AAR ของ Mobile Unit ครั้งที่ผ่านมา (ตำบลบ้านด่านนาขาม)


ดิฉันเลยขอนำผล AAR จากการออกหน่วยฯ ครั้งที่เพิ่งผ่านพ้นมา มาเผยแพร่ต่อสาธารณชน เพื่อเป็นประโยชน์ในการเข้ามา ลปรร. ทั้งของผู้ที่เคยออกหน่วยฯ กับเรา, ยังไม่เคยออกหน่วยฯ สักครั้ง, กำลังจะออกหน่วยฯ กับเราในอนาคต

 

           จากการออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ฯ ครั้งที่ผ่านมา  เมื่อวันที่ 20-21  มกราคม  2550  ที่โรงเรียนวัดแม่เฉย  ตำบลบ้านด่านนาขาม  อำเภอเมือง  จังหวัดอุตรดิตถ์  ดังที่ได้รายงานภาพไปแล้ว (ที่นี่ Link)  และภาพเก็บตกจากการออกหน่วยฯ (ที่นี่ Link) 

            ในปีก่อนๆ ที่ผ่านมา (2543-2548)  หลังการออกปฏิบัติงานบริการเคลื่อนที่ฯ แต่ละครั้งเราจะมีการรายงานผลรวมถึงประเมินผลจากการออกหน่วยฯในภาพรายคณะ  และรายงานทั้งสองอย่างในที่ประชุมเป็นประจำทุกเดือน

            แต่ประมาณกลางปี 2549  ที่ผ่านมา ผศ.ดร. วิบูลย์  วัฒนาธร (รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร)  เห็นควรให้มีการสอบถามความคิดเห็นหลังการปฏิบัติงาน หรือที่เราเรียกันว่า AAR (เอ เอ อาร์) = After Action Review ขึ้น  ดิฉันเลยขอนำผล AAR จากการออกหน่วยฯ ครั้งที่เพิ่งผ่านพ้นมา  มาเผยแพร่ต่อสาธารณชน  เพื่อเป็นประโยชน์ในการเข้ามา ลปรร. ทั้งของผู้ที่เคยออกหน่วยฯ กับเรา, ยังไม่เคยออกหน่วยฯ สักครั้ง, กำลังจะออกหน่วยฯ กับเราในอนาคต ลองมาดูกันค่ะว่า ข้อคิดเห็นจาก AAR ครั้งที่ผ่านมามีอะไรกันบ้าง แจ้งไว้นิดนึงค่ะ ว่าเป็นข้อคิดเห็นจากคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ที่ได้ร่วมออกให้บริการกับเราทุกๆ ข้อที่ทางทีมงานได้รับมาและไม่มีการตัดข้อความออกแต่อย่างใด หรือจะเรียกว่าเป็น AAR แบบเปลือยเลยก็ว่าได้ค่ะ

1.  ท่านคาดหวังอะไรจากการมาออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ฯในครั้งนี้?
1. ความรู้และประสบการณ์
2. เพื่อให้คนในชุมชนได้รับความรู้  และบริการที่ทางมหาวิทยาลัยจัดให้  เพื่อประโยชน์ต่อคนในชุมชน
3. สำรวจสภาพแวดล้อมทางกายภาพ  สังคม  วัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  ของพื้นที่เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาเพิ่มเติม  เพื่อประสานงานกับกองช่างองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาพื้นที่และปรับภูมิทัศน์ของตำบลต่อไปในอนาคต
4. มีผู้มาใช้บริการเยอะๆ
5. ให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาทางกฎหมายให้ผู้มาปรึกษาให้ได้มากและมีประสิทธิภาพ
6. ผู้มาขอรับบริการได้มาขอรับบริการในจุดต่างๆอย่างทั่วถึง
7. ให้ชาวบ้านได้รู้สิทธิที่มีของตนเองตามกฎหมาย  เพื่อที่จะทราบและร้องขอคำรับรองคุ้มครองจากกฎหมายได้ถูกต้อง  ไม่ใช่รู้เพียงแต่ว่าตนต้องทำตามที่กฎหมายกำหนด
8. บริการตอบสนองความต้องการพื้นฐานๆของคนในพื้นที่
9. กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจในกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยบริการเคลื่อนที่
10. ให้บริการทางด้านกายวิภาคศาสตร์แก่ชุมชนแม่เฉย
11. ให้ความรู้ประชาชน  จัดตั้งกลุ่มชุมชน  และค้นหาปัญหาสุขภาพชุมชน
12. การให้บริการประชาชน  ช่วยเหลือประชาชนเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง
13. ให้ผู้ที่มารับบริการได้ความรู้  เกี่ยวกับ  การได้รับสารไอโอดีน  การบริโภคอาหาร
14. ให้ความรู้เกี่ยวกับสารพิษที่ตกค้างในพืช  ผัก  ผลไม้
15. กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม
16. จะได้มีโอกาสให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของประชาชนทั้งด้านการป้องกัน  ส่งเสริม  ดูแลรักษา  และฟื้นฟู
17. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ  ระหว่างผู้นำชุมชน  อสม.  อบต.  ผู้ใหญ่บ้าน  ตัวแทนสถานีอนามัย
18. คือการทำให้ประชาชนได้และชุมชนได้ประโยชน์ให้มากที่สุด
19. ให้ประชาชน  นักเรียน  และผู้สนใจได้รับความรู้ให้มากที่สุด  และนำโจทย์ปัญหาไปทำการวิจัยต่อไป
20. ให้ประชาชนและผู้สนใจในชุมชนได้นำความรู้ที่ได้รับนำไปประกอบอาชีพเสริมหรืออาชีพหลัก
21. ได้พบผู้ที่ติดเชื้อทางปรสิตที่มารับการตรวจ
22. ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุทกภัยและเรียนรู้การใช้โปรแกรม  Sketch  up
23. เก็บข้อมูลวิจัย

2.  ท่านได้อะไรเกินความคาดหวังในการมาออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ฯครั้งนี้  และเพราะอะไร?
1. ได้รับรู้ถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน  ซึ่งมีบางกลุ่มที่แตกต่างจากชุมชนอื่น
2. ได้รู้จักพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น  รับทราบถึงประเด็นปัญหา  และวิถีชีวิตของคนในชุมชนเชิงลึก
3. เห็นปัญหาที่ควรแก้ไข  และมหาวิทยาลัยช่วยบรรเทาปัญหาได้จากการออกหน่วยในครั้งนี้
4. มีผู้สนใจมารับบริการมากกว่าจุดบริการอื่น  และมีความสนใจที่จะมาขอรับบริการอย่างจริงจัง  คาดว่าผลมาจากการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง
5. การต้อนรับจากพื้นที่ดีมาก
6. เด็กๆสนใจการแสดงและเด็กดองเป็นพิเศษ
7. ได้เสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชน
8. จัดตั้งโครงการการแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชน
9. ชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
10. ได้ร่วมกับผู้นำชุมชนเขียนโครงการชื่อ  ปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนปลอดโรค
11. ผู้ที่ติดเชื้อปรสิตมีจำนวนมาก
12. รับทราบปัญหาอันซับซ้อน
13. ได้ความประทับใจของหน่วยงานวิจัยตั้งแต่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่  ที่ให้การดูแลอย่างดีกับการมาออกหน่วยครั้งนี้  และประทับใจหน่วยบริการเคลื่อนที่ฯหน่วยอื่นๆ
14. อสม.  ที่ไปให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี
15. ประสบการณ์การปฏิบัติงาน
16. ชาวบ้านค่อนข้างให้ความสนใจความรู้ทางด้านวิศวกรรมน้อยมาก  ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเข้าใจ
17. ผู้มารับบริการให้ความสนใจในการผลิตปุ๋ยชีวภาพ  น่าจะมีการสอนกันอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว
18. ผู้มารับบริการเป็นมิตรทุกคน
19. จำนวนผู้ป่วยทางด้าน  ENT

3.  ท่านได้อะไรน้อยกว่าความคาดหวังในการมาออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ฯครั้งนี้  และเพราะอะไร?
1. จำนวนคนที่มาใช้บริการยังมีน้อย
2. ระยะเวลาในการศึกษาปัญหาพื้นที่มีน้อย  เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นไม่มีข้อมูลหรือประเด็นปัญหาเนื่องจากขาดการเตรียมพร้อม  และไม่รู้ว่าทางคณะจะมีบริการ
3. เรื่องอาหารไม่น่าจะจำกัดจำนวน
4. บางที่การบริการบางอย่างก็เข้าถึงคนในพื้นที่ได้ยาก  เพราะงานนั้นไม่ได้เป็นความต้องการที่ทุกคนจะมีกัน
5. อุปกรณ์สถานที่ไม่พร้อมและเสียงรบกวนจากเสียงประชาสัมพันธ์ของส่วนกลาง
6. ปัญหาที่ได้รับเพื่อทำโจทย์วิจัย
7. ร้านที่รับทำอาหารมีคำพูดที่ไม่น่าฟัง
8. ไม่มียารักษาให้กับชาวบ้านเมื่อพบผลการตรวจเป็นบวกโดยเฉพาะยารักษาพยาธิเข็มหมุด  อยากให้คณะเภสัชฯช่วยสนับสนุน
9. จำนวนผู้เข้ารับการอบรม  อาจเพราะการมาออกหน่วยครั้งนี้เป็นวิชาการมากเกินไปและหน่วยก็ไม่ทราบพื้นฐานของผู้อบรมทำให้ติดขัดเล็กน้อย
10. ผู้มารับบริการไม่เข้าใจในการอบรมครั้งนี้  เวลาที่ใช้ในการอบรมมีน้อย
11. ความสามารถในการบริการยังมีน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เข้ารับ
12. ภาชนะใส่อาหารจานเล็กเกินไป
13. สถานที่ควรเหมาะสมในแต่ละหน่วยเช่นถ้าการตรวจการได้ยินควรจะเป็นห้องเงียบที่ไม่มีเสียงรบกวน
14. เวลาให้บริการน้อยเกินไป


4.  ควรแก้ไขปรับปรุงอะไรในการออกหน่วยฯครั้งต่อไป?
1. ทุกคนควรตรงต่อเวลา
2. วางแผนงานที่จะปฏิบัติภารกิจก่อนการปฏิบัติการจริง
3. แจ้งให้องค์การส่วนท้องถิ่นทราบถึงหน้าที่ของคณะที่จะเข้ามาปฏิบัติการในพื้นที่  เตรียมความพร้อมโดยศึกษาข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่มากกว่านี้
4. การติดต่อประสานงาน
5. การประชาสัมพันธ์เข้าใจถึงการบริการของหน่วยบริการเคลื่อนที่  ให้มากกว่าซึ้งอาจไม่จำเป็นต้องที่กลุ่มเป้าหมายจะเป็นระดับผู้นำ
6. เตรียมอุปกรณ์เพิ่มเตรียม  เช่น  เครื่องวัดความดัน  เครื่องชั่งน้ำหนัก
7. เอาเครื่องวัดความดันมาบริการในช่วงลงทะเบียนรอเข้ารับบริการ
8. หลังจากกลับจากออกหน่วยแล้วอยากให้รถบัสจอดส่งที่มอในก่อน
9. การประสานงานในแต่ละหน่วยงาน
10. ร้านอาหารที่มีให้บริการไม่ค่อยดีเลย  อาหารให้น้อยเกินไป
11. ควรมียาพยาธิแจกเมื่อตรวจพบผลบวก
12. ปรับวิธีการให้ความรู้จากแบบวิชาการมากเกินไป  หรือทฤษฎีมากเกินไป  และเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มารับบริการ  และเพิ่มความรู้จากตัวอย่างหรือวีดีทัศน์
13. ควรปรับรูปแบบกิจกรรมให้ตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น
14. การประชาสัมพันธ์เรื่องการงดอาหาร  ก่อนเจาะเลือด
15. ชี้แจงข้อมูลของภาควิชา  CVT  แก่ชุมชนให้เข้าใจถูกต้อง(ไม่มีการตรวจมะเร็งเต้านม)
16. การคำนวณปริมาณผู้มารับบริการ  เพื่อเตรียมตัวอย่างที่จะมาแจกให้พอเพียงกับผู้มารับบริการ
17. อสม. มีน้อยเกินไปบางครั้งทำให้งานล่าช้า

5.  หัวข้อวิจัยที่ควรทำเพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชนในการมาออกหน่วยฯครั้งนี้คืออะไร?
1. แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยบริเวณเชิงเขา  จากสภาวะดินโคลนถล่ม
2. สถาปัตยกรรมชั่วคราวเพื่อพื้นที่ประสบภัย/การวางผังเมืองโดยคำนึงถึงการป้องกันอุทกภัยธรรมชาติ/และการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงการสถาปัตยกรรมเพื่อพื้นที่ศูนย์กลางชุมชนโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
3. สิทธิหน้าที่ของประชาชน  กับการดำเนินงานของรัฐ  และการฝึกอาชีพตามเศรษฐกิจพอเพียง
4. ปัญหาการใช้กฎหมายในชุมชน  เพื่อลดความขัดแย้ง
5. ปัญหารายได้ของคนในท้องที่
6. การศึกษาเรียนรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นและการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
7. การเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับชุมชน  และสร้างศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมของชุมชน
8. การทำเกษตรผสมผสานและเกษตรเชิงดอย  เพื่อชุมชนที่เข้มแข็ง
9. การพัฒนาสินค้าอะไรในชุมชนให้เป็นสินค้าที่สำคัญ
10. การศึกษาภาวะเครียดของประชากรในชุมชน
11. ศักยภาพของชุมชนในการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน
12. การถ่ายทอดเทคโนโลยี  การนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์
13. การติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดในโรงเรียนวัดแม่เฉย  จ.อุตรดิตถ์
14. Egg  positive  rale  of  pin  worm  infectio  of  wat  mae  choa  school
15. การพัฒนาความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัยในชุมชน
16. การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนการป้องกันน้ำท่วมและพัฒนาอาชีพในชุมชน
17. ให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
18. ส่งเสริมให้ชุมชนรวมกลุ่มกัน  ผลิตปุ๋ยชีวภาพจากพืชผักที่เหลือจากเกษตรอย่างจริงจัง
19. สำรวจการได้ยิน  เพื่อแจ้งหน่วยบริการท้องถิ่นแก้ไขขั้นต่อไป

6.  บริการวิชาการที่มหาวิทยาลัยควรจัดให้เพื่อสนับสนุนความเข็มแข็งให้กับชุมชนคืออะไร?
1. สนับสนุนโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนอย่างจริงจัง
2. บริการออกแบบอาคารและบ้านราคาประหยัด
3. ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายในชีวิตประจำวันและกฏหมายพื้นฐาน
4. อบรมเรื่องสิทธิเด็ก  ตามที่กฎหมายรับรอง
5. ความรู้ด้านการอาชีพเสริม
6. การเก็บรวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  รวมถึง  ทางภูมิศาสตร์ทางวัฒนธรรม
7. กีฬาให้มีการสอนมากกว่านี้ในชนิดของกีฬา  และทางด้านสุขภาพ
8. การสร้างความศรัทธาของผู้นำและการเสริมสร้างอำนาจของชุมชน
9. การส่งเสริมการเกษตร  พัฒนาอาชีพเพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
10. การรักษาสุขภาพร่างกายแบบสมบูรณ์  และการส่งเสริมการประกอบอาชีพที่ยั่งยืน
11. การพึ่งพาตัวเอง  และการกินอยู่อย่างพอเพียง
12. การพัฒนาศักยภาพของประชาชนในการพัฒนาชุมชน
13. ให้ความรู้กับคนในชุมชน  ให้คนในชุมชนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเพื่อสามารถทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้นออกมา  เพื่อให้ชุมชนมีโอกาสร่วมกันในการแก้ไขปัญหาของชุมชน
14. การแปรรูปอาหารจากการเกษตร
15. ควรมุ่งเน้นการช่วยเหลือตนเองด้านการเกษตร
16. ร่วมลงทุน+สร้างงานในลักษณะ  ใช้ได้จริง
17. การสร้างแกนนำสำหรับการบริหารพัฒนาอาชีพในชุมชน

7.  ท่านคิดว่าจะนำประสบการณ์ในการออกหน่วยฯครั้งนี้มาปรับใช้ในการสอนหรือไม่  และอย่างไร?
1. นำไปใช้  เพราะการออกหน่วยได้ประสบการณ์ดีๆ  มากมายในแง่การเรียนรู้  และแนะนำผู้อื่น
2. ใช้  เพื่อศึกษาประเด็นปัญหา  สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการสร้างอาคาร
3. ใช้  จะนำมาปรับปรุงในการให้ความรู้ในการออกหน่วยบริการครั้งต่อไป
4. ใช้  คือทำงานให้เข้าถึงความต้องการจริงๆของคนเรา
5. นำไปใช้  เพื่อให้นิสิตเห็นความสำคัญของชุมชนรักบ้านเกิดตัวเอง
6. นำไปใช้เล่าเป็นประสบการณ์การให้คำปรึกษาปัญหาชุมชนและวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ารวมถึงประสบการณ์ดีๆที่ประชาชนเสนอแนะการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์พยาบาล
7. สไลด์ผลบวกบางส่วนใช้ในการเรียนการสอนวิชาปรสิตวิทยา  สามารถนำทัศนะคติและความเชื่อของชาวบ้านเกี่ยวกับการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด  เล่าให้นิสิตฟัง
8. ข้อมูลด้านภาพรวมของโรค  spot  disqrosis  และการบริการ  ENT  ในชุมชนแพทย์จบใหม่ชุมชน

วิภา  เพิ่มผลนิรันดร์ ( 14 ก.พ. 50)    ^_^

.

หมายเลขบันทึก: 78571เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
นิติกรอัตราส่วนไขมันสูง
ขอบคุณครับ

ขอขอบคุณอาจารย์วิภา...

  • ขอแสดงความชื่นชมกับ mobile unit... สาธุ สาธุ สาธุ
  • ยังคงเรียนเสนอเรื่องเดิมคือ น่าจะมีวิถีทางให้นิสิตนักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมบ้างครับ
  • ขอบพระคุณอาจารย์วิบูลย์ค่ะ 
  • ขอบคุณคุณนิติกรอัตราส่วนไขมันสูง
  • เรียน อาจารย์หมอวัลลภ ตามความเดิมที่ท่านอาจารย์วิบูลย์ได้เรียนไว้ดังนี้ค่ะ  "ท่านอาจารย์หมอวัลลภครับ นิสิต มน. มีกิจกรรมทำนองนี้จำนวนมากครับ อยู่ในรูปของชมรมต่าง ๆ แต่ละชมรมมีกิจกรรมเพื่อชุมชนเพื่อสังคมทั้งหมดครับ มีอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมคอยเป็นพี่เลี้ยงด้วย ผมเพิ่งไปเป็นกรรมการคัดเลือกชมรมที่มีผลงานดีเด่นในรอบปีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานี้เอง นินิตทำได้ดีไม่แพ้ mobile unit ของอาจารย์นี้เลยครับ เสียดายที่แต่ละชมรมยังไม่ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ออกมาทาง blog ปีต่อไปจะพยายามส่งเสริมให้มีการนำมา ลปรร. ทาง blog ด้วยครับ" ชาว Mobile รู้สึกดีใจทุกครั้งเลยค่ะ ที่ได้รับคำแนะนำดีๆ จากอาจารย์หมอ และทางเราจะเก็บทุกคำแนะนำไปปฏิบัติและวางเป็นแนวทางต่อไปค่ะ ^^
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท