ระบบแลกเปลี่ยนชุมชน (3).. เบี้ยกุดชุม


การอนุญาตให้ใช้เบี้ยกุดชุมย่อมเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยอาจกำหนดขอบเขตและเงื่อนไขใดๆในการอนุญาตก็ได้ อย่างไรก็ตาม...ในการพิจารณากำหนดขอบเขตและเงื่อนไขดังกล่าวจึงกระทำได้เท่าที่จำเป็น

คุณพิพัฒน์  ยอดพฤติการ  จากสถาบันไทยพัฒน์  มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯ  ส่งข่าวมติชนเมื่อวันที่ 7 กพ. มาให้  เรื่อง กฤษฎีกาไฟเขียว "เบี้ยกุดชุม" ชี้รมว.คลังมีอำนาจอนุญาตได้

ข้อความในข่าวมีว่า:

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เผยแพร่ผลการพิจารณาข้อหารือของกระทรวงการคลัง  กรณี
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  สนับสนุนการใช้เบี้ยกุดชุมเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการแทนเงินตรา  โดยให้ใช้เบี้ยกุดชุมได้เฉพาะภายใน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านท่าลาด  หมู่บ้านโสกขุมปูน หมู่บ้านสันติสุข หมู่บ้านกุดหิน อำเภอกุดชุม  และหมู่บ้านโคกกลาง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร
เพื่อประโยชน์และกระตุ้นกิจกรรมในทางเศรษฐกิจภายในชุมชน ช่วยให้เกิดการออมเงินบาท และช่วยให้สมาชิกช่วยเหลือพึ่งพาและปฏิสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชุมชนเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ แต่มีปัญหาว่าเบี้ยกุดชุมอาจเข้าข่ายเป็นลักษณะ "เงินตรา" ซึ่งอาจจะขัดต่อ พ.ร.บ.เงินตรา 2501 ได้


คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่12) เห็นว่า
ตามมาตรา 9 พ.ร.บ.เงินตรา 2501 ได้บัญญัติห้ามผู้ใดทำ จำหน่าย ใช้หรือนำออกใช้ซึ่งวัตถุหรือเครื่องหมายใดๆ แทนเงินตรา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง


ดังนั้น
การอนุญาตให้ใช้เบี้ยกุดชุมย่อมเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยอาจกำหนดขอบเขตและเงื่อนไขใดๆในการอนุญาตก็ได้  อย่างไรก็ตาม  เนื่องจากการอนุญาตเป็นคำสั่งทางปกครองตามบทนิยามคำว่า "คำสั่งทางปกครอง" ในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539  ในการพิจารณากำหนดขอบเขตและเงื่อนไขดังกล่าวจึงกระทำได้เท่าที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายซึ่งเป็นไปตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

คุณพิพัฒน์บอกว่า อ่านจากข่าว ดูเหมือนว่า เบี้ยกุดชุม ก็ยังผิด พ.ร.บ. อยู่ดี เพียงแต่ให้อำนาจ รมว.คลัง อนุญาตเป็นเฉพาะกรณี

 
ในส่วนของพื้นที่  แม่ปราณีของกลุ่มกุดชุมได้ส่งข่าวผ่านมาทางทีมงานโครงการะบบแลกเปลี่ยนชุมชน ว่า  กระทรวงการคลังอนุมัติให้ใช้บุญกุดชุมได้ (น้องที่คุยด้วยบอกว่า น้ำเสียงแม่ณีบอกถึงความดีใจ) ซึ่งก็ขอแสดงความยินดีด้วย  
 

แต่คงจะเป็นการดีกว่า ถ้า รัฐยอมรับใน สิทธิชุมชน แล้วไม่ต้องขออนุญาตเป็นกรณีๆไป ตราบเท่าที่เงื่อนไขการใช้เงินตราชุมชนอยู่ในขอบเขตที่เป็นไปเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนโดยแท้   

หมายเลขบันทึก: 78091เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2007 07:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 06:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ในฐานะคนทำงานชุมชน มุมมองจากข้างล่างสนับสนุนเบี้ยกุดชุมมานานแล้ว แต่เข้าใจว่ารัฐคิดควบคุมแต่ผ่อนคลายมาหน่อยที่ให้พิจารณาก่อน ก็ควบคุมอยู่ดีแหละ..  ชุมชนถูกควบคุมมาตลอด ยกเว้นวิญญาญคนชนบท

ผมอยากทราบว่าต่อไปเพื่อนๆที่กุดชุมจะเคลื่อนต่อไปอย่างไร ส่งข่าวบ้างนะครับ

ขณะนี้กำลังศึกษารายละเอียดการตีความของกฤษฎีกาค่ะ   ปลายสัปดาห์ น้องๆทีมงานจะลงไปเยี่ยมพื้นที่ค่ะ   มีความคืบหน้าอย่างไรจะส่งข่าวให้ทราบค่ะ

ขอบคุณแทนชาวบ้านกุดชุมสำหรับกำลังใจจากคุณบางทรายค่ะ

สนใจ วิธีการเบี้ยกุดชุม มาก

สนใจเรื่อง บุญกุดชุมมากคะ ตอนนี้กำลังหาข้อมูล และศึกษา เพื่อทำรายงานคะ

คือ อาจารย์ให้เลือกเอง ว่าสนใจเรื่องไหน ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมช่วยแจ้งด้วยนะคะ

จักขอบพระคุณมากคะ ส่งมาที่ [email protected] นะคะ ขอบคุณล่วงหน้าคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท