นำเสนอ powerpoint ให้น่าดู (ตอน 3)


 การใช้สี

ตัวอักษรที่ติดกันเป็นพรืดหรือสีกลืนไปกับพื้นสไลด์ทำให้ผู้ฟังใช้เวลาไปกับการ

พยายามอ่านหรือคาดเดาว่าผู้นำเสนอเขียนว่าอย่างไร โดยมิได้ใส่ใจว่าผู้นำเสนอพูดอะไรตัวอักษรต้องใหญ่ มีสีแตกต่างจากสีพื้นแผ่นสไลด์ (background) แต่ต้องไม่สะท้อนแสงหรือสีจัดจ้านแสบตา เนื่องจากในห้องนำเสนอจะมืดหรือมีไฟสลัว สีที่ใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลหรือผลการศึกษาต่างกลุ่มกันควรเลือกใช้ให้ต่างกันชัดเจน แต่ควรระวังเรื่องสีเขียวกับสีแดง ซึ่งไม่ควรนำมาเปรียบเทียบกัน เนื่องจากมีผู้คนที่ตาบอดสีจะแยกแยะสีทั้งสองยาก กรณีที่ผู้นำเสนอแสดงเป็นภาพขาวดำ ควรใส่ลวดลายช่วยในการเปรียบเทียบด้วย อาทิเช่น แผนภูมิแท่ง เป็นต้น สำหรับภาษาอังกฤษ ควรใช้อักษรตัวใหญ่(Capital letter) สลับกับตัวเล็ก (small letter) จะช่วยให้อ่านง่ายมากกว่าใช้อักษรตัวใหญ่ทั้งหมด การนำเสนอด้วยตาราง แผนภูมิ รูปภาพ กราฟการใช้รูปภาพ แผนภูมิ ตาราง หรือกราฟต่าง ๆ ช่วยสื่อความหมายได้ดีกว่าจูงใจกว่าตัวอักษร และบางครั้งช่วยประหยัดเนื้อที่ด้วย สิ่งที่ควรคำนึงถึงเสมอคือความเหมาะสมของข้อมูลหรือเนื้อหา รวมถึงกฎกติกาและความถูกต้องตามหลักวิชาการของสาขาวิชานั้น ๆอาทิเช่น กราฟเส้นเหมาะสำหรับการเสนอแนวโน้มของสถานการณ์หรือโรค แผนภูมิแท่งเหมาะกับการเปรียบเทียบกลุ่มต่าง ๆ รูปภาพเหมาะกับการแสดงร่องรอยโรค หรือสิ่งแวดล้อม หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น การใช้หัวเรื่อง หมายเหตุท้ายตาราง สถิติต่างๆและอักษรย่อต้องถูกต้องตามหลักวิชาการด้วยรียบง่ายการใช้สีสรร รูปแบบสไลด์ที่ตระการตา ประดับประดาด้วยรูปภาพหรือการ์ตูน

ต่าง ๆ บางทีอาจเป็นผลร้ายมากกว่าดี เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจจะดึงดูดความสนใจของผู้ฟังออกจากเนื้อหาที่ผู้นำเสนอพยายามจะนำเสนอ อีกประการหนึ่ง งานศิลป์เหล่านี้มิได้เป็นสิ่งทดแทนเนื้อหาวิชาการที่ผู้นำเสนอต้องการถ่ายทอด

  
คำสำคัญ (Tags): #เทคนิคนำเสนอ
หมายเลขบันทึก: 77948เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท