ทฤษฎี/ปรัชญาที่ควรรู้


ทฤษฎี/ปรัชญา

ทฤษฎีที่มีพื้นฐานจากหลักปรัชญา ที่ควรรู้

1.     มิติวิวัฒนาการ  
Evolutionism Theory (Tylor: 1917) 
  - สังคมอาจเสื่อมสลายได้เช่นเดียวกับร่างกายของมนุษย์ (เด็ก    หนุ่ม    ชรา)
  - ประดิษฐ์กรรมเครื่องปั้นดินเผา    โลหะเหล็ก   พลาสติก   (เพื่อความทนทาน) 
  - ความสัมพันธ์ทางเพศ      ครอบครัว

    S     ระยะแรก :  สมสู่เยี่ยงสัตว์ทำเป็นฝูง  (1)
                         :  แยกกลุ่มตามเพศ (2)
                         :  ใครเป็นพ่อ ใครเป็นพี่น้อง จัดระบบเครือญาติ ตัวอ่อนมีความหมาย (3)
    B
     ระยะกลาง
                     
 : รู้จักจับคู่แต่งงานยังมีลักษณะมากผัวมากเมีย (1)
                       : ชายเป็นใหญ่ ฝ่ายสนอง (2)  หญิงเป็นใหญ่ เป็นฝ่ายสนอง
    C      
ระยะเจริญ
                      
: มีกฎหมายควบคุม
                       : มีวิธีสืบทอดทายาทและสมบัติ
Charles Darwin (1927)
      ความอยู่รอดของผู้ที่เหมาะสม (Survival for the fittest)
       สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลกนี้ จะอยู่รอดได้ก็จะต้องเป็นผู้ที่ธรรมชาติเลือกแล้วว่าแข็งแรงที่สุด ผู้ที่แข็งแรงที่สุดจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับลักษณะของสิ่งแวดล้อมทุก ๆ ลักษณะได้

2.     มิติประวัติศาสตร์
     Franz Boas (1942 : เยอรมนี)
       วิธีการวิเคราะห์โครงสร้างรวม (holistic) คือ การศึกษาวัฒนธรรมของสังคมใด ๆ โดยนำโครงสร้างทุกส่วนมาวิเคราะห์ร่วมกัน ในขณะเดียวกัน และเพื่อความเข้าใจวัฒนธรรมในภาพรวมของสังคมหนึ่ง ๆ

       
วิธีการทางประวัติศาสตร์เชิงเปรียบเทียบ (comparative method) ถือเป็นศาสตร์ทางด้านการปฏิบัติ โดย boas เชื่อว่า วัฒนธรรมถูกกำหนดให้มีรูปแบบต่าง ๆ กันโดยกลุ่มชาติพันธุ์ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และระบบการทำมาหากิน

     3. มิติการแพร่กระจาย  
        (
Diffusionism Theorey :  Alfred  Kroeber (1963)
           วัฒนธรรมแพร่กระจายจากจุดศูนย์กลาง (จุดกำเนิด) ไปตามพื้นที่เท่าที่มันจะไปได้ในเขตภูมิศาสตร์เดียวกันและยุคสมัยใกล้เคียงกัน
              ฉะนั้น  การศึกษาการแพร่กระจายวัฒนธรรมจึงพิจารณาที่
                       1.
การใช้หลักภูมิศาสตร์
                       2. การใช้ประวัติศาสตร์สืบย้อน
                       3. การขุดค้นทางโบราณคดี
                       4. ดูวิวัฒนาการทางวัฒนธร
 4. มิติหน้าที่นิยม
        (
Functionalism  Theorey :  Bronislaw  Malinowski (1942 : โปแลนด์)
           หน้าที่ของวัฒนธรรม คือความสามารถที่จะตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน ของบุคคลในสังคม ความต้องการอาหาร การขับถ่าย ทางเพศ ความสะดวกสบายทางกาย ความมั่นคงปลอดภัย นันทนาการ การติดต่อสื่อสาร การเจริญเติบโตทางร่างกาย
   5. มิติโครงสร้างนิยม 
       (
Structuralism Theorey : Claude  Levi Strauss (1966 : ฝรั่งเศส)
          
วัฒนธรรมเกิดจากระบบความคิดอย่างมีเหตุผล บ่งชี้ได้จาก ระบบศิลปะ ความขลังความศักดิ์สิทธิ์ ระบบศาสนา ภาษาและระบบ สัญลักษณ์ทุกระบบ
 

 
  6.
มิติสัญลักษณ์นิยม
         (
Symbolism Theorem :  Clifford GeertZ (1973)  เสนอไว้ว่า
            1.
ความคิดของมนุษย์เป็นกระบวนการทำงานโดยธรรมชาติและเป็นอิสระจากการทำงานของร่างกาย เช่น ความฝัน
            2. ขบวนการทางระบบความคิดจะมีเหตุและผลในตัวเอง
            3. ระบบความคิดจะบงการ การกระทำของตนโดยแสดงออกทางภาษา (
Verbal action)

            4. ผู้ต้องการสื่อความคิดให้ผู้อื่นรับรู้ต้องจงใจใส่ความหมาย (
Encode)
            5. ผู้ที่จะเข้าใจความคิดของคนอื่น ต้องสามารถตีความ หรือถอดความหมาย คำพูดหรือการกระทำของผู้นั้น
(Decode)  
            6. ผู้สื่อความคิดกับผู้รับความคิดจะเข้าใจซึ่งกันและกันได้ต้องเป็นผู้รู้กฏวัฒนธรรมเดียวกัน เช่น การกวักมือ การไหว้
            7. ระบบสัญลักษณ์ ต้องเป็นการตีความหมายหลายชั้น ตัวแทนความหมายหรือตัวที่ถูกแทนความหมายอาจไม่เกี่ยวกันแต่สามารถแทนกันโดยอิสระ  เช่น แม่โขง-เหล้า
            8. พฤติกรรมทุก ๆ ด้านของมนุษย์เป็นระบบสัญลักษณ์ที่ชัดเจน คือการฟ้อนรำ
   7. มิติของวัฒนธรรมและบุคลิกภาพ
      
Culture and Personality Theorem : Ruth Benedict และ Margaret Mead (1946)
          การแต่งงานและมีลูกหลานทำให้เกิดสถาบันครอบครัว เป็นหน่วยถ่ายทอด อบรมและปลูกฝัง โดยการเลี้ยงดูในวัยเด็ก มีผลต่อบุคลิกภาพในวัยผู้ใหญ่
            แอ่งวัฒนธรรมสร้างบุคลิกภาพของบุคคล ในขณะเดียวกันบุคลิกของบุคคลก็ไปสร้างวัฒนธรรมอีกต่อหนึ่ง
8. มิตินิเวศวิทยา
     Cultural EcoloGy : Julian Steward  (1968)
       สิ่งแวดล้อมมีผลต่อความแตกต่างในการปรับตัวของวัฒนธรรม วัฒนธรรมที่ต่างกันในสิ่งแวดล้อมที่เหมือนกัน จะแสดงรูปแบบของพัฒนาการที่เหมือนกัน
      ระบบนิเวศวิทยา ก่อให้เกิดการพัฒนาทางวัฒนธรรมหรือการพัฒนาในสังคมโดยตรง ดังนี้|
        ระดับ 1 สิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถทางการเกษตรได้
        ระดับ 2 สิ่งแวดล้อมที่สามารถทำเกษตรอย่างจำกัด
        ระดับ 3 สิ่งแวดล้อมที่สามารถทำเกษตรได้อย่างไม่จำกัด
        ระดับ 4 สิ่งแวดล้อมที่สามารถเพิ่มผลผลิตทางเกษตรได้


9. มิติพัฒนาการทางเศรษฐกิจ
   Economic Development Theorem  : Leslie white (1969)
       การพัฒนาเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับแรงงานจากพลังกายของมนุษย์แต่ละคนช่วยกันออกแรงทำงาน...เศรษฐกิจวัฒนธรรม

  
  Devid C. McClelland (1961)
      คนที่ทำอะไร ไม่ได้มุ่งเป้าหมายที่เงินทอง หน้าตา และศักดิ์ศรี แต่ทำเพื่อให้เกิดความภูมิใจในความสำเร็จของชีวิตเท่านั้น...จะเป็นคนที่ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นในสังคม...และความสำเร็จส่วนบุคคลก็จะเป็นความสำเร็จของสังคมในที่สุด
------------------------

แหล่งข้อมูล
   
     อัจฉรา  ภาณุรัตน์,ดร.  ทฤษฎีความรู้โลกาภิวัตน์และภูมิปัญญาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัย
                  ราชภัฎสุรินทร์,   2545  (อัดสำเนา)
       อัจฉรา  ภาณุรัตน์,ดร.  เอกสารคำสอน รายวิชาท้องถิ่นศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์,
                    2549  (อัดสำเนา)

       อัจฉรา  ภาณุรัตน์,ดร.  เอกสารประกอบการบรรยายการประชุม เรื่อง ยุทธศาสตร์
                    การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์,   2549

คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎีปรัชญา
หมายเลขบันทึก: 78462เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 08:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Hello Hansomman.you are best of Ph.D.sstudent

สวัสดี คะอาจารย์

ได้รับความรู้มากเลย คะ จพรอติดตามต่อไปนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท