ว่าด้วยเทนนิสและGrand Slam : เก็บตกความรู้จากตักสิลาเกมส์


“เทนนิส” (Tennis) เป็นภาษาฝรั่งเศส เรียกว่า เทนซ์ (Tenez) มีความหมายว่า “จะเอาไป” หรือ “เอาใจใส่” หรือ “ระวัง”

นี่คือครั้งแรกของการได้มีโอกาสเป็นคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเทนนิส   แต่ครั้งแรกของผมกลับต้องกระโจนลงสนามใหญ่เลยก็ว่าได้  เพราะครั้งนี้เป็นการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่  28  (ตักสิลาเกมส์)  ซึ่งจังหวัดมหาสารคามเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ได้รับการมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเทนนิส  โดยมี ผศ.ทวีศิลป์  สืบวัฒนะ  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นหัวเรือใหญ่  พร้อมขุนพลคู่ใจอย่างอาจารย์สุนทร  เดชชัย ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาวิจัยที่ขับเคลื่อนอย่างแข็งขัน   ซึ่งทั้งสองท่านก็เล่นกีฬาเทนนิสอยู่เป็นนิจและมีเทนนิสเป็นกีฬาในดวงใจมาอย่างยาวนาน </p><div style="text-align: center"></div>

สำหรับผมต้องออกตัวว่า  ไม่เคยเล่นเทนนิสเลยแม้แต่ครั้งเดียว  เคยบ้างก็แค่วิ่งเล่น หรือไม่ก็เดินเตร่ในสนามตามภารกิจต่าง ๆ  กระนั้นก็ชื่นชอบที่จะชมเกาะติดจอทีวีดูการถ่ายทอดสดเทนนิสในรายการสำคัญ ๆ เสมอ  แต่ถ้าจะให้เกาะสนามดูสด ๆ ในกลางแจ้งนั้นผมไม่พึงใจนัก   เพราะเป็นลูกอีสานตัวจริงเสียงจริง  แต่ไม่มีภูมิต้านทานต่อความเริงแรงของแดด  

</span><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การแข่งขันครั้งนี้,  ท่านคณบดีฯ  ทุ่มแรงกายแรงทรัพย์สู่การจัดการแข่งขันอย่างเต็มที่  จัดสวัสดิการล้นหลามบริการต่อนักกีฬา ผู้ควบคุมทีม เผื่อแผ่แบ่งปันไปยังผู้ชมอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง  เริ่มตั้งแต่ข้าวต้มทรงเครื่องในมื้อเช้า  อาหารเที่ยง  กาแฟ โอวัลติน  ผลไม้  น้ำอัดลม ขนมนมเนยอย่างครบครัน  จนใครต่อใครร้องทักว่า  บริการดีเยี่ยมเช่นนี้เจ้าภาพครั้งต่อไปมีอันต้องหนักใจเป็นแน่แท้ !</p>  <div style="text-align: center"></div>

(คณะผู้บริหารสถาบันการศึกษาและฝ่ายจัดการแข่งขันเข้ามาเยี่ยมชม)

</span><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นอกจากนี้แล้ว  คณะทำงานยังตกแต่งสถานที่ได้อย่างเหมาะสมและงามตา  มีกระถางดอกไม้หลากกระถางประดับเรียงรายรอบสนามอย่างกลมกลืน  ที่สำคัญที่ดูจะแตกต่างไปจากทุกครั้งก็คือ  การจัดนิทรรศการข้อมูลการกำเนิดกีฬาเทนนิสและประวัติศาสตร์การแข่งขันเทนนิสในรายการ Grand  Slam  รวมถึงการฉายเทปการแข่งขันรายการต่าง ๆ ให้ชมอย่างต่อเนื่อง  ตลอดจนการจัดนิทรรศการและจัดฉายวีดีทัศน์พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในประเด็น “60  ปีเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม  ซึ่งกิจกรรมในมุมนี้ได้รับความสนอกสนใจจากผู้คนเป็นอย่างมาก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>และทั้งหมดต่อจากนี้คือการประมวลสาระที่ได้จากการจัดนิทรรศการดังกล่าว  เป็นมุมแห่งความรู้ที่เกิดขึ้นกับตัวผมอย่างที่ไม่เคยได้รู้มาก่อน  เป็นอานิสงส์ทางปัญญาที่ท่านคณบดีได้แปลถอดความมาจากเอกสารต่างประเทศ  จึงนำมากำนัลต่อเราชาว G2K  เผื่อบางท่านอาจจะยังไม่เคยได้รู้มาก่อน  หรือถ้ารู้แล้วก็ถือซะว่า  มาทบทวนความรู้กันอีกสักหน   </p><div style="text-align: center"></div>

 (นิทรรศการ,ฉายวิดีทัศน์ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาพสัญลักษณ์ของ Grand  Slam)  

</span><p align="center"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เทนนิส  (Tennis)   เป็นภาษาฝรั่งเศส  เรียกว่า เทนซ์  (Tenez)  มีความหมายว่า  จะเอาไป  หรือ เอาใจใส่  หรือ ระวัง  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>การเล่นเทนนิสกำเนิดครั้งแรกในประเทศอังกฤษ  โดยปี ค.ศ. 1873 (2416)  พันตี Walter C. Wingfield  ได้ดัดแปลงการเล่นเทนนิสจากเดิมเล่นกันในร่มไปสู่สนามกลางแจ้ง  พร้อมทั้งนำเอาแร็กเกตแบดมินตันมาดัดแปลงเป็นไม้ตีเทนนิสและลงเล่นในสนามหญ้าจึงเป็นที่มาของการเรียกสนามว่า ลอนเทนนิส  (Lawn Tennis)  </p><p></p><p>ต่อเมื่อปี ค.ศ. 1877  (2420)  จึงมีการจัดแข่งขันเทนนิสในลอนเทนนิสครั้งแรกของโลกที่สนาม Wimbledon  ประเทศสหราชอาณาจักร  โดยผู้ชนะเลิศครั้งนั้นคือ  Spencer  Gore  จากนั้นกีฬาเทนนิสได้พัฒนาเข้าสู่การเป็นกีฬาอาชีพเมื่อปี ค.ศ. 1926  (2469)  โดย C.C.Pyle  เป็นผู้จัดแข่งขันขึ้นที่อเมริกา  </p><p></p><p>ปัจจุบันการแข่งขันเทนนิสเป็นที่นิยมทั่วโลกมีแมตซ์แข่งขันใหญ่ที่ถือว่าเป็น Grand  Slam  4  รายการ  คือ     </p><p>    Wimbledon   เริ่มปี ค.ศ.  1877  (2420)   ประเภท Grass  court       </p><p>    US open   เริ่มปี ค.ศ.  1881  (2424)  ประเภท  Hard  court     </p><p>    French  open  เริ่มปีค.ศ. 1891  (2434)   ประเภท  Clay  court     </p><p>    Australian  open  เริ่มปีค.ศ. 1905 (2448)  ประเภท  Hard  court  </p><div style="text-align: center"></div>

(ผอ.สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการเข้าเยี่ยมชม)

ไม่เพียงเท่านี้,  แต่ยังมีนิทรรศการภาพถ่ายของนักเทนนิส  10 อันดับแรกของโลก รวมถึงภาพของนักเทนนิสขวัญใจชาวไทยอย่าง ภาราดร  แทมมี่และวีรบุรุษเทนนิสในเอเชียนเกมส์ครั้งล่าสุดอย่าง ดนัย  อุดมโชค  แต่ที่ฮือฮากันไม่น้อยหน้าก็คือ  การนำลูกเทนนิสและกล่องเทนนิสที่ใช้แข่งขันใน Wimbledon  และ   French  open  มาโชว์ไว้ให้ดูชมอย่างน่าตื่นตา  

</span><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นี่คือมุมความรู้ที่เกิดขึ้นกับผมนอกคอร์ตเทนนิส  เป็นผลพวงทางปัญญาที่ได้รับจากการเป็นส่วนหนึ่งของทีมจัดการแข่งขันกีฬาเทนนิสในตักสิลาเกมส์ครั้งนี้  และที่น่าภูมิใจก็คือ  คำชมจากนักกีฬาและโค้ชอีกหลายท่านว่ามุมนี้คือมุมความรู้ที่ช่วยให้รู้เรื่องประวัติศาสตร์เทนนิสของโลกได้ชัดเจนขึ้น  หลังจากที่รู้เพียงผิวเผินมาอย่างยาวนาน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div>

</span></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">     (นิสิต มมส ร่วมเชิญเหรียญรางวัล)</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p> 

คำสำคัญ (Tags): #ตักสิลาเกมส์
หมายเลขบันทึก: 77932เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
ถือว่า จัดงานได้อย่างยอดเยี่ยมเกินความคาดหมายจริงๆครับ เมื่อวานแค่เห็นบรรยากาศบางส่วน ยังรู้สึกคึกคักตามไปด้ว อยากไปนั่งชมติดเกาะขอบสนาม แต่นายบอนอยากไปดูตะกร้อมากกว่า

นิทรรศการจัดได้เยี่ยมจริงๆครับ โปสเตอร์สวยมากๆ

คงต้องไปดูด้วยตาเสียแล้วครับสำหรับกล่องเทนนิสและลูกเทนนิส ที่ใช้แข่งขันใน Wimbledon  และ   French  open
จะเป็นยังไงน้อ

ภาพสุดท้าย นึกว่า นิสิต มมส.รับเหรียญรางวัลเสียอีก เกือบรีบพิมพ์คำว่า แสดงความยินดีลงไปแล้วนะเนี่ย 55555

ถึงพี่มนัส

  • น้องๆนิสิตน่ารักมากๆครับ ถ้าได้ถ่ายภาพคู่ทีละคนทีละคนคงจะดูดีนะครับ มีอย่างนี้ทำงานขาดใจดิ้นเลยครับ
  • Grand Slam เหมือน Body Slam รึเปล่าครับ แล้วมีนักร้องนำรึเปล่าครับ (แซวเล่น)
อ่านแล้วฮึกเหิม รีบโทรไปจองสนามเพื่อเล่นเย็นนี้ แล้วจะออกกำลังกายเผื่อเน้อเจ้า
  • ภาพข้างบนเหล่านี้..มอบให้คุณแจ๊คครับ.
  • น้อง ๆ นิสิตน่ารักมาก  (พูดนอนสอนง่าย)  ทนแดดมาก ๆ  ...
  • ไม่ได้ถ่ายรูปด้วย..แต่มีภาพมาให้ดูชัด ๆ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว   ใช่ไหม
  • สวัสดีครับคุณบอน!
  • มีความสุขทุกครั้งที่ได้เอยทักสวัสดีกับคุณบอน
  • ไม่ถ่อมตัวนะครับ...นิทรรศการสวยและสดมาก  ผู้หลักผู้ใหญ่จากส่วนกลางยังชมและบอกว่าไม่เคยได้รับความรู้ในเรื่องเหล่านี้  มีการติดต่อให้เราจัดทำข้อมูลให้ รวมถึงการจัดพิมพ์นิทรรศการเหล่านี้ให้ด้วยเช่นกัน
  • ว่าง ๆ แวะมานะครับ...ช่วงเย็น แดดร่ม ลมตก..ดูกีฬาสบาย (ดี)
  • ส่วนกล่องลูกเทนนิส พร้อมลูกนั้น..ต้องเฝ้าไม่ห่าง  เกรงว่าจะ "หาย...." 
  • และภาพผู้ชนะนั้นเป็นเขต 10  คว้าไปทั้งทีมชาย ทีมหญิง...เขตอื่นสู่ไม่ได้เลย..ขณะนี้เป็นประเภทเดี่ยว, ประเภทคู่  ..สนุกมากครับ
  • ดิฉันชอบเล่นเทนนิสค่ะ..แต่ไม่เก่งและเรื้อไปนานแล้ว....เห็นน้องๆ....สวยพริ้งแล้ว...อยากกลับมาเล่นใหม่..ที่ขอนแก่นไม่มีสนามใกล้บ้านเลย...น่าเสียดายจริงๆ...
  • ดิฉันยังอ่านไม่ละเอียดค่ะ...พอดีรถมารับแล้ว..จะขออนุญาตไปราชการ จ.อุบลฯกับท่าน อ.JJ..ก่อนนะคะ...ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีครับ คุณสมพร somporn
  • เชียร์ขาดใจครับ...
  • แล้วอย่าลืมรายงานผลการแข่งขันให้ทราบด้วยนะครับ
  • สวัสดีครับ  อาจารย์กฤษณา 
  • ทราบว่าอาจารย์ยังสวยไม่สร่างเลยนะครับ  เป็นผลพวงของการเล่นกีฬาหรือเปล่า... ครับ
  • ที่ มมส  มีสนามกีฬาเทนนิสเยอะมาก แต่ไม่ถึงกลับมาตรฐาน  กระนั้นก็ให้บริการได้อย่างทั่วถึง
  • ขอให้อาจารย์และอาจารย์ JJ เดินทางโดยสวัสดิภาพนะครับ...
  • ตอนลูกชายอายุประมาณ 10 ขวบเล่นเทนนิสกับลูกค่ะ
  • พอลูกโตขึ้น เขาบอกว่า เท้าแม่ติดกาวตราช้างหรือไม่ยอมวิ่ง เราแก่แล้วทานแรงลูกไม่ไหว ลุกเลยไปเล่นกันเพื่อนสนุกกว่า
  • ที่ ม.อ หาดใหญ่นักศึกษาเล่นเทนนิสมาก สนามไม่เพียงพอ
  • เทอมที่ผ่านมาลูกชาย ลงเรียนเทนนิสแต่อาจารย์ขอให้ช่วยสอนเพื่อนสาว ๆ อาจารย์สอนไม่ทั่วถึง (ลูกเรียนเภสัช ปี 2ค่ะ)
  • นิสิตน่ารักมาก แต่งชุดนิสิตไม่รัดติ้ว ดูดีค่ะ

 

สวัสดีค่ะ..ได้รับความรู้เรื่องเทนนิสเพิ่มขึ้นอีกมากค่ะ..ตอนนี้หลานชายก็กำลังไปเรียนอยู่ค่ะ..จุดประสงค์แรกคืออยากให้เขาได้ออกกำลังกายน้ำหนักจะได้ลดลงบ้างร่างกายแข็งแรง..ที่สำคัญอยากให้เขารักการเล่นกีฬา..อยากให้เขามีน้ำใจนักกีฬาเรียนรู้ที่จะแพ้และชนะค่ะ..อยากให้เขารู้จักการแพ้เป็น....ถ้าอยู่ใกล้ๆก็อยากไปเยี่ยมชมค่ะ...น่าชื่นชมค่ะจัดงานได้เยี่ยมค่ะ
  • ขอบคุณครับ อ.อัมพร
  • เท้าแม่ติดกาวตราช้างหรือไม่ยอมวิ่ง ช่างเป็นคำเปรียบเปรยที่น่ารัก น่าเอ็นดูมาก  ผมชื่นชมผู้ปกครองที่สนับสนุนลูกหลานให้เล่นกีฬา รวมถึงการพาไปเล่นด้วยตนเอง
  • ที่บ้านเจ้าตัวเล็กมีนวมมวยเล็ก 2 คู่  แต่ทั้งคู่ก็ไม่ยอมเล่นกัน  แต่พอสวมนวมเมื่อไหร่  ผมจะโดนรุมทุกครั้งเลย...
  • ลูกชายเป็นนักกีฬาของมหาวิทยาลัยด้วยหรือเปล่าครับ
  • ส่วนนิสิตที่แต่งกายนั้น, ผมว่าเกือบรัดติ้วแล้วนะครับ...เขาชอบ  คนดูก็ชอบ..ส่วนผมดูว่ารัดติ้ว (อยู่บ้าง)
  • ขอบคุณมากครับ คุณ โก๊ะ ที่กรุณาให้เกียรติติดตามบันทึกผมอยู่บ่อยครั้ง
  • แต่ทำยังไงผมถึงจะหาบันทึกคุณโก๊ะพบ เผื่อจะได้แลกเปลี่ยนกันมากกว่านี้
  • รู้จักการแพ้เป็น... คนไม่น้อยไม่รู้จักและไม่ตระหนักในข้อนี้  การที่คุณโก๊ะเห็นความจริงในแง่นี้ผมถือว่าเป็นสิ่งดี ๆ ที่คุณโก๊ะกำลังส่งต่อไปสู่อีกชีวิตหนึ่ง
  • เป็นกำลังใจให้, เสมอไป ...นะครับ
  • ลูกชายไม่ได้เป็นนักกีฬามหาวิทยาลัย เขาเพียงแต่เล่นเพื่อสุขภาพ ตอนเล็กครูที่สอนเทนนิสอยากให้ลูกลงสนามแข่ง เพราะมีแวว แต่แม่ไม่มีเวลาติดตามลูกตอนไปแข่งต่างจังหวัด เลยล้มเลิกความตั้งใจ
  •  ลูกมีลีลาท่าตีเทนนีสสวยมาก ใครเห็นเป็นต้องชมและเข้ามาถามแม่ว่าเรียนพื้นฐานที่ไหนเพราะให้เรียนตั้งแต่อายุ 4 ขวบ (แม่ไม่มีเวลาดูแลลูก พ่อทำงานต่างจังหวัด แม่ก็เลยเอาลูกไปทิ้งไว้ที่สนามเทนนิสแทน ช่วงเรียนมหาวิทยาลัยอาจารย์เห็นลีลาสวยก็เลยให้เป็นผู้ช่วยสอนอาจารย์
  • และช่วงเรียนเภสัชลูกเรียน LAB หลายตัวไม่มีเวลาซ้อม กอปรกับลูกเป็นนักร้องของคณะ เขาให้เวลาส่วนหนึ่งกับการร้องเพลง เล่นกีต้าร์  ได้ความสุนทรีย์ไปอีกอย่างนะ
  • สวัสดีครับอาจารย์
    P
  • ก่อนอื่นขอบพระคุณจริง ๆ ครับที่ติดตามบันทึกผมอย่างเหนียวแน่น
  • ชื่นชมและขออนุญาตร่วมยินดีกับท่านอาจารย์ที่มีลูกอันเป็นที่รัก เรียนดี  กีฬาเด่น  เป็นศิลปิน
  • นี่คือคุณสมบัติ..ที่ผมไม่ค่อยมีเลย ทั้ง ๆ ที่ปรารถนาจะเป็น  แต่ก็เป็นไม่ได้
  • สิ่งหนึ่งที่เห็นภาพชัดเจนในข้อความสั้น ๆ ของอาจารย์ก็คือ  บรรยากาศที่ดีในครอบครัว คือแรงหนุนส่งที่มีพลังและเป็นภูมิต้านทานที่ดีต่อชีวิตของคนในครอบครัวให้เผชิญต่อโลกและชีวิตได้อย่างเข้มแข็ง และมีความสุข
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท