มองสกว.ย้อนดู นครศรีธรรมราช (6)


คอขวดคือ การทำงานเป็นทีมที่ไม่หวังผลเลิศเฉพาะหน้างานของตนเอง เป็นเกมที่ต้องเล่นร่วมกันเป็นทีมKMระดับอำเภอและตำบล

นอกจากแนวความคิดและการจัดวางกลไกของสกว.ที่ตั้งใจจะเป็นกระดูกสันหลังด้านความรู้ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่จะเข้ามาผสานกับกลไกของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ตั้งใจใช้การจัดการความรู้ผ่านกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนในโครงการเสริมสร้างกระบวนการชุมชนเข้มแข็งอย่างสมบุรณ์และยั่งยืนแล้ว ยังมีขบวนชุมชนที่มาจากการหนุนเสริมขององค์การมหาชนและ องค์กรเอกชนอื่นๆอีก       ที่สำคัญคือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนที่ได้เชื่อมโยงให้เกิดศูนย์ประสานความร่วมมือภาคประชาชนและขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชนและสวัสดิการชุมชนที่เชื่อมโยงเครือข่าย7ภูมิภาคทั่วประเทศ

วันที่9ก.พ.2550 มีการประชุมคุณเอื้อจังหวัดมีความคืบหน้าสำคัญโดยสรุปคือ ทีมจัดการความรู้ 4หน่วยงานหลักได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่เป้าหมายตามแผนงานของตนเองดังนี้

1.ปกครองจังหวัดร่วมกับยมนาเป็นกัปตันทีมดำเนินการแผนแม่บทชุมชนใน551หมู่บ้านรุ่นสุดท้ายใช้งบบูรณาการจัดการความรู้7แสนบาทเสริมด้วยงบจากอบต.

2.กศน.จังหวัดเป็นกัปตันทีมดำเนินการจัดการความรู้ใน600หมู่บ้านใช้งบบูรณาการจัดการความรู้2ล้านบาทเสริมด้วยงบฟังชั่น

3.เกษตรจังหวัดเป็นกัปตันทีมดำเนินการเชื่อมโยงสู่การผลิตและวิสาหกิจชุมชนใน400หมู่บ้านใช้งบบูรณาการยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์1ล้านเสริมด้วยงบฟังชั่น

4.พัฒนาชุมชนเป็นกัปตันทีมดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงใน400+600หมู่บ้านใช้งบฟังชั่น1,000บาทหนุนการเรียนรู้และ10,000บาทสนับสนุนหมู่บ้านศก.พอเพียง276หมู่บ้าน

5.สาธารณสุขจังหวัดรับเป็นฝ่ายเชื่อมโยงแผน จัดทำฐานข้อมูลและเป็นหัวหน้าทีมทำตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลการพัฒนาสู่ชุมชนอินทรีย์ตามแนวทางศก.พอเพียงของจังหวัด (ที่ประชุมเสนอให้ใช้งบฟังชั่นลงไปร่วมงานใน1,000หมู่บ้านกับพช.)

6.พมจ.ร่วมกับพอช.กำลังเชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคมไม่ทอดทิ้งกันผ่านขบวนองค์กรการเงินชุมชนและขบวนแผนแม่บทชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งจะประชุมทำฐานข้อมูลเบื้องต้นในวันที่13ก.พ.นี้

นอกจากประเด็นร่วมในทุกพื้นที่แล้ว ยังมีพื้นที่พิเศษคือลุ่มน้ำปากพนังที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดขอให้แต่ละทีมให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นด้วย เรื่องดังกล่าวถือเป็นประเด็นนโยบายระดับกรมที่ให้งบเพื่อการนี้เป็นการเฉพาะด้วย(อ่านข่าวเพิ่มเติมในนสพ.)

ในวันประชุมท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้เชิญหัวหน้าส่วนราชการอื่นๆเข้ามาเรียนรู้เพิ่มเติมคือ แรงงานจังหวัดและสปก.เพื่อให้แต่ละส่วนงานทราบแนวทางการขับเคลื่อน จะได้เข้ามาเชื่อมโยงอย่างบูรณาการ

ผมเห็นว่า การจัดขบวนของจังหวัดค่อนข้างสอดคล้องกับการเคลื่อนงานABC Researchของสกว.คือ เปรียบหัวหน้าส่วนราชการ4กระทรวงหลักเสมือนผอ.ฝ่ายที่มีชุดวิจัยเชิงประเด็นที่ต้องลงไปทำงานเชิงพื้นที่ในระดับหมู่บ้านผ่านกลไกจัดตั้งของตนเอง เช่น เกษตรจังหวัดรับ400หมู่บ้านก็ลงไปดำเนินการผ่านศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและโรงเรียนเกษตรกรที่ตนเองดูแลอยู่ กลไกดังกล่าวนอกจากเชื่อมโยงทุกภาคีในตำบลเข้ามาร่วมงานแล้ว ยังขยายผลจากหมู่บ้านเป็นเครือข่ายระดับตำบลด้วย ซึ่งเป็นทิศทางที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้ให้แนวทางไว้ การเคลื่อนงาน400หมู่บ้านของเกษตร จะได้รับการหนุนเสริมจากพช.ในงานศก.พอเพียงซึ่งต้องมีการประสานงานกัน เช่นเดียวกับ600หมู่บ้านของกศน.ที่พช.จะเข้าไปหนุนเสริมศก.พอเพียง

เวทีเรียนรู้ร่วมกันในแต่ละเดือนจึงเป็นการเสริมงานกันในทักษะและกลไกเคลื่อนงานของแต่ละหน่วยงานโดยยึดพื้นที่ระดับหมู่บ้านเป็นเป้าหมายซึ่งมีการเชื่อมเป็นเครือข่ายระดับตำบล

คอขวดคือ การทำงานเป็นทีมที่ไม่หวังผลเลิศเฉพาะหน้างานของตนเอง เป็นเกมที่ต้องเล่นร่วมกันเป็นทีมKMระดับอำเภอและตำบล ตามที่ท่านผู้ว่าสรุปคือ ต้องทำให้เป็น1+1+1เท่ากับ10หรือมากกว่า ไม่ใช่1+1+1+1เท่ากับ0

การจัดกลไกของจังหวัดมีความต่างกับABC คือ

นอกจากคุณเอื้อจังหวัดที่ดูแลประเด็นต้องเป็นกัปตันทีมKMดูแลพื้นที่แล้ว ยังมีคุณเอื้ออำเภอและตำบลคือท่านนายอำเภอ นายกอบต.และกำนันผญบ.เจ้าของพื้นที่ตัวจริงอยู่ด้วย การประสานเชื่อมโยงจึงเป็นเรื่องสำคัญ บทบาทสำคัญจึงตกเป็นของประธานคุณเอื้อจังหวัดคือท่านผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะต้องสร้างความเข้าใจกับประธานคุณเอื้ออำเภอ ซึ่งท่านผู้ว่ามีแนวคิดที่จะหาอำเภอนำร่อง3-5อำเภอเพื่อจัดวงเรียนรู้แบบจังหวัดในระดับอำเภอทุกเดือน โดยมีหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอเข้าร่วมหารือเป็นทีมKMอำเภอเช่นที่เราประชุมกันทุกเดือนด้วย ผมคิดว่ารูปธรรมนี้คงได้เริ่มดำเนินในใน1-2เดือนข้างหน้านี้

นอกจากนี้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดยังได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับการลงมาดูงานเซาเทอร์นซีบอร์ดของรองนายกโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัฐ ที่ได้สอบถามท่านถึงการขับเคลื่อนงานKMของนครศรีธรรมราชช่วงพักทานอาหารกลางวัน คำถามของรองนายกคือ ท่านผู้ว่าทำอย่างไรกับคำสั่งของกรมที่สั่งลงมาคนละทิศละทาง       คำตอบของท่านคือนำเข้ามาเชื่อมโยงกับแผนขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนเข้มแข็งอย่างสมบูรณ์และยั่งยืน ซึ่งรองนายกประทับใจมาก และเห็นแนวทางนำไปขยายยังพื้นที่อื่นๆ(ผมอ่านพบในนสพ.เรื่องความร่วมมือของหลายกระทรวงโดยมีสภาพัฒน์ฯ(สศช.)เป็นกองเลขาเพื่อขับเคลื่อนงานศก.พอเพียงโดยรองนายกท่านนี้ด้วย จึงเป็นแนวทางเชื่อได้ว่า การทำงานของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชจะได้รับการเผยแพร่ขยายผลในวงกว้างอย่างแน่นอน)

คำสำคัญ (Tags): #แก้จนเมืองนคร
หมายเลขบันทึก: 77927เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
กำลังติดตามและศึกษาวิธีทำงานของทีมนครฯด้วยความสนใจยิ่งค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท