อะไรและอย่างไรคืองานหน้างานของ กศน.ในโครงการแก้จนเมืองนครฯ


ฉะนั้นเมื่อได้รับข้อท้วงติงดังกล่าว ต่อไปนี้สถานศึกษาในสังกัดแต่ละแห่งจะต้องหันมามองตนเอง วิเคราะห์งานหน้างานตนเองแล้วลงมือปฏิบัติทำตัวเป็นเครื่องมือที่ดีให้กับผู้เข้าร่วมโครงการแก้จนฯ เพื่อจะได้นำหลักฐานและร่องรอยที่เกิดขึ้นมาเป็นประโยชน์ในการศึกษาเรียนรู้หรือพัฒนาคุณลักษณะต่างๆหรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นให้แก่คนจนที่เข้าร่วมโครงการควบคู่ไปด้วย

วันนี้ 13 ก.พ.มีประชุมเครือข่ายการพัฒนาภาคประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราชกันตั้งแต่เก้าโมงเช้า ที่ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนนครศรีธรรมราช เพื่อเตรียมงานใหญ่วันที่ 26 ก.พ มีผู้คนจากหลายภาคส่วนเข้าร่วม ผมลืมไปสนิทเลย มารู้เอาว่ามีประชุมเมื่อน้องพัชนี หรือน้องพัช จาก พอช.โทร.มาตามจึงได้รีบรุดไป เพราะที่ประชุมกับที่ทำงานผมอยู่ไม่ไกลกัน

ผลการประชุมมีความคืบหน้ามากมาย แต่คงจะไม่กล่าวในบันทึกนี้ บันทึกนี้จะกล่าวถึงแต่เรื่องงานของ กศน.ว่าหน้างานของ กศน.คืออะไรเป็นหลัก เพราะอาจารย์ภีม ภคเมธาวี จาก มวล. นั่งติดกับผมกระซิบถามนอกเรื่องประชุมว่า ยังไม่ชัดเจนว่าหน้างาน กศน.ในโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครคืออะไร ในขณะที่งานของ เกษตร พช. เห็นชัดแล้ว เห็นชัดแล้วว่าเขาจะเป็นเป็นเครื่องมือให้คนจนหรือผู้ที่เข้าร่วมโครงการได้ในเรื่องอะไร

ผมเองก็ตอบอาจารย์ภีมไปไม่ค่อยครบถ้วนเท่าไหร่ในขณะนั้น จึงมาค้นเอกสาร พบว่าหน้างานของ กศน.ที่จะต้องทำในปี 2550 ที่สำคัญๆ เช่น 

1.โครงการยกระดับการศึกษาให้กับประชากรวัยแรงงาน

2.โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง

3.โครงการห้องสมุดประชาชนมีชีวิตและแหล่งการเรียนรู้

4.โครงการพัฒนาระบบการเทียบโอน

-การประเมินเทียบระดับการศึกษา                                   

-การประเมินความรู้และประสบการณ์  

-การสะสมความรู้และประสบการณ์  (Credit Bank System)

-ศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำ (Advice Center)

5.โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

6.โครงการพัฒนากระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์

7.โครงการคาราวานเสริมสร้างความอบอุ่นและความเข้มแข็งให้กับ

    ครอบครัวและเยาวชนนอกโรงเรียน

8.โครงการ กศน. เสริมสร้างคุณธรรมนำความรู้สู่ชุมชน

9.โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

    ฯลฯ

สำหรับกลยุทธ์การทำงาน ประกอบด้วย  1.เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและทั่วถึง 2.ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย 3.พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและภูมิปัญญาให้เป็นฐานความรู้ของชุมชน 4.ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมจัดการศึกษา และ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริการ

ส่วนวิสัยทัศน์นั้น ระบุว่า กศน. จะเป็นองค์กรในการส่งเสริมและพัฒนาประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้เป็นบุคคลใฝ่รู้ใฝ่เรียนและแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองตามความต้องการอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

งานที่เป็นหน้างานของ กศน.ดังกล่าวคือสิ่งที่ผสมหรือบูรณาการหรือซ่อนอยู่ในโครงการKM แก้จนนี้ ขณะนี้อาจจะยังแผ่วไปหน่อย คิดว่าผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงคงจะได้หยิบยกมาพูดกันอย่างจริงจังในไม่ช้านี้ ผอ.วิมล วัฒนา ผอ.กศน.จังหวัดประกาศแล้วและย้ำอยู่เสมอว่าจะต้องทำงานสไตล์ KM ทั้งสองส่วนนี้ไปอย่างควบคู่กัน

ฉะนั้นเมื่อได้รับข้อท้วงติงดังกล่าว ต่อไปนี้สถานศึกษาในสังกัดแต่ละแห่งจะต้องหันมามองตนเอง วิเคราะห์งานหน้างานตนเองแล้วลงมือปฏิบัติทำตัวเป็นเครื่องมือที่ดีให้กับผู้เข้าร่วมโครงการแก้จนฯ เพื่อจะได้นำหลักฐานและร่องรอยที่เกิดขึ้นมาเป็นประโยชน์ในการศึกษาเรียนรู้หรือพัฒนาคุณลักษณะต่างๆหรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นให้แก่คนจนที่เข้าร่วมโครงการควบคู่ไปด้วย

บันทึกมาเพื่อ ชาว กศน.นครฯ เรา  จะได้ร่วมกันทำงานหน้างานของพวกเรา ให้เข้มข้นมากขึ้น เป็นชุมชนนักปฏิบัติในแต่ละงานให้ได้

ขอบคุณอาจารย์ภีม ภคเมธาวี ที่ตั้งคำถามนี้

หมายเลขบันทึก: 78330เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2007 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เยี่ยมมากครับ ผมอยากทราบว่าหน้างานหลักของส่วนราชการอื่นๆในทีมจัดการความรู้คืออะไร พี่ชาญวิทย์จากเกษตรพอจะแบ่งปันได้มั้ยครับ?

ผมคิดว่าการทำงานบูรณาการเชิงพื้นที่คือการนำเอาเป้าหมายพันธกิจและแผนงาน/โครงการของแต่ละส่วนราชการมาผสานกำลังกันโดยใช้ฐานพื้นที่เป็นตัวตั้ง ในที่นี้คือหมู่บ้านและตำบล

 แต่ละส่วนราชการมีจุดเด่นหรือภารกิจหลักก็ใช้จุดเด่นนั้นเคลื่อนงานในพื้นที่รับผิดชอบ โดยนำจุดเด่นของเพื่อนในพื้นที่เดียวกันมาผสานเชื่อมโยง ใช้แนวทางจัดการความรู้คือ คำนึงถึงการเพิ่มความสามารถของคนหน้างานทุกระดับเพื่อปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งผลลัพท์สุดท้ายเราจะชนะร่วมกัน เป็นการแข่งขันกันทำงานอย่างร่วมมือกัน

ผมจะเขียนถึงเรื่องนี้อย่างละเอียดในBlogอีกครั้งครับ

โครงการน่าสนใจค่ะ  ดิฉันเห็นความสำคัญของการศึกษานอกโรงเรียนและนอกระบบมากกว่าในระบบ  ด้วยเหตุที่ว่า มีคนส่วนน้อยที่เข้าสู่ระบบ (เว้นระดับประถม) และระบบที่เป็นอยู่ก็มีจุดบกพร่องอยู่เยอะ   การศึกษาควรเป็นเรื่องที่เราเรียนรู้ได้เรื่อยๆตั้งแต่เด็กจนแก่   และควรเป็นช่องทางที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้พัฒนาตนเองตามอัธยาศัย "การศึกษาในระบบ" จึงเป็นช่องทางการศึกษาที่แคบมาก

เคยคิดถึงนโยบายการศึกษาของพรรคการเมืองที่จะให้ทุนเรียนฟรีว่า  ยังคิดในกรอบเดิมๆ  แทนที่จะให้เรียนฟรีทุกคน (รวมทั้งคนรวย)  น่าจะเอางบส่วนนั้นมาสนับสนุนการศึกษาเรียนรู้นอกโรงเรียน  การศึกษาตามอัธยาศัยที่คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้   แน่นอนว่า  ต้องเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นเข้ามาแสดงบทบาทตรงนี้ให้มาก  (เพื่อจะได้มีการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อท้องถิ่นได้)  และในเบื้องต้น ต้องมาส่งเสริมศักยภาพของท้องถิ่นให้สามารถดูแลตรงนี้ได้

ส่วนในระบบ ก็ให้คนรวยจ่ายแพงกว่าคนจน (อย่างญี่ปุ่น)  หรือให้คนรวยได้บริจาคเพื่อการศึกษาแล้วลดหย่อนภาษีให้อย่างที่เป็นอยู่ก็พอใช้ได้ค่ะ

 

อ่านความเห็นของอาจารย์ปัทมาวดีแล้วทำให้นึกถึงภาพเดิมที่มองกศน.ว่าเป็นการจัดการศึกษานอกโรงเรียนในโรงเรียนซึ่งค่อนข้างแคบ

ทราบว่างานของกศน.ปรับเปลี่ยนไปจากแนวทางนั้นมากขึ้นแล้ว แต่ผมเห็นว่ายังเป็นตัวหนังสืออยู่มาก อาจารย์จำนงพอมีเรื่องเล่าที่ทำให้เห็นรูปธรรมจากนามธรรมในตัวหนังสือได้บ้างมั้ยครับ

อ.ภีม ครับ

       คงจะประมาณว่าส่องกล้องมองหาแผนงานโครงการแต่และหน่วยงานในแต่ละพื้นที่ให้เห็น แล้วหลวมทุกสิ่งทุกอย่างเข้ากันกับพื้นที่เป้าหมายให้ได้ด้วยทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่อย่างลงตัวที่สุด ประหนึ่งให้เห็นช้างทั้งตัว ใช่ไหมครับ แยกกันทำ หรือรวมกันทำภารกิจ แต่ต้องมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

       ชุมชนรูปธรรมของงานหน้างาน กศน. คงจะทะยอยมีให้เห็นแน่นอนครับ กำลังนี้ก็เรียกว่าจัดรูป จัดกระบวนกัน "ตั้งลูกขี้" กันอยู่ ที่เห็นผลแล้วก็มีเยอะนะครับ AAR กันดีๆคงจะพบได้มากมาย ต่อไปนี้คงจะได้มีการใช้เวทีเสมือนนี้เล่างานรูปธรรม กศน.กันมากขึ้นนะครับ

อ.ปัทมาวดี ครับ

            ดีใจกับที่อาจารย์มองเห็นคุณค่าของ กศน.ว่าจะเป็นเครื่องมือเสริมสร้างศักยภาพ ท้องงถิ่น ประเทศได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท