ความเกรงใจ


ผมได้เรียนรู้ว่าบางครั้ง “ความเกรงใจ” ก็ต้องเป็นสิ่งที่ควรระวัง อย่าให้ทีมงานเกิดความรู้สึกนี้กับเรา ต้องเป็นกันเองให้มากขึ้น และคงขยายช่องทางการติดต่อสำหรับคนที่ใหม่สำหรับเครือข่ายไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชนให้มากกว่านี้อีก

     ช่วงเช้าวันนี้ (22 พ.ย.2548) ผมได้พบเจอกับทีมสุขภาพเขตเมืองของ รพ.พัทลุง 2 ท่าน ก็เลยได้ปรินท์บันทึกเรื่อง การสร้างสุขภาพแบบบูรณาการในเขตเมืองพัทลุง ฝากไปให้พี่สวย คนที่เคยได้ฝากสำเนาโครงการพัฒนาสุขภาพชุมชนมาให้ผมช่วยอ่าน และช่วยวิพากษ์ แล้วเงียบหายไป

     ทันทีที่พี่เขาอ่านจบ (มั้ง) ผมก็ได้รับโทรศัพท์นัดหมายเพื่อให้เข้าไปพูดคุยกับทีมงานที่เหลือทันที แต่ยังหาวันที่ว่างสัก 2 ชม.ไม่ได้ แต่ก็วันพรุ่งนี้จะได้พูดคุยกันในเบื้องต้นที่ สสจ.ก่อน โดยพี่เขาจะแวะเข้ามาครับ

     ผมเห็นได้ทันทีความกระตือรือร้นของทีมงานนี้ แต่ห้วงเวลาที่ผ่านมาประมาณ 2 เดือนทำไมไม่ติดต่อกัน ทั้ง ๆ ที่อยู่ใกล้กันนิดเดียว ก็ได้คำตอบจากพี่เขาว่า เคยมาหาแล้ว เห็นทุกครั้งที่ผมอยู่ที่โต๊ะก็จะมีคนพูดคุยอยู่ด้วยจึง “เกรงใจ” ผมคิดว่าความเกรงใจเป็นคุณลักษณะที่ดี แต่อีกมุมหนึ่งวันนี้กลับเห็นเป็นตรงกันข้ามครับ ตกลงความเกรงใจก็เป็นสิ่งที่ไปปิดกั้นโอกาสเสียเหมือนกัน

     ฉะนั้นผมได้เรียนรู้ว่าบางครั้ง “ความเกรงใจ” ก็ต้องเป็นสิ่งที่ควรระวัง อย่าให้ทีมงานเกิดความรู้สึกนี้กับเรา ต้องเป็นกันเองให้มากขึ้น และคงขยายช่องทางการติดต่อสำหรับคนที่ใหม่สำหรับเครือข่ายไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชนให้มากกว่านี้อีก

หมายเลขบันทึก: 7801เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2005 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท