื่อให้รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง

    - ได้รับความรู้มากมาย จะนำไปปรับปรุงกองทุนของตนเองและขยายผลต่อ

    - กลับไปจัดสัมมนาต่อไป

    - ถ่ายทอดความรู้และแนวคิดใหม่ ๆ ให้กับกองทุนในจังหวัด

    - เอาความรู้ที่ได้รับนี้ไปพัฒนากองทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การบริหารกองทุน สมาชิก กรรมการ สวัสดิการกองทุน

    - ประชุมชี้แจงให้กองทุนในจังหวัดได้รู้ถึงปัญหา อุปสรรคและความสำเร็จมีอะไรบ้าง

    - นำเอาองค์ความรู้นั้นไปเผยแพร่ในเวทีประชุมในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด

    - ประสานพลังเครือข่าย สตรีในบทบาทงานกองทุน

    - ประชาสัมพันธ์ให้คณะกรรมการกองทุนที่เป็นสตรีทราบถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของเราในอนาคต

    - ปรับปรุงกระบวนการบริหารกองทุนให้มีกิจกรรมหลากหลายขึ้น

    - การรณรงค์ ให้ความรู้ และความสำคัญของสตรีในชุมชนของตนเอง

    - จะไปถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับให้กับสตรีที่ทำงานกองทุนได้รับทราบและจะไปประชาสัมพันธ์กระตุ้นให้สตรีได้มีบทบาทในการทำงานมากขึ้น

    - พัฒนากระบวนการคิดและเติมเต็มความรู้ในการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์

     เห็นด้วยไหมคะว่าสตรีเหล่านี้เป็นผู้หญิงแถวหน้าในการขับเคลื่อนชุมชนระดับรากแก้วและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศจริง ๆ

ธุวนันท์  พานิชโยทัย

16 ก.พ.2550

หมายเลขบันทึก: 78638เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2007 07:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ตามเข้ามาเรียนรู้ครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมาบันทึกแบ่งปัน
สวัสดีคะคุณสิงห์ป่าสัก ไมได้เจอกันนาน คิดถึงเสมอคะ
ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
ไม่ได้แวะมานานติดเรียน ไม่มีเวลาจริง ๆ แต่ติดตามอยู่เสมอครับ ไม่ได้ทอดทิ้งใครจะให้ช่วยอะไรก็บอกแล้วกันครับ
  • ขอบพระคุณท่านรองไพโรจน์มากเลยนะคะที่ให้กำลังใจแก่ทีมงาน KM ตลอดมา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท