การบริหารการเงินและงบประมาณ


สถานีอนามัยต้องมีบริหารการเงินและงบประมาณและการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (Unit Cost Analysis )
ดูเหมืนว่าสถานีอนามัยจะเกี่ยวข้องกับการเงินและงบประมาณไม่มากนักแต่คงจะหนีไม่พ้นเพราะทุกหน่วยงานจะต้องใช้เงินและงบประมาณทั้งนั้น  ไม่ว่าจะเงินน้อย  เงินมาก  เพราะการจัดทำแผนจะต้องมีแผนเงิน  แผนลงทุน  แผนพัฒนาบุคลากร  และแผนปฏิบัติงานก็ยังต้องมีเรื่องเงินมาเกี่ยวข้อง    จะต้องมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่การเงินการบัญชี  หัวหน้าพัสดุ   เจ้าหน้าที่พัสดุ   ผู้ตรวจรับพัสดุ   การเก็บรักษาเงินก็จะต้องมีคำสั่งเจ้าหน้าที่รักษาเงิน  ฟังดูแล้วก็ยุ่งยากเหมือนกันนะ  ซึ่งบนสถานีอนามัยไม่มีเจ้าหน้าที่การเงิน  ไม่มีเจ้าหน้าที่พัสดุอะไรทั้งสิ้น  ก็มีเจ้าหน้าที่อยู่  2  หรือ 3  คน  ก็ช่วยกันไป ทำได้ทุกอย่าง  นี่คือเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย    และที่เกี่ยวข้องอีกก็คือ   การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย  (Unit Cost  Analysis )  เพื่อหาต้นทุนในงานต่างๆ ที่ทำ  เช่น งานรักษา  ANC  EPI    FP   แม้นแต่งานควบคุมโรคก็ต้องนำมาคิด  ว่าต่อ  1 หน่วย เป็นเงินเท่าไร ที่เรียนกับอาจารย์?  ศุภเศรษฐ์ น้อยศรี นั่นแหละ  เก่งมัยละเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยผู้น้อยวาสนา  ผมว่าน่าจะให้มีเจ้าหน้าที่การเงินบนสถานีอนามัยนะ   พวกเราจะได้มีเวลาทำงานดูแลประชาชนมากขึ้น 
คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 77699เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท