การจัดการเทคโนโลยีด้วยกฎหมาย(3) ผลกระทบของ Interconnection Charge


Interconnection Charge มีความสำคัญอย่างไร , ผลกระทบกับผู้เกี่ยวข้องในกรณีเก็บค่าเชื่อมต่อโครงข่าย(Interconnection charge)

จากบทความก่อนหน้า เมื่อเราได้ทำความเข้าใจในเทคโนโลยีไปแล้ว(Identify) ว่าการเชื่อมต่อโครงข่ายเป็นอย่างไรและทำเพื่ออะไรแล้ว ขั้นตอนต่อไปเราก็ควรพิจารณาถึงผลกระทบทั้งในด้านดีและด้านไม่ดีของเทคโนโลยีที่อาจจะเกิดขึ้น (justify) เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของเทคโนโลยีและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าใจและนำไปเป็นแนวคิดในการที่จะใช้กฎหมายเพื่อมาส่งเสริมและควบคุมเทคโนโลยีต่อไปได้ (compare with legal framework) 

ตอน ผลกระทบของ Interconnection Charge

Interconnection Charge มีความสำคัญอย่างไร               

การที่จะทำให้ธุรกิจโทรคมนาคมเกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมนั้น ตัวแปรสำคัญตัวหนึ่ง ก็คือ Interconnection charge ซึ่งจำเป็นจะต้องผลักดันให้เกิดขึ้น เพราะในโครงข่ายโทรคมนาคมต่างๆจำเป็นที่จะต้องมีการเชื่อมต่อข้ามโครงข่ายที่ต่างผู้ให้บริการกันเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งการที่จะสร้างวงจรเพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายเข้าด้วยกันจำเป็นต้องใช้เงินในการลงทุนและทุนในการดูแลซ่อมบำรุง จากในอดีต เมื่อกลางปี 2548 จะพบว่าเกิดปัญหาในการโทรข้ามโครงข่ายในช่วงเย็น ที่จะต้องพยายามติดต่อหลายครั้งกว่าจะสามารถติดต่อได้ ซึ่งเกิดจากการแข่งขันกันในด้านโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้าให้โทรออกให้มากที่สุด ในขณะที่มีวงจรเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างผู้ให้บริการมีไม่เพียงพอ ทำให้การติดต่อข้ามโครงข่ายเป็นไปได้ยาก ดังนั้นการเก็บค่าเชื่อมต่อโครงข่ายจึงเกิดขึ้น เพื่อจะเป็นตัวจัดการการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างผู้ให้บริการเพื่อให้การเชื่อมต่อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพเหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากนี้ยังเพื่อให้เกิดการเต็มใจในการขยายวงจรเชื่อมต่อโครงข่ายและไม่พยายามแย่งลูกค้ากันเพื่อให้มีการโทรออกเพียงอย่างเดียวจนลืมเรื่องคุณภาพการให้บริการไป 

ผลกระทบกับผู้เกี่ยวข้องในกรณีเก็บค่าเชื่อมต่อโครงข่าย(Interconnection charge)

ผู้ให้บริการเครือข่าย

- ได้รับรายได้ชดเชยกับต้นทุนที่ใช้ในการสร้างและขยายวงจรเชื่อมต่อไปยังโครงข่ายอื่น

- ต้องหยุดการทำโปรโมชั่นในการติดต่อข้ามเครือข่ายในราคาถูก 

ผู้ใช้งาน

- อาจจะต้องเสียค่าใช้บริการในการติดต่อข้ามโครงข่ายในอัตราที่สูงกว่าค่าติดต่อภายในโครงข่ายเดียวกัน

- ได้รับคุณภาพในการติดต่อข้ามโครงข่าย                          

 สังคมโดยรวม

- เกิดการเชื่อมต่อโครงข่ายโดยรวมทั้งประเทศที่เป็นโครงข่ายการสื่อสารที่ประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในทุกๆด้าน ทั้งด้านคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น, ความคล่องตัวทางเศรษฐกิจและได้เปรียบในการทำการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น 

ภาครัฐ

- ต้องกำหนดกฎเกณฑ์การเก็บค่าเชื่อมต่อโครงข่ายให้เหมาะสมกับต้นทุนที่แท้จริง <div style="border-right: medium none; padding-right: 0cm; border-top: medium none; padding-left: 0cm; padding-bottom: 1pt; border-left: medium none; padding-top: 0cm; border-bottom: windowtext 1pt solid"> - ต้องควบคุมในการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย  </div><div style="border-right: medium none; padding-right: 0cm; border-top: medium none; padding-left: 0cm; padding-bottom: 1pt; border-left: medium none; padding-top: 0cm; border-bottom: windowtext 1pt solid">         ในตอนต่อไปจะเป็นการเปรียบเทียบกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่จะใช้เพื่อจัดการเทคโนโลยี เพื่อทำให้เกิดการส่งเสริมด้านดี(Good things) และ ควบคุมด้านไม่ดี (Bad things) ไม่ให้เกิดขึ้น </div>

หมายเลขบันทึก: 78375เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 03:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท