ชวนเขียน


เขียนได้ด้วยประสบการณ์จริง
การสร้างแรงบันดาลใจในการเขียนเชิงสร้างสรรค์                  การเขียนเป็นทักษะที่ใช้ในการสื่อสารที่สำคัญ นักเรียนควรได้รับการฝึกฝนพัฒนาทักษะการเขียนให้มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงทักษะพื้นฐานด้านการเขียน ได้แก่ เขียนสะกดคำถูก ใช้คำตรงตามความหมาย รูปประโยคถูกต้องขัดเจน เนื้อความสละสลวย ถูกต้องตามรูปแบบการเขียน และใช้สำนวนภาษา ถ้อยคำได้เหมาะสม น่าสนใจ เมื่อนักเรียนมีความรู้และเข้าใจหลักการเขียนแล้ว ควรได้ฝึกฝนให้ดียิ่งขึ้น                การเขียนเชิงสร้างสรรค์เป็นงานเขียนที่ต้องพัฒนาทักษะด้านการใช้ถ้อยคำ สำนวน การศึกษารวบรวมข้อมูลความรู้และประสบการณ์เพื่อใช้ประกอบการเขียนเรื่อง การกำหนดรูปแบบการเขียนเพื่อให้น่าสนใจ และตรงตามความประสงค์ของผู้เขียน รวมทั้งการพัฒนาความคิดและจินตนาการเพื่อสร้างผลงานเขียนออกมาให้น่าสนใจอ่าน                ดังนั้น การพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนโรงเรียนตะคร้อพิทยา ในช่วงชั้นที่ 4 ได้แก่ การเขียนบทความ สารคดี เรื่องสั้น หรือบทกวีนิพนธ์ ได้มีวิธีการพัฒนาทักษะความรู้ที่หลากหลายและฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ดังนี้v    ศึกษาความรู้ดูตัวอย่างผลงาน1.       นักเรียนศึกษาใบความรู้จากแบบเรียน คู่มือครู-นักเรียน และค้นคว้าจากแหล่งความรู้ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต เอกสารต่างๆ โดยครูอธิบายเพิ่มเติม2.       ครูรวบรวมผลงานเขียนที่ดี น่าสนใจ และค้นคว้าหาอ่านได้ง่ายมาให้นักเรียนศึกษาเป็นตัวอย่าง ร่วมกันวิเคราะห์วิจารณ์รูปแบบ สาระ และการใช้สำนวนภาษาเขียน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดแนวคิดในการเขียน3.       ส่งเสริมให้นักเรียนค้นคว้าอ่านเพิ่มเติม เช่น แนะนำวารสาร หนังสือในห้องสมุด เว็บไซด์ที่น่าสนใจ หรือแหล่งข้อมูลที่สามารถอ่านค้นคว้าได้v    สะสมประสบการณ์และทำงานเป็นกลุ่ม1.       ให้นักเรียนได้มีโอกาสเลือกทำงานตามแบบที่ตนชอบหรือเต็มใจ กำหนดรูปแบบงานเขียน จุดประสงค์ และขอบเขตการเขียน จะทำให้เต็มใจทำงานให้ได้ผลดียิ่งขึ้น2.       ฝึกวางแผนปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน ใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อระดมความคิดกำหนดรูปแบบการทำงาน และการรวบรวมข้อมูลประกอบการเขียน3.       ใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ท้าทายความสนใจ เช่น แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น จังหวัดใกล้เคียง หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ศึกษารวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนและเป็นระบบ เช่น เขียนบันทึก ถ่ายภาพ สะสมวัตถุจำลอง ฯลฯv    ลงมือเขียนงานครูให้การส่งเสริม1.       นำข้อมูลมาปรับแปลงเป็นงานเขียนตามแผนและโครงเรื่องงานเขียน2.       ใช้ประสบการณ์ที่พบเห็นเป็นแรงบันดาลใจให้เขียนงานได้อย่างที่วางแผนไว้ หรือตามจินตนาการที่อยากถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้รับรู้3.       ใช้ความรู้ด้านภาษา และคลังความรู้ที่ได้จากการอ่านผลงานมาอย่างหลากหลายมาช่วยเกลาถ้อยคำสำนวน จัดรูปแบบงานเขียนให้น่าสนใจ และมีความสวยงามน่าอ่าน4.       ครูช่วยแนะนำและตรวจทานผลงาน ให้กำลังใจ และหาวิธีเผยแพร่ผลงานนักเรียนเพื่อสร้างแรงเสริม5.       พัฒนาความสามารถโดยเขียนให้สม่ำเสมอ เขียนหลากหลายรูปแบบ และนำผลงานที่เขียนได้ไปใช้ประโยชน์หรือเผยแพร่ต่อไป                 จากการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้น ปรากฏว่านักเรียนสามารถพัฒนาคุณภาพงานเขียนเชิงสร้างสรรค์ได้ดียิ่งขึ้น เช่น นักเรียนชั้น ม. 4 โรงเรียนตะคร้อพิทยา เขียนบทความทั่วไปเรื่อง การศึกษาส้นทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาจังหวัดลพบุรี-สระบุรี : การบูรณาการความรู้สู่งานเขียนเชิงสร้างสรรค์ 5 กลุ่มสาระ  การเขียนบทความ แสดงความคิดเห็นเรื่อง การศึกษาสถานประกอบการค้าพืชไร่ (มันสำปะหลัง) ของนายพิเชฏฐ์ ธรรมสกุลศิริ   (ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านตะคร้อ) นักเรียนชั้น ม. 6 เขียนสารคดีท่องเที่ยวเรื่อง การศึกษาดูงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ที่ไบเทค บางนา และแวะชมพระราชวังบางประอิน จ. พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น                การพัฒนาการเขียน จึงควรให้นักเรียนได้ฝึกฝนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และครูควรกระตุ้นให้นักเรียนเกิดแนวคิดในการเขียนให้หลากหลายยิ่งขึ้น เป็นการจุดประกายด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์    
คำสำคัญ (Tags): #ชวนเขียน
หมายเลขบันทึก: 78472เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท