กลุ่ม “กรอบ” ของระบบการทำงาน


“กรอบความคิด” ที่มีอยู่หลายกลุ่มหลายแบบ ที่อาจแบ่งได้ทั้งเป็น ระดับ (Level) และประเภทที่ต้องใช้ตาราง Matrix ในการจำแนก

  จากการเข้าร่วม สังเกตการณ์ การประชุม UKM9 ทำให้ผมได้ความคิดเรื่อง กรอบ มาเป็นประเด็นสะกิดในการทำงานของการวิจัย การจัดการความรู้ และการพัฒนาในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปัจเจก กลุ่ม และ องค์กร ว่าสาเหตุใหญ่ของการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย มากน้อย ยากง่ายนั้น ก็อยู่ที่ กรอบ นี่เอง

  

และในเรื่องของกรอบ ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่อง กรอบความคิด ที่มีอยู่หลายกลุ่มหลายแบบ ที่อาจแบ่งได้ทั้งเป็น ระดับ (Level) และประเภทที่ต้องใช้ตาราง Matrix ในการจำแนก  แต่ในที่นี้ เพื่อให้ง่ายในการนำเสนอ ขอเป็นแบบระดับก็แล้วกันนะครับ ดังนี้

  

1.     ระดับ หากรอบไม่เจอ

  

เป็นระดับที่

 

·        ไม่รู้จักตัวเอง ไม่รู้จักใคร

  ·        อยู่กับความคิดแบบ บอดๆ ไม่สามารถที่จะคิด หรือเขียนโครงการอะไรได้มากนัก

·        เพราะคิดไม่ออก ทำงานกับใครก็ไม่ได้

·        เพราะขาดความสามารถในการเชื่อมโยงประเด็น และการวางแผนการทำงาน

·        วันๆ จะทำงานเฉพาะหน้า หรือประเภท ไม่สั่ง หรือไฟไมจี้ก้น จะไม่ทำ หรือทำไม่เป็น

·        เนื่องจากไม่มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน

  

2.     ระดับติดกรอบ

  

เป็นระดับที่

 

·        ติดแน่นอยู่กับกรอบความคิดและการทำงานของตนเอง

 

·        ไม่ปล่อยระบบความคิดให้มีอิสระ

 

·        ทุกอย่างมองเข้าทางตัวเอง เพียงอย่างเดียว

 

·        อะไรที่ฟังเผินๆ ว่าไม่เกี่ยวกับตัวเอง จะไม่สนใจ และจะถือว่าธุระไม่ใช่ 

 

·        คนกลุ่มนี้มักจะทำงาน เฉพาะ ในกรอบความคิดแคบๆ ของสาขา หรือสายงานที่ตัวเองรับผิดชอบเท่านั้น

  

3.     ระดับในกรอบ

  

เป็นระดับที่

 

·        มีความคิดที่ค่อนข้างเป็นอิสระขึ้นมาหน่อย

 

·        ไม่ติดยึดกับกรอบ วิชาการ หรือ ความรับผิดชอบ แคบๆ

 ·        แต่ก็จะมองเฉพาะ ระบบงาน ที่ตัวเองทำอยู่เท่านั้น

·        ส่วนอื่นๆ ใครจะเดือดร้อนอย่างไร ก็ไม่รู้ร้อนรู้หนาวด้วย

·        เพราะถือว่า อยู่นอกเหนือจาก ความรับผิดชอบ ที่ตัวเองทำอยู่

 4.     ระดับอิงกรอบ  

เป็นระดับที่

 

·        มีความคิดที่เป็นอิสระขึ้นมาอีกแบบหนึ่ง

 

·        ไม่คิดหรือทำอยู่เฉพาะกับกรอบ วิชาการ หรือ ความรับผิดชอบ ที่เป็นระบบของตัวเอง

 ·        แต่กลับจะใช้ฐานงานที่ตัวเองทำอยู่ เป็นแกนปฏิบัติในการทำงาน

·        และจะทำงานแบบรู้ร้อนรู้หนาวกับสังคมภายนอก

·        โดยยังต้องเชื่อมโยงกับการทำงานของหน่วยงาน และความรับผิดชอบเดิม

·        เพราะถือว่า อย่างไรเสีย ก็ยังเป็น ความรับผิดชอบ ที่ตัวเองต้องทำอยู่  

 

5.     ระดับนอกกรอบ  

เป็นระดับที่

·        มีความคิดที่เป็นอิสระในการทำงาน

·        ไม่คิดหรือทำอยู่เฉพาะกับกรอบ วิชาการ หรือ ความรับผิดชอบ ที่เป็นระบบของตัวเอง

·        แต่การทำงานนั้นไม่จำเป็นต้องตรงกับกรอบความรับผิดชอบที่ตนรับผิดชอบ

·        อาจจะใช้ฐานงานที่ตัวเองทำอยู่ เป็นแกนปฏิบัติในการทำงานบ้าง หรือไม่ใช้ก็ได้

·        และจะทำงานแบบรู้ร้อนรู้หนาวกับสังคมภายนอก

·        แต่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงกับการทำงานของหน่วยงาน และความรับผิดชอบเดิมของตนเอง

·        แต่ยังมีกรอบการทำงานของตนเองอยู่ แม้จะไม่เกี่ยวกับใบสั่ง และความรับผิดชอบโดยตรงก็ตาม  

6.     ระดับไร้กรอบ

  เป็นระดับที่

·        มีความคิดที่เป็นอิสระในการทำงานอย่างสมบูรณ์แบบ

·        ไม่คิดหรือทำอยู่เฉพาะกับกรอบ วิชาการ หรือ ความรับผิดชอบ ที่เป็นระบบของตัวเอง แต่ยังรับผิดชอบการทำงานอยู่เช่นเดิม

·        และการทำงานนั้นไม่จำเป็นต้องตรงกับกรอบความรับผิดชอบที่ตนรับผิดชอบ  

·        จะทำงานแบบรู้ร้อนรู้หนาวกับสังคมภายนอก

·        โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงกับการทำงานของหน่วยงาน และความรับผิดชอบเดิมของตนเอง

·        มีระดับความคิดที่เป็นอิสระจนแยกไม่ออกว่าเป็นคนทำงานในสายไหน หน่วยงานไหน

·        จะทำงานแบบไม่เกี่ยว และไม่สนใจใบสั่ง

·        อาจจะทำใบสั่งขึ้นมาใช้เอง และเปลี่ยนไปได้เรื่อย โดยอาจจะไม่เกี่ยวกับความรับผิดชอบโดยตรงของตน

·        แต่เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมโลกโดยรวม 

 

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ระดับ ๑ กับระดับ ๖ เกือบจะเหมือนกันแต่คนละแบบ กล่าวคือ

·        ระดับหนึ่งนั้น ขาดกรอบและไร้ทิศทาง แต่

·        ระดับ ๖ นั้น ไม่มีกรอบ แต่มีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน 

 

ส่วนกลุ่มอื่นๆ ก็มีความชัดเจนในตัวเองครับ  

 

ในใจผมเองนั้น ผมคิดว่า กลุ่มที่จะสามารถทำงาน ในระบบได้ดีที่สุดก็คือกลุ่ม สายกลาง ที่อยู่ประมาณ อิงกรอบ

เพราะเมื่อเลยอิงกรอบมาแล้ว แม้จะมีความคิดดีและเป้าหมายดี แต่มักขาดแรงสนับสนุนในการทำงานครับ   

 

แต่ถ้าต่ำกว่านั้น การทำงานก็ขาดทิศทางและเป้าหมายที่เป็นจริง อยู่แบบ กบในกะลาครอบ ครับ

แต่ก็ยังดีกว่า ระดับที่ ๑ ที่ยังหากรอบของตัวเองไม่เจอครับ ทำงานไปวันๆ แบบรอให้ หมดเวลาทำงาน หรือ วันตาย เท่านั้นเอง
หมายเลขบันทึก: 77737เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2007 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  อาจารย์คะ กรอบที่อาจารย์อธิบายไว้มันช้ดเจนมาก แต่น้อยอยากขอความคิดเห็นจากอาจารย์เพิ่มให้หน่อยว่า ในเมื่อเรารู้ว่า  กลุ่มที่จะสามารถทำงาน ในระบบได้ดีที่สุดก็คือกลุ่ม สายกลาง ที่อยู่ประมาณ อิงกรอบ ตามที่อาจารย์ว่าไว้ แต่เราจะทำอย่างไรถึงจะมีคนกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นสักค่อนครึ่งของประเทศชาติได้ละคะ
                                  ขอบคุณค่ะ  

ที่จริงง่ายๆ แค่ "ตามองข้างหน้า (ไม่ใช่มองแต่ตัวเอง) และ หลังพิงกรอบ (ไม่ให้กรอยมัดตัว มัดแขน มัดขา ปิดหู ปิดตา)" ก็พอแล้ว

คงต้องใช้เทคนิคการสร้าง พันธมิตร

เราไม่ต้องการครึ่งประเทศหรอก แค่ ๓% ก็พอ (ตามหลัก Pareto law ครับ)

น่าสนใจค่ะ

"ประสบการณ์" จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราได้ไต่ระดับของกรอบ

ที่ยากคือเวลาสอนนักศึกษา  บางครั้งคิดว่า สิ่งที่เราสอน คือ การสร้างกรอบคิด  แต่จะทำอย่างไรไม่ให้เขาติดกรอบเกินไป

เวลาส่งนักศึกษาลงเรียนรู้กับชาวบ้านในพื้นที่  เราควรจะมีกรอบให้เขา หรือให้เขาค้นหาเองจากข้อเท็จจริงโดยไม่ต้องยึดกรอบคะ

  • ตามมาอ่าน
  • บ้านเราแบบไร้กรอบหายากนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

เรียนอาจารย์แสวง 

เขียนดีจังเลยค่ะ  ทำให้กลับมามองตัวเอง  สงสัยที่อาจารย์เขียนเป็นของราณี 1 กรอบ (กรอบนอกนุ่มใน)  ล้อเล่นค่ะอาจารย์

คูณปัทมาวดี

การสอนต้องมีกรอบ แต่ต้องไม่ให้ติดกรอบ

เวลาผมสอนผมจะเน้นไม่ให้ติดกรอบ แต่ฏ็มีนักศึกษาจำนวนมากชอบ "กรอบ" กลุ่มนี้จะไม่ชอบเรียนกับผม

ผมจำเป็นต้องเลือกครับ ว่าอย่างไรดีที่สุดสำหรับนักศึกษา และอะไรดีที่สุดสำหรับทุกคน

คุณรานี (ไม่ให้เรียกอาจารย์ ก็ไม่เป็นไรครับ)

ทำไมรีบจองจังเลย ผมกำลังจะเขียนเรื่องนี้พอดี

ผมคุยกับ ดร. วรภัทร์ไว้แล้วว่า ท่านเป็น หมูตุ๋น (ไม่กรอบ นิ่มไปหมด ที่เรียกว่า "คนไร้กรอบ")  ส่วนผมนะ "นอกกรอบ" คือกรอบเฉพาะข้างนอก ข้างในเป็นอย่างไร ไม่บอกครับ)

แต่ก็ยินดีอย่างยิ่งที่เจอคนกรอบนอกในนิ่มครับ

คิดว่าไม่ห่างกันมากหรอกครับ

อุ้ย....ว่าจะไม่บอก เอ้า เลยตามเลยครับ

คุณขจิตครับ

"คนไร้กรอบ" มีคนเดียวก็พอใช้ มีมากเดียวไม่ขลัง

แค่อิงกรอบก็พอครับ หามามากๆหน่อยนะครับ แต่ไม่เอากรอบบ้างไม่กรอบบ้างแบบผีเข้าผีออก นะครับ

ทำงานด้วยเมือ่ไหร่ จะเหนื่อยมากกว่าแบบอื่นครับ

เรียนอาจารย์แสวงที่เคารพ

  • ส่งรูปให้อาจารย์แล้วนะค่ะ อาจารย์ได้รับยังค่ะ....อ่านบันทึกนี้อาจารย์แล้วคิดถึงหมูกรอบค่ะ....นอกกรอบในนุ่มค่ะ....
  • มีคนติดใจภาพของอาจารย์ที่นี่ด้วยค่ะ
  • ด้วยความเคารพค่ะ

คนที่รู้จักตัวเองคือคนที่พร้อมจะเรียนรู้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท