กาญจนา
นางสาว กาญจนา พัชรวาสนันท์

a-kanjana


อยากให้อ่าน????
อยากให้อ่านปาฐกถาพิเศษ การจัดการความรู้ : กระบวนการปลดปล่อย มนุษย์ สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข(นำมาบางส่วน)  โดย ศ.นพ.ประเวศ  วะสี                กระบวนการจัดการความรู้ที่ได้เห็นอยู่ในขณะนี้ เป็นการปฎิวัติเงียบ ความรุนแรง การใช้ความรุนแรงบ่อยๆครั้ง หรือเกือบทั้งหมดไม่ใช่การปฎิวัติความรุนแรง แต่การปฏิวัตินั้นต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เปลี่ยนคุณค่าใหม่ ซึ่งสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นของการจัดการความรู้ เห็นได้อย่างชัดเจนว่าได้มีการนำไปสู่ความคิดใหม่ การเปลี่ยนคุณค่าใหม่ๆ ที่สำคัญนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างลึกซึ้ง(tranformation) ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขององค์กรและสังคม เราได้เห็นแล้วว่ากระบวนการใช้กฎหมายต่างไม่นำไปสู่ transformation เพราะขาดการเปลี่ยนแปลงอย่างละเอียดลึกซึ่งเป็นเพียงกลไกลที่นำไปสู่กลโกง ไปสู่อะไรต่างๆ ต่างปัจจุบันตามที่ท่านเห็นการจัดการความรู้เข้าไปสู่การผลักจิตสำนึกนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเองอย่าลึกซึ้ง นำไปสู่การปลดปล่อย นำไปสู่การมีเมล็ดพันธุ์แห่งความดี   คุณธรรมและศีลธรรม 8 ประการ  เราเคารพความรู้ในตัวคน ทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรี แต่การจัดการความรู้ช่วยไปเสริมกระบวนการธรรมชาติ ให้มีการเรียนรู้มีการแลกเปลี่ยน มีการงอกงามไปตามธรรมชาติ  ,มีการหยั่งลึก มีการฟังอย่างลึกซึ้ง ซึ่งจะทำให้เรารู้ความหมายภายในของคนคนนั้น แต่ถ้าเป็นการฟังแบบตื้นๆ จะเป็นการรู้แบบ รู้เปรี้ยง ทำเปรี้ยง อย่างที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันในสังคม  เป็นอารมณ์ เป็นเหยื่อของกิเลสเข้ามาก็ดี  ซึ่งคนเยอรมัน  ได้สร้างทฤษฎีตัวยู  คือ การได้รับรู้อะไรมาอย่าเพิ่งตัดสิน ให้แขวนความรู้นั้นไว้ก่อน และนำมาพินิจพิจารณา  สงบและมีสติ แล้วก็จะเกิดปัญญา  เมื่อเราเกิดปัญญาแล้วจะสามารถเชื่อมโยง อดีต ปัจจุบัน อนาคต ทำให้เห็นอนาคตและกลับไปพิจารณาอดีตปัจจุบันด้วยกระบวนการทางปัญญา ซึ่งพระพุทธเจ้าบอกไว้ว่า ใครพูดอะไรอย่าเพิ่งรับ อย่าเพิ่งปฏิเสธ ให้แขวนไว้ก่อน  หรือ พิจารณาอย่างลึกซึ้ง  มีสติก็จะทำให้ปัญญาเกิดขึ้น  ซึ่งเป็นวิธีการทางบวกที่เรามองความสำเร็จ ทำให้เกิดพลังเพิ่มขึ้น และไม่เริ่มต้นจากความทุกข์  เมื่อเราพูดว่าทุกข์มากความทุกข์ก็จะท่วม แล้วเกิดการทะเลาะกัน ,  เจริญธรรมมะ 4 ประการ คือการเรียนรู้ร่วมกันที่เรียกว่า interactive learning แต่ตามปกติมนุษย์จะไม่เรียนรู้ร่วมกัน มีการเกลียดกันบ้าง  ดังนั้นการที่จะเรียนรู้ร่วมกัน ต้องมีความเอื้ออาทรต่อกัน เปิดเผยต่อกัน  มีความจริงใจต่อกันและ มีความไว้วางใจกันได้ ซึ่งจะมีความสุขมโหฬาร ซึ่งการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ ถือเป็นหัวใจของการจัดการความรู้ , ถักทอไปสู่โครงสร้างใหม่ขององค์กรและสังคม มีทั้งแบบใช้อำนาจและแบบตัวใครตัวมัน แต่การจัดการความรู้ทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างคนกับคน คนกับกลุ่มคน กลุ่มคนกับกลุ่มคน ซึ่งจะทำให้เกิดโครงสร้างใหม่ขึ้น ในองค์กรและสังคม ,  การเจริญสติในการกระทำหรือการรู้ตัว การทำอะไร และฟังอย่างเงียบนิ่ง จะเป็นการเจริญสติ เมื่อเข้าใจละปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เป็นการเจริญสติ ซึ่งพระพุทธเจ้า เรียกว่า  เอกะมรรคโค 
คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 78362เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 00:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท