เรียนรู้เรื่องวิจัยจากการตรวจเนื้อหาบทความ


ให้ความสำคัญกับ “ตัวเลข” มากกว่าความรู้ของจริง

อ่านบันทึกของคุณธวัช หมัดเต๊ะ (คลิก) แล้วนึกขึ้นได้ เมื่อเร็วๆ นี้ดิฉันได้มีโอกาสตรวจรายงานวิจัยเกี่ยวกับเบาหวานที่มีผู้เสนอผลงานมาเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารภาษาไทยฉบับหนึ่ง อ่านอยู่ ๒ รอบ รายงานมีหัวข้อครบถ้วนตามแบบที่งานวิจัยควรจะมีและตามที่วารสารกำหนด แต่สาระในแต่ละหัวข้อเป็นสิ่งที่ดิฉันให้ความสำคัญ

ดิฉันมีความรู้สึกว่า (อาจผิดก็ได้) ปัญหาการวิจัยไม่ค่อยมีน้ำหนักที่ชัดเจน ผู้วิจัยตั้งธงไว้ก่อนแล้วว่าอยากจะศึกษาตัวแปรอะไร จึงไม่ได้มีการทบทวนค้นหาว่าในเรื่องที่ตนสนใจนั้นมี gap ความรู้อะไรอยู่บ้าง เขียนพอเป็นเหตุผลสนับสนุนสิ่งที่ตนต้องการ กรอบทฤษฎีที่ใช้ อาศัยแค่เพียงคำนิยามของบาง concept เท่านั้น

เจ้าของงานติดอยู่กับข้อมูลเชิงปริมาณ สร้างเครื่องมือไปให้ผู้ป่วยเบาหวานตอบ เอาคะแนนมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย หาความสัมพันธ์ แล้วอภิปรายผลว่าที่มี/ไม่มีความสัมพันธ์กันเพราะอะไร ผู้อ่านไม่ได้รู้อะไรมากไปกว่าค่าตัวเลขความสัมพันธ์ เสียดายข้อมูลดีๆ ที่ไม่ได้เก็บจากผู้ป่วย ไปให้ความสำคัญกับ “ตัวเลข” มากกว่าความรู้ของจริงที่จะบอกปรากฏการณ์เรื่องนั้นๆ

มีข้อสังเกตอีกอย่างคือไม่มีการบอกข้อจำกัด (limitation) ของงานวิจัย ซึ่งข้อจำกัดนี้มีผลต่อการตีความผลการวิจัยที่ได้ (เรื่องนี้เจอบ่อย)

งานวิจัยที่ขาด “ความลึก” ทำให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ implication อ่อนไปมากๆ แทบจะไม่เกี่ยวกับผลการวิจัยที่ได้เลย เรียกว่าไม่ต้องทำวิจัยก็เสนอแนะแบบนี้ได้

แบบนี้น่าจะเป็นปัญหาเหมือนกับที่ผู้ให้คำปรึกษา KM Thesis ในงาน NKM II ให้ความเห็นไว้นะคะ

วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐

คำสำคัญ (Tags): #วิจัย#เบาหวาน
หมายเลขบันทึก: 77975เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียน อ.วัลลา 

หนูเป็นนศ.ป.เอก คณะพยาบาลศาสตร์ มข. ค่ะ และหนูได้ติดตามงานของอาจารย์มาบ้าง แต่พึ่งจะมีโอกาสได้เข้ามาศึกษาความรู้จาก web นี้ หนูทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาชุดข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวานในภาคประชาชน ซึ่งผลการวิจัยที่ได้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานและคนในชุมชนชนบท (อีสาน) ซึ่งหนูคงจะต้องศึกษาและขอรับคำชี้แนะจากท่านอาจารย์  ในส่วนที่เกี่ยวกับงานมหกรรม KM เบาหวาน เมื่อหนูได้อ่านเจอแล้ว รู้สึกว่าน่าสนใจและน่าติดตามมาก หากเป็นไปได้ หนูมีความปรารถนาที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่ได้มีโอกาสช่วยงานของอาจารย์ ซึ่งจะทำให้หนูมีโอกาสได้ช่วยเหลือผู้ป่วยเบาหวานและประชาชนในประเทศ

ขอบพระคุณค่ะ  ปิยะธิดา

งานวิจัยของคุณปิยะธิดาน่าสนใจมาก ถ้ามีโอกาสคงจะเล่าให้รู้บ้างนะคะ

และยินดีที่คุณปิยะธิดาจะช่วยในการจัดงานมหกรรม KM เบาหวาน

อาจารย์คะ หนูเพิ่งจะได้รับมอบหมายจากท่านคณบดี (คณะพยาบาลศาสตร์ ม.สยาม) ให้มีส่วนร่วมในการประชุมวิชาการ การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในศตวรรษที่ 21 ณ โรงพยาบาลเทพธารินทร์ โดยหนูได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมอภิปรายในหัวข้อ "ความสำเร็จ การสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเรื้อรัง"  หนูรู้สึกดีใจมากที่จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจะได้รับการชี้แนะจากท่านอาจารย์ค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท