จิต : ความคิด ในระบบการศึกษา


ระบบการศึกษาที่พูดถึงนี้หมายถึง  ระบบที่มีหลักสูตร  มีผู้สอน  มีผู้เรียน  มีกระบวนการสอน  มีกระบวนการเรียนรู้  มีกระบวนการวัดและประเมินผล  ตามเป้าหมายของหลักสูตร

ความคิด  หมายถึง กิจกรรมของระบบประสาทสมอง  ที่ใช้ความจำรู้จัก   ความจำระลึก  และทักษะการคิด ที่ถูกกระตุ้นด้วยปัญหา ให้แสดงกิจกรรมปฏิบัติการแก้ปญหานั้นจนได้คำตอบ  กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวเกิดในระบบความจำระยะสั้น (STM)   และกิจกรมทั้หมดนั้นจะเผยตัวออกมาผ่าน "ความรู้สึก" (Conscious) ให้ผู้คิดรู้สึกตัวว่าตนกำลังทำอะไรอยู่  และสามารถเผยตัวออกไปสู่สาธารณะได้โดยผ่านอวัยวะการกระทำทั้งหลาย  ซึ่งเรียกว่า "พฤติกรรม"

"ความคิด"ที่ระบุไว้ในหลักสูตรต่างๆเพื่อให้ครูพัฒนานักเรียนในระบบการศึกษาไทย  และทั่วโลกนั้น  มีดังต่อไปนี้

(๑) ความคิดเข้าใจ (Comprehension)  ประกอบด้วยกลุ่มความคิดแปลความ(Translation)   ความคิดตีความ(Interpretation)  ความคิดขยายความ(Extrapolation)

(๒) ความคิดนำไปใช้ (Application)

(๓) ความคิดวิเคราะห์ (Analysis)   ประกอบด้วยการคิดวิเคราะห์หน่วย(Analysis of Elements)   การคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Analysis of Relations)   การคิดวิเคราะห์หลักการ (Analysis of Organizational Principles)

(๔) ความคิดสังเคราะห์ (Synthesis )   ได้แก่  การคิดสังเคราะห์ข้อความ(Production of Unique Communication)    การคิดสังเคราะห์แผนงาน (Production of a Plan)   คิดสังเคราะห์ความสัมพันธ์ (Derivation of a set of Abstract Relation)

(๕) การคิดประเมินค่า (Evaluation)  ประกอบด้วย  การคิดประเมินค่าโดยใช้เกณฑ์ภายใน (Judgement in terms of Internal Evidence)  คิดประเมินค่าโดยใช้เกณฑ์จากภายนอก (Judgement interms of External Criteria)

ความคิดเหล่านี้กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้ในจุดประสงค์ของหลักสูตรการศึกษาของชาติ  ซึ่งครู "จะต้อง" สอน หรือพัฒนาความสามารถเหล่านี้ให้บรรลุเป้าหมายให้จงได้  และเป้าหมายเหล่านี้จะบรรลุได้ก็จะต้อง (๑) ครูจะต้องเข้าใจพฤติกรรมการคิดทั้ง ๕ ประการนี้ (๒) ครูจะต้องสอนหรือพัฒนาพฤติกรรมเหล่านี้    (๓) ครูจะต้องเขียนข้อสอบเป็นเพื่อวัดพฤติกรรมการคิดเหล่านี้  และ (๔) ครูจะต้องประเมินพฤติกรรมเหล่านี้

ถ้าไม่

การศึกษาล้มเหลว !!

คำสำคัญ (Tags): #การคิด#thought
หมายเลขบันทึก: 78011เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์ ดร.ไสว

อ่านภารกิจของครูที่จะต้องสร้างผลสัมฤทธิ์ให้เกิดขึ้นแล้วก็รู้สึกว่า หนัก ตามความหมายจริงๆ...

เจริญพร

ครับ พระคุณเจ้า  สังคมจึงยกย่องให้ครูเป็นปูชนียบุคคลและมีวันครูด้วย

เรียน ดร. ไสว

  เราจะวัดความสามารถของนักเรียน (student abilities)  Complehension, Application, Analysis, Synthesis and Evaluation เราจะวัดได้อย่างไร

นับถือ

สุภาณี

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

เรียน คุณสุภาณี

ขอบคุณมากที่แวะเข้ามาเยี่ยมครับ   ที่ถามไปนั้น  เราสามารถ "วัด" ได้  ด้วยการใช้ "ข้อสอบ, การสัมภาษณ์ หรือชวนสนทนาก็ได้,  การให้เขียนรายงานก็ได้,  การให้ปฏิบัติงานก็ได้" ครับ  การเขียนข้อสอบ  ก็อาจจะเป็นแบบอัตนัยหรือแบบบรรยายก็ได้ หรือเป็นแบบ "ปรนัย" ชนิดเลือกตอบ ที่มีตัวเลือกแบบ  ก  ข  ค  ง  จ  ก็ได้ ครับ  เพียงแต่ว่า  ผู้เขียนข้อสอบจะต้อง "รู้" ว่า  ความเข้าใจนั้นคืออะไร  การนำไปใช้  หรือ  การวิเคราะห์  สังเคราะห์ นั้นเป็นอย่างไร ครับ  มิฉะนั้นแล้วก็จะเขียนข้อสอบไม่ได้  คือมันมักจะไปลงที่วัดจำหมดครับ

ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๔ นั้น  ได้ระบุความสามารถที่ครูต้องพัฒนาเด็ก เรียกว่า มาตรฐาน   แต่ที่เน้นมากคือ  ความคิดเข้าใจ  ความคิดวิเคราะห์  ความคิดสังเคราะห์  และความคิดสร้างสรรค์ครับ  ความสามารถอื่นๆไม่มีพูดถึง !  ผมแปลกใจมากเลยครับ  นั่นของกระทรวงศึกษาธิการแท้ๆ ครับ ?!!

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท