กาญจนา
นางสาว กาญจนา พัชรวาสนันท์

a-kanjana


สงบนิ่ง.............จิตใจ
 การพัฒนาจิตใต้สำนึกแนวพุทธโดย  นายแพทย์ยงยุทธ์   วงศ์ภิรมย์ศานติ์ การทำงานหนักที่ต่อเนื่องยาวนาน ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้าหมดพลัง (Burn Out) การฝึกสมาธิเพื่อให้เกิดสติ ทำให้จิตเกิดความตั้งมั่น เกิดความเป็นหนึ่งเดียว ทำให้เกิดการผ่อนคลาย  มุ่งฝึกทักษะที่สำคัญ 2 ประการคือ-          ทำอย่างไรให้จิตสงบ-          ทำอย่างไรให้ปล่อยวางได้เมื่อมีอารมณ์ความรู้สึก

ตามปกติคนเราจะมีความเครียดเป็นประจำอยู่ในระดับหนึ่ง เมื่อเกิดการปะทะสังสรรค์ในกิจกรรมต่างๆ ประจำวัน ทำให้ความเครียดพุ่งสูงขึ้น และส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้า การฝึกสมาธิจะช่วยลดความเครียดให้กลับลงสู่ภาวะปกติ (Base line) 

สมาธิในชีวิตประจำวัน สามารถเกิดมีได้ทุกเวลา แม้ในขณะทำงาน วิธีการฝึกสมาธิมีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมและฝึกกันมากอย่างหนึ่งคือ การกำหนดจับลมหายใจตัวเองที่ผ่านเข้าออกทางจมูก  (อานาปานสติ) เนื่องจากเป็นจุดที่ละเอียด ในสภาวะอารมณ์ปกติจะไม่รู้สึกได้                การฝึกสมาธิเป็นการพักผ่อนของกายและจิตโดยที่ไม่ได้นอนหลับ การฝึกสมาธิก่อนนอนและหลังจากตื่นจึงเป็นการดึงความเครียดที่อาจตกค้างให้กลับสู่ Base line อีกครั้งหนึ่ง แต่การฝึกสมาธิทำให้จิตว่างเฉพาะในเวลาฝึก ไม่มีผลยืดยาวไปตลอดระยะเวลาที่เหลือตลอดวันได้ ทำให้อารมณ์ที่พลุ่งพล่านสามารถสงบลงได้ ดังพุทธวจนะที่ว่าอานาปานสติ  ที่ฝึก ทำให้มากแล้ว ย่อมทำให้เกิดความสงบ ประณีต สดชื่น มีความสุข และทำให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วสงบไปโดยพลัน เหมือนฝนใหญ่ที่ตกในสมัยที่มิใช่ฤดูกาล ยังฝุ่นละอองที่ฟุ้งไปในเดือนท้ายฤดูร้อนให้อันตรธานไปโดยพลัน

วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

ปีติ สุข เอกัคคตา
สุข  เอกัคคตา 
อุเบกขา เอกัคคตาตา 
                สมาธิมีระดับขั้น 4 ขั้น ขั้นเริ่มแรกคือ วิตก ได้แก่ ความตั้งใจมั่นที่เกิดขึ้นจากการจับจ้องอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เป็นสภาวะชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ)  อยู่ในระดับแรกขั้นวิตก วิจาร และหากปฏิบัติเสมอ ๆ จะเกิดผลเป็นลำดับไป เกิดความปีติสุขใจ แน่วแน่อยู่กับสิ่งเดียว จนสุดท้ายเมื่อปะทะสังสรรค์กับอารมณ์ต่างๆ จะเกิดความวางเฉย                 สมาธิส่งเสริมให้เกิดสติ คือ ความรู้ตัวในการทำกิจเรื่องเดียวหรือหลายเรื่อง แล้วแต่เจตนา  
คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 78363เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สาธุค่ะ นาทีนี้ และต่อไปคงต้องหมั่นสวดมนต์ภาวนาเพิ่มมากขึ้น 

ผู้ที่ฝึกทำสมาธิ ถือว่ามีบุญ และได้สร้างบุญยิ่งนัก

ศึกษาสมาธิภาวนาวิชชาธรรมกายทุกแง่มุมได้ที่เวป http://khunsamatha.com/

 

ห้องสนทนาสมาธิภาวนาวิชชาธรรมกาย มีวิทยากรให้คำแนะนำวิธีการฝึกสมาธิมากมาย http://forums.212cafe.com/samatha/

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท