มองสกว.ย้อนดู นครศรีธรรมราช (11-การผสานงานประเด็นกับพื้นที่)


ทีมงานคุณเอื้ออาจจะต้องช่วยกันจัดทัพใหม่ ด้วยข้อมูลจากส่วนกลางที่จะนำงบSML มาเสริมหนุนงานขับเคลื่อนศก.พอเพียงผ่านทางมท.และภาคีอื่นๆที่จะเข้ามาร่วมสนับสนุนอีกเป็นจำนวนมาก

ในขณะที่สกว.ให้โอกาสในการเรียนรู้เติบโตของแต่ละฝ่าย แต่ก็สร้างกลไกเชื่อมโยงเพื่อการเรียนรู้จากกันและกันซึ่งได้พัฒนามาเป็นรูปธรรมของงานABC Researchหลังจากที่พัฒนาระบบและได้วางฐานงานไว้จนเกิดผลชัดเจนเพียงพอแก่การหลวมรวมแล้ว

การทำงานวิจัยอย่างร่วมมือกันบนฐานพื้นที่(ABC Research)ในกรณีภาคใต้ตอนกลาง5จังหวัดของ   สกว.สามารถนำมาปรับใช้กับการเคลื่อนงานจัดการความรู้ของนครศรีธรรมราช รวมทั้งการผสานการทำงานเข้าด้วยกันเพื่อให้งานวิจัยเข้ามาหนุนงานจัดการความรู้(พัฒนา) ดังนี้

ฝ่ายชุมชนและสังคมรับผิดชอบโดยดร.สีลาภรณ์ บัวสายเคลื่อนงานบนฐานประเด็น7ชุดชานชลาความรู้(platform)คือ1.กระบวนการยุติธรรม 2.การกระจายอำนาจสู่อปท. 3.การจัดการที่ดิน 4.ศก.พอเพียง 5.องค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชน 6.การศึกษา เด็กและเยาวชน 7.ชุดสื่อ อาจารย์ต้องรับผิดชอบงานABCในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้วย แนวงานที่อาจารย์ใช้คือโครงการนำร่องบูรณาการจังหวัดเพื่อแก้ปัญหาความยากจนจำนวน4จังหวัด ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย(ศตจ.มท.)และพอช.ซึ่งคร่อมไปยังพื้นที่ภาคอื่นๆด้วยอีก8จังหวัด รวม12จังหวัด งานของดร.สีลาภรณ์เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้วคล้ายคลึงกับงานขับเคลื่อนKMของนครศรีธรรมราชมาก ซึ่งในปีนี้จะขยายเป็น20จังหวัด

โครงการบูรณาการพื้นที่ของหัวหน้าฝ่ายชุมชนและสังคมจะเข้ามาผสานอยู่ในงานพื้นที่ของฝ่ายอุตสาหกรรม(รศ.ดร.สุรีระ ประเสริฐสรรค์)ที่รับผิดชอบ5จังหวัดภาคใต้ตอนกลาง ซึ่งมีนครศรีธรรมราชเป็นหนึ่งในนั้นด้วย

วันที่26ก.พ.นี้จะมีเวทีเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ซึ่งเมื่อวานหัวหน้าโครงการ5จังหวัดภาคใต้ตอนกลางจากฐานงานโครงการ20จังหวัดของดร.สีลาภรณ์คือ คุณณรงค์ คงมากได้ร่วมหารือกับแกนนำชุมชนที่มีงานส่วนกลางสนใจเข้ามาให้การสนับสนุนอีกจำนวนหนึ่งเช่น มสช. และศอ.สส. เป็นต้น ซึ่งผมจะทยอยเล่าในตอนต่อๆไป (วันที่16ก.พ.ที่ประชุมได้นัดแกนนำจากภาคส่วนต่างๆเข้าพบท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อหารือแนวทางความร่วมมือและการจัดประชุมวันที่26ก.พ.ด้วย)

ผมได้เล่าให้ฟังในตอนก่อนหน้าแล้วว่า งานABC 5พื้นที่ซึ่งอาจารย์สุธีระได้มอบให้รศ.ดร.สมยศ ทุ่งหว้าเป็นหัวหน้าทีมดูแลมีเป้าหมาย และสถานภาพในปัจจุบันอย่างไรบ้าง? ตอนนี้ผมอยากเสนอแนวทางการเชื่อมงานของ2ฝ่ายนี้ ซึ่งคล้ายคลึงกับการเดินงานของนครศรีธรรมราชคือ

ปกครองกับยมนารับ551หมู่บ้านทำแผนชุมชน

กศน.รับ600หมู่บ้านจัดการความรู้

เกษตรรับ400หมู่บ้านหนุนกล่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชน

พช.รับ1,000หมู่บ้าน(600+400) หมู่บ้านศก.พอเพียง

สธ.รับทำตัวชี้วัด(ทั้ง1,551หมู่บ้าน?) นครศรีธรรมราชออยู่ดีมีสุข

ผมเปรียบแต่ละหน่วยงานเหมือนผอ.ฝ่ายของสกว. ทุกพื้นที่มีจนท.ของทุกฝ่ายอยู่แล้ว เช่นใน551หมู่บ้าน ก็มีงานของกศน. เกษตร พช. สธ.อยู่ด้วย เราจะผสานงานของส่วนต่างๆมาสนับสนุนหมู่บ้าน ตำบลอย่างไร? โดยความรับผิดชอบในการดูแลเรื่องแผนชุมชนของปกครองใน 551หมู่บ้าน

ที่จริง เมื่อดูกิจกรรมจัดการความรู้ ที่เติมให้กับนักเรียนในรุ่นต่างๆที่ตั้งไว้3รุ่นคือ400 600 และ551      หมู่บ้านใน 2 ปีที่ผ่านมา ตามความเห็นของผม ไม่ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นเท่าไรนัก แต่

จะเกิดความเปลี่ยนแปลงกับเจ้าหน้าที่มากกว่า

ผมคิดว่า ทีมงานคุณเอื้ออาจจะต้องช่วยกันจัดทัพใหม่ ด้วยข้อมูลจากส่วนกลางที่จะนำงบSML มาเสริมหนุนงานขับเคลื่อนศก.พอเพียงผ่านทางมท.และภาคีอื่นๆที่จะเข้ามาร่วมสนับสนุนอีกเป็นจำนวนมาก

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #แก้จนเมืองนคร
หมายเลขบันทึก: 78433เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท