โรงเรียนพุทธชินราชพิทยาพิษณุโลก
นาย พิทักษ์ โรงเรียนพุทธชินราชพิทยาพิษณุโลก โพธิ์ทอง

การทำงานแบบย้อนเกล็ด


ย้อนเกล็ด

คำว่าย้อนเกล็ด มาจากคำพูดของท่าน ดร.สุวัฒน์ เงินฉ่ำ เมื่อครั้งที่ท่านได้มาติดตามโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้ของโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา ท่านบอกว่าไปมาหลายที่ยังไม่เคยเห็นที่ไหนเขาทำงานย้อนเกล็ดเหมือนที่นี่ โดยทั่วไปการจัดการความรู้ ของสคส.ที่เริ่มด้วย "โมเดลปลาทู" โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ หัวปลา ซึ่งหมายถึงวิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ มีคุณกิจเป็นผู้ดำเนินการและมีคุณเอื้อกับคุณอำนวยคอยช่วยเหลือ ส่วนที่สอง คือ ตัวปลา เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คุณอำนวยจะมีบทบาทกระตุ้นให้คุณกิจ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเป็นความรู้เฉพาะที่มีอยู่ในตัวคุณกิจ ส่วนที่ 3 คือ หางปลา เป็นขุมความรู้ที่ได้จากการสะสมความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในส่วนของโรงเรียนพุทธชินราชพิทยาที่ว่า เป็นการทำงานย้อนเกล็ด คือ เราจะให้บุคลากรของเราเริ่มต้นจากการนำความรู้ที่มีอยู่ หรือความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานที่ประสบผลสำเร็จออกมาเล่าสู่กันฟัง โดยการเขียนเป็นเรื่องเล่า แล้วส่งให้คณะทีมแกนนำมาแยกความรู้หรือสกัดขุมความรู้ที่ได้ออกเป็นหมู่หรือกลุ่ม แล้วนำแต่ละกลุ่มมาตั้งเป็นหัวปลาย่อยๆ ก่อนเป็นการฝึกกลุ่มย่อยเพื่อพัฒนาไปสู่กระบวนการกลุ่มใหญ่ต่อไป โดยแต่ละกลุ่มจะมีคุณกิจ คุณเอื้อและคุณอำนวย คอยช่วยและดำเนินการต่อไป

จากที่เล่ามาไม่ทราบว่าจะเป็นการทำงาน km แบบย้อนเกล็ดได้หรือไม่ขอความกรุณาผู้รู้ช่วยชี้แนะจะขอบพระคุณยิ่ง

หมายเลขบันทึก: 78035เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เข้าใจแล้วค่ะ

อย่าลืมบันทึกไว้นะคะ

เวลาที่สร้างโมเดลการจัดการความรู้ขององค์กรจะได้นำมาเป็นองค์ประกอบด้วยค่ะ

เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท