8 วิธีดูแลสุขภาพโน้ตบุ๊ค


ฮาร์ดดิสก์มักจะมีอายุขัยคล้ายแมว… คือมีช่วงเวลาแห่งความเป็นหนุ่มเป็นสาวประมาณ 3-4 ปี หลังจากนั้นจะแก่ หรือเสื่อมลง

             

ผู้เขียนเป็นคนมักกลัว... กลัวโน่นกลัวนี่ไปเรื่อย เมื่อใช้คอมพิวเตอร์ก็กลัวข้อมูลสูญหาย ทำให้ต้องซื้อฮาร์ดดิสก์ หรือชุดจานแม่เหล็กเก็บความจำมาเพิ่มอีก 2 ลูกไว้สำรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (รวมเป็น 3 ลูก)

  • ปีใหม่ 2550 นี้... ผู้เขียนซื้อโน้ตบุ๊คเครื่องละประมาณ 18,000 บาทมาใช้ อีกไม่นานคงจะซื้อฮาร์ดดิสก์มาสำรองข้อมูลเพิ่มอีก

Computer Smash 

จุลสารซินเน็กทรา (Synnextra) ฉบับที่ 20 มีคำแนะนำดีๆ ในการดูแลสุขภาพโน้ตบุ๊ค 7 วิธี เพื่อป้องกันปัญหาฮาร์ดดิสก์พัง ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ...

  • อาจารย์ท่านว่า ฮาร์ดดิสก์มีความเสี่ยงใหญ่ๆ ที่จะพังจากสาเหตุหลัก 2 ประการได้แก่ การหล่นกระแทก และความร้อนสะสม

วิธีดูแลสุขภาพโน้ตบุ๊คที่สำคัญได้แก่

  •     Check Disk:
    ให้ตรวจสุขภาพฮาร์ดดิสก์อย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยเปิด "My computer" > คลิกขวา เลือกฮาร์ดดิสก์ > เลือก Tools > เลือก Check now > เพื่อให้โปรแกรมตรวจสุขภาพฮาร์ดดิสก์
  •     Defragment:
    ให้จัดหมวดหมู่ไฟล์ด้วยการทำ Defragmentation อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อจัดระเบียบข้อมูลที่กระจัดกระจายใหม่ ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ทำให้หัวอ่านฮาร์ดดิสก์มีช่วงอ่านข้อมูลต่อเนื่อง ไม่ต้องวิ่งไปวิ่งมา... ตรงโน้นที ตรงนี้ทีจนหน้ามืด หัวร้อน เป็นไข้บ่อยๆ
  •     Backup:
    ทำสำเนาข้อมูลสำคัญได้อย่างน้อยทุกๆ 2 สัปดาห์ ถ้ามีข้อมูลขนาดใหญ่มากอาจใช้โปรแกรมช่วย เช่น Win Backup 1.82 ซึ่งดาวน์โหลดได้ที่นี่... www.backupanswers.com/freewinbackup/
  •     ไม่หักโหม:
    ระบบระบายความร้อนของโน้ตบุ๊คมีประสิทธิภาพต่ำกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ การใช้งานมากเกินวันละ 8 ชั่วโมงมีส่วนทำให้เครื่องร้อนเกิน เป็นไข้บ่อย และอายุสั้น
  •     ระวังร้อนใน:
    โน้ตบุ๊คจำเป็นต้องมีการระบายความร้อน โดยเฉพาะส่วนล่างของเครื่อง จึงไม่ควรตั้งโน้ตบุ๊คไว้บนเตียง หรือบนผ้าห่ม ควรตั้งบนพื้นเรียบ หรือจะหาแผ่น "ยกล้อ" หรือยกด้านล่างโน้ตบุ๊คให้โปร่งโล่งแบบรถขับเคลื่อน 4 ล้อก็ได้
  •     ต่อแบตฯ:
    แบตเตอรี่โน้ตบุ๊คมีส่วนช่วยป้องกันปัญหาจากไฟกระชาก หรือไฟตก ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชิ้นส่วนภายในเครื่องได้ เปรียบคล้ายรถที่มีกันชน เข็มขัดนิรภัย และถุงลม (air bags) พร้อม การต่อแบตเตอรี่ไว้ตลอดมีส่วนทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้นลงไปบ้าง ทว่า... ดีกว่าปล่อยให้อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีราคาแพงกว่า หรือข้อมูลเสี่ยงโดยไม่จำเป็น
  •     เปลี่ยนก่อนแก่:
    ฮาร์ดดิสก์มักจะมีอายุขัยคล้ายแมว… คือมีช่วงเวลาแห่งความเป็นหนุ่มเป็นสาวประมาณ 3-4 ปี หลังจากนั้นจะแก่ หรือเสื่อมลง ทำให้ประสิทธิภาพลดลง และเสียได้ง่าย เมื่อใช้งานฮาร์ดดิสก์ถึง 3 ปีแล้ว ควรเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่ และนำฮาร์ดดิสก์เก่ามาใช้สำรองข้อมูลแทน
  •     เย็นไว้โยม:
    พระภิกษุมักจะปลอบญาติโยมเวลา "(เดือด)ร้อน" ไปหาท่าน เช่น ญาติเสีย ฯลฯ ว่า "เย็นไว้โยม"... เรื่องนี้นำมาใช้กับโน้ตบุ๊คได้เช่นกัน... บางครั้งเราใช้งานแล้วรีบเก็บใส่ในกระเป๋าอย่างดี โน้ตบุ๊คเลย "ร้อน" ไปอีกนาน

    วิธีง่ายๆ คือ รอให้น้อง(โน้ตบุ๊ค)เย็นลงอย่างน้อย 3-5 นาทีแล้วจึงเก็บ ถ้ารีบจริงๆ จะใช้พัดลมเป่าช่วยให้เย็นลงหน่อยก่อนเก็บก็ได้
  •     พักเสียบ้าง:
    ผู้เขียนขอแนะนำให้พักสายตาทุกๆ ชั่วโมง หรือดีกว่านั้นคือ ทุกๆ 40 นาที โดยให้บันทึกงานที่ทำไว้ก่อน ลุกขึ้น มองไปไกลๆ เดินไปเดินมา 5-10 นาทีแล้วค่อยทำงานต่อ... รักษาสุขภาพเครื่องแล้ว อย่าลืมรักษาสุขภาพ "คนทำงาน" ครับ...
  •     ขอเพิ่มหน่อย:

    • ท่านผู้อ่านที่มีประสบการณ์สูง แนะนำให้ใช้ชุดป้องกันไฟกระชาก (stabilizer) +/- ชุดแบตเตอรีสำรอง (UPS) ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน... นี่เป็นคำแนะนำระดับ "มืออาชีพ" จริงๆ ครับ

        ข่าวประกาศ:

    • ถ้าไม่มีความผิดพลาดทางเทคนิค...
    • ผู้เขียนจะเดินทางไปทำบุญที่ศรีลังกา วันที่ 20-27 กุมภาพันธ์ 2550
    • ช่วงเวลาดังกล่าวคงจะแวะมาพิมพ์บันทึก หรือตอบข้อคิดเห็นของท่านผู้อ่านได้ครับ...

        แหล่งที่มา:

    • ขอขอบพระคุณ > Tip & Trick by Synnex. 7 คาถาป้องกันฝันร้ายจากฮาร์ดดิสก์พัง สำหรับผู้ใช้โน้ตบุ๊กโดยเฉพาะ. Synnextra. ฉบับ 20. หน้า 12.
    • ขอขอบคุณ... คุณบุษกร พรเรืองวงศ์ เอื้อเฟื้อต้นฉบับ.
    • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง. จัดทำ > 12 กุมภาพันธ์ 2550.

        เชิญอ่าน:

  • บ้านสุขภาพ > http://gotoknow.org/blog/health2you
  • บ้านสาระ > http://gotoknow.org/blog/talk2u

  •  

หมายเลขบันทึก: 77887เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
  • เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากครับคุณหมอ
  • ช่วงนี้ใช้งานnotebook มาก
  • สงสารเครื่องเหมือนกัน
  • พบไวรัสบ่อยมาก อยากเพิ่มว่าควรต้อง updateตัว scan บ่อยๆด้วยครับ
  • ขอบคุณมากครับ

ขอขอบคุณอาจารย์ขจิตและท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเรื่อง update antivirus... คำแนะนำนี้มีประโยชน์มาก

ขอขอบคุณครับ...

  • ตัวเครื่องตามปรกติแล้วระบายความร้อนช้า การยกวางบนก้อนเส้า (ทำเป็นขาวางตามมุมต่าง ๆ ให้ข้างล่างไม่สัมผัสพื้น) ช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าต้องใช้แบบข้ามวันข้ามคืน ควรใช้พัดลมภายนอกเป่าระบายความร้อนช่วย จะทำให้เครื่องไม่แฮงค์เพราะร้อนจัดครับ

ขอขอบคุณอาจารย์ wwibul และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆ ครับ
  • สรุปคือ "ยกล้อ" โน้ตบุ๊ค (ให้พุงโน้ตบุ๊คโล่ง / ลมถ่ายเทง่าย + เป่าลมที่พุงโน้ตบุ๊ค)

ขอขอบคุณครับ...

อาจารย์หมอวัลลภค่ะ

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะสำหรับเคล็ดลับดี ๆ ในการดูแล Notebook   ค่ะ

 

ขอขอบคุณ... คุณมะปรางเปรี้ยวและท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน และให้กำลังใจ

ขอบคุณครับ...

เรียน คุณหมอวัลลภ

       ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำแนะนำดี ๆ  เพราะดิฉันใช้งานกับโน๊ตบุ๊กตลอด แต่ไม่เคยทราบวิธีการบำรุงรักษาเลยค่ะ

     โดยเฉพาะข้อห้ามข้อที่ 4 - 6 ทำบ่อยมาก ๆ จริง ๆ ใช้งานถ้านับชั่วโมง คงไม่เกินหรอกค่ะ  แต่เปิดเครื่องทิ้งไว้ทั้งคืน แถมยังวางโน๊ตบุ๊กไว้บนที่นอนด้วยสิคะ  ทำไป หลับไป ตื่นมาตอนไหน ถ้ายังไม่อารมณ์ทำงาน ก็ทำต่อ

           ส่วนข้อ 6   โดนกับตัวเองจัง ๆ เลยค่ะ  เสียบ Adapter ไว้ตลอด   มีอยู่ครั้งหนึ่ง ฟ้าผ่าโดยไม่มีปี่มีขลุ่ย  ผลหรือค่ะ  Adapter โน๊ตบุ๊คดิฉัน พังทันทีเลยคะ โดนซื้อใหม่  3000 กว่าบาท จำไปจนวันตายเลยค่ะ

ขอขอบคุณ... คุณรัตติยาและท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยี่ยน และให้ตัวอย่างมาอย่างดี
  • การใช้คอมพิวเตอร์ + เสียบ adapter ไว้ > ฟ้าผ่าแล้ว adapter พัง... น่าจะดีกว่าส่วนที่แพงกว่าของเครื่องพัง เช่น CPU ฯลฯ และดีกว่าข้อมูลเสียหายครับ
  • ถ้ากลัวฟ้าผ่าจริงๆ สงสัยคงต้องปิดเครื่องเวลาฝนใกล้ตก + ฝนตก + หลังฝนตกใหม่ๆ... ดูจะยากทีเดียว

ขอขอบคุณครับ...

  • ขอบคุณมากครับคุณหมอ ผมทำผิดกฏข้อ 5 เต็มๆ เพราะสงสารที่เราใช้งานมันมากจึงเอาเสื้อยืดเก่าๆมาคัดเป็นผ้ารองพื้นให้เขา  ต่อไปนี้เอาออกแล้ว
  • ขอแลกเปลี่ยนครับ การต่อสายเข้าเครื่องขณะที่มีแบทเตอรรี่อยู่นั้น มีข้อเสียอยู่ครับ เขาเรียกว่า Over chart จะทำให้แบทเตอรี่เสื่อมเร็ว มีข้อแนะนำว่าถ้าจะใช้ต่อสายไฟเข้าเครื่องให้ถอดแบทเตอรี่ออกก่อน หรือหากต้องการใช้แบทเตอรี่ก็ไม่ต้องเสียบไฟ ใช้จนไฟหมดแบทฯจึง chart ใหม่ สลับกันอย่างนี้ครับ อันนี้ผมได้รับคำแนะนำจากช่างคอมฯครับและก้ปฏิบัติอยู่ปรากฏว่าดีครับ
  • ในการต่อไฟตรงเข้าแบทฯผมจะต่อผ่าน เครื่อง Stabiliser ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวกรองกระแสก่อนเข้าเครื่อง พิเศษเพิ่มขึ้นมา ปกติปัจจุบัน UPS ที่ซื้อมาสำรองไฟจะมีคุณสมบัติเป็น Stabiliser ด้วยในตัว สมัยก่อนแยกออกจากกันต่างหาก
  • ผมเปลี่ยน Note book มาเป็นตัวที่ 6 แล้วครับ ระบบไฟนี่สำคัญมากๆ จึงลงทุนซื้อ stabiliser ทั้งไว้ที่บ้านและที่ทำงานครับ

ขอขอบคุณอาจารย์บางทรายและท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ช่างคอมพิวเตอร์ที่ลำปางก็แนะนำแบบเดียวกับที่อาจารย์ว่าคือ...
    (1). ถ้าต่อไฟบ้าน > นำแบตเตอรีออก
    (2). ถ้าใช้แบตเตอรี > ถอดปลั๊กไฟบ้านออก
  • เหตุผลคือ ถ้าใช้แบตเตอรีต่อตลอดอาจทำให้อายุการใช้งานสั้นลง (แบตเตอรีมักจะมีอายุการใช้งานประมาณ 500 ครั้ง... ถ้าต่อพ่วงแบตเตอรีตลอดจะมีอายุใช้งานประมาณ 1.5-2 ปี

ทีนี้การต่อแบตเตอรีไว้ตลอด...

  • การต่อแบตเตอรีไว้ตลอดก็มีข้อดี...
    (1).
    เวลาไฟตก / ไฟเกิน... จะช่วยป้องกันอุปกรณ์อื่นๆ โดยเฉพาะ CPU โดยแบตเตอรีทำหน้าที่คล้ายๆ เขื่อน รับเคราะห์ไปแทน
    (2). ที่ลำปาง... ไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก ไฟดับบ่อยมาก ผมมองเห็นพิษภัยจากสิ่งแวดล้อมข้อนี้จึงพ่วงแบตเตอรีไว้ครับ... (ที่อื่นอาจจะไม่มีความจำเป็นข้อนี้)

overcharge...

  • ตามทฤษฎีจะเกิดได้น้อยมาก เนื่องจากโน้ตบุ๊คมีวงจร "ตัดไฟแต่ต้นลม (overcharge prevention)"

ประสบการณ์...

  • ชั่วโมงบินของท่านอาจารย์สูงมากครับ ขนาดใช้โน้ตบุ๊คมาเป็นตัวที่ 6 (ผมเพิ่งเริ่มใช้ตัวแรก)
  • การต่อชุดป้องกันไฟกระชาก (stabilizer) +/- ระบบไฟสำรอง (UPS) แบบที่อาจารย์ทำเป็นวิธีที่ดีที่สุด... นี่เป็นวิธีที่มืออาชีพทำกัน

ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำระดับ "มืออาชีพ" ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์หมอวัลลภ

เห็นด้วยกับเรื่องต่อแบตเตอรีไว้ตลอดค่ะ

ตอนแรกก็เข้าใจเช่นเดียวกันว่าให้เอาแบตออกแล้วต่อสายไฟ แต่เพราะที่บ้าน ไฟตกๆ ดับๆ เพื่อนที่ชำนาญด้านเครือข่ายแนะนำว่า ควรต่อแบตไว้ตลอดเลย

ถึงแม้ว่าจะทำให้แบตเสื่อมเร็ว แต่ดีกว่าทำให้วงจรต่างๆ กระชากเมื่อไฟดับๆ ติดๆ และถึงแม้ว่าจะถอดแบตออก หรือไม่ใช่เลยก็ตาม (ใช้สายไฟต่อตลอด) แบตก็มีอายุขัยของมันอยู่ดี ดังนั้น ใช้ก็เสื่อม ไม่ใช้ก็เสื่อม (แถมไม่ได้ใช้) ก็เลยต่อแบตมาตลอด

ซึ่งถ้าแบตเสื่อม ราคาก็ประมาณ 2-3 พันบาท คิดว่าน่าจะดีกว่าเวลาไฟกระชากแล้วข้อมูลที่อาจจะประเมินค่าไม่ได้หายไปนะคะ

ขอขอบคุณอาจารย์ iS และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขอขอบคุณข้อคิด + ข้อมูลดีๆ จากอาจารย์ iS ครับ
  • ผมเอง... วิตกจริต กลัวโน่น กลัวนี่ ฟุ้งไป ฟุ้งมา
  • เครื่องที่พิมพ์บันทึกใช้ชุดจานข้อมูล (harddisk) 3 ชุด สำรองไป-สำรองมา นี่ยังไม่นับที่สำรองไว้ในโน้ตบุ๊คอีกเครื่อง และแผ่นบันทึก (CD) อีกต่างหาก

ขอขอบคุณครับ...

ขอขอบคุณ... คุณ amarah

  • ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน และให้กำลังใจครับ...

    คุณหมอซื้อเครื่องราคาถูกจังครับ

    ขอบคุณที่แนะนำเรื่องดีๆ เสมอครับ

ขอขอบคุณอาจารย์วรชัย...

  • ขอขอบพระคุณที่กรุณาแวะมาเยี่ยมเยียน...
  • เจ้าคอมพิวเตอร์ 18,000 บาท(เกือบๆ)นี่ใช้ได้ดีทีเดียวครับ...
  • แพงไป > เวลาหายแล้วจะเสียดายมากๆ เลย...
  • ขอขอบพระคุณครับ

อยากทราบวิธีถ่ายรูปด้วยโน๊ตบุ๊คคอมแพคค่ะ ขอความกรุณาด้ยนะคะ

ขออภัยจริงๆ ครับ...

  • เรียนเสนอให้สอบถามร้านที่ซื้อมา หรือศูนย์บริการเป็นดีที่สุด เนื่องจากแต่ละรุ่นมีวิธีใช้ไม่เหมือนกัน

ขออภัยอีกครั้งครับ

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท