มองสกว.ย้อนดู นครศรีธรรมราช (8)


เวทีเสมือนตามแนวคิดการทำABC KM4นครศรีธรรมราชว่าม.วลัยลักษณ์สามารถทำภารกิจนี้ได้ตามแนวคิด1มหาวิทยาลัย1จังหวัดของอาจารย์ประเวศ วะสี

และเพื่อไม่ให้เบื่อกับแผนงานKMของภาคราชการที่นำเสนอต่อเนื่องมานาน ผมจะนำแนวคิด ยุทธศาสตร์ กรอบการทำงานและสถานภาพในการประสานงานของงานวิจัยABC Research 5จังหวัดภาคใต้ตอนกลางที่มีนครศรีธรรมราชอยู่ด้วยมานำเสนอบ้าง เพราะทั้ง2งานนี้มีแนวคิดตรงกันในเรื่องบูรณาการโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน แต่เนื่องจากเป็นเอกสารที่มีเนื้อหามากจึงขอยกเอาแนวคิด แนวทางการทำงาน ยุทธศาสตร์และเป้าหมายมาเสนอพอสังเขป

แนวคิด

-จากงานชุมชนยกระดับสู่ศก.กลุ่มจังหวัด

-เป็นการวิจัยและพัฒนาที่นำไปสู่ศก.พอเพียง

-การพัฒนาศก.แบบเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่า

-การสื่อสารให้ทุกภาคีเห็นเป้าหมายใหญ่และเป้าหมายย่อยร่วมกัน และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคีที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคีที่มีอำนาจหน้าที่และทรัพยากร

แนวทางการทำงาน

-ใช้ข้อมูลเป็นฐานการพัฒนาและการลปรร.

-เสริมสร้างการเรียนรู้ชุมชนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันผ่านกระบวนการวิจัยและถอดบทเรียน

-สร้างผู้นำและองค์กร ทักษะการบริหารจัดการกลุ่มและการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

-วิจัยเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลง

-วิจัยเพื่อสร้างความร่วมมือและลดความขัดแย้ง

-ต่อยอดงานวิจัยไปสู้การปรับปรุงให้เกิดการปฏิบัติได้จริง

ยุทธศาสตร์และเป้าหมาย

ด้านข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผนและตัดสินใจ

ด้านการผลิต

ด้านการศึกษา

ด้านการท่องเที่ยว

สถานภาพการประสานงานของสำนักประสานงานชุดโครงการ "การวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่5จังหวัดภาคใต้" รับผิดชอบโดยรศ.ดร.สมยศ ทุ่งหว้า และคณะจากมอ.มีดังนี้

1.ทำความร่วมมือกับมอ.จัดตั้งสำนักงานระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(DSS)

2.สรรหาทีมวิจัยและนักวิจัยทำวิจัยในประเด็นต่างๆ กำลังพัฒนาโครงการทั้งหมด13โครงการ (มีโครงการพัฒนาข้อมูลแผนแม่บทชุมชนสู่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(DSS)เพื่อพัฒนาระบบศก.พอเพียงพื้นที่5จังหวัดภาคใต้(นครศรีฯ ตรัง สงขลา พัทลุง สตูล)ของคุณณรงค์ คงมากอยู่ด้วย ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานKMเมืองนครค่อนข้างมาก

3.พิจารณาเค้าร่างโครงการที่เป็นผลมาจากการประกาศโจทย์วิจัย 23 โครงการ

4.ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆของสกว.3โครงการ

5.มี2ชุดโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนาแผนการดำเนินงานและงบประมาณ

จะเห็นว่ามีงานวิจัยเข้ามาซ้อนทับงานพัฒนาเชิงพื้นที่ในลักษณะที่เหลื่อมกันอยู่ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยและการพัฒนาในสายอื่นๆอีกที่ผมจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไปเพื่อเชื่อมโยงภาพการพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีความซับซ้อน เพื่อให้ภาคีพัฒนาจากทุกภาคส่วนได้ใช้เป็นเวทีสื่อสารเชื่อมโยงและหนุนช่วยกัน

ผมตั้งใจจะสร้างเวทีเสมือนตามแนวคิดการทำABC KM4นครศรีธรรมราชมานานแล้ว ประสบการณ์ในหลายวงการและการมีเครือข่ายกัลยาณมิตรจะช่วยให้เวทีนี้เป็นประโยชน์กับหน่วยงาน/องค์กรและบุคคลที่สนใจจะเข้ามาพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผมเห็นว่าม.วลัยลักษณ์สามารถทำภารกิจนี้ได้ตามแนวคิด1มหาวิทยาลัย1จังหวัดของอาจารย์ประเวศ วะสี ผมจะพยายามต่อภาพอื่นๆที่มีอยู่ โดยเฉพาะในซีกองค์กรชุมชนเพื่อให้เห็นขบวนการพัฒนาที่มุ่งสู่เป้าหมาย ด้วยยุทธศาสตร์และกลไกการจัดการที่แตกต่างหลากหลาย

 

 

คำสำคัญ (Tags): #แก้จนเมืองนคร
หมายเลขบันทึก: 77963เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณที่เขียนบันทึกนี้นะคะ เพราะทำให้คนนอกเห็นเป้าหมายทิศทางชัดเจนขึ้น   เดิมเห็นแต่รูปแบบการทำงานซึ่งผู้ติดตามอยู่ห่างๆอย่างดิฉัน ยังต่อภาพทั้งหมดไม่ติด

เรื่องการพัฒนาพื้นที่ ดิฉันได้มีโอกาสศึกษากรณีของเมืองโออิตะ  เมืองต้นแบบโครงการโอทอปของไทย วิสัยทัศน์ของเมือง คือ มีภาคชนบทอยู่คู่กับเมืองทันสมัย 

โครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OVOP) ของโออิตะ มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มรายได้ให้จังหวัด (ไม่ใช่รายได้ ยอดขาย ของกลุ่ม)  โดยมีหลักการสามประการคือ   จากท้องถิ่นสู่สากล  พึ่งตนเอง และพัฒนาคน   โครงการนี้ ไม่มีการให้ดาว เพราะนั่นจะเป็นการคัดเลือกผู้ชนะ  ที่ทำให้เกิดผู้แพ้ซึ่งก็คือชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่ง   เขาต้องการให้ชาวบ้านทุกกลุ่มเติบโตได้  ผลิตต่างกัน และหนุนเสริมกัน  ตัวชี้วัดที่สำคัญของ OVOP จึงเป็นจำนวนผลิตภัณฑ์ดีๆในจังหวัด ยิ่งมากยิ่งดี  (ยังมีรายละเอียดน่าเรียนรู้อีกมากค่ะ)

OVOP เป็นเพียงหนึ่งกลยุทธ์ที่ดึงภูมิปัญญาออกมาหนุนเสริมต่อด้วยระบบงานวิจัยและพัฒนา โดยสถาบันวิจัยในพื้นที่ (ของนครฯน่าจะเป็นมหาวิทยาลัยได้)

อีกด้านหนึ่ง โออิตะ ส่งเสริมการเป็นเมืองเรียนรู้ ด้วยการมีพิพิธภัณฑ์ไม้ไผ่  ที่รวบรวมผลงานสุดยอดของเครื่องจักรสานจากไผ่ และแนะนำไม้ไผ่ชนิดต่างๆที่มีอยู่ในญี่ปุ่น   โออิตะสร้างสวนเกษตร ไม่ใช่เฉพาะเพื่อท่องเที่ยว แต่เพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้  ทดลอง  ทำกิจกรรมค่ายด้านการเกษตร  วัตถุประสงค์เพื่อให้คนรุ่นใหม่เห็นคุณค่าของภาคเกษตรแบบดั้งเดิม และแบบใหม่ เช่น Hydroponic ที่ไม่ต้องใช้ดินปลูก

ในความทันสมัย  โออิตะ พยายามสร้างเมืองสมัยใหม่ที่ใช้วิทยาศาสตร์เป็นฐาน   ประสบความสำเร็จในการสร้างสนามกีฬาใหญ่ และได้เป็นสถานที่แข่งขันฟุตบอลโลกเมื่อครั้งญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพร่วมกับเกาหลี

ดิฉันคิดว่า นครฯมีของดีอยู่มากที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูงค่ะ

 

 

 

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ข้อคิดเห็นดีๆครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท