ความเกี่ยวพัน เด็กป่วย - ผู้ปกครอง - บุคลากรทางการแพทย์


จากความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับเด็ก และซึ่งความเครียดที่เกิดขึ้นมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความคิดและพฤติกรรมในผู้ปกครอง/ผู้ดูแล รวมถึงการรักษาของบุคลากรทางการแพทย์

          เด็กเจ็บป่วยที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาล  ต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์พยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในสถานพยาบาลย่อมมีผลต่อจิตใจของเด็กมากบ้าง น้อยบ้าง เนื่องจากความสับสนวุ่นวายต่างๆ ที่ดำเนินไปรอบตัวเด็กที่ต้องจากบ้าน  บางคนการไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง อาจทำให้เด็กมีความรู้สึกว้าเหว่ บางคนอาจมีอาการเหงาหงอย ไม่สดชื่นเท่าที่ควรเด็กอาจเกิดความเครียดขึ้นได้เป็นผลมาจากปัญหาที่กล่าวมาแล้ว นั่นคือ ความเจ็บปวด ความอ่อนแอ ความหวาดกลัว ความสับสนวุ่นวายความว้าเหว่ ความเบื่อหน่าย และความวิตกกังวล ซึ่งความเครียดมีผลทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่เลี่ยนไปจากเดิมบางคนกลายเป็นเด็กซึมเศร้า บางคนก้าวร้าวเอาแต่ใจตัวเองผู้ปกครองบางคนถึงกับบอกว่าตั้งแต่เด็กป่วยและมานอนโรงพยาบาลเด็กมีนิสัยเปลี่ยนไป  เด็กต้องการการดูแลพิเศษจากครอบครัว  และการที่ต้องดูแลเด็กในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย และต้องอยู่ในกฎระเบียบ  ข้อบังคับของโรงพยาบาลอีกทั้งขาดความเป็นส่วนตัวและความสะดวกสบายจึงมักจะทำให้ผู้ดูแลเกิดความเครียด  จากความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับเด็ก  และซึ่งความเครียดที่เกิดขึ้นมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  ความคิดและพฤติกรรมในผู้ปกครอง/ผู้ดูแล   ซึ่งทางโรงพยาบาล ได้รับรู้ เข้าใจในปัญหานี้ดีและมีการเน้นการดูแลผู้ป่วยเป็นองค์รวม  ได้มีการนำการสร้างเสริมสุขภาพมาใช้กับเจ้าหน้าที่  ผู้ป่วย  ญาติและชุมชน  จึงได้มีการจัดกิจกรรมนันทนาการในเด็กป่วยโดยเจ้าหน้าที่ของงานพัฒนาการเด็กป่วยละมีการทำกลุ่มเสริมสร้างพลังให้แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแล   

         การดูแลด้านจิตใจทั้งเด็กและผู้ปกครองถูกลดความสำคัญลงเพราะต้องให้ความสำคัญกับโรคที่เด็กเป็นมากกว่า  เจ้าหน้าที่ทำงานเป็นไปด้วยความเคร่งเครียดและความคาดหวังในผลงานของตน  อีกทั้งการดูแลไม่ได้ทำเฉพาะตัวเด็กเท่านั้น  จำเป็นต้องให้ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมในการดูแลเด็กและจะต้องทำงานบนความคาดหวังของทั้งผู้ป่วย  ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลและผู้ร่วมงานอื่น ๆ ทำให้บรรยากาศในโรงพยาบาลเต็มไปด้วยความเคร่งเครียดเอาจริงเอาจังกับทุกเรื่องโดยขาดผู้อื่นมาช่วยเบ่งเบาภาระงาน  ทำให้เจ้าหน้าที่หลายคนขาดความสุขในการทำงานและเริ่มทำงานแบบประจำตามหน้าที่ไปเรื่อย ๆ โดยขาดจิตวิญญาณของการดูแล  ประกอบกับช่วงหลังมีการปฏิรูประบบประกันสุขภาพจนมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงปริมาณของผู้ป่วยมากขึ้นส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานหนักมากขึ้น ทำให้มีเวลาให้กับการรักษาพยาบาลต่อผู้ป่วยหนึ่งคนน้อยลง โดยสภาพดังกล่าวอาจก่อให้เกิดปัญหาระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ ซึ่งอาจเกิดปัญหาความรู้สึกไม่พอใจในคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ บางครั้งถึงขั้นก่อให้เกิดการฟ้องร้องกัน
หมายเลขบันทึก: 78139เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2007 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าเห็นใจสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย จากการดูข่าววันนี้ ที่แม่ไปคลอดที่รพ.เอกชนแต่แม่ทำประกันสังคมอีกโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง และรพ.ที่ไปคลอดมิได้ดูแล ทำให้เด็กหยุดหายใจ สมองตายพ่อของเด็กฟ้องประกันสังคมเรียกค่าเสียหาย 52 ล้านบาท ไม่รู้จะได้หรือไม่

น่าเห็นใจวิชาชีพอย่างเรา ทำงานพยาบาลขาก็ก้าวเข้าคุกรอแล้วข้างหนึ่ง  น่าเห็นใจจริงๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท