วิกฤติการณ์บริโภคยา


ผู้เขียนคิดว่าในยามที่ประเทศใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง ต้องใช้วิธีลดรายจ่ายด้านการบริโภคยาให้เหลือเท่าที่จำเป็น และต้องจัดระบบการบริการสาธารณสุขใหม่

         เช้าวันหนึ่งผู้เขียนได้พบคนไข้รายหนึ่งมาด้วยเรื่องปวดหลัง แต่สิ่งที่น่าสนใจและตกใจมากกว่าอาการที่พาคุณป้ามาหาหมอ นั่นคือในกระเป๋าใบย่อมของคนไข้ที่เอามาให้ผู้เขียนดู บรรจุไปด้วยยาสารพัดชนิดนับรวมได้กว่า 30 ขนาน มาจากโรงพยาบาล3 แห่ง คลีนิกเอกชนอีก 2 แห่งและที่ซื้อจากร้านขายยาอีก 2 แห่ง มีทั้งยา ความดัน ยาแก้เครียด ยาแก้ปวด ยากระดูก ยากระเพาะ ยาแก้เวียนหัวฯลฯ ซึ่งเป็นคนไข้หนึ่งในกรณีศึกษาที่ผู้เขียนพบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นในรอบไม่กี่ปีที่ผ่านมา  เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีการปฏิรูประบบประกันสุขภาพของประเทศขึ้นมาใช้ในปี 2543 เป็นต้นมาโดยผู้ป่วยจ่ายเงิน 30 บาทรักษาได้ทุกโรค และรัฐบาลใหม่ได้เปลี่ยนมาเป็นรักษาฟรีหมดทุกโรคในปัจจุบัน               

         คนไข้ที่ผู้เขียนพบข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการบริโภคยามากเกินไป ผู้เขียนอยากใช้คำว่าวิกฤติการณ์บริโภคยา  เราพบว่าการรายจ่ายเพื่อสุขภาพของคนไทยเพิ่มจากร้อยละ3.8ของ GDPในปี 2523 เป็นร้อยละ 6.1 ของ GDP ในปี 2545 ซึ่งเพิ่มขึ้นเร็วกว่าการเพิ่มของ GDP  โดยในปี 2545 ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งสิ้น 333,798 ล้านบาทคิดเป็น 5,336 บาทต่อคนโดยมีรายจ่ายจากยาเป็นสัดส่วนถึง ร้อยละ 30 และคิดเป็น ร้อยละ 7.5 ของงบประมาณประเทศ  โรงพยาบาลหลายแห่งขาดสภาพคล่อง ต้องเป็นหนี้บริษัทยา  และยังไม่มีทีท่าว่าจะหาได้เงินมาจ่ายได้เมื่อไร  ผู้เขียนเห็นว่าสภาพดการณ์เช่นนี้คงต้องอยู่ต่อไปและมีท่าว่าจะหนักขึ้นเรื่อยๆ  หากปล่อยให้สภาพสาธารณสุขเป็นไปเช่นที่เป็นอยู่               

          ปัญหาดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องคิดหาทางแก้ไขโดยด่วน  ทางแก้นั้นอาศัยควมร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

         ผู้เขียนคิดว่าในยามที่ประเทศใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง ต้องใช้วิธีลดรายจ่ายด้านการบริโภคยาให้เหลือเท่าที่จำเป็น และต้องจัดระบบการบริการสาธารณสุขใหม่              

       ระบบหนึ่งที่ผู้เขียนสนใจและเคยเสนอแนะก็คือ การใช้ระบบเวชระเบียนแห่งชาติ โดยอาศัยเทคโนโลยี่การสื่อสารเข้าช่วย ดังนี้จะทำให้ข้อมูลของผู้ป่วยที่ณ. จุดใดของประเทศสามารถใช้ในการพิจารณาในการตรวจรักษา จ่ายยา ลดการซ้ำซ้อนของการจ่ายและบริโภคยาของผู้ป่วยให้หมดไปได้ จะช่วยให้ประหยัดการใช้ยาได้ส่วนหนึ่ง  ยกตัวอย่างคนไข้ที่ไปรักษาที่จังหวัดเชียงใหม่หากมีระบบเวชระเบียนแห่งชาติhttp://gotoknow.org/blog/Doctorchai2/53751คนไข้จะสามารถไปรักษาต่อที่ หนองคาย ที่หาดใหญ่ได้โดยสามารถเรียกดูเวชระเบียน จะทำให้แพทย์สามารถทราบข้อมูลการใช้ยา ลดการซ้ำซ้อนในการจ่ายยาได้ 

             มีวิธีอีกมากมายในการลดการใช้จ่ายยาของประเทศ และทุกคนต้องร่วมกันคิดหาทางออก ก่อนที่วิกฤติการณ์ยาจะรุนแรงมากกว่านี้ 

หมายเลขบันทึก: 78316เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2007 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมสนับสนุนความเห็นของหมอนะ แต่อยากจะบอกว่าทัศนคติและพฤติกรรมของแพทย์นะสำคัญกว่าเทคโนโลยี่นะครับ บ่อยครั้งเรื่องดี ๆ หลายอย่างมาเจอสังคมไทยเข้าก็เดี้ยงได้นะครับ

ผมเองทำงานอยู่ใน มอ. เมื่อเดือนที่แล้วไปทำฟันที่ รพ. ทันตกรรม มอ. 3-4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันราว 1 สัปดาห์ บังเอิญเปลี่ยนคลีนิคและเปลี่ยนหมอทุกครั้ง ทุกครั้งหมอจะสั่ง X-ray ที่ฟันซี่เดิมและผลการดูฟิล์มก็เหมือนเดิม ทำให้ผมต้องได้รับรังสีเกินจำเป็นและรัฐสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโยเปล่าประโยชน์ ผมไม่เข้าใจว่าทำไมหมอไม่ดูประวัติว่าเคย X-ray มาแล้วหรือยัง นี่เวชระเบียนอยู่ในมือแล้วแท้ ๆ ยังไม่ดูเลย เป็นแบบนี้เวชระเบียนแห่งชาติก็ไร้ประโยชน์

แต่เรื่องที่คุณหมอเสนอมานี้เป็นโครงการช้างที่เกิดได้ยากเพราะต้องใช้เงินเยอะมาก หากไม่มี political will ก็แท้งตั้งแต่เริ่มคิดแล้วละ และถึงหากมีนักการเมืองสนับสนุน โครงการแบบนี้ก็มักเป็นช่องทางการโกงกินของนักการเมืองได้มาก เวรกรรมของประเทศไทยจริง ๆ ที่ต้องอยู่ในวังวนแบบนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท