การเงินการธนาคาร


ระบบการเงิน ที่ควรรู้

นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.ได้ตั้งเป้าหมายเบื้องต้นว่าจะขยายสินเชื่อในปี 2550 ไม่เกิน 10% จากที่เคยขยายตัวเกิน 10% หรือ คิดเป็นวงเงินประมาณ 190,000-200,000 ล้านบาทต่อปี ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การชะลอเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อดังกล่าว ไม่น่าจะกระทบกับลูกค้าเกษตรกรมากนัก เพราะ ธ.ก.ส.ยังคงให้ความสำคัญกับการสนับสนุนเกษตรกรให้เข้าถึงแหล่งเงินในระบบ เพียงแต่จะเน้นวิเคราะห์คุณภาพของลูกหนี้ให้เข้มข้น และให้คำแนะนำให้เกษตรกรกู้เงินไปลงทุนที่เป็นประโยชน์มากที่สุด
“เราจะดูให้รอบคอบมากขึ้นว่า ลูกค้าของเราควรจะทำแค่ไหน อย่ากู้มากเกินไป แต่ให้ทำตามสภาพที่ควรจะเป็น และในปีหน้าเราจะเน้นดูแลคุณภาพลูกหนี้ให้มากขึ้น การปล่อยสินเชื่อใหม่ก็จะพยายามไม่ให้กลับมาเป็นหนี้เสีย และจะพยายามให้สินเชื่อไปในทางที่จะก่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้นด้วย”

นายเอ็นนูกล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาสินเชื่อของ ธ.ก.ส. เติบโตจากนโยบายของรัฐบาลค่อนข้างมาก โดยเฉพาะสินเชื่อโครงการจำนำพืชผลทางการเกษตร ที่มีการปล่อยปีละประมาณ 50,000 ล้านบาท ซึ่งหากรวมสินเชื่อจากโครงการที่มาจากนโยบายรัฐบาลทั้งหมด จะมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของสินเชื่อรวม
ขณะที่ในปี 2550 ธ.ก.ส.จะดำเนินธุรกิจโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้ชัดเจนมากขึ้น หลังจากประกาศใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งสิ่งที่ธนาคารจะเน้นเป็นพิเศษ คือ เรื่องของการให้ความรู้ เพื่อยกระดับเกษตรกรให้เข้มแข็งมากขึ้น

โดยแนวทางที่ได้วางไว้ คือ จะแบ่งลูกค้าออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ลูกค้าที่มีคุณภาพอยู่แล้ว ก็จะปล่อยให้เดินหน้าต่อไป แต่จะไม่ปล่อยสินเชื่อให้ขยายตัวมากหรือเร็วจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายในอนาคต


อีกกลุ่มคือ กลุ่มที่มีศักยภาพปานกลาง กลุ่มนี้ จะส่งเสริมในด้านความรู้ในด้าน ต่างๆ เช่น เรื่องการใช้เทคโนโลยี การผลิต การแปรรูป การตลาด ฯลฯ โดยจะประสานความร่วมมือจากเครือข่ายพันธมิตรที่มีอยู่ เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการเข้าไปสนับสนุนเรื่องดังกล่าว

ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มที่อยู่ในภาวะย่ำแย่ ซึ่งอาจเกิดจากประสบปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม หรือภัยธรรมชาติอื่นๆ ในกลุ่มนี้ ธ.ก.ส.จะยังคงให้ความช่วยเหลือ ด้วยการให้พักชะระหนี้ หรือผ่อนผันระยะเวลาในการชำระหนี้ และจะนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 1 คือ ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มรายได้ มาใช้ เพื่อฟื้นฟูให้คนเหล่านี้กลับมาช่วยเหลือตัวเองได้


“ที่ผ่านมา เรามีโครงการ ลด ละ เลิก เพื่อช่วยลดรายจ่าย และมีโครงการส่งเสริมอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ สำหรับลูกค้าที่พักชำระหนี้ตามโครงการพักชำระหนี้เกษตรกร แต่หลังจากหมดโครงการพักหนี้ เราก็ยังเดินหน้าขยาย 2 โครงการนี้อยู่ ซึ่งคิดว่า ต่อไปจะนำมาใช้ กับลูกค้าในกลุ่มที่เผชิญปัญหาภัยธรรมชาติด้วย” 

หมายเลขบันทึก: 77998เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท